การปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ค่านิยมความเชื่อและวัฒนธรรม ให้พลิกหน้ามือเป็นหลังมือที่เรียกว่า การปฏิวัติพลิกแผ่นดิน (social revolution) ส่วนการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองของผู้ครองอำนาจโดยไม่กระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นเป็นการรัฐประหาร (coup d’ état) การปฏิวัติที่เห็นชัดที่สุดคือการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ.1789 การปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ.1917 การปฏิวัติจีนใน ค.ศ.1911 และ ค.ศ.1949
นักประวัติศาสตร์ชื่อ Crane Brinton ได้เขียนหนังสือชื่อ The Anatomy of Revolution โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบการปฏิวัติฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา เม็กซิโกและรัสเซีย เพื่อหาลักษณะร่วมที่นำไปสู่การปฏิวัติ การเปรียบเทียบ 5 ประเทศนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาทฤษฎีในระดับหนึ่ง ลักษณะร่วมดังกล่าวก็คือตัวแปรที่จะนำไปสู่ปรากฏการณ์อันเดียวกันคือการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ Crane Brinton ได้พบว่าการปฏิวัติที่เกิดขึ้นใน 5 ประเทศดังกล่าวนั้นจะมีลักษณะร่วมดังต่อไปนี้ คือ
1. ก่อนการปฏิวัติจะเกิดความขัดแย้งทางชนชั้น (class struggle) อย่างขมขื่น แต่ความขัดแย้งทางชนชั้นนั้นไม่ใช่ระหว่างคนรวยและคนจน หากแต่เป็นกลุ่มคนชั้นสูงด้วยกัน โดยกลุ่มหนึ่งกุมอำนาจรัฐ สถานะทางสังคม และทรัพย์ศฤงคารในแง่ที่ดินและกิจการอื่นๆ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มคู่แข่งซึ่งส่วนใหญ่ก็คือกลุ่มซึ่งเป็นชนชั้นกระฎุมพี และไม่พอใจที่คนกลุ่มข้างบนใช้อำนาจทางการเมืองและอภิสิทธิ์กดดันให้ตนเองต้องเสียโอกาสและเสียเปรียบ จึงพยายามปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบโดยใช้คนกลุ่มชั้นล่างเป็นแนวร่วม ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นคือคนที่เป็นกลุ่มผู้นำด้วยกันเองนี้คือตัวแปรสำคัญตัวที่หนึ่ง
ข้อน่าสังเกตก็คือ การปฏิวัติมวลชนล้วนๆ นั้นยังไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่จะต้องนำโดยนักคิด เช่น ในการปฏิวัติโดยมีชาวนาเข้าร่วมนั้นจะต้องมีนักคิดเป็นผู้นำเสมอ เพราะจำเป็นต้องใช้การปลุกเร้ามวลชน ใช้อุดมการณ์ เป้าหมาย และการวางแผน ถ้าเป็นการลุกฮือธรรมดาก็จะกลายเป็นกบฏชาวนาหรือการจลาจลที่ไร้ทิศทาง
2. การปฏิวัติที่เกิดขึ้นใน 5 ประเทศดังกล่าวนั้นมิได้เกิดขึ้นตอนที่เศรษฐกิจตกต่ำ มีการศึกษาแล้วว่าสังคมที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดก็อาจนำไปสู่การแย่งอาหาร ตีชิงวิ่งราวปล้นร้านค้า แต่จะไม่เกิดการปฏิวัติ แต่การปฏิวัติจะเกิดขึ้นในสภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ และการขยายในทางบวกของเศรษฐกิจนั้นหยุดชะงักลงจนทำให้เกิดความไม่พอใจ เพราะมีการคาดหวังที่สูง (rising expectation) ยิ่งขึ้น ความไม่พอใจอันเนื่องมาจากการหยุดชะงักงันของผลประโยชน์ย่อมรุนแรงกว่าสภาพเศรษฐกิจที่ยากจนค้นแค้น และการปฏิวัติมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจดีกว่าช่วงที่ตกต่ำกว่ามาก การพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืนจึงเป็นตัวแปรสำคัญของการป้องกันการปฏิวัติ การทำความดีที่ไม่ตลอดเป็นเรื่องที่อันตราย ทำนองเดียวกับการที่คนคนหนึ่งช่วยเหลือเกื้อกูลคนกลุ่มหนึ่ง และฉับพลันก็หยุดการช่วยเหลือก็จะเกิดความรู้สึกไม่พอใจ รวมทั้งเกิดความเคียดแค้นได้ สภาวะดังกล่าวใช้ได้แม้ในความสัมพันธ์ส่วนตัว
3. การปฏิวัติจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ากลุ่มผู้นำยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก่อนการปฏิวัติ กลุ่มผู้นำที่ครองอำนาจรัฐนั้นจะเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และเกิดความขัดแย้งเพราะผลประโยชน์ไม่ลงตัว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็เกิดจากความขัดแย้งในกลุ่มผู้นำชั้นสูง และเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็เกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้นำโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้นำทหารที่เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
4. บรรยากาศก่อนการปฏิวัติจะเป็นบรรยากาศของชนชั้นผู้นำทางความคิดหันเหความภักดีต่อสังคมและระบบ จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ระบบในทางลบ เช่น ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส Tolstroy ก็ดี หรือ Robespierre ก็ดี ล้วนแต่เขียนหนังสือหรือบทความโจมตีระบบการปกครองเดิมจนประชาชนส่วนใหญ่คล้อยตาม ในส่วนนี้การออกหนังสือโดยเหมา เจ๋อตุง และโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยกระทำแบบใต้ดินก็เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การยึดอำนาจรัฐได้ ชนชั้นปัญญาชนหรือนักคิดเป็นชนชั้นที่ปูพื้นทางจิตวิทยาโดยปลุกเร้าให้ต่อต้านระบบเดิม หันไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างระบบใหม่ ในปัจจุบันสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการคงอยู่ของรัฐบาล หรือแม้แต่ระบบ บางครั้งจะเห็นว่าการต่อสู้ทางการเมืองนั้นเป็นการต่อสู้ผ่านทางสื่อ
5. ก่อนที่จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นใน 5 ประเทศดังกล่าวนั้น กลไกรัฐในการปกครองบริหารทั้งในระบบการเมืองและในระบบองค์กรบริหารรัฐ (bureaucracy) ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัด ระบบการเมืองและระบบการบริหารไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้ ไม่สามารถจะบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความไม่สนใจหรือเนื่องมาจากขาดข่าวสารข้อมูล หรือหลงมัวเมาในอำนาจ จึงมีเรื่องเล่าว่าราชินีองค์หนึ่งเมื่อทรงได้รับข่าวสารว่าราษฎรเดินขบวนเพราะไม่มีขนมปังจะรับประทานเป็นอาหาร พระนางก็ทรงดำรัสว่า “ถ้าไม่มีขนมปังทำไมไม่กินเค้กแทน” ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่ระบบการเมืองและการบริหารขาดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการแก้ปัญหาในทางเศรษฐกิจคือความอดอยากและความเหลื่อมล้ำ หรือการแก้ไขความไม่ยุติธรรมและความรู้สึกแปลกแยกจากระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดความเข้าใจอารมณ์ของประชาชน หรืออารมณ์ทางการเมืองของสังคม ระบบนั้นก็คงอยู่ไม่ได้
งานศึกษาของ Crane Brinton เกี่ยวกับการปฏิวัติมีประโยชน์อย่างยิ่งในทางวิชาการ แต่การปฏิวัติในลักษณะดังกล่าวนี้คงไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะมีทางออกและการบรรเทาปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แรงเสียดทานและแรงกดดันที่จะมีการปฏิวัติก็จะลดน้อยลง ที่สำคัญ มนุษย์เรียนรู้ที่จะปรับตัว เป็นต้นว่า ความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่มในระดับบนนั้นก็อาจจะต้องมีการออมชอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าระบบเปิดกว้างก็สามารถจะสอดแทรกเข้าไปร่วมงานกันได้ เพราะระบบที่เปิดกว้างเป็นการปฏิรูปทางผู้นำ หมายความว่าสามารถจะดึงฝ่ายตรงกันข้ามเข้าไปอยู่ในวงอำนาจ ซึ่งต่างจากการปฏิรูปทางนโยบาย โดยฝ่ายตรงกันข้ามยังอยู่นอกวงอำนาจ เพราะฉะนั้นระบบการเมืองต้องเปิดให้มีการร่วมกันใช้อำนาจ
ขณะเดียวกันสภาวะทางเศรษฐกิจนั้นก็อาจทำการแก้ไขได้ง่ายกว่าในอดีต การใช้สื่อมวลชนเพื่อปลุกเร้าให้เกิดทีท่าต่อระบบและต่อผู้ใช้อำนาจนั้น ก็อยู่ในข่ายที่สองฝ่ายค่อนข้างจะเท่าเทียมกัน ปัญหาอยู่ที่ว่าประชาชนจะเชื่อฝ่ายใด การรณรงค์ผ่านสื่อจึงเป็นกุญแจสำคัญจนผู้นำบางคน เช่น แฟรงค์คิน ดี. รุสเวลล์ ใช้วิทยุเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า fire-side chat และริชาร์ด นิกสัน ก็ใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ และที่สำคัญคือ ชนชั้นปัญญาชนไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แบ่งเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายที่อยู่ฝ่ายครองอำนาจ ฝ่ายตรงกันข้าม และฝ่ายที่เป็นกลาง กรณีกลไกของรัฐนั้นเนื่องจากมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการมากขึ้น โอกาสการสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงอาจจะบรรเทาลงได้ เพราะท้องถิ่นสามารถจัดการเรื่องตัวเองได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันระบบการเมืองก็ทำหน้าที่เป็นวาล์วเครื่องจักรไอน้ำที่เปิดให้แรงกดดันไหลออกมาได้ในรูปของการประท้วง เดินขบวน การต่อรองในรูปของสภาพ กลุ่มผลักดัน องค์กรเอกชน
แต่ที่สำคัญคือ อิทธิพลและแรงกดดันจากต่างประเทศที่ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวายเกิดขึ้นในสังคมใดๆ เพราะจะขัดแย้งกับเสถียรภาพทางการเมืองและการค้าอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ยังมีบรรยากาศของการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน การค้าเสรี การรักษาสภาพแวดล้อม และการเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งสันติภาพ ฯลฯ ทฤษฎีการปฏิวัติของ Crane Brinton อาจจะเป็นเรื่องของอดีต แต่ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาก็คือการใช้ตัวแปรต่างๆ เป็นดัชนีประเมินระดับการพัฒนา หรือการเกิดปัญหาหรือวิกฤตในสังคมหนึ่งๆ ได้
**หมายเหตุ - ตอบคุณ “นางแก้ว” ความคิดเห็นที่ 2 และ 3
ประการแรก ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความของผมในลักษณะวิชาการซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ที่สนใจในแง่มุมที่ใกล้เคียงกัน แต่จำเป็นอย่างยิ่งต้องชี้แจงถึงความไม่เข้าใจของผู้วิพากษ์วิจารณ์ และจริงๆ แล้วต้องเริ่มจากคำกล่าวที่ว่า “ขออนุญาตแก้ไขความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนของอาจารย์ลิขิต” ในส่วนนี้ขอตั้งข้อสังเกต 2 ประเด็นคือ 1) จากการวิจารณ์ของผู้แสดงความคิดเห็นจะสะท้อนถึงความไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน 2) ภาษาไทยที่บอกว่าเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนไม่น่าจะเป็นภาษาไทยที่สละสลวย
กลับมาที่ประเด็นเนื้อหา การพูดถึงทฤษฎีปฏิวัติของ Crane Brinton เป็นการพยายามมองดูกรณีศึกษาจากการศึกษา 5 ประเทศ เพื่อหาลักษณะร่วมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะพลิกแผ่นดิน ทั้งในโครงสร้างการเมือง การบริหาร สังคม เศรษฐกิจ จิตวิทยาสังคมความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม รวมตลอดทั้งการให้น้ำหนักความสัมพันธ์ ยกย่องชนชั้นหรือกลุ่มบุคคลที่ต่างไปจากเดิม การศึกษาเยี่ยงนี้ใกล้เคียงกับการลักษณะวิจัยในห้องทดลองโดยการวิจัยให้มากที่สุดเพื่อหาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำกัน กระบวนการนี้เรียกว่า inductive study เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี ซึ่งในกรณี Crane Brinton ไม่ถึงกับเป็นทฤษฎี เป็นเพียงแต่หาตัวแปรเพื่อให้เป็นเครื่องมือนำไปใช้กับกรณีเฉพาะที่เรียกว่า deductive approach
อย่างไรก็ตาม การใช้สมมติฐานหรือทฤษฎีในลักษณะเช่นนี้จำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงตัวแปรหรือปรากฏการณ์เฉพาะของแต่ละสังคม ดังนั้น เมื่อมีการกล่าวอ้างถึงสมมติฐานหรือทฤษฎีดังกล่าวจะต้องเข้าใจว่ามีการจับตัวแปรอื่นให้นิ่งอยู่กับที่ (ceteris paribus) แต่ในความเป็นจริงตัวแปรต่างๆ จับนิ่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการใช้วิธีการศึกษาเยี่ยงนี้ก็เป็นเพียงส่วนประกอบของการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ที่เรียกว่า revolution หรือที่นักรัฐศาสตร์ไทยทั่วไปใช้ศัพท์คำว่าปฏิวัติ
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาเช่นนี้ก็คือการสามารถวางแผนโดยการอนุมานปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (a priori) และขณะเดียวกันหลังจากการปฏิวัติซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สำเร็จลุล่วง ก็อาจจะย้อนไปหาตัวแปรที่เป็นสาเหตุเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่การปฏิวัติ (a posteriori) นี่คือประโยชน์ที่จะได้ในเบื้องต้น
ส่วนศัพท์คำว่า “ปฏิวัติ” เป็นศัพท์ทางรัฐศาสตร์ที่นักรัฐศาสตร์ไทยนำมาบัญญัติเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง จนนำไปสู่ผลกระทบต่างๆ แบบหน้ามือเป็นหลังมือ คำเดิมคือ revolution ซึ่งน่าจะเกิดจากตอนที่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 รับสั่งถามว่า “นี่คือกบฏใช่ไหม rebellion” แต่ขุนนางผู้หนึ่งตอบว่า “ ไม่ใช่พะยะค่ะ นี่คือ revolution (หรือนี่คือการปฏิวัติ)” ซึ่งเข้าใจว่าตอนนั้นยังไม่เข้าใจความหมายอย่างแท้จริงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนระบบทุกอย่าง คำว่าปฏิวัติจึงเป็นศัพท์พิเศษ การอ้างศัพท์ที่มาจากพุทธศาสนาซึ่งอธิบายโดยละเอียดนั้นเป็นการใช้แบบผิดรูปผิดฝา เพราะนี่คือการยืมศัพท์มาเป็นความหมายพิเศษ จะเอารากศัพท์เดิมมาอธิบายความหมายใหม่นั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
เช่นเดียวกับคำว่า primate city ซึ่งนักสังคมวิทยาหมายถึงประเทศที่มีเมืองใหญ่ที่สุดหนึ่งเมือง เข้าลักษณะเป็นเมืองหัวโต แต่คำว่า primate หมายถึงลิงชนิดหนึ่ง และอาจจะหมายถึงสิ่งที่ใหญ่ก็ได้ เช่นคำว่า primus inter pares อันได้แก่ first among equals ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเป็นผู้ที่ยืนอยู่บนหัวแถวของคนที่เท่าๆ กัน คือ Prime Minister อันได้แก่ minister ที่สำคัญกว่า ministers เนื่องจากยืนอยู่หัวแถว
การวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้ศัพท์ของวิชาหนึ่งมาหักล้างการมีความหมายเฉพาะของอีกวิชาหนึ่งจึงผิดพลาดได้ง่าย ถ้าคำว่าปฏิวัติเป็นคำที่ใช้ความหมายผิดก็แปลว่านักรัฐศาสตร์ในประเทศไทยทั้งหมดพูดผิดมาตลอด แต่ก็เถียงได้ว่านี่คือศัพท์ที่ใช้เฉพาะในวิชารัฐศาสตร์ ตรงกับคำว่า revolution ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่ารัฐประหารนักรัฐศาสตร์ใช้คำว่า coup d’ etat (ยังมีต่อ)
ประการที่สอง ที่มีการวิจารณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือการปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงขององคาพยพ จะมองแบบสัดส่วนไม่ได้ ในส่วนนี้ผู้แสดงความคิดเห็นสรุปเอาเอง การปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงอันใดก็ตามจะเกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของสังคม เพราะสังคมเป็นองค์รวม (holistic) แต่ถ้าเป็นการรัฐประหารอาจจะเปลี่ยนเฉพาะทางการเมืองเท่านั้น โดยเปลี่ยนผู้ครองอำนาจแต่ระบบไม่เปลี่ยน
ในกรณีของการปฏิวัตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทราบว่าสำหรับคาร์ล มาร์กซ์ นั้นตัวแปรสำคัญที่สุดคือตัวแปรทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่ระบบการเมือง การปกครอง สังคม ค่านิยมและวัฒนธรรม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่เกิดจากการปฏิวัติของกรรมาชีพนั้น ถึงแม้จะเกิดจากความขัดแย้งของชนชั้นและการเอาเปรียบในทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่กระบวนการล้มล้างระบบสังคมทั้งหมดก็มาจากกระบวนการทางการเมือง นั่นคือ การปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ ตัวแปรตัวใดสำคัญกว่าตัวใดคงไม่ใช่ประเด็น แต่อยู่ที่สังคมเป็นองค์รวม ซึ่งนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาวิชาดังกล่าวเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่ขาดความเข้าใจอย่างที่ผู้แสดงความคิดเห็นพยายามชี้ในคำวิจารณ์ ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือคำกล่าวที่ว่า เป็นการมองปรากฏการณ์ทางการเมืองแบบที่ฝรั่งมอง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือคำวิจารณ์ที่ว่า “แสดงว่าผู้เขียนมองไม่เห็นความสัมพันธ์ภายในของสรรพสิ่งเลย เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก” ผู้แสดงความคิดเห็นด่วนสรุปโดยเข้าใจผิดหรือไม่มีข้อมูลพอ โดยไม่เข้าใจนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาทางนี้ ความรู้ในความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งเป็นเรื่องพื้นๆ ที่รู้กันทั่วไป เป็นแต่เวลาเขียนบทความอาจไม่มีเวลาอธิบายรายละเอียดเหมือนกับการอภิปราย ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ที่ผู้วิจารณ์มานั้นไม่ได้เอ่ยถึงตัวแปรทางการเมือง การบริหาร อุดมการณ์ ลัทธิความเชื่อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมตลอดทั้งเทคโนโลยีสังคม
ในกรณีพูดถึงฝรั่งนั้นถ้าเป็นกรณีศึกษาเฉพาะเจาะจงของแต่ละประเทศ ก็คือรายละเอียดของแต่ละประเทศ แต่ถ้าใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อหาตัวแปรร่วมมาสร้างเป็นสมมติฐานหรือทฤษฎี คือ การใช้กรณีที่มีลักษณะสากล การมองถึงทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่มาจากการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์จะมองว่าเป็นฝรั่ง อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย ไม่ได้ เพราะจริงๆ แล้วมีความพยายาม ที่จะ value free หรือ value neutral เพื่อหวังว่าทฤษฎีดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ได้ต่างกาละ ต่างเทศะ หรือสถานที่ (extrapolation in time and space) การมองแบบองค์รวมเป็นการมองแบบ holistic โดยดูที่ระบบทั้งหมดหรือ systemic approach (systemic ไม่ใช่ systematic เพราะมีความหมายต่างกัน)
ต้องขอขอบคุณที่วิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะวิชาการ แต่ขอชี้ให้เห็นว่ามีลักษณะเอนเอียงไปในทางความเชื่อของตนอย่างมีอคติ ด่วนสรุปและตัดสิน (judgmental) และแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีการสงวน (opinionated) โดยไม่เกรงว่าเป็นคำพูดที่ห้าวหาญเนื่องจากขาดข้อมูล ขาดความเข้าใจ ความตั้งใจดีในการแก้ไขความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน จึงกลายเป็นการเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนเสียเอง แต่ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ต้องถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ถ้าจะให้กระจ่างกว่านี้จะต้องมีการสนทนาแบบวิชาการในการสัมมนาเพื่อจะได้แจกแจงรายละเอียดต่างๆ ชัดเจนกว่าการใช้การตอบโต้เช่นนี้ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่มาก
ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง นี่คือความแลกเปลี่ยนที่มีอารยธรรมซึ่งแตกต่างจากการใส่ความคิดเห็นในเว็บไซต์ทั่วไป ที่ขาดความเข้าใจ ขาดความรู้ ข้างๆ คูๆ ยกตนข่มท่าน จาบจ้วง ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปตามเว็บไซต์ต่างๆ
ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน
นักประวัติศาสตร์ชื่อ Crane Brinton ได้เขียนหนังสือชื่อ The Anatomy of Revolution โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบการปฏิวัติฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา เม็กซิโกและรัสเซีย เพื่อหาลักษณะร่วมที่นำไปสู่การปฏิวัติ การเปรียบเทียบ 5 ประเทศนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาทฤษฎีในระดับหนึ่ง ลักษณะร่วมดังกล่าวก็คือตัวแปรที่จะนำไปสู่ปรากฏการณ์อันเดียวกันคือการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ Crane Brinton ได้พบว่าการปฏิวัติที่เกิดขึ้นใน 5 ประเทศดังกล่าวนั้นจะมีลักษณะร่วมดังต่อไปนี้ คือ
1. ก่อนการปฏิวัติจะเกิดความขัดแย้งทางชนชั้น (class struggle) อย่างขมขื่น แต่ความขัดแย้งทางชนชั้นนั้นไม่ใช่ระหว่างคนรวยและคนจน หากแต่เป็นกลุ่มคนชั้นสูงด้วยกัน โดยกลุ่มหนึ่งกุมอำนาจรัฐ สถานะทางสังคม และทรัพย์ศฤงคารในแง่ที่ดินและกิจการอื่นๆ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มคู่แข่งซึ่งส่วนใหญ่ก็คือกลุ่มซึ่งเป็นชนชั้นกระฎุมพี และไม่พอใจที่คนกลุ่มข้างบนใช้อำนาจทางการเมืองและอภิสิทธิ์กดดันให้ตนเองต้องเสียโอกาสและเสียเปรียบ จึงพยายามปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบโดยใช้คนกลุ่มชั้นล่างเป็นแนวร่วม ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นคือคนที่เป็นกลุ่มผู้นำด้วยกันเองนี้คือตัวแปรสำคัญตัวที่หนึ่ง
ข้อน่าสังเกตก็คือ การปฏิวัติมวลชนล้วนๆ นั้นยังไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่จะต้องนำโดยนักคิด เช่น ในการปฏิวัติโดยมีชาวนาเข้าร่วมนั้นจะต้องมีนักคิดเป็นผู้นำเสมอ เพราะจำเป็นต้องใช้การปลุกเร้ามวลชน ใช้อุดมการณ์ เป้าหมาย และการวางแผน ถ้าเป็นการลุกฮือธรรมดาก็จะกลายเป็นกบฏชาวนาหรือการจลาจลที่ไร้ทิศทาง
2. การปฏิวัติที่เกิดขึ้นใน 5 ประเทศดังกล่าวนั้นมิได้เกิดขึ้นตอนที่เศรษฐกิจตกต่ำ มีการศึกษาแล้วว่าสังคมที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดก็อาจนำไปสู่การแย่งอาหาร ตีชิงวิ่งราวปล้นร้านค้า แต่จะไม่เกิดการปฏิวัติ แต่การปฏิวัติจะเกิดขึ้นในสภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ และการขยายในทางบวกของเศรษฐกิจนั้นหยุดชะงักลงจนทำให้เกิดความไม่พอใจ เพราะมีการคาดหวังที่สูง (rising expectation) ยิ่งขึ้น ความไม่พอใจอันเนื่องมาจากการหยุดชะงักงันของผลประโยชน์ย่อมรุนแรงกว่าสภาพเศรษฐกิจที่ยากจนค้นแค้น และการปฏิวัติมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจดีกว่าช่วงที่ตกต่ำกว่ามาก การพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืนจึงเป็นตัวแปรสำคัญของการป้องกันการปฏิวัติ การทำความดีที่ไม่ตลอดเป็นเรื่องที่อันตราย ทำนองเดียวกับการที่คนคนหนึ่งช่วยเหลือเกื้อกูลคนกลุ่มหนึ่ง และฉับพลันก็หยุดการช่วยเหลือก็จะเกิดความรู้สึกไม่พอใจ รวมทั้งเกิดความเคียดแค้นได้ สภาวะดังกล่าวใช้ได้แม้ในความสัมพันธ์ส่วนตัว
3. การปฏิวัติจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ากลุ่มผู้นำยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก่อนการปฏิวัติ กลุ่มผู้นำที่ครองอำนาจรัฐนั้นจะเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และเกิดความขัดแย้งเพราะผลประโยชน์ไม่ลงตัว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็เกิดจากความขัดแย้งในกลุ่มผู้นำชั้นสูง และเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็เกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้นำโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้นำทหารที่เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
4. บรรยากาศก่อนการปฏิวัติจะเป็นบรรยากาศของชนชั้นผู้นำทางความคิดหันเหความภักดีต่อสังคมและระบบ จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ระบบในทางลบ เช่น ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส Tolstroy ก็ดี หรือ Robespierre ก็ดี ล้วนแต่เขียนหนังสือหรือบทความโจมตีระบบการปกครองเดิมจนประชาชนส่วนใหญ่คล้อยตาม ในส่วนนี้การออกหนังสือโดยเหมา เจ๋อตุง และโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยกระทำแบบใต้ดินก็เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การยึดอำนาจรัฐได้ ชนชั้นปัญญาชนหรือนักคิดเป็นชนชั้นที่ปูพื้นทางจิตวิทยาโดยปลุกเร้าให้ต่อต้านระบบเดิม หันไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างระบบใหม่ ในปัจจุบันสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการคงอยู่ของรัฐบาล หรือแม้แต่ระบบ บางครั้งจะเห็นว่าการต่อสู้ทางการเมืองนั้นเป็นการต่อสู้ผ่านทางสื่อ
5. ก่อนที่จะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นใน 5 ประเทศดังกล่าวนั้น กลไกรัฐในการปกครองบริหารทั้งในระบบการเมืองและในระบบองค์กรบริหารรัฐ (bureaucracy) ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัด ระบบการเมืองและระบบการบริหารไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้ ไม่สามารถจะบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความไม่สนใจหรือเนื่องมาจากขาดข่าวสารข้อมูล หรือหลงมัวเมาในอำนาจ จึงมีเรื่องเล่าว่าราชินีองค์หนึ่งเมื่อทรงได้รับข่าวสารว่าราษฎรเดินขบวนเพราะไม่มีขนมปังจะรับประทานเป็นอาหาร พระนางก็ทรงดำรัสว่า “ถ้าไม่มีขนมปังทำไมไม่กินเค้กแทน” ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่ระบบการเมืองและการบริหารขาดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการแก้ปัญหาในทางเศรษฐกิจคือความอดอยากและความเหลื่อมล้ำ หรือการแก้ไขความไม่ยุติธรรมและความรู้สึกแปลกแยกจากระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดความเข้าใจอารมณ์ของประชาชน หรืออารมณ์ทางการเมืองของสังคม ระบบนั้นก็คงอยู่ไม่ได้
งานศึกษาของ Crane Brinton เกี่ยวกับการปฏิวัติมีประโยชน์อย่างยิ่งในทางวิชาการ แต่การปฏิวัติในลักษณะดังกล่าวนี้คงไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะมีทางออกและการบรรเทาปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แรงเสียดทานและแรงกดดันที่จะมีการปฏิวัติก็จะลดน้อยลง ที่สำคัญ มนุษย์เรียนรู้ที่จะปรับตัว เป็นต้นว่า ความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่มในระดับบนนั้นก็อาจจะต้องมีการออมชอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าระบบเปิดกว้างก็สามารถจะสอดแทรกเข้าไปร่วมงานกันได้ เพราะระบบที่เปิดกว้างเป็นการปฏิรูปทางผู้นำ หมายความว่าสามารถจะดึงฝ่ายตรงกันข้ามเข้าไปอยู่ในวงอำนาจ ซึ่งต่างจากการปฏิรูปทางนโยบาย โดยฝ่ายตรงกันข้ามยังอยู่นอกวงอำนาจ เพราะฉะนั้นระบบการเมืองต้องเปิดให้มีการร่วมกันใช้อำนาจ
ขณะเดียวกันสภาวะทางเศรษฐกิจนั้นก็อาจทำการแก้ไขได้ง่ายกว่าในอดีต การใช้สื่อมวลชนเพื่อปลุกเร้าให้เกิดทีท่าต่อระบบและต่อผู้ใช้อำนาจนั้น ก็อยู่ในข่ายที่สองฝ่ายค่อนข้างจะเท่าเทียมกัน ปัญหาอยู่ที่ว่าประชาชนจะเชื่อฝ่ายใด การรณรงค์ผ่านสื่อจึงเป็นกุญแจสำคัญจนผู้นำบางคน เช่น แฟรงค์คิน ดี. รุสเวลล์ ใช้วิทยุเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า fire-side chat และริชาร์ด นิกสัน ก็ใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ และที่สำคัญคือ ชนชั้นปัญญาชนไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แบ่งเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายที่อยู่ฝ่ายครองอำนาจ ฝ่ายตรงกันข้าม และฝ่ายที่เป็นกลาง กรณีกลไกของรัฐนั้นเนื่องจากมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการมากขึ้น โอกาสการสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงอาจจะบรรเทาลงได้ เพราะท้องถิ่นสามารถจัดการเรื่องตัวเองได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันระบบการเมืองก็ทำหน้าที่เป็นวาล์วเครื่องจักรไอน้ำที่เปิดให้แรงกดดันไหลออกมาได้ในรูปของการประท้วง เดินขบวน การต่อรองในรูปของสภาพ กลุ่มผลักดัน องค์กรเอกชน
แต่ที่สำคัญคือ อิทธิพลและแรงกดดันจากต่างประเทศที่ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวายเกิดขึ้นในสังคมใดๆ เพราะจะขัดแย้งกับเสถียรภาพทางการเมืองและการค้าอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ยังมีบรรยากาศของการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน การค้าเสรี การรักษาสภาพแวดล้อม และการเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งสันติภาพ ฯลฯ ทฤษฎีการปฏิวัติของ Crane Brinton อาจจะเป็นเรื่องของอดีต แต่ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาก็คือการใช้ตัวแปรต่างๆ เป็นดัชนีประเมินระดับการพัฒนา หรือการเกิดปัญหาหรือวิกฤตในสังคมหนึ่งๆ ได้
**หมายเหตุ - ตอบคุณ “นางแก้ว” ความคิดเห็นที่ 2 และ 3
ประการแรก ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความของผมในลักษณะวิชาการซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ที่สนใจในแง่มุมที่ใกล้เคียงกัน แต่จำเป็นอย่างยิ่งต้องชี้แจงถึงความไม่เข้าใจของผู้วิพากษ์วิจารณ์ และจริงๆ แล้วต้องเริ่มจากคำกล่าวที่ว่า “ขออนุญาตแก้ไขความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนของอาจารย์ลิขิต” ในส่วนนี้ขอตั้งข้อสังเกต 2 ประเด็นคือ 1) จากการวิจารณ์ของผู้แสดงความคิดเห็นจะสะท้อนถึงความไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน 2) ภาษาไทยที่บอกว่าเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนไม่น่าจะเป็นภาษาไทยที่สละสลวย
กลับมาที่ประเด็นเนื้อหา การพูดถึงทฤษฎีปฏิวัติของ Crane Brinton เป็นการพยายามมองดูกรณีศึกษาจากการศึกษา 5 ประเทศ เพื่อหาลักษณะร่วมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะพลิกแผ่นดิน ทั้งในโครงสร้างการเมือง การบริหาร สังคม เศรษฐกิจ จิตวิทยาสังคมความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม รวมตลอดทั้งการให้น้ำหนักความสัมพันธ์ ยกย่องชนชั้นหรือกลุ่มบุคคลที่ต่างไปจากเดิม การศึกษาเยี่ยงนี้ใกล้เคียงกับการลักษณะวิจัยในห้องทดลองโดยการวิจัยให้มากที่สุดเพื่อหาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำกัน กระบวนการนี้เรียกว่า inductive study เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี ซึ่งในกรณี Crane Brinton ไม่ถึงกับเป็นทฤษฎี เป็นเพียงแต่หาตัวแปรเพื่อให้เป็นเครื่องมือนำไปใช้กับกรณีเฉพาะที่เรียกว่า deductive approach
อย่างไรก็ตาม การใช้สมมติฐานหรือทฤษฎีในลักษณะเช่นนี้จำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงตัวแปรหรือปรากฏการณ์เฉพาะของแต่ละสังคม ดังนั้น เมื่อมีการกล่าวอ้างถึงสมมติฐานหรือทฤษฎีดังกล่าวจะต้องเข้าใจว่ามีการจับตัวแปรอื่นให้นิ่งอยู่กับที่ (ceteris paribus) แต่ในความเป็นจริงตัวแปรต่างๆ จับนิ่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการใช้วิธีการศึกษาเยี่ยงนี้ก็เป็นเพียงส่วนประกอบของการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ที่เรียกว่า revolution หรือที่นักรัฐศาสตร์ไทยทั่วไปใช้ศัพท์คำว่าปฏิวัติ
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาเช่นนี้ก็คือการสามารถวางแผนโดยการอนุมานปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (a priori) และขณะเดียวกันหลังจากการปฏิวัติซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สำเร็จลุล่วง ก็อาจจะย้อนไปหาตัวแปรที่เป็นสาเหตุเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่การปฏิวัติ (a posteriori) นี่คือประโยชน์ที่จะได้ในเบื้องต้น
ส่วนศัพท์คำว่า “ปฏิวัติ” เป็นศัพท์ทางรัฐศาสตร์ที่นักรัฐศาสตร์ไทยนำมาบัญญัติเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง จนนำไปสู่ผลกระทบต่างๆ แบบหน้ามือเป็นหลังมือ คำเดิมคือ revolution ซึ่งน่าจะเกิดจากตอนที่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 รับสั่งถามว่า “นี่คือกบฏใช่ไหม rebellion” แต่ขุนนางผู้หนึ่งตอบว่า “ ไม่ใช่พะยะค่ะ นี่คือ revolution (หรือนี่คือการปฏิวัติ)” ซึ่งเข้าใจว่าตอนนั้นยังไม่เข้าใจความหมายอย่างแท้จริงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนระบบทุกอย่าง คำว่าปฏิวัติจึงเป็นศัพท์พิเศษ การอ้างศัพท์ที่มาจากพุทธศาสนาซึ่งอธิบายโดยละเอียดนั้นเป็นการใช้แบบผิดรูปผิดฝา เพราะนี่คือการยืมศัพท์มาเป็นความหมายพิเศษ จะเอารากศัพท์เดิมมาอธิบายความหมายใหม่นั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
เช่นเดียวกับคำว่า primate city ซึ่งนักสังคมวิทยาหมายถึงประเทศที่มีเมืองใหญ่ที่สุดหนึ่งเมือง เข้าลักษณะเป็นเมืองหัวโต แต่คำว่า primate หมายถึงลิงชนิดหนึ่ง และอาจจะหมายถึงสิ่งที่ใหญ่ก็ได้ เช่นคำว่า primus inter pares อันได้แก่ first among equals ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเป็นผู้ที่ยืนอยู่บนหัวแถวของคนที่เท่าๆ กัน คือ Prime Minister อันได้แก่ minister ที่สำคัญกว่า ministers เนื่องจากยืนอยู่หัวแถว
การวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้ศัพท์ของวิชาหนึ่งมาหักล้างการมีความหมายเฉพาะของอีกวิชาหนึ่งจึงผิดพลาดได้ง่าย ถ้าคำว่าปฏิวัติเป็นคำที่ใช้ความหมายผิดก็แปลว่านักรัฐศาสตร์ในประเทศไทยทั้งหมดพูดผิดมาตลอด แต่ก็เถียงได้ว่านี่คือศัพท์ที่ใช้เฉพาะในวิชารัฐศาสตร์ ตรงกับคำว่า revolution ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่ารัฐประหารนักรัฐศาสตร์ใช้คำว่า coup d’ etat (ยังมีต่อ)
ประการที่สอง ที่มีการวิจารณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือการปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงขององคาพยพ จะมองแบบสัดส่วนไม่ได้ ในส่วนนี้ผู้แสดงความคิดเห็นสรุปเอาเอง การปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงอันใดก็ตามจะเกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของสังคม เพราะสังคมเป็นองค์รวม (holistic) แต่ถ้าเป็นการรัฐประหารอาจจะเปลี่ยนเฉพาะทางการเมืองเท่านั้น โดยเปลี่ยนผู้ครองอำนาจแต่ระบบไม่เปลี่ยน
ในกรณีของการปฏิวัตินั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทราบว่าสำหรับคาร์ล มาร์กซ์ นั้นตัวแปรสำคัญที่สุดคือตัวแปรทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่ระบบการเมือง การปกครอง สังคม ค่านิยมและวัฒนธรรม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่เกิดจากการปฏิวัติของกรรมาชีพนั้น ถึงแม้จะเกิดจากความขัดแย้งของชนชั้นและการเอาเปรียบในทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่กระบวนการล้มล้างระบบสังคมทั้งหมดก็มาจากกระบวนการทางการเมือง นั่นคือ การปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ ตัวแปรตัวใดสำคัญกว่าตัวใดคงไม่ใช่ประเด็น แต่อยู่ที่สังคมเป็นองค์รวม ซึ่งนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาวิชาดังกล่าวเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่ขาดความเข้าใจอย่างที่ผู้แสดงความคิดเห็นพยายามชี้ในคำวิจารณ์ ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือคำกล่าวที่ว่า เป็นการมองปรากฏการณ์ทางการเมืองแบบที่ฝรั่งมอง แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือคำวิจารณ์ที่ว่า “แสดงว่าผู้เขียนมองไม่เห็นความสัมพันธ์ภายในของสรรพสิ่งเลย เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก” ผู้แสดงความคิดเห็นด่วนสรุปโดยเข้าใจผิดหรือไม่มีข้อมูลพอ โดยไม่เข้าใจนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาทางนี้ ความรู้ในความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งเป็นเรื่องพื้นๆ ที่รู้กันทั่วไป เป็นแต่เวลาเขียนบทความอาจไม่มีเวลาอธิบายรายละเอียดเหมือนกับการอภิปราย ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ที่ผู้วิจารณ์มานั้นไม่ได้เอ่ยถึงตัวแปรทางการเมือง การบริหาร อุดมการณ์ ลัทธิความเชื่อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมตลอดทั้งเทคโนโลยีสังคม
ในกรณีพูดถึงฝรั่งนั้นถ้าเป็นกรณีศึกษาเฉพาะเจาะจงของแต่ละประเทศ ก็คือรายละเอียดของแต่ละประเทศ แต่ถ้าใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อหาตัวแปรร่วมมาสร้างเป็นสมมติฐานหรือทฤษฎี คือ การใช้กรณีที่มีลักษณะสากล การมองถึงทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่มาจากการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์จะมองว่าเป็นฝรั่ง อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย ไม่ได้ เพราะจริงๆ แล้วมีความพยายาม ที่จะ value free หรือ value neutral เพื่อหวังว่าทฤษฎีดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ได้ต่างกาละ ต่างเทศะ หรือสถานที่ (extrapolation in time and space) การมองแบบองค์รวมเป็นการมองแบบ holistic โดยดูที่ระบบทั้งหมดหรือ systemic approach (systemic ไม่ใช่ systematic เพราะมีความหมายต่างกัน)
ต้องขอขอบคุณที่วิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะวิชาการ แต่ขอชี้ให้เห็นว่ามีลักษณะเอนเอียงไปในทางความเชื่อของตนอย่างมีอคติ ด่วนสรุปและตัดสิน (judgmental) และแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีการสงวน (opinionated) โดยไม่เกรงว่าเป็นคำพูดที่ห้าวหาญเนื่องจากขาดข้อมูล ขาดความเข้าใจ ความตั้งใจดีในการแก้ไขความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน จึงกลายเป็นการเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนเสียเอง แต่ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ต้องถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ถ้าจะให้กระจ่างกว่านี้จะต้องมีการสนทนาแบบวิชาการในการสัมมนาเพื่อจะได้แจกแจงรายละเอียดต่างๆ ชัดเจนกว่าการใช้การตอบโต้เช่นนี้ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่มาก
ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง นี่คือความแลกเปลี่ยนที่มีอารยธรรมซึ่งแตกต่างจากการใส่ความคิดเห็นในเว็บไซต์ทั่วไป ที่ขาดความเข้าใจ ขาดความรู้ ข้างๆ คูๆ ยกตนข่มท่าน จาบจ้วง ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปตามเว็บไซต์ต่างๆ
ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน