ผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"เปิดผลประโยชน์เอฟทีเอภายใต้กรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-เกาหลี ที่จะมีการลงนามเร็วๆ นี้ ระบุไทยจะส่งออกได้มากขึ้น จากการที่ญี่ปุ่นเปิดตลาดสินค้าอีก 71 รายการ ทั้งปลา กล้วย อาหารแปรรูป ปิโตรเคมี ไม้อัดและไม้แปรรูป พร้อมกับมีการปรับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าให้ยืดหยุ่นขึ้น ขณะที่เกาหลี ไทยมีโอกาสส่งออกคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณี อาหารทะเลแปรรูป และสามารถนำเข้าสินแร่ เม็ดพลาสติก ปุ๋ยเคมีราคาถูก
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ไทยจะมีการลงนามการเปิดเสรีภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยญี่ปุ่นจะมีการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มขึ้นและเร็วขึ้นอีก 71 รายการ คิดเป็นมูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสินค้าสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์จากปลา กล้วย ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไม้อัดและไม้แปรรูป เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ไทยจะได้ประโยชน์จากการปรับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าให้มีความยืดหยุ่นกว่าความตกลง JTEPA ได้แก่ ผ้าไม่ทอ สุรา และสินค้าเกษตร เช่น อาหารปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลาหรือสัตว์น้ำ โกโก้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช นม พืชผักและผลไม้ รวมทั้งยังกำหนดให้สามารถสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าในอาเซียนและญี่ปุ่นได้ ทำให้วัตถุดิบในอาเซียนและญี่ปุ่นถือเป็นวัตถุดิบของไทย จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ผลิตในการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีราคาต่ำในการผลิตสินค้า
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในอาเซียน เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ พลังงาน สารสนเทศและการสื่อสาร และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
สำหรับการทำเอฟทีเออาเซียน-ญี่ปุ่น คาดว่าจะทำให้อาเซียนมีการขยายตัวด้านการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าภายในปี 2563 มูลค่าการส่งออกของอาเซียนไปยังญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นอีก 20,630 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันที่อาเซียนส่งออกไปญี่ปุ่นเฉลี่ยปีละ 81,285 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าเฉลี่ยปีละ 80,496 ล้านเหรียญสหรัฐ
นางสาวชุติมากล่าวว่า ส่วนเอฟทีเออาเซียน-เกาหลี ไทยจะได้รับประโยชน์ทันทีที่มีการลงนามในความตกลงเอฟทีเอ ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามกันได้ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM Retreat) ในเดือนพ.ค.นี้ หรืออย่างช้าในเดือนส.ค. โดยสินค้าไทยที่ส่งออกไปเกาหลีจะได้รับการลดภาษีและยกเว้นภาษี เพราะสินค้าส่วนใหญ่จะเป็น 0% ในปี 2010 เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลแปรรูป เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
"ไทยยังจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าจากเกาหลี เพราะไทยจะมีการลดภาษีลงมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบ เช่น สินแร่ เม็ดพลาสติก ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นทุนในการผลิตภายในประเทศลดลง ส่วนการนำเข้าสินค้าอื่นๆ ก็จะมีทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และของเล่นเด็ก"นางสาวชุติมากล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการเปิดเอฟทีเอกับเกาหลี มีอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ อุตสาหกรรมเหล็ก อลูมิเนียม และอุตสาหกรรมหนังและเครื่องหนัง โดยสินค้าดังกล่าวจะลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2017 และภาษีนำเข้าในปัจจุบันอยู่ระหว่าง 5-30% ซึ่งภาครัฐได้มีการเตือนภัยล่วงหน้า และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขัน รวมทั้งได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างเต็มที่
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ไทยจะมีการลงนามการเปิดเสรีภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยญี่ปุ่นจะมีการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มขึ้นและเร็วขึ้นอีก 71 รายการ คิดเป็นมูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสินค้าสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์จากปลา กล้วย ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไม้อัดและไม้แปรรูป เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ไทยจะได้ประโยชน์จากการปรับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าให้มีความยืดหยุ่นกว่าความตกลง JTEPA ได้แก่ ผ้าไม่ทอ สุรา และสินค้าเกษตร เช่น อาหารปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลาหรือสัตว์น้ำ โกโก้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช นม พืชผักและผลไม้ รวมทั้งยังกำหนดให้สามารถสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าในอาเซียนและญี่ปุ่นได้ ทำให้วัตถุดิบในอาเซียนและญี่ปุ่นถือเป็นวัตถุดิบของไทย จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ผลิตในการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีราคาต่ำในการผลิตสินค้า
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในอาเซียน เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ พลังงาน สารสนเทศและการสื่อสาร และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
สำหรับการทำเอฟทีเออาเซียน-ญี่ปุ่น คาดว่าจะทำให้อาเซียนมีการขยายตัวด้านการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าภายในปี 2563 มูลค่าการส่งออกของอาเซียนไปยังญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นอีก 20,630 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันที่อาเซียนส่งออกไปญี่ปุ่นเฉลี่ยปีละ 81,285 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าเฉลี่ยปีละ 80,496 ล้านเหรียญสหรัฐ
นางสาวชุติมากล่าวว่า ส่วนเอฟทีเออาเซียน-เกาหลี ไทยจะได้รับประโยชน์ทันทีที่มีการลงนามในความตกลงเอฟทีเอ ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามกันได้ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM Retreat) ในเดือนพ.ค.นี้ หรืออย่างช้าในเดือนส.ค. โดยสินค้าไทยที่ส่งออกไปเกาหลีจะได้รับการลดภาษีและยกเว้นภาษี เพราะสินค้าส่วนใหญ่จะเป็น 0% ในปี 2010 เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลแปรรูป เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
"ไทยยังจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าสินค้าจากเกาหลี เพราะไทยจะมีการลดภาษีลงมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบ เช่น สินแร่ เม็ดพลาสติก ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นทุนในการผลิตภายในประเทศลดลง ส่วนการนำเข้าสินค้าอื่นๆ ก็จะมีทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และของเล่นเด็ก"นางสาวชุติมากล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการเปิดเอฟทีเอกับเกาหลี มีอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ อุตสาหกรรมเหล็ก อลูมิเนียม และอุตสาหกรรมหนังและเครื่องหนัง โดยสินค้าดังกล่าวจะลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2017 และภาษีนำเข้าในปัจจุบันอยู่ระหว่าง 5-30% ซึ่งภาครัฐได้มีการเตือนภัยล่วงหน้า และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขัน รวมทั้งได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างเต็มที่