อุดรธานี-กรมขนส่งทางบก เปิดเวทีระดมความเห็นโครงการจัดสร้างสถานีขนส่งในเมืองหลักและเมืองชายแดน เผยอุดรธานีเหมาะตั้งสถานีขนส่งปลายทางในแถบอีสานบน เพื่อกระจายสินค้าและรวบรวมสินค้าลดปริมาณรถบรรทุกเที่ยวเปล่า ย้ำช่วยให้ระบบขนส่งมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ห้องประชุมโรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล อ.เมือง จ.อุดรธานี นายรณยุทธ ตั้งรวมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธานเปิดการสัมมนา ”โครงการศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการสถานีขนส่งสินค้าในเมืองหลักและจังหวัดชายแดน” โดยมีผู้ประกอบการขนส่งจาก จ.อุดรธานี และใกล้เคียง เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 50 คน
นายสมเกียรติ แต้มแจ้งอรุณ วิศวกรการทางอาวุโส บริษัทที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า ในปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้จัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าในส่วนกลางบริเวณชายเมืองกรุงเทพฯขึ้น 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล ร่มเกล้า และคลองหลวง เพื่ออำนวยความสะดวกและจัดระเบียบการขนส่งสินค้าทางถนนให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกให้ทันสมัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯได้อีกทางหนึ่งด้วย
สถานีขนส่งส่วนกลางทั้ง 3 แห่ง เป็นการขนส่งสินค้าต้นทางที่กระจายสินค้าออกไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่สินค้าต้นทางเพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้ประโยชน์ด้านการขนส่งสินค้าได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องมีสถานีขนส่งปลายทางในภูมิภาคขึ้นรองรับการกระจายสินค้าจากต้นทาง รวมทั้งเป็นการรวบรวมสินค้าสำหรับการบรรทุกเที่ยวกลับด้วย ประกอบกับในปัจจุบันประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านในอันที่จะอำนวยความสะดวกด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างกัน
ดังนั้น สถานีขนส่งสินค้าในส่วนภูมิภาคและจังหวัดชายแดน จึงเป็นเครือข่ายของการขนส่งสินค้าทางถนนที่มีความสำคัญยิ่ง
นอกจากนี้ ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ความจำเป็นที่ต้องการลดความสูญเสีย ทางด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจึงมีความสำคัญ ซึ่งแนวทางการดำเนินโครงการสถานีขนส่งสินค้าในเมืองและจังหวัดชายแดน เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถลดการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกเที่ยวเปล่าลงได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดการขนส่งสินค้าและเป็นการใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า รวมทั้งเป็นการลดทุนทางด้านลอจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าด้วย
ด้านนายรณยุทธ กล่าวว่า กรมการขนส่งได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการสถานีขนส่งสินค้ามาโดยตลอด และได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังถึงความเหมาะสมและคุ้มค่าของสถานีขนส่งสินค้า จนสามารถเปิดดำเนินการในส่วนกลางได้ 3 แห่ง แต่ทั้ง 3 แห่งยังพบว่าไม่สามารถที่จะทำให้ระบบสถานีขนส่งสินค้าดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้
ดังนั้น จำเป็นต้องมีสถานีขนส่งสินค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ในการรองรับการรวบรวมและกระจายสินค้าอย่างครบวงจร จึงเป็นที่มาของการศึกษาโครงการฯเพื่อระดมความคิดเห็นของผู้ประกอบการ
นายรณยุทธระบุว่า ในส่วนของ จ.อุดรธานี โครงการฯได้ศึกษาและเล็งเห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูง และเป็นจังหวัดศูนย์กลางการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นอกจากนี้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีกิจกรรมทางด้านการค้าและการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศรวมทั้งกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ หากความคิดเห็นของผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รัฐเองก็จะให้ความช่วยเหลือเพื่อจัดตั้งสถานีขนส่งปลายทาง โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1.รัฐลงทุนให้ โดยเอกชนหาพื้นที่เอง 2.ร่วมทุนกันระหว่างรัฐกับเอกชน และ 3.เอกชนลงทุนเองทั้งหมด โดยรัฐให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม
ที่ห้องประชุมโรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล อ.เมือง จ.อุดรธานี นายรณยุทธ ตั้งรวมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธานเปิดการสัมมนา ”โครงการศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการสถานีขนส่งสินค้าในเมืองหลักและจังหวัดชายแดน” โดยมีผู้ประกอบการขนส่งจาก จ.อุดรธานี และใกล้เคียง เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 50 คน
นายสมเกียรติ แต้มแจ้งอรุณ วิศวกรการทางอาวุโส บริษัทที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า ในปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกได้จัดตั้งสถานีขนส่งสินค้าในส่วนกลางบริเวณชายเมืองกรุงเทพฯขึ้น 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล ร่มเกล้า และคลองหลวง เพื่ออำนวยความสะดวกและจัดระเบียบการขนส่งสินค้าทางถนนให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกให้ทันสมัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯได้อีกทางหนึ่งด้วย
สถานีขนส่งส่วนกลางทั้ง 3 แห่ง เป็นการขนส่งสินค้าต้นทางที่กระจายสินค้าออกไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่สินค้าต้นทางเพียงอย่างเดียวไม่สามารถใช้ประโยชน์ด้านการขนส่งสินค้าได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องมีสถานีขนส่งปลายทางในภูมิภาคขึ้นรองรับการกระจายสินค้าจากต้นทาง รวมทั้งเป็นการรวบรวมสินค้าสำหรับการบรรทุกเที่ยวกลับด้วย ประกอบกับในปัจจุบันประเทศไทยได้ทำความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านในอันที่จะอำนวยความสะดวกด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างกัน
ดังนั้น สถานีขนส่งสินค้าในส่วนภูมิภาคและจังหวัดชายแดน จึงเป็นเครือข่ายของการขนส่งสินค้าทางถนนที่มีความสำคัญยิ่ง
นอกจากนี้ ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ความจำเป็นที่ต้องการลดความสูญเสีย ทางด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจึงมีความสำคัญ ซึ่งแนวทางการดำเนินโครงการสถานีขนส่งสินค้าในเมืองและจังหวัดชายแดน เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถลดการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกเที่ยวเปล่าลงได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดการขนส่งสินค้าและเป็นการใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า รวมทั้งเป็นการลดทุนทางด้านลอจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าด้วย
ด้านนายรณยุทธ กล่าวว่า กรมการขนส่งได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการสถานีขนส่งสินค้ามาโดยตลอด และได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังถึงความเหมาะสมและคุ้มค่าของสถานีขนส่งสินค้า จนสามารถเปิดดำเนินการในส่วนกลางได้ 3 แห่ง แต่ทั้ง 3 แห่งยังพบว่าไม่สามารถที่จะทำให้ระบบสถานีขนส่งสินค้าดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้
ดังนั้น จำเป็นต้องมีสถานีขนส่งสินค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ในการรองรับการรวบรวมและกระจายสินค้าอย่างครบวงจร จึงเป็นที่มาของการศึกษาโครงการฯเพื่อระดมความคิดเห็นของผู้ประกอบการ
นายรณยุทธระบุว่า ในส่วนของ จ.อุดรธานี โครงการฯได้ศึกษาและเล็งเห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูง และเป็นจังหวัดศูนย์กลางการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นอกจากนี้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีกิจกรรมทางด้านการค้าและการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศรวมทั้งกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ หากความคิดเห็นของผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รัฐเองก็จะให้ความช่วยเหลือเพื่อจัดตั้งสถานีขนส่งปลายทาง โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1.รัฐลงทุนให้ โดยเอกชนหาพื้นที่เอง 2.ร่วมทุนกันระหว่างรัฐกับเอกชน และ 3.เอกชนลงทุนเองทั้งหมด โดยรัฐให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม