รอยเตอร์/เอเอฟพี – รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เฮนรี พอลสัน เมื่อวันจันทร์(31)เปิดเผยแผนปรับโครงสร้างการกำกับดูแลภาคการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐฯนับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา ขณะที่วิกฤตการเงินของสหรัฐฯกำลังส่งผลต่อภาคการเงินของโลกอย่างรุนแรง
ข้อเสนอดังกล่าวที่เรียกกันว่า พิมพ์เขียวสำหรับโครงสร้างหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินความหนา 218 หน้านี้ถูกร่างขึ้นตั้งแต่ก่อนวิกฤตจะระเบิดขึ้นในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และไม่ได้มุ่งนำเสนอการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนสำหรับปัญหาในตลาดสินเชื่อสหรัฐฯที่กำลังเลวร้ายลงอย่างรุนแรง โดยมีแนวโน้มว่าจะฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯให้เข้าสู่ภาวะถดถอย
ภายใต้ข้อเสนอของพอลสัน หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ 7 แห่งจะถูกรวมเข้าด้วยกันให้เหลือหน่วยงานขนาดใหญ่เพียงสามองค์กรเท่านั้น ก็คือ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ(เฟด), หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ และหน่วยงานกำกับดูแลจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจภาคการเงิน และคุ้มครองผู้บริโภค
พอลสันกล่าวว่าข้อเสนอส่วนใหญ่จะยังไม่ออกเป็นกฏหมายเพื่อบังคับใช้จนกว่าจะปัญหาที่เผชิญอยู่ในขณะนี้จะได้รับการแก้ไขหรือผ่านพ้นไปเสียก่อน และกว่าจะได้ใช้ก็คงจะหลังจากที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชหมดวาระในเดือนมกราคมปี 2009 ไปแล้ว
พิมพ์เขียวเสนอการขยายอำนาจของธนาคารกลางออกไปอีก โดยจะมีหน้าที่เป็น “หน่วยงานกำกับดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน” อันเป็นบทบาทที่ธนาคารกลางสหรัฐฯได้เริ่มทำมาไม่นานมานี้ โดยเฉพาะเมื่ออนุญาตให้สถาบันการเงินอื่น ๆนอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์เข้ากู้ยืมจากธนาคารกลางได้ ขณะระบบการเงินการธนาคารกำลังเกิดการขาดแคลนสภาพคล่องรอบใหม่ ซึ่งทำให้แบร์สเติร์น วาณิชธนกิจใหญ่เป็นอันดับห้าของสหรัฐฯล้มคว่ำลง
ข้อเสนอของพอลสันกำหนดให้สถาบันการเงินทั้งหมดจะต้องรายงานข้อมูลความเคลื่อนไหวทางการเงินแก่ธนาคารกลาง เหมือนที่ธนาคารพาณิชย์ต้องรายงานอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องยินยอมให้ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับอื่น ๆตั้งกฏเพื่อควบคุมพฤติกรรมการดำเนินธุรกิจของตนเอง
ก่อนหน้านี้รัฐบาลบุชถูกตำหนิอย่างรุนแรงจากผู้เชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก ที่ชี้ว่าความเน่าเฟะที่เกิดขึ้นในตลาดสินเชื่อซับไพรม์เป็นผลมาจากความหย่อนยานของการกำกับดูแล ถึงแม้พอลสันซึ่งเป็นมือเก่าของวงการวอลสตรีทมาถึง 30 ปี กล่าวย้ำว่าโครงสร้างใหม่นี้ยืดหยุ่นพอที่จะทำให้ตลาดรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆได้ ไม่ใช่การมุ่งแต่ออกกฎระเบียบมาควบคุม
**ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่าง ๆ**
หลายฝ่ายในรัฐสภาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของพอลสันโดยเฉพาะฝ่ายค้าน และคงจะตามมาด้วยการอภิปรายกันอย่างร้อนแรง เมื่อมีการนำข้อเสนอเหล่านี้มาแปรเป็นกฎหมายฉบับต่างๆ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติต่อไป
ทางด้าน วอลท์ ลุคเคน รักษาการประธานคณะกรรมการการค้าตราสารฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์(ซีเอฟทีซี) แสดงความไม่เห็นด้วยในข้อที่จะมีการรวมเอาซีเอฟทีซี เข้าไปไว้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(เอสอีซี) เพราะ “ความชำนาญพิเศษ” ของฝ่ายกำกับดูแลตลาดค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าจะถูกทำลายลง ส่วนวุฒิสมาชิก คริสโตเฟอร์ ดอดด์จากพรรคเดโมแครตประธานกรรมาธิการการธนาคาร ซึ่งมีอิทธิพลล้นเหลือวิจารณ์ว่าพิมพ์เขียวนี้มิได้แก้ที่รากเง่าของปัญหาเลย
ส่วนที่วอลล์สตรีท ยังไม่ค่อยมีปฏิกิริยาจากนักลงทุน ซึ่งคงต้องรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงเสียก่อนจึงจะสามารถวัดผลกระทบได้ นักวิเคราะห์พากันบอกว่ากระบวนการนำเอาข้อเสนอนี้มาใช้เป็นรูปธรรมนั้นยังอยู่อีกยาวไกล เพราะว่าจะต้องผ่านขั้นตอนรัฐสภาและการพิจารณาของประธานาธิบดีคนใหม่เสียก่อน และอีกราวสองปีถึงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดตลาดการเงินอย่างแท้จริง
พอล ครักแมน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัยพรินซตันบอกว่าพิมพ์เขียวนี้เป็นเพียงการตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น มิได้จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดอย่างจริงจัง นอกจากนี้เขายังวิพากษ์วิจารณ์อีกว่าตลอดเวลาเจ็ดปีที่ผ่านมา สิ่งที่รัฐบาลบุชทำก็คือทำให้การกำกับดูแลของทางการเหนือตลาดการเงินยิ่งอ่อนแอลงเท่านั้น
ข้อเสนอดังกล่าวที่เรียกกันว่า พิมพ์เขียวสำหรับโครงสร้างหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินความหนา 218 หน้านี้ถูกร่างขึ้นตั้งแต่ก่อนวิกฤตจะระเบิดขึ้นในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และไม่ได้มุ่งนำเสนอการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนสำหรับปัญหาในตลาดสินเชื่อสหรัฐฯที่กำลังเลวร้ายลงอย่างรุนแรง โดยมีแนวโน้มว่าจะฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯให้เข้าสู่ภาวะถดถอย
ภายใต้ข้อเสนอของพอลสัน หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ 7 แห่งจะถูกรวมเข้าด้วยกันให้เหลือหน่วยงานขนาดใหญ่เพียงสามองค์กรเท่านั้น ก็คือ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ(เฟด), หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ และหน่วยงานกำกับดูแลจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจภาคการเงิน และคุ้มครองผู้บริโภค
พอลสันกล่าวว่าข้อเสนอส่วนใหญ่จะยังไม่ออกเป็นกฏหมายเพื่อบังคับใช้จนกว่าจะปัญหาที่เผชิญอยู่ในขณะนี้จะได้รับการแก้ไขหรือผ่านพ้นไปเสียก่อน และกว่าจะได้ใช้ก็คงจะหลังจากที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชหมดวาระในเดือนมกราคมปี 2009 ไปแล้ว
พิมพ์เขียวเสนอการขยายอำนาจของธนาคารกลางออกไปอีก โดยจะมีหน้าที่เป็น “หน่วยงานกำกับดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน” อันเป็นบทบาทที่ธนาคารกลางสหรัฐฯได้เริ่มทำมาไม่นานมานี้ โดยเฉพาะเมื่ออนุญาตให้สถาบันการเงินอื่น ๆนอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์เข้ากู้ยืมจากธนาคารกลางได้ ขณะระบบการเงินการธนาคารกำลังเกิดการขาดแคลนสภาพคล่องรอบใหม่ ซึ่งทำให้แบร์สเติร์น วาณิชธนกิจใหญ่เป็นอันดับห้าของสหรัฐฯล้มคว่ำลง
ข้อเสนอของพอลสันกำหนดให้สถาบันการเงินทั้งหมดจะต้องรายงานข้อมูลความเคลื่อนไหวทางการเงินแก่ธนาคารกลาง เหมือนที่ธนาคารพาณิชย์ต้องรายงานอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องยินยอมให้ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับอื่น ๆตั้งกฏเพื่อควบคุมพฤติกรรมการดำเนินธุรกิจของตนเอง
ก่อนหน้านี้รัฐบาลบุชถูกตำหนิอย่างรุนแรงจากผู้เชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก ที่ชี้ว่าความเน่าเฟะที่เกิดขึ้นในตลาดสินเชื่อซับไพรม์เป็นผลมาจากความหย่อนยานของการกำกับดูแล ถึงแม้พอลสันซึ่งเป็นมือเก่าของวงการวอลสตรีทมาถึง 30 ปี กล่าวย้ำว่าโครงสร้างใหม่นี้ยืดหยุ่นพอที่จะทำให้ตลาดรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆได้ ไม่ใช่การมุ่งแต่ออกกฎระเบียบมาควบคุม
**ปฏิกิริยาจากฝ่ายต่าง ๆ**
หลายฝ่ายในรัฐสภาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของพอลสันโดยเฉพาะฝ่ายค้าน และคงจะตามมาด้วยการอภิปรายกันอย่างร้อนแรง เมื่อมีการนำข้อเสนอเหล่านี้มาแปรเป็นกฎหมายฉบับต่างๆ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติต่อไป
ทางด้าน วอลท์ ลุคเคน รักษาการประธานคณะกรรมการการค้าตราสารฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์(ซีเอฟทีซี) แสดงความไม่เห็นด้วยในข้อที่จะมีการรวมเอาซีเอฟทีซี เข้าไปไว้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(เอสอีซี) เพราะ “ความชำนาญพิเศษ” ของฝ่ายกำกับดูแลตลาดค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าจะถูกทำลายลง ส่วนวุฒิสมาชิก คริสโตเฟอร์ ดอดด์จากพรรคเดโมแครตประธานกรรมาธิการการธนาคาร ซึ่งมีอิทธิพลล้นเหลือวิจารณ์ว่าพิมพ์เขียวนี้มิได้แก้ที่รากเง่าของปัญหาเลย
ส่วนที่วอลล์สตรีท ยังไม่ค่อยมีปฏิกิริยาจากนักลงทุน ซึ่งคงต้องรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงเสียก่อนจึงจะสามารถวัดผลกระทบได้ นักวิเคราะห์พากันบอกว่ากระบวนการนำเอาข้อเสนอนี้มาใช้เป็นรูปธรรมนั้นยังอยู่อีกยาวไกล เพราะว่าจะต้องผ่านขั้นตอนรัฐสภาและการพิจารณาของประธานาธิบดีคนใหม่เสียก่อน และอีกราวสองปีถึงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดตลาดการเงินอย่างแท้จริง
พอล ครักแมน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัยพรินซตันบอกว่าพิมพ์เขียวนี้เป็นเพียงการตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น มิได้จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดอย่างจริงจัง นอกจากนี้เขายังวิพากษ์วิจารณ์อีกว่าตลอดเวลาเจ็ดปีที่ผ่านมา สิ่งที่รัฐบาลบุชทำก็คือทำให้การกำกับดูแลของทางการเหนือตลาดการเงินยิ่งอ่อนแอลงเท่านั้น