นับแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป จะเริ่มเดินหน้าเข้าสู่ “เทศกาลสงกรานต์” เฉลิมฉลองปีใหม่ไทยกันแล้ว ว่าไปแล้วชาวไทยก็เริ่มวันหยุดกันมาตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยน่าเชื่อว่า ผู้คนเริ่มทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาบ้านเกิดกันไปบ้างแล้ว ตลอดจนหลายๆ ฝ่ายก็ขอลากิจ ลาพักร้อน ลาป่วยกันยาวทีเดียวปิดหัวปิดท้ายกันรวมทั้งหมดน่าจะ 16 วัน เรียกว่า เดือนเมษายน แทบไม่ได้ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันก็แล้วกัน
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า คนไทยร่วมเฉลิมฉลองทุกเทศกาลอยู่แล้ว มีทั้ง “ลากิจ-ลาป่วย-ลาพักร้อน” ปีหนึ่งๆ ไม่น่าจะน้อยกว่า 2 เดือน แถมเวลาทำงานปกติก็ทำกันไม่ค่อยเต็มที่อีกต่างหาก พูดง่ายๆ “เนื้องาน” ของคนไทยนั้นหา “ผลิตผล-Productivity” ไม่ค่อยจะได้ เข้าทำนอง “เช้าชามเย็นชาม!” ไม่ว่า “ข้าราชการ” หรือแม้แต่ “ภาคเอกชน”
และที่สำคัญไปมากกว่านั้นคือ “คนไทยร่วมเฉลิมฉลองทุกเทศกาลไม่ว่า ตรุษไทย-ตรุษจีน-ตรุษฝรั่ง” จนมีการกล่าวขานว่า “สังคมไทยเป็นสังคมเถิดเทิง” ที่ร่วมฉลองได้ทุกฤดูกาล เหตุผลสำคัญเพราะสังคมไทยเป็นสังคมอุดมสมบูรณ์ไม่เคยต้องผ่านความยากลำบากมาเลยในช่วงระยะเกือบ 200 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้คนไทยมีชีวิตที่สุขสบายมาโดยตลอด ไม่ต้องอดทนฟันฝ่าอุปสรรคใดๆ มากมายนัก
เอาล่ะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว “เทศกาลสงกรานต์” ก็ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง นับแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป กรุงเทพฯ ก็น่าจะสงบเงียบ เพราะผู้คนเดินทางออกต่างจังหวัดกันเกือบหมด เพียงแต่ว่าร้านค้าน่าจะมีการปิดกันบ้างพอสมควร
เป็นประจำทุกปีที่ต้องมาเตือนความจำกันว่า “วันสงกรานต์” คือวันอะไร มีความหมายอย่างไร และวันสำคัญของสงกรานต์เป็นวันไหนกันบ้าง ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติในช่วงสงกรานต์กรณีทางศาสนา เราคนไทยต้องทำอะไรกันบ้าง จึงแทบจะเป็นประจำทุกปีที่สื่อทุกแขนงจะมีการนำเสนอทุกปีไป!
มาเริ่มกันที่ ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้างดังต่อไปนี้ “สงกรานต์” ที่แปลว่า “ก้าวขึ้น” “ย่างขึ้น” นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติในทางโหราศาสตร์
“มหาสงกรานต์” แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือ “สงกรานต์” หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่ “มหาสงกรานต์” หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว “วันเนา” แปลว่า “วันอยู่” คำว่า “เนา” แปลว่า “อยู่” หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว
“วันเถลิงศก” แปลว่า “วันขึ้นศก” เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดีไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3 ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศา แล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้
วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่าทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ.1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณีก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธีซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี
ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือ เริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง 4 วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงพ.ศ.2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ
“ข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์” วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าวันตรุษคือวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องตระเตรียมงานกันเป็นการใหญ่ จนมีคนที่พูดกันติดปากว่า “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” สิ่งที่ตระเตรียมกันนั้น จึงเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกันเป็นพิเศษตามลำดับ ดังนี้
1. เครื่องนุ่งห่มเพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างค่อนข้างจะพิถีพิถัน
2. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษของขนม 2 อย่างได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือ กะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญ
3. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัย ตลอดจนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ดูเรียบร้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจด โดยถือว่ากำจัดสิ่งสกปรกให้สิ้นไปพร้อมกับปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
4. สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากจะทำความสะอาดกุฏิที่อาศัยแล้ว ยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพราะต้องใช้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย และงานรื่นเริงต่างๆ ด้วย
ส่วนการทำบุญในวันสงกรานต์มีทั้ง “พิธีหลวงและพิธีราษฎร์” “พิธีหลวง” พระราชพิธีสงกรานต์ เป็นพระราชพิธีที่กำหนดในวันที่ 15 เมษายน ตั้งแต่เช้าจรดบ่ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประกอบพระราชพิธีทางสงฆ์และทรงสรงน้ำที่พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยและทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล พระสงฆ์จำนวน 67 รูป เท่าจำนวนพระบรมอัฐิ และพระอัฐิที่อาราธนาจากวัดที่เกี่ยวข้องกับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ เจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิจากหอพระธาตุมณเฑียรเป็นกระบวนแห่ มีประโคมสังข์ แตร กลองชนะ ตั้งแต่เวลาเชิญออก จนกระทั่งถึงบนราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนราชสักการะพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงทอดผ้าคู่ (ถือผ้าขาว 2 ผืน นุ่งผืน 1 ห่มผืน 1) มีขวดน้ำหอม 1 ขวด พระสงฆ์นั่งสดับปกรณ์ตามลำดับวัดประจำพระบรมอัฐิ เวลา 16.30 น. เสด็จสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระพุทธสัมพรรณี พระชัยหลังช้าง พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 เสด็จสรงน้ำพระคันธราษฎร์ สรงน้ำพระโพธิ์ พระนิโครธ พระพุทธเจดีย์ทอง พระไตรปิฎกฉบับทองทึบ พระนาคที่วิหารขาวสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระอัฐิเจ้านายต้นราชสกุลต่างๆ เปิดปราสาทพระเทพบิดรวันที่ 13 14 15 16 เมษายน เพื่อให้ประชาชนถวายสักการะพระบรมรูปบูรพมหากษัตริยาธิราช
“ส่วนพิธีราษฎร์” (พิธีของประชาชน) การทำบุญในวันสงกรานต์จะทำการตักบาตรทำบุญที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้วด้วยการตักบาตร ในเวลาตักบาตรพระสงฆ์จะสวดถวายพรพระคือ พาหุง พอเสร็จก็ช่วยกันยกอาหารคาวหวานไปถวายพระ ขณะพระฉันจะมีการอ่านประกาศสงกรานต์กันในตอนนี้ บางคนก็อาจจะอยู่ฟังอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
กิจกรรมที่ปฏิบัติตามประเพณีคือ “การก่อเจดีย์ทราย” ซึ่งถือว่าได้บุญและสนุกสนาน พร้อมกันนั้นก็จะมีการปล่อยนกปล่อยปลาซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น
“การสรงน้ำพระ” มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่และสำคัญอย่างมากคือ “การรดน้ำผู้ใหญ่” เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ซึ่งในอดีตการรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้ มักจะรดหรืออาบท่านจริงๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย และท้ายสุดคือ “การทำบุญอัฐิ” หรือ “กราบไหว้สักการะ” ที่เก็บอัฐิของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
แน่นอนที่ต้องมี “การสาดน้ำ” เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ นั่นคือประวัติความเป็นมา ตลอดจนความหมายของ “ประเพณีสงกรานต์” ตลอดจน “พิธี” และกิจกรรมต่างๆ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญปีใหม่ “ปีชวด” ด้วย!
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า คนไทยร่วมเฉลิมฉลองทุกเทศกาลอยู่แล้ว มีทั้ง “ลากิจ-ลาป่วย-ลาพักร้อน” ปีหนึ่งๆ ไม่น่าจะน้อยกว่า 2 เดือน แถมเวลาทำงานปกติก็ทำกันไม่ค่อยเต็มที่อีกต่างหาก พูดง่ายๆ “เนื้องาน” ของคนไทยนั้นหา “ผลิตผล-Productivity” ไม่ค่อยจะได้ เข้าทำนอง “เช้าชามเย็นชาม!” ไม่ว่า “ข้าราชการ” หรือแม้แต่ “ภาคเอกชน”
และที่สำคัญไปมากกว่านั้นคือ “คนไทยร่วมเฉลิมฉลองทุกเทศกาลไม่ว่า ตรุษไทย-ตรุษจีน-ตรุษฝรั่ง” จนมีการกล่าวขานว่า “สังคมไทยเป็นสังคมเถิดเทิง” ที่ร่วมฉลองได้ทุกฤดูกาล เหตุผลสำคัญเพราะสังคมไทยเป็นสังคมอุดมสมบูรณ์ไม่เคยต้องผ่านความยากลำบากมาเลยในช่วงระยะเกือบ 200 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้คนไทยมีชีวิตที่สุขสบายมาโดยตลอด ไม่ต้องอดทนฟันฝ่าอุปสรรคใดๆ มากมายนัก
เอาล่ะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว “เทศกาลสงกรานต์” ก็ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง นับแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป กรุงเทพฯ ก็น่าจะสงบเงียบ เพราะผู้คนเดินทางออกต่างจังหวัดกันเกือบหมด เพียงแต่ว่าร้านค้าน่าจะมีการปิดกันบ้างพอสมควร
เป็นประจำทุกปีที่ต้องมาเตือนความจำกันว่า “วันสงกรานต์” คือวันอะไร มีความหมายอย่างไร และวันสำคัญของสงกรานต์เป็นวันไหนกันบ้าง ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติในช่วงสงกรานต์กรณีทางศาสนา เราคนไทยต้องทำอะไรกันบ้าง จึงแทบจะเป็นประจำทุกปีที่สื่อทุกแขนงจะมีการนำเสนอทุกปีไป!
มาเริ่มกันที่ ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้างดังต่อไปนี้ “สงกรานต์” ที่แปลว่า “ก้าวขึ้น” “ย่างขึ้น” นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติในทางโหราศาสตร์
“มหาสงกรานต์” แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือ “สงกรานต์” หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่ “มหาสงกรานต์” หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว “วันเนา” แปลว่า “วันอยู่” คำว่า “เนา” แปลว่า “อยู่” หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว
“วันเถลิงศก” แปลว่า “วันขึ้นศก” เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดีไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3 ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศา แล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้
วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่าทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ.1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณีก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธีซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี
ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือ เริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง 4 วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงพ.ศ.2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ
“ข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์” วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าวันตรุษคือวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องตระเตรียมงานกันเป็นการใหญ่ จนมีคนที่พูดกันติดปากว่า “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” สิ่งที่ตระเตรียมกันนั้น จึงเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกันเป็นพิเศษตามลำดับ ดังนี้
1. เครื่องนุ่งห่มเพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างค่อนข้างจะพิถีพิถัน
2. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษของขนม 2 อย่างได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือ กะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญ
3. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัย ตลอดจนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ดูเรียบร้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจด โดยถือว่ากำจัดสิ่งสกปรกให้สิ้นไปพร้อมกับปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
4. สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากจะทำความสะอาดกุฏิที่อาศัยแล้ว ยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพราะต้องใช้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย และงานรื่นเริงต่างๆ ด้วย
ส่วนการทำบุญในวันสงกรานต์มีทั้ง “พิธีหลวงและพิธีราษฎร์” “พิธีหลวง” พระราชพิธีสงกรานต์ เป็นพระราชพิธีที่กำหนดในวันที่ 15 เมษายน ตั้งแต่เช้าจรดบ่ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประกอบพระราชพิธีทางสงฆ์และทรงสรงน้ำที่พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยและทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล พระสงฆ์จำนวน 67 รูป เท่าจำนวนพระบรมอัฐิ และพระอัฐิที่อาราธนาจากวัดที่เกี่ยวข้องกับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ เจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิจากหอพระธาตุมณเฑียรเป็นกระบวนแห่ มีประโคมสังข์ แตร กลองชนะ ตั้งแต่เวลาเชิญออก จนกระทั่งถึงบนราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนราชสักการะพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงทอดผ้าคู่ (ถือผ้าขาว 2 ผืน นุ่งผืน 1 ห่มผืน 1) มีขวดน้ำหอม 1 ขวด พระสงฆ์นั่งสดับปกรณ์ตามลำดับวัดประจำพระบรมอัฐิ เวลา 16.30 น. เสด็จสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระพุทธสัมพรรณี พระชัยหลังช้าง พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 เสด็จสรงน้ำพระคันธราษฎร์ สรงน้ำพระโพธิ์ พระนิโครธ พระพุทธเจดีย์ทอง พระไตรปิฎกฉบับทองทึบ พระนาคที่วิหารขาวสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระอัฐิเจ้านายต้นราชสกุลต่างๆ เปิดปราสาทพระเทพบิดรวันที่ 13 14 15 16 เมษายน เพื่อให้ประชาชนถวายสักการะพระบรมรูปบูรพมหากษัตริยาธิราช
“ส่วนพิธีราษฎร์” (พิธีของประชาชน) การทำบุญในวันสงกรานต์จะทำการตักบาตรทำบุญที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้วด้วยการตักบาตร ในเวลาตักบาตรพระสงฆ์จะสวดถวายพรพระคือ พาหุง พอเสร็จก็ช่วยกันยกอาหารคาวหวานไปถวายพระ ขณะพระฉันจะมีการอ่านประกาศสงกรานต์กันในตอนนี้ บางคนก็อาจจะอยู่ฟังอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
กิจกรรมที่ปฏิบัติตามประเพณีคือ “การก่อเจดีย์ทราย” ซึ่งถือว่าได้บุญและสนุกสนาน พร้อมกันนั้นก็จะมีการปล่อยนกปล่อยปลาซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น
“การสรงน้ำพระ” มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่และสำคัญอย่างมากคือ “การรดน้ำผู้ใหญ่” เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ซึ่งในอดีตการรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้ มักจะรดหรืออาบท่านจริงๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย และท้ายสุดคือ “การทำบุญอัฐิ” หรือ “กราบไหว้สักการะ” ที่เก็บอัฐิของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
แน่นอนที่ต้องมี “การสาดน้ำ” เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ นั่นคือประวัติความเป็นมา ตลอดจนความหมายของ “ประเพณีสงกรานต์” ตลอดจน “พิธี” และกิจกรรมต่างๆ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญปีใหม่ “ปีชวด” ด้วย!