ผู้จัดการรายวัน- ลมปาก "มิ่งขวัญ" ทำวุ่นทั้งประเทศ หลังปั่นราคาข้าวจนยั้งไม่อยู่ กรมราชทัณฑ์หวั่นเอกชนผู้ประมูลส่งข้าวทนขาดทุนไม่ไหว จนต้องเลิกส่งข้าวให้เรือนจำ ส่วนคุกเด็ก เอกชนเริ่มขอยกเลิกสัญญาแล้ว ขณะที่ร้านขายข้าวสารแปดริ้ว ปิดร้านงดขายข้าวชั่วคราวหวังเก็งกำไร สมาคมโรงสีข้าวไทยจี้ มิ่งขวัญ อย่าหลงกล กำหนดเพดานการส่งออก ด้าน"มิ่งขวัญ" เตรียมล็อบบี้อินเดีย ชงแนวคิดข้าวโอเปก
หลังจากที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รมว.พาณิชย์ ได้กล่าวถึงนโยบายการแก้ปัญหาราคาข้าวว่า ตอนนี้ราคาข้าวสารว่าจะแพงยิ่งกว่าทองคำ และขอให้ชาวนาอย่าเพิ่งขายข้าว ทำให้เกิดการกักตุน และราคาข้าวสารในท้องตลาดถีบตัวขึ้นทันที และล่าสุดก็พลิกลิ้นออกมาว่าให้ชาวนาขายข้าวได้ จึงทำให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดข้าวสารอย่างหนัก ส่งผลกระทบถึงผู้บริโภคที่แห่ซื้อข้าวสารเพื่อกักตุน จนทำให้เกิดการขาดแคลน และเก็งกำไรกัน
ล่าสุดนายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยภายหลังประชุมหามาตรการรองรับปัญหาข้าวสารราคาแพงว่า กรมราชทัณฑ์ได้รับหนังสือจากองค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อการเกษตร และชุมนุมสหกรณ์หลายแห่ง ซึ่งเป็นผู้ประมูลส่งข้าวสารให้นักโทษในเรือนจำต่างๆ โดยแจ้งถึงราคาข้าวสารที่ปรับตัวสูงขึ้น และขอความช่วยเหลือจากกรมราชทัณฑ์ โดยชุมนุมสหกรณ์บางแห่งเกรงว่าจะไม่สามารถจัดหาหรือซื้อข้าวมาส่งให้เรือนจำได้ ดังนั้นตนจึงได้เรียกประชุมเพื่อหามาตรการรองรับปัญหาข้าวสารแพง เนื่องจากอาจมีผู้ประมูลส่งข้าวสาร ที่แบกรับภาวะขาดทุนไม่ไหว และไม่ส่งข้าวให้เรือนจำ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของเรือนจำ เพราะถ้าไม่มีข้าวให้นักโทษรับประทาน อาจเกิดปัญหาจลาจลในเรือนจำตามมา
สำหรับมาตรการแก้ปัญหาเบื้องต้น กรมราชทัณฑ์ จะประชุมร่วมกับผู้ประมูลส่งข้าวสารของกรมราชทัณฑ์ เพื่อประเมินปัญหาราคาข้าวสารที่แพงขึ้นจากราคาประมูลปลายปี 50 นำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป
อย่างไรก็ตาม องค์กรผู้ประมูลข้าวสารของกรมราชทัณฑ์ จะต้องยืนยันว่า ผู้ส่งข้าวสารต้องไม่ผิดสัญญาในการส่งข้าว มิเช่นนั้นจะถูกขึ้นบัญชีห้ามร่วมประมูลส่งข้าวกับกรมราชทัณฑ์ในปีต่อๆไปอย่างเด็ดขาด ในส่วนความช่วยเหลือนั้น กรมราชทัณฑ์จะเร่งหารือกับทางรัฐบาล นอกจากนี้ ตนจะทำหนังสือถึงผู้บัญชาการเรือนจำทั่วประเทศ หากเรือนจำใดประสบปัญหาผู้ประมูลไม่จัดส่งข้าวสาร ให้ผู้บัญชาการเรือนจำนำงบประมาณค่าอาหารรายเดือนไปซื้อข้าวสารมาทดแทน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานักโทษไม่มีข้าวรับประทาน
ปัจจุบันเรือนจำทั่วประเทศ ได้เปลี่ยนข้าวสารสำหรับให้นักโทษบริโภคจากข้าวแดง 5 % มาเป็นข้าวสารขาว 5 % โดยใช้เกณฑ์นี้มานาน 3 ปี จากการสำรวจราคาข้าวสาร พบว่า ราคาเฉลี่ยในการประมูลข้าวสารของเรือนจำจะมีราคาประมาณ ก.ก.ละ 12 บาท หรือราคา 60 บาทต่อข้าวสารถุงน้ำหนัก 5 ก.ก. แต่ปัจจุบันราคาข้าวสารในตลาดปรับตัวสูงถึงกิโลกรัมละ 16 บาท หากรัฐบาลไม่เพิ่มงบประมาณอาหารต่อหัวให้นักโทษ กรมราชทัณฑ์อาจต้องปรับคุณภาพของข้าวสารจากข้าว 5% ให้ต่ำลง เพื่อมีงบประมาณเพียงพอในการจัดซื้อข้าวสาร และอาจต้องปรับสัดส่วนรายการอาหารประจำวันใหม่ โดยลดปริมาณกับข้าวลง เพื่อนำเงินส่วนที่เหลือมาซื้อข้าวสาร
สำหรับงบประมาณค่าอาหารของนักโทษต่อหัวต่อวัน อยู่ 42 บาทต่อคนต่อวัน ในการประมูลซื้อข้าวสาร และอาหารสด ตามระเบียบทุกเรือนจำต้องประมูลเป็นค่าข้าวสารก่อน ในอัตรา 6 บาท ต่อคนต่อวัน จากนั้นจะหักเป็นค่าแก๊สหุงต้ม 2 บาท ต่อคนต่อวัน ส่วนที่เหลือ 34 บาท จึงเป็นค่าน้ำมันพืช เครื่องปรุง และอาหารสด
ปัจจุบันมีผู้ต้องขังทั่วประเทศ 170,000 คน แต่ละวันจะบริโภคข้าวสารมื้อละ 66,300 กิโลกรัม หรือวันละ 199 ตัน เฉลี่ยทั้งปี บริโภคข้าวสาร 72,600 ตัน โดยกรมราชทัณฑ์จะไม่ใช้วิธีประมูลข้าวสารจากส่วนกลาง แต่เปิดให้เรือนจำแต่ละแห่งเปิดประมูลหาผู้จัดส่งข้าวสารเอง เพื่อให้ได้ข้าวสารในราคา ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผู้ประมูลข้าวจะประมูลเป็นรายปี ใช้ราคาเฉลี่ยของข้าวสารทั้งในฤดูเก็บเกี่ยวและฤดูข้าวแพง โดยผู้ประมูลจะรับปะกันความผันผวนของราคาข้าวเอง แต่ในปีนี้ราคาข้าวสารผันผวนผิดปกติ จากข้าวกระสอบละ 1,200 บาท ปรับเพิ่มเป็นกระสอบละ1,600 บาท
คุกเด็กเอกชนขอยกเลิกสัญญา
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีบริษัทผู้รับเหมา ที่ทำสัญญาส่งอาหารสดและข้าวสารให้สถานพินิจฯ ทำหนังสือมาขอยกเลิกสัญญาส่งอาหารให้กับสถานพินิจฯ โดยอ้างเหตุผลว่าราคาอาหารสด น้ำมันพืช น้ำตาล ข้าวสาร และแก๊สหุงต้ม ปรับตัวสูงขึ้นมากจนทำให้ผู้ประกอบการประสบภาวะขาดทุน จนไม่สามารถจัดหาอาหารสดให้กับสถานพินิจฯได้ตามสัญญา กรมพินิจฯจึงได้หารือกับฝ่ายกฎหมาย ของกระทรวงยุติธรรม เพื่อเร่งหามาตรการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนข้าวสารและอาหารในสถานพินิจฯ โดยพบว่า ที่ผ่านมา ในงานก่อสร้างอาคารของทางราชการ มีข้อยกเว้นให้สามารถขอเพิ่มวงเงินงบประมาณในการก่อสร้างได้ หากมีปัญหาราคาวัสดุอุปกรณ์ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นกรมพินิจฯอาจจะขอให้พิจารณาแก้ปัญหาข้าวสาร และอาหารสดปรับราคาสูงขึ้น โดยให้กระทรวงยุติธรรม ขอใช้งบประมาณกลางของรัฐบาลมาจ่ายเพิ่มให้กับค่าอาหารที่ปรับราคาสูงขึ้น
รองอธิบดีกรมพินิจฯ กล่าวอีกว่า ในกรณีที่ผู้รับเหมาไม่ส่งข้าวสารและอาหารสดตามสัญญา หรือขอยกเลิกสัญญาส่งอาหาร จะต้องถูกริบเงินประกัน และถูกบันทึกชื่อในบัญชีดำ ห้ามไม่ให้เข้าร่วมประมูลเป็นคู่สัญญาส่งข้าวสาร และอาหารสดให้สถานพินิจฯ ทั่วประเทศ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาราคาข้าวสารและอาหารปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมเกือบเท่าตัว จึงเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องหาทางแก้ไข ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเยาวชนในสถานพินิจฯและบริษัทเอกชนผู้ประกอบอาชีพส่งอาหารและข้าวสาร
ปิดร้านชั่วคราวหวังเก็งกำไร
ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านผู้บริโภค ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ขณะนี้ข้าวสารขาดตลาด หาซื้อได้ยาก เพราะร้านจำหน่ายข้าวสารหลายร้านที่เคยเปิดจำหน่ายอยู่ ได้พากันปิดตัวชั่วคราวมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว ทั้งที่ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผลผลิตข้าวจำนวนมาก จึงไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดข้าวสารจึงขาดแคลนไม่มีจำหน่าย หรือเป็นการกักตุนข้าวสารของพ่อค้า ที่จะเก็บไว้รอจำหน่าย หลังจากราคาข้าวสารมีราคาขยับขึ้นไม่หยุด ตามที่รมว.พาณิชย์คาดการไว้ ที่บอกว่า อีกสามเดือนราคาข้าวเปลือกจะพุ่งสูงขึ้นถึงตันละสามหมื่นบาท
ขณะที่นางอรษา เที่ยงพิมล อายุ 52 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 207/14 ถ.มหาจักพรรดิ์ ต.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา ผู้ประกอบการร้านค้าข้าวสาร และตัวแทนโรงสีข้าวเที่ยงพิมล กล่าวว่า ขณะนี้ข้าวเปลือกในพื้นที่ขาดแคลน โดยโรงสีต้องออกไปรับซื้อข้าวจากจ.นครราชสีมา และภาคอีสาน นำมาสีจำหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยราคาจำหน่ายข้าวหอมมะลิ เกรดชั้นดี ถังละ (15 กก.) 475 บาท หรือถุงขนาด 5 กก.ถุงละ 160 บาท ส่วนกรณีที่มีร้านจำหน่ายข้าวสารบางร้านปิดตัวลงไป ไม่ยอมเปิดร้านจำหน่ายให้แก่ลูกค้านั้น ตนไม่อยากพูดถึง
จี้พาณิชย์ตรวจสต็อกข้าว
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการค้าปลีก กล่าวถึงกรณีสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุง อ้างว่าจะไม่ส่งข้าวถุงมาจำหน่ายให้กับโมเดิร์นเทรด เพราะมีปัญหาเรื่องการชำระเงินว่า ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริง เพราะที่ผ่านมาได้มีการตกลงทางธุรกิจในเรื่องของกำหนดเวลาเครดิตมาตั้งแต่ต้นแล้ว และเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายมาตลอด แต่ที่นำเรื่องนี้มาอ้างเพราะผู้ค้าข้าวกับผู้ส่งออกข้าวเป็นบริษัทเดียวกัน ซึ่งในช่วงนี้ ผู้ค้าข้าวต้องการส่งออกข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศมากกว่า จึงหาเหตุไม่ส่งข้าวมาขายในโมเดิร์นเทรด แต่จะกักตุนและนำไปขายต่างประเทศแทน ประกอบกับกรมการค้าภายในออกมาตรการนำข้าวในสต๊อกของรัฐมาบรรจุถุงขายในราคาถูก ทำให้เป็นการช่วยพ่อค้าขายคนกลางไปโดยปริยาย เพราะทำให้ดูเหมือนว่าข้าวในประเทศไม่ขาดแคลน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง กรมการค้าภายใน ควรจะต้องเร่งตรวจสอบสต๊อกข้าวของโรงสีและพ่อค้าส่งออกด้วย มิเช่นนั้นจะเป็นการปล่อยให้พ่อค้าข้าวคนกลางเอาเปรียบประชาชน
“มิ่งขวัญ”อย่าหลงกลผู้ส่งออก
นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ วันนี้ (5 เม.ย.) จะเสนอในที่ประชุมว่าไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคาเพดานส่งออกข้าวขั้นต่ำ ตามที่สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศเสนอ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะส่งผลเสีย ทำให้ราคาข้าวภายในประเทศร่วงลงมา แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหาเรื่องข้าวภายในประเทศขาดแคลน ตามที่ผู้ส่งออกกล่าวอ้าง อย่าหลงกลผู้ส่งออกกำหนดเพดานส่งออกขั้นต่ำ เพราะเป็นเกมทุบราคาข้าวมากกว่าการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน
ทั้งนี้ การดูแลราคาข้าวในประเทศที่ถูกต้อง คือรัฐควรนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่มีอยู่ 2.1 ล้านตัน ออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในประเทศ ก็เพียงพอแล้ว โดยข้าวที่นำมาจำหน่ายจะต้องมีปริมาณมากพอ หรือไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนตัน ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวภายในประเทศลดลงมาได้พอสมควร โดยไม่กระทบกับราคาส่งออกข้าวต่างประเทศ ส่วนข้าวที่เหลือในสต๊อก รัฐบาลจะต้องเก็บไว้สำรอง โดยไม่ปล่อยระบายออกมาให้ผู้ส่งออก
“มิ่งขวัญ”เตรียมกล่อมชาวนา
ด้านนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการหารือกับสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกับการค้าข้าวในวันนี้ (5 เม.ย.) จะเปิดให้ทุกฝ่ายชี้แจงข้อมูลการค้าข้าวทั้งระบบอย่างละเอียด ซึ่งจะได้รับทราบระบบการค้าข้าวทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร และภาวะที่ราคาข้าวแพงเช่นนี้ อยากขอให้ชาวนาเปิดการเจรจาขายข้าวกับพ่อค้าคนกลาง และโรงสีข้าวใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกกดราคาเหมือนในอดีตอีก เพราะชาวนามีโอกาสรับรู้ราคาข้าวส่งออกที่แท้จริงแล้ว
ทั้งนี้เข้าใจดีว่าชาวนาไม่มียุ้งฉางสำหรับเก็บข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวได้ แต่ต้องเจรจากับกับโรงสีและพ่อค้าข้าวใหม่ เพื่อกำหนดราคาข้าวใหม่ เพราะราคาข้าวปรับขึ้นสูงมาก และจากนี้ไปกระทรวงพาณิชย์จะออกมาแจ้งราคาข้าวให้ชาวนารับทราบอย่างใกล้ชิด
คุยอินเดียชงแนวคิด"ข้าวโอเปก"
นอกจากนี้ในโอกาสที่รมว.พาณิชย์ ของอินเดียจะเดินทางมาเยือนไทยในวันที่ 27 เม.ย.นี้ จะเสนอแนวความคิดการเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลกเช่นเดียวกับที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปก เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันตลาดโลก หากอินเดียเห็นด้วย ก็จะเดินทางไปหารือกับรมว.พาณิชย์เวียดนาม ด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันไทย อินเดีย และเวียดนาม ถือเป็น ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ รวมกันแล้วมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 60% รวมทั้งจะเข้าไปดูแลปัญหาเรื่องที่กองทุนเก็งกำไรข้ามชาติ หรือเฮดฟันด์ เข้ามาเก็งกำไรราคาข้าวในตลาดซื้อขายล่วงหน้าว่าเป็นอย่างไรด้วย
หลังจากที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รมว.พาณิชย์ ได้กล่าวถึงนโยบายการแก้ปัญหาราคาข้าวว่า ตอนนี้ราคาข้าวสารว่าจะแพงยิ่งกว่าทองคำ และขอให้ชาวนาอย่าเพิ่งขายข้าว ทำให้เกิดการกักตุน และราคาข้าวสารในท้องตลาดถีบตัวขึ้นทันที และล่าสุดก็พลิกลิ้นออกมาว่าให้ชาวนาขายข้าวได้ จึงทำให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดข้าวสารอย่างหนัก ส่งผลกระทบถึงผู้บริโภคที่แห่ซื้อข้าวสารเพื่อกักตุน จนทำให้เกิดการขาดแคลน และเก็งกำไรกัน
ล่าสุดนายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยภายหลังประชุมหามาตรการรองรับปัญหาข้าวสารราคาแพงว่า กรมราชทัณฑ์ได้รับหนังสือจากองค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อการเกษตร และชุมนุมสหกรณ์หลายแห่ง ซึ่งเป็นผู้ประมูลส่งข้าวสารให้นักโทษในเรือนจำต่างๆ โดยแจ้งถึงราคาข้าวสารที่ปรับตัวสูงขึ้น และขอความช่วยเหลือจากกรมราชทัณฑ์ โดยชุมนุมสหกรณ์บางแห่งเกรงว่าจะไม่สามารถจัดหาหรือซื้อข้าวมาส่งให้เรือนจำได้ ดังนั้นตนจึงได้เรียกประชุมเพื่อหามาตรการรองรับปัญหาข้าวสารแพง เนื่องจากอาจมีผู้ประมูลส่งข้าวสาร ที่แบกรับภาวะขาดทุนไม่ไหว และไม่ส่งข้าวให้เรือนจำ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของเรือนจำ เพราะถ้าไม่มีข้าวให้นักโทษรับประทาน อาจเกิดปัญหาจลาจลในเรือนจำตามมา
สำหรับมาตรการแก้ปัญหาเบื้องต้น กรมราชทัณฑ์ จะประชุมร่วมกับผู้ประมูลส่งข้าวสารของกรมราชทัณฑ์ เพื่อประเมินปัญหาราคาข้าวสารที่แพงขึ้นจากราคาประมูลปลายปี 50 นำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป
อย่างไรก็ตาม องค์กรผู้ประมูลข้าวสารของกรมราชทัณฑ์ จะต้องยืนยันว่า ผู้ส่งข้าวสารต้องไม่ผิดสัญญาในการส่งข้าว มิเช่นนั้นจะถูกขึ้นบัญชีห้ามร่วมประมูลส่งข้าวกับกรมราชทัณฑ์ในปีต่อๆไปอย่างเด็ดขาด ในส่วนความช่วยเหลือนั้น กรมราชทัณฑ์จะเร่งหารือกับทางรัฐบาล นอกจากนี้ ตนจะทำหนังสือถึงผู้บัญชาการเรือนจำทั่วประเทศ หากเรือนจำใดประสบปัญหาผู้ประมูลไม่จัดส่งข้าวสาร ให้ผู้บัญชาการเรือนจำนำงบประมาณค่าอาหารรายเดือนไปซื้อข้าวสารมาทดแทน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานักโทษไม่มีข้าวรับประทาน
ปัจจุบันเรือนจำทั่วประเทศ ได้เปลี่ยนข้าวสารสำหรับให้นักโทษบริโภคจากข้าวแดง 5 % มาเป็นข้าวสารขาว 5 % โดยใช้เกณฑ์นี้มานาน 3 ปี จากการสำรวจราคาข้าวสาร พบว่า ราคาเฉลี่ยในการประมูลข้าวสารของเรือนจำจะมีราคาประมาณ ก.ก.ละ 12 บาท หรือราคา 60 บาทต่อข้าวสารถุงน้ำหนัก 5 ก.ก. แต่ปัจจุบันราคาข้าวสารในตลาดปรับตัวสูงถึงกิโลกรัมละ 16 บาท หากรัฐบาลไม่เพิ่มงบประมาณอาหารต่อหัวให้นักโทษ กรมราชทัณฑ์อาจต้องปรับคุณภาพของข้าวสารจากข้าว 5% ให้ต่ำลง เพื่อมีงบประมาณเพียงพอในการจัดซื้อข้าวสาร และอาจต้องปรับสัดส่วนรายการอาหารประจำวันใหม่ โดยลดปริมาณกับข้าวลง เพื่อนำเงินส่วนที่เหลือมาซื้อข้าวสาร
สำหรับงบประมาณค่าอาหารของนักโทษต่อหัวต่อวัน อยู่ 42 บาทต่อคนต่อวัน ในการประมูลซื้อข้าวสาร และอาหารสด ตามระเบียบทุกเรือนจำต้องประมูลเป็นค่าข้าวสารก่อน ในอัตรา 6 บาท ต่อคนต่อวัน จากนั้นจะหักเป็นค่าแก๊สหุงต้ม 2 บาท ต่อคนต่อวัน ส่วนที่เหลือ 34 บาท จึงเป็นค่าน้ำมันพืช เครื่องปรุง และอาหารสด
ปัจจุบันมีผู้ต้องขังทั่วประเทศ 170,000 คน แต่ละวันจะบริโภคข้าวสารมื้อละ 66,300 กิโลกรัม หรือวันละ 199 ตัน เฉลี่ยทั้งปี บริโภคข้าวสาร 72,600 ตัน โดยกรมราชทัณฑ์จะไม่ใช้วิธีประมูลข้าวสารจากส่วนกลาง แต่เปิดให้เรือนจำแต่ละแห่งเปิดประมูลหาผู้จัดส่งข้าวสารเอง เพื่อให้ได้ข้าวสารในราคา ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผู้ประมูลข้าวจะประมูลเป็นรายปี ใช้ราคาเฉลี่ยของข้าวสารทั้งในฤดูเก็บเกี่ยวและฤดูข้าวแพง โดยผู้ประมูลจะรับปะกันความผันผวนของราคาข้าวเอง แต่ในปีนี้ราคาข้าวสารผันผวนผิดปกติ จากข้าวกระสอบละ 1,200 บาท ปรับเพิ่มเป็นกระสอบละ1,600 บาท
คุกเด็กเอกชนขอยกเลิกสัญญา
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีบริษัทผู้รับเหมา ที่ทำสัญญาส่งอาหารสดและข้าวสารให้สถานพินิจฯ ทำหนังสือมาขอยกเลิกสัญญาส่งอาหารให้กับสถานพินิจฯ โดยอ้างเหตุผลว่าราคาอาหารสด น้ำมันพืช น้ำตาล ข้าวสาร และแก๊สหุงต้ม ปรับตัวสูงขึ้นมากจนทำให้ผู้ประกอบการประสบภาวะขาดทุน จนไม่สามารถจัดหาอาหารสดให้กับสถานพินิจฯได้ตามสัญญา กรมพินิจฯจึงได้หารือกับฝ่ายกฎหมาย ของกระทรวงยุติธรรม เพื่อเร่งหามาตรการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนข้าวสารและอาหารในสถานพินิจฯ โดยพบว่า ที่ผ่านมา ในงานก่อสร้างอาคารของทางราชการ มีข้อยกเว้นให้สามารถขอเพิ่มวงเงินงบประมาณในการก่อสร้างได้ หากมีปัญหาราคาวัสดุอุปกรณ์ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นกรมพินิจฯอาจจะขอให้พิจารณาแก้ปัญหาข้าวสาร และอาหารสดปรับราคาสูงขึ้น โดยให้กระทรวงยุติธรรม ขอใช้งบประมาณกลางของรัฐบาลมาจ่ายเพิ่มให้กับค่าอาหารที่ปรับราคาสูงขึ้น
รองอธิบดีกรมพินิจฯ กล่าวอีกว่า ในกรณีที่ผู้รับเหมาไม่ส่งข้าวสารและอาหารสดตามสัญญา หรือขอยกเลิกสัญญาส่งอาหาร จะต้องถูกริบเงินประกัน และถูกบันทึกชื่อในบัญชีดำ ห้ามไม่ให้เข้าร่วมประมูลเป็นคู่สัญญาส่งข้าวสาร และอาหารสดให้สถานพินิจฯ ทั่วประเทศ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาราคาข้าวสารและอาหารปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมเกือบเท่าตัว จึงเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องหาทางแก้ไข ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเยาวชนในสถานพินิจฯและบริษัทเอกชนผู้ประกอบอาชีพส่งอาหารและข้าวสาร
ปิดร้านชั่วคราวหวังเก็งกำไร
ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านผู้บริโภค ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ขณะนี้ข้าวสารขาดตลาด หาซื้อได้ยาก เพราะร้านจำหน่ายข้าวสารหลายร้านที่เคยเปิดจำหน่ายอยู่ ได้พากันปิดตัวชั่วคราวมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว ทั้งที่ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผลผลิตข้าวจำนวนมาก จึงไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดข้าวสารจึงขาดแคลนไม่มีจำหน่าย หรือเป็นการกักตุนข้าวสารของพ่อค้า ที่จะเก็บไว้รอจำหน่าย หลังจากราคาข้าวสารมีราคาขยับขึ้นไม่หยุด ตามที่รมว.พาณิชย์คาดการไว้ ที่บอกว่า อีกสามเดือนราคาข้าวเปลือกจะพุ่งสูงขึ้นถึงตันละสามหมื่นบาท
ขณะที่นางอรษา เที่ยงพิมล อายุ 52 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 207/14 ถ.มหาจักพรรดิ์ ต.หน้าเมือง อ.เมืองฉะเชิงเทรา ผู้ประกอบการร้านค้าข้าวสาร และตัวแทนโรงสีข้าวเที่ยงพิมล กล่าวว่า ขณะนี้ข้าวเปลือกในพื้นที่ขาดแคลน โดยโรงสีต้องออกไปรับซื้อข้าวจากจ.นครราชสีมา และภาคอีสาน นำมาสีจำหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยราคาจำหน่ายข้าวหอมมะลิ เกรดชั้นดี ถังละ (15 กก.) 475 บาท หรือถุงขนาด 5 กก.ถุงละ 160 บาท ส่วนกรณีที่มีร้านจำหน่ายข้าวสารบางร้านปิดตัวลงไป ไม่ยอมเปิดร้านจำหน่ายให้แก่ลูกค้านั้น ตนไม่อยากพูดถึง
จี้พาณิชย์ตรวจสต็อกข้าว
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการค้าปลีก กล่าวถึงกรณีสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุง อ้างว่าจะไม่ส่งข้าวถุงมาจำหน่ายให้กับโมเดิร์นเทรด เพราะมีปัญหาเรื่องการชำระเงินว่า ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริง เพราะที่ผ่านมาได้มีการตกลงทางธุรกิจในเรื่องของกำหนดเวลาเครดิตมาตั้งแต่ต้นแล้ว และเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายมาตลอด แต่ที่นำเรื่องนี้มาอ้างเพราะผู้ค้าข้าวกับผู้ส่งออกข้าวเป็นบริษัทเดียวกัน ซึ่งในช่วงนี้ ผู้ค้าข้าวต้องการส่งออกข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศมากกว่า จึงหาเหตุไม่ส่งข้าวมาขายในโมเดิร์นเทรด แต่จะกักตุนและนำไปขายต่างประเทศแทน ประกอบกับกรมการค้าภายในออกมาตรการนำข้าวในสต๊อกของรัฐมาบรรจุถุงขายในราคาถูก ทำให้เป็นการช่วยพ่อค้าขายคนกลางไปโดยปริยาย เพราะทำให้ดูเหมือนว่าข้าวในประเทศไม่ขาดแคลน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง กรมการค้าภายใน ควรจะต้องเร่งตรวจสอบสต๊อกข้าวของโรงสีและพ่อค้าส่งออกด้วย มิเช่นนั้นจะเป็นการปล่อยให้พ่อค้าข้าวคนกลางเอาเปรียบประชาชน
“มิ่งขวัญ”อย่าหลงกลผู้ส่งออก
นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ วันนี้ (5 เม.ย.) จะเสนอในที่ประชุมว่าไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคาเพดานส่งออกข้าวขั้นต่ำ ตามที่สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศเสนอ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะส่งผลเสีย ทำให้ราคาข้าวภายในประเทศร่วงลงมา แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหาเรื่องข้าวภายในประเทศขาดแคลน ตามที่ผู้ส่งออกกล่าวอ้าง อย่าหลงกลผู้ส่งออกกำหนดเพดานส่งออกขั้นต่ำ เพราะเป็นเกมทุบราคาข้าวมากกว่าการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน
ทั้งนี้ การดูแลราคาข้าวในประเทศที่ถูกต้อง คือรัฐควรนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่มีอยู่ 2.1 ล้านตัน ออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในประเทศ ก็เพียงพอแล้ว โดยข้าวที่นำมาจำหน่ายจะต้องมีปริมาณมากพอ หรือไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนตัน ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวภายในประเทศลดลงมาได้พอสมควร โดยไม่กระทบกับราคาส่งออกข้าวต่างประเทศ ส่วนข้าวที่เหลือในสต๊อก รัฐบาลจะต้องเก็บไว้สำรอง โดยไม่ปล่อยระบายออกมาให้ผู้ส่งออก
“มิ่งขวัญ”เตรียมกล่อมชาวนา
ด้านนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการหารือกับสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกับการค้าข้าวในวันนี้ (5 เม.ย.) จะเปิดให้ทุกฝ่ายชี้แจงข้อมูลการค้าข้าวทั้งระบบอย่างละเอียด ซึ่งจะได้รับทราบระบบการค้าข้าวทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร และภาวะที่ราคาข้าวแพงเช่นนี้ อยากขอให้ชาวนาเปิดการเจรจาขายข้าวกับพ่อค้าคนกลาง และโรงสีข้าวใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกกดราคาเหมือนในอดีตอีก เพราะชาวนามีโอกาสรับรู้ราคาข้าวส่งออกที่แท้จริงแล้ว
ทั้งนี้เข้าใจดีว่าชาวนาไม่มียุ้งฉางสำหรับเก็บข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวได้ แต่ต้องเจรจากับกับโรงสีและพ่อค้าข้าวใหม่ เพื่อกำหนดราคาข้าวใหม่ เพราะราคาข้าวปรับขึ้นสูงมาก และจากนี้ไปกระทรวงพาณิชย์จะออกมาแจ้งราคาข้าวให้ชาวนารับทราบอย่างใกล้ชิด
คุยอินเดียชงแนวคิด"ข้าวโอเปก"
นอกจากนี้ในโอกาสที่รมว.พาณิชย์ ของอินเดียจะเดินทางมาเยือนไทยในวันที่ 27 เม.ย.นี้ จะเสนอแนวความคิดการเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลกเช่นเดียวกับที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปก เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันตลาดโลก หากอินเดียเห็นด้วย ก็จะเดินทางไปหารือกับรมว.พาณิชย์เวียดนาม ด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันไทย อินเดีย และเวียดนาม ถือเป็น ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ รวมกันแล้วมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 60% รวมทั้งจะเข้าไปดูแลปัญหาเรื่องที่กองทุนเก็งกำไรข้ามชาติ หรือเฮดฟันด์ เข้ามาเก็งกำไรราคาข้าวในตลาดซื้อขายล่วงหน้าว่าเป็นอย่างไรด้วย