การตายเพราะอาการอกหักอาจไม่ใช่คำอธิบายที่หนักแน่นในทางวิทยาศาสตร์สำหรับทุกคน ทั้งที่เป็นเรื่องจริงและวัดผลได้
การเสียภรรยาไปอย่างไม่มีวันกลับทำให้ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะตายตามเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่สามีตายจากไป มีความเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเพียงสองเท่าเท่านั้น
ความเสี่ยงดังกล่าวจะมีมากที่สุดในรอบขวบปีแรกที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ
ผู้เชี่ยวชาญของแคสส์ บิสเนส สกูลในลอนดอนเชื่อว่า ความเครียดจากการสูญเสียคู่ครองเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ซึ่งอาจทำให้อาการป่วยที่มีอยู่เดิมทรุดลง
นอกจากนั้น จิตใจเหี่ยวเฉาหดหู่ยังอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือละเลยสุขภาพและอาหารการกิน
ดร.แจ็ป สปริว จากสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยของแคสส์ กล่าวว่างานวิจัยชิ้นนี้ยืนยันผลกระทบของ ‘กลุ่มอาการหัวใจสลาย’
“เราต่างรู้ว่าการตายของคู่ครองส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อชีวิตของผู้ที่ยังอยู่ แต่ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่ออัตราการตาย”
ดร.สปริวเสริมว่า ผลกระทบจะรุนแรงมากในช่วงแรกที่คู่ครองจากไป โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงวัยที่ใช้ชีวิตคู่มายาวนาน แต่ข่าวดีก็คือ หากผ่านพ้นปีแรกไปได้ ความเสี่ยงก็จะน้อยลง
งานวิจัยชิ้นนี้อิงกับการวิเคราะห์จากกรมธรรพ์แบบเงินรายปีตลอดชีพ (ผู้รับประกันภันจะจ่ายเงินได้ประจำระหว่างที่ผู้รับเงินได้ยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่มีเงื่อนไขว่า หากผู้รับเงินตายไปก่อน ผู้รับประกันภัยจะต้องคืนเงินส่วนที่เหลืออยู่จากเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระไปแล้ว) จำนวน 11,454 ฉบับของบริษัทประกันภัยแคนาดาแห่งหนึ่ง โดยในจำนวนนี้ สามี-ภรรยา 195 คู่เสียชีวิตพร้อมกัน
จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มี 1,048 กรณีที่สามีเสียชีวิตแต่ภรรยายังอยู่ และ 255 คู่ที่ภรรยาเสียชีวิตแต่สามียังอยู่
นักวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตสูงสุดในหมู่ผู้ที่สูญเสียคู่ครองจะอยู่ในช่วง 12 เดือนแรก และความเสี่ยงสูงสุดในการเสียชีวิตตามคู่ครองมักเกิดขึ้นกับผู้ชาย
แอนดริว ปาปาโดปูลอส นักจิตวิทยาจากมูลนิธิสุขภาพจิตเบอร์มิงแฮม อังกฤษ อธิบายว่าการสูญเสียคู่ชีวิตเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับชายชรา เพราะอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เช่น การต้องดูแลตัวเองทั้งที่ไม่เคยทำอาหารหรือซักรีดเสื้อผ้ามาก่อน
“ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันเป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ แต่การวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่าคนที่รู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีค่าและสิ้นหวังหลังการตายของคู่ครอง มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงเป็นพิเศษ ดังนั้น คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้จึงควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว”
การเสียภรรยาไปอย่างไม่มีวันกลับทำให้ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะตายตามเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่สามีตายจากไป มีความเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเพียงสองเท่าเท่านั้น
ความเสี่ยงดังกล่าวจะมีมากที่สุดในรอบขวบปีแรกที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ
ผู้เชี่ยวชาญของแคสส์ บิสเนส สกูลในลอนดอนเชื่อว่า ความเครียดจากการสูญเสียคู่ครองเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ซึ่งอาจทำให้อาการป่วยที่มีอยู่เดิมทรุดลง
นอกจากนั้น จิตใจเหี่ยวเฉาหดหู่ยังอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือละเลยสุขภาพและอาหารการกิน
ดร.แจ็ป สปริว จากสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยของแคสส์ กล่าวว่างานวิจัยชิ้นนี้ยืนยันผลกระทบของ ‘กลุ่มอาการหัวใจสลาย’
“เราต่างรู้ว่าการตายของคู่ครองส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อชีวิตของผู้ที่ยังอยู่ แต่ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่ออัตราการตาย”
ดร.สปริวเสริมว่า ผลกระทบจะรุนแรงมากในช่วงแรกที่คู่ครองจากไป โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงวัยที่ใช้ชีวิตคู่มายาวนาน แต่ข่าวดีก็คือ หากผ่านพ้นปีแรกไปได้ ความเสี่ยงก็จะน้อยลง
งานวิจัยชิ้นนี้อิงกับการวิเคราะห์จากกรมธรรพ์แบบเงินรายปีตลอดชีพ (ผู้รับประกันภันจะจ่ายเงินได้ประจำระหว่างที่ผู้รับเงินได้ยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่มีเงื่อนไขว่า หากผู้รับเงินตายไปก่อน ผู้รับประกันภัยจะต้องคืนเงินส่วนที่เหลืออยู่จากเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระไปแล้ว) จำนวน 11,454 ฉบับของบริษัทประกันภัยแคนาดาแห่งหนึ่ง โดยในจำนวนนี้ สามี-ภรรยา 195 คู่เสียชีวิตพร้อมกัน
จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มี 1,048 กรณีที่สามีเสียชีวิตแต่ภรรยายังอยู่ และ 255 คู่ที่ภรรยาเสียชีวิตแต่สามียังอยู่
นักวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตสูงสุดในหมู่ผู้ที่สูญเสียคู่ครองจะอยู่ในช่วง 12 เดือนแรก และความเสี่ยงสูงสุดในการเสียชีวิตตามคู่ครองมักเกิดขึ้นกับผู้ชาย
แอนดริว ปาปาโดปูลอส นักจิตวิทยาจากมูลนิธิสุขภาพจิตเบอร์มิงแฮม อังกฤษ อธิบายว่าการสูญเสียคู่ชีวิตเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับชายชรา เพราะอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เช่น การต้องดูแลตัวเองทั้งที่ไม่เคยทำอาหารหรือซักรีดเสื้อผ้ามาก่อน
“ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันเป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ แต่การวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่าคนที่รู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีค่าและสิ้นหวังหลังการตายของคู่ครอง มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงเป็นพิเศษ ดังนั้น คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้จึงควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว”