เนื่องจากคนไทยอธิบายเหตุผลในระบบไม่เห็น จึงปล่อยคนชั่วลอยนวล พูดผิด สอนผิดกันตลอดเวลา โดยเฉพาะนักวิชาการ ครูอาจารย์ นักการเมือง ผู้นำ คนไทยไม่รู้จักบริบท (Contexts) การคิดเชิงบริบท (Contextrealized) การคิดแบบบูรณาการ (Integrated) นั่นคือ คิดถึงสิ่งแวดล้อมทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง และนำเอาองค์ประกอบในระบบมาใช้พิจารณาให้สอดคล้องกัน เช่น เป้าหมายทางหรือวิธีการไปสู่เป้าหมาย ผลและเหตุทั้งปวง และพิจารณาบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพจริงของสังคมนั้น ผู้มีอำนาจ ผู้เขียนกฎหมายมองภาพรวมเห็นชัดทะลุปรุโปร่ง มีสติว่า หากสร้างเหตุเหล่านี้ในสภาพนี้ สิ่งแวดล้อมนี้แล้วจะเกิดผลอะไรบ้าง ต้องใช้วิจารณญาณ หากเกิดผลร้ายแสดงว่า เหตุไม่ดี เหตุไม่สมบูรณ์ในองค์ประกอบและในบริบท คนมีสติปัญญาดีจะพึงตระหนักระวังคนที่สติไม่ดีจะทำร้ายตน และสังคมได้มากแม้มีเพียงคนเดียว หากเป็นพรรคก็ยิ่งร้ายแรงมาก
ตัวอย่างเช่น เป้าหมายต้องการคนสะอาดไร้มลทินมาเป็นนักการเมืองเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั้งหลาย และลูกหลานของเรา เมื่อศาลลงโทษต้องให้ออกแม้รออาญาก็ตาม ถ้าให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปก็จะค้านแย้งกับเป้าหมายดังกล่าวหรือศาลรับฟ้อง ปปช.ชี้มูลความผิดก็ต้องให้ออกไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม หากไม่ออกอาจใช้อำนาจจากตำแหน่งไปทำให้คนอื่นเกรงกลัวได้ ข้าราชการกลัว ชาวบ้านกลัว พวกคนชั่วมักอ้างว่า ออกแล้วไง ตำแหน่งใหม่ไม่เกี่ยวซึ่งที่จริงมันเกี่ยวข้องหนักกว่าเก่าเสียอีก เช่น เป็นนายกฯ เป็นรัฐมนตรี เป็นต้น
กรณีที่ดินรัชดาฯ รมต.คลังดูแลหน่วยงานนี้ นายกฯ เกี่ยวไม่เกี่ยวก็ไม่มีสิทธิไปซื้อขายเพราะคนขายเขาก็เกรงกลัว ลองขายแพงก็ถูกย้ายได้ หรือนายกฯ ไปซื้อที่ดินที่บ้านหนองหมาว้อ อบต.ที่ดูแลหรือผู้ว่าฯ จังหวัดดูแลที่ดินเขาก็เกรงกลัวนายกฯ ไม่กล้าขายแพง บ้านเมืองเสียประโยชน์ที่ควรได้ กฎหมายจึงห้ามไว้จะอ้างว่า นายกฯ ไม่ได้ดูแลหน่วยงานนี้ไม่ได้ หรือบอกว่าจะรู้ จะดูแลทั้งหมดไม่ได้ นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือนายกฯ ทำให้เขาเกรงกลัวได้ จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมาย หากศาลตัดสินว่าไม่ผิด กฎหมายนี้ก็รักษาผลประโยชน์ของชาติไม่ได้ ป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ หากพิจารณาตีความผิด คนจะสิ้นหวัง หมดศรัทธา ไร้ที่พึ่ง เขาว่า หากพึ่งศาลไม่ได้ ก็อยู่กันเป็นบ้านเมืองไม่ได้ เพราะไม่ใช่นิติรัฐ ไม่มีนิติธรรม
กรณีแก้ รธน.นั้น คนไม่พูดเรื่องบริบทที่เกี่ยวข้องเลย ไม่พูดปัญหาจริงหรือสภาพจริง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส.ส.ที่เป็น กก.พรรคทำผิด มันส่งผลให้คนอื่นในพรรคได้อำนาจได้ตำแหน่ง รธน.ปี 2540 ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 เบอร์ ชาวบ้านเลือกกา 1 เบอร์ก็จริง ผลออกมา ส.ส.ประเภทนี้เข้ามาในสภาฯ ตั้งหลายสิบคน ใครก็ตามที่ทุจริต แม้คนเดียวหาคะแนนทุจริตมา คะแนนนี้มันทำให้คนอื่นในพรรคได้อำนาจได้ตำแหน่งมาปกครองประเทศ รธน.ปี 50 ก็เช่นกัน จึงต้องลงโทษทั้งพรรค หากลงโทษคนเดียว คนอื่นได้ประโยชน์จากคะแนนทุจริตแม้ตนไม่ได้ทำก็ลอยนวลมายึดอำนาจรัฐ ดุจคน 20 คนพายเรือ 1 ลำแข่งกับเรือลำอื่นๆ กติกาให้พายด้วยมือ แต่มีคนหนึ่งในลำนี้แอบติดซ่อนเครื่องยนต์ไว้ใต้ท้องเรือผิดกติกาเอาเปรียบเรือลำอื่น กรรมการจับได้จึงต้องลงโทษคน 20 คนของเรือลำนั้น ตัดสิทธิอีก 5 ปีหรือตลอดชีวิต จะอ้างว่า ผมไม่ได้ทำผิดลงโทษ 1 คนที่ทำผิดสิ ผมไม่เคยเห็นด้วยกับการทุจริต ไม่รู้เห็น ไม่น่ามาลงโทษผม หากลงโทษคนเดียวคนชั่วในทีมก็ลอยลำมายึดอำนาจได้ นี่คือคำวิธีคิดตามระบบและตามบริบทซึ่งนักวิชาการ และอาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่ได้เรียนรู้ คิดไม่เป็น คิดผิด สอนผิด มันน่าอัปยศอดสู่หดหู่ใจยิ่งนัก เอ่ยชื่อก็ได้ เช่น นายปริญญา นายวรเจตน์ เป็นต้น นายพงษ์เทพไม่ต้องเอ่ยถึง เพราะเป็นทาสปิดบังสติปัญญาไว้ทั้งหมด นักศึกษาจึงควรท้วงติงอาจารย์ของตนบ้าง ไม่เช่นนั้น เขาถือว่านักศึกษาสิ้นคิดให้เขาหลอก ถูกเขาสนตะพายจูงไปในทางใดก็ได้
เรื่องลงโทษเฉพาะคนทำผิดเพียงคนเดียวอย่างนายตู้เย็น จึงเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล ไม่ชอบด้วยระบบ บริบทและสภาพจริง รธน. 2550 จึงเขียนไว้แก้ปัญหาตามสภาพจริงได้ดีมาก คปค.ประกาศลงโทษย้อนหลังก็ชอบด้วยเหตุผลตามสภาพดังกล่าว ไม่เช่นนั้นก็แก้ปัญหาบ้านเมืองในขณะนั้นไม่ได้ กฎหมายสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้วิกฤตและล่มสลาย ประเทศอื่นเขาไม่เลวร้ายเท่าเราก็นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ มันคนละสภาพและคนละบริบทกัน
ที่ว่าพรรคนี้ชาวบ้านเป็นเจ้าของตั้ง 10 ล้านคน เป็นจริงแต่ในอักษรที่ลงชื่อไว้ เขาเลือกคนมาบริหารพรรค เขาเลือกผิด เลือกคนชั่วมาเป็น กก.บริหารพรรค เขาไม่รับผิดชอบไม่ได้ ที่จริงควรลงโทษตัดสิทธิด้วย ยุบพรรคจึงไม่ใช่ทำไม่ได้ หากตั้งพรรคมาทำชั่ว ย่อมยุบได้ จะเอาปริมาณมาอ้าง ย่อมฟังไม่ขึ้น
รธน. 2550 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ต้องไปถามคน 14 ล้านคนที่เขารับ รธน.นี้ด้วย หากไม่ถามก็ผิดกฎหมาย รธน.ชาวบ้านรวมกลุ่มสัมมนาแสดงพลังคัดค้านได้ทั้งนั้น เป็นการเมืองภาคประชาชน วัวสันหลังหวะ หรือพวกสุนัขขี้เรื้อน มันมีแผลเน่าเหม็นติดตัว เห็นและได้ยินเสียงอะไรหน่อยมันก็กลัวออกมาเห่าข่มขู่ใบตองแห้ง มันยอมรับผิดกลางเมืองแล้วว่ามันผิด แต่อย่ามายุบพรรค หากมันไม่ผิดจะกลัวลุกลี้ลุกลนไปทำไม ผิดแล้วพาลมาแก้กฎหมายนิรโทษกรรมให้พวกตน คนอื่นเขาไม่ใช่ควาย เขามีสมองรู้เรื่องอย่าดูถูกกัน นึกว่าคนอื่นเขารู้ไม่ทัน พวกคนพาลนึกว่าตนฉลาดกว่าคนอื่นโกหกอะไรก็ได้ หลอกยังไงก็ได้ ยุคนี้มันยุค ICT แล้วจะปิดบังกันมิดได้หรือ
เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516, ต.ค. 2519, พ.ค. 2535, 2548-2549 ดูบ้างซิ ชาวบ้านเขาไม่ได้กลัวนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจ 3 จังหวัดภาคใต้เขาก็ไม่กลัว หากผู้ปกครองไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่แคร์ความรู้สึกของผู้อื่น ย่อมสร้างปัญหาจนเขาทนไม่ได้ เขาต้องต่อต้านอย่างน้อยก็อารยะขัดขืน เพื่อรักษาประเทศชาติของเขา ป๋าเปรมแก้ปัญหาคอมมิวนิสต์ไทย ไม่ได้ข่มขู่ ไม่แสดงอำนาจบาตรใหญ่ ไม่หยาบช้าสามานย์ ไม่โกหกหลอกลวง ไม่คดโกงคอร์รัปชัน ลงท้ายแก้ปัญหาได้ แต่พวกบ้าอำนาจในยุคนี้ ด่าป๋าทุกวัน ทำตรงข้ามป๋า ลงท้ายจะแก้ปัญหาของชาติได้หรือ
การคิดการพูด ขอให้มีอาการของนักปราชญ์ผู้ทรงศีล ไม่ใช่อาการของนักเลงอันธพาล เป็นแบบอย่างเลวทรามแก่ลูกหลานเรา ปล่อยไปอนาคตชาติไทย ลูกหลานเราก็เลียนแบบสิ้นชาติแน่ คนดีควรตระหนักในเรื่องนี้ คนชั่วได้อำนาจ ความเสื่อมจะลุกลามได้รวดเร็ว พ่อหลวงสอนเตือนว่า อย่าให้คนเลวมาปกครองบ้านเมือง น้อมรับใส่เกล้าฯ กันบ้าง
ครูอาจารย์ตามมหาวิทยาลัย พวกโพลรับจ้างหัดคิดดูบ้าง สื่อนสพ. ทีวีโปรดให้ความคิดความอ่านเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน อย่าให้เขาด่าว่าสิ้นคิดแล้วมาสอนทำไม พูดอะไรไปก็ค้านแย้งกับศาลทั้งหมด นั่นก็คือพูดผิดสอนผิดมันบาปหนัก คนเจริญมีศักดิ์ศรี ชาติอารยะทั้งหลายเขาถือกันมากว่า การปิดบังข้อมูลคือความชั่วร้ายแรง การบิดเบือน เช่น ประหารชีวิต 7 ชั่วโครตหากยุบพรรค ที่จริงมันก็ไม่ตายขนาดนั้น เพียงตัดสิทธิ 5 ปีเท่านั้น (ที่จริงน่าตลอดชีวิต) นี่คือหลอกลวงชาวบ้านให้เข้าใจผิด ครูอาจารย์ไม่ควรทำเช่นนี้ ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ นักศึกษาจะคิดยังไง
นี่เป็นตัวอย่างเรื่องการคิดเป็นระบบและบริบท ต้องคิดให้ครบถ้วนบริบูรณ์ จึงจะทำให้คนชั่วไม่กล้าออกมาสร้างความเข้าใจผิด ไม่กล้าหลอกลวงอีกต่อไป
พุทธพจน์สอนว่า “คนโกหก ไม่ทำชั่ว ไม่มี”
ตัวอย่างเช่น เป้าหมายต้องการคนสะอาดไร้มลทินมาเป็นนักการเมืองเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนทั้งหลาย และลูกหลานของเรา เมื่อศาลลงโทษต้องให้ออกแม้รออาญาก็ตาม ถ้าให้อยู่ในตำแหน่งต่อไปก็จะค้านแย้งกับเป้าหมายดังกล่าวหรือศาลรับฟ้อง ปปช.ชี้มูลความผิดก็ต้องให้ออกไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม หากไม่ออกอาจใช้อำนาจจากตำแหน่งไปทำให้คนอื่นเกรงกลัวได้ ข้าราชการกลัว ชาวบ้านกลัว พวกคนชั่วมักอ้างว่า ออกแล้วไง ตำแหน่งใหม่ไม่เกี่ยวซึ่งที่จริงมันเกี่ยวข้องหนักกว่าเก่าเสียอีก เช่น เป็นนายกฯ เป็นรัฐมนตรี เป็นต้น
กรณีที่ดินรัชดาฯ รมต.คลังดูแลหน่วยงานนี้ นายกฯ เกี่ยวไม่เกี่ยวก็ไม่มีสิทธิไปซื้อขายเพราะคนขายเขาก็เกรงกลัว ลองขายแพงก็ถูกย้ายได้ หรือนายกฯ ไปซื้อที่ดินที่บ้านหนองหมาว้อ อบต.ที่ดูแลหรือผู้ว่าฯ จังหวัดดูแลที่ดินเขาก็เกรงกลัวนายกฯ ไม่กล้าขายแพง บ้านเมืองเสียประโยชน์ที่ควรได้ กฎหมายจึงห้ามไว้จะอ้างว่า นายกฯ ไม่ได้ดูแลหน่วยงานนี้ไม่ได้ หรือบอกว่าจะรู้ จะดูแลทั้งหมดไม่ได้ นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือนายกฯ ทำให้เขาเกรงกลัวได้ จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมาย หากศาลตัดสินว่าไม่ผิด กฎหมายนี้ก็รักษาผลประโยชน์ของชาติไม่ได้ ป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ หากพิจารณาตีความผิด คนจะสิ้นหวัง หมดศรัทธา ไร้ที่พึ่ง เขาว่า หากพึ่งศาลไม่ได้ ก็อยู่กันเป็นบ้านเมืองไม่ได้ เพราะไม่ใช่นิติรัฐ ไม่มีนิติธรรม
กรณีแก้ รธน.นั้น คนไม่พูดเรื่องบริบทที่เกี่ยวข้องเลย ไม่พูดปัญหาจริงหรือสภาพจริง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส.ส.ที่เป็น กก.พรรคทำผิด มันส่งผลให้คนอื่นในพรรคได้อำนาจได้ตำแหน่ง รธน.ปี 2540 ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 เบอร์ ชาวบ้านเลือกกา 1 เบอร์ก็จริง ผลออกมา ส.ส.ประเภทนี้เข้ามาในสภาฯ ตั้งหลายสิบคน ใครก็ตามที่ทุจริต แม้คนเดียวหาคะแนนทุจริตมา คะแนนนี้มันทำให้คนอื่นในพรรคได้อำนาจได้ตำแหน่งมาปกครองประเทศ รธน.ปี 50 ก็เช่นกัน จึงต้องลงโทษทั้งพรรค หากลงโทษคนเดียว คนอื่นได้ประโยชน์จากคะแนนทุจริตแม้ตนไม่ได้ทำก็ลอยนวลมายึดอำนาจรัฐ ดุจคน 20 คนพายเรือ 1 ลำแข่งกับเรือลำอื่นๆ กติกาให้พายด้วยมือ แต่มีคนหนึ่งในลำนี้แอบติดซ่อนเครื่องยนต์ไว้ใต้ท้องเรือผิดกติกาเอาเปรียบเรือลำอื่น กรรมการจับได้จึงต้องลงโทษคน 20 คนของเรือลำนั้น ตัดสิทธิอีก 5 ปีหรือตลอดชีวิต จะอ้างว่า ผมไม่ได้ทำผิดลงโทษ 1 คนที่ทำผิดสิ ผมไม่เคยเห็นด้วยกับการทุจริต ไม่รู้เห็น ไม่น่ามาลงโทษผม หากลงโทษคนเดียวคนชั่วในทีมก็ลอยลำมายึดอำนาจได้ นี่คือคำวิธีคิดตามระบบและตามบริบทซึ่งนักวิชาการ และอาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่ได้เรียนรู้ คิดไม่เป็น คิดผิด สอนผิด มันน่าอัปยศอดสู่หดหู่ใจยิ่งนัก เอ่ยชื่อก็ได้ เช่น นายปริญญา นายวรเจตน์ เป็นต้น นายพงษ์เทพไม่ต้องเอ่ยถึง เพราะเป็นทาสปิดบังสติปัญญาไว้ทั้งหมด นักศึกษาจึงควรท้วงติงอาจารย์ของตนบ้าง ไม่เช่นนั้น เขาถือว่านักศึกษาสิ้นคิดให้เขาหลอก ถูกเขาสนตะพายจูงไปในทางใดก็ได้
เรื่องลงโทษเฉพาะคนทำผิดเพียงคนเดียวอย่างนายตู้เย็น จึงเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล ไม่ชอบด้วยระบบ บริบทและสภาพจริง รธน. 2550 จึงเขียนไว้แก้ปัญหาตามสภาพจริงได้ดีมาก คปค.ประกาศลงโทษย้อนหลังก็ชอบด้วยเหตุผลตามสภาพดังกล่าว ไม่เช่นนั้นก็แก้ปัญหาบ้านเมืองในขณะนั้นไม่ได้ กฎหมายสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาไม่ให้วิกฤตและล่มสลาย ประเทศอื่นเขาไม่เลวร้ายเท่าเราก็นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ มันคนละสภาพและคนละบริบทกัน
ที่ว่าพรรคนี้ชาวบ้านเป็นเจ้าของตั้ง 10 ล้านคน เป็นจริงแต่ในอักษรที่ลงชื่อไว้ เขาเลือกคนมาบริหารพรรค เขาเลือกผิด เลือกคนชั่วมาเป็น กก.บริหารพรรค เขาไม่รับผิดชอบไม่ได้ ที่จริงควรลงโทษตัดสิทธิด้วย ยุบพรรคจึงไม่ใช่ทำไม่ได้ หากตั้งพรรคมาทำชั่ว ย่อมยุบได้ จะเอาปริมาณมาอ้าง ย่อมฟังไม่ขึ้น
รธน. 2550 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ต้องไปถามคน 14 ล้านคนที่เขารับ รธน.นี้ด้วย หากไม่ถามก็ผิดกฎหมาย รธน.ชาวบ้านรวมกลุ่มสัมมนาแสดงพลังคัดค้านได้ทั้งนั้น เป็นการเมืองภาคประชาชน วัวสันหลังหวะ หรือพวกสุนัขขี้เรื้อน มันมีแผลเน่าเหม็นติดตัว เห็นและได้ยินเสียงอะไรหน่อยมันก็กลัวออกมาเห่าข่มขู่ใบตองแห้ง มันยอมรับผิดกลางเมืองแล้วว่ามันผิด แต่อย่ามายุบพรรค หากมันไม่ผิดจะกลัวลุกลี้ลุกลนไปทำไม ผิดแล้วพาลมาแก้กฎหมายนิรโทษกรรมให้พวกตน คนอื่นเขาไม่ใช่ควาย เขามีสมองรู้เรื่องอย่าดูถูกกัน นึกว่าคนอื่นเขารู้ไม่ทัน พวกคนพาลนึกว่าตนฉลาดกว่าคนอื่นโกหกอะไรก็ได้ หลอกยังไงก็ได้ ยุคนี้มันยุค ICT แล้วจะปิดบังกันมิดได้หรือ
เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516, ต.ค. 2519, พ.ค. 2535, 2548-2549 ดูบ้างซิ ชาวบ้านเขาไม่ได้กลัวนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจ 3 จังหวัดภาคใต้เขาก็ไม่กลัว หากผู้ปกครองไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่แคร์ความรู้สึกของผู้อื่น ย่อมสร้างปัญหาจนเขาทนไม่ได้ เขาต้องต่อต้านอย่างน้อยก็อารยะขัดขืน เพื่อรักษาประเทศชาติของเขา ป๋าเปรมแก้ปัญหาคอมมิวนิสต์ไทย ไม่ได้ข่มขู่ ไม่แสดงอำนาจบาตรใหญ่ ไม่หยาบช้าสามานย์ ไม่โกหกหลอกลวง ไม่คดโกงคอร์รัปชัน ลงท้ายแก้ปัญหาได้ แต่พวกบ้าอำนาจในยุคนี้ ด่าป๋าทุกวัน ทำตรงข้ามป๋า ลงท้ายจะแก้ปัญหาของชาติได้หรือ
การคิดการพูด ขอให้มีอาการของนักปราชญ์ผู้ทรงศีล ไม่ใช่อาการของนักเลงอันธพาล เป็นแบบอย่างเลวทรามแก่ลูกหลานเรา ปล่อยไปอนาคตชาติไทย ลูกหลานเราก็เลียนแบบสิ้นชาติแน่ คนดีควรตระหนักในเรื่องนี้ คนชั่วได้อำนาจ ความเสื่อมจะลุกลามได้รวดเร็ว พ่อหลวงสอนเตือนว่า อย่าให้คนเลวมาปกครองบ้านเมือง น้อมรับใส่เกล้าฯ กันบ้าง
ครูอาจารย์ตามมหาวิทยาลัย พวกโพลรับจ้างหัดคิดดูบ้าง สื่อนสพ. ทีวีโปรดให้ความคิดความอ่านเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน อย่าให้เขาด่าว่าสิ้นคิดแล้วมาสอนทำไม พูดอะไรไปก็ค้านแย้งกับศาลทั้งหมด นั่นก็คือพูดผิดสอนผิดมันบาปหนัก คนเจริญมีศักดิ์ศรี ชาติอารยะทั้งหลายเขาถือกันมากว่า การปิดบังข้อมูลคือความชั่วร้ายแรง การบิดเบือน เช่น ประหารชีวิต 7 ชั่วโครตหากยุบพรรค ที่จริงมันก็ไม่ตายขนาดนั้น เพียงตัดสิทธิ 5 ปีเท่านั้น (ที่จริงน่าตลอดชีวิต) นี่คือหลอกลวงชาวบ้านให้เข้าใจผิด ครูอาจารย์ไม่ควรทำเช่นนี้ ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ นักศึกษาจะคิดยังไง
นี่เป็นตัวอย่างเรื่องการคิดเป็นระบบและบริบท ต้องคิดให้ครบถ้วนบริบูรณ์ จึงจะทำให้คนชั่วไม่กล้าออกมาสร้างความเข้าใจผิด ไม่กล้าหลอกลวงอีกต่อไป
พุทธพจน์สอนว่า “คนโกหก ไม่ทำชั่ว ไม่มี”