หลวงอังคณานุรักษ์หรือ นายสมถวิล เทพาคำ อดีต ส.ส.อ่างทอง และอดีตรัฐมนตรีสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “พรรครู้สึกว่าเล่นการเมืองโดยไม่มีกติกาเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ มีแต่ทำความหายนะมาสู่บ้านเมือง จึงปล่อยให้เล่นไปฝ่ายเดียว ทั้งนี้เพื่อหวังอุทธรณ์ต่อประชาชนให้สำนึก” และหากศึกษาติดตามประวัติการเมืองไทยตลอดระยะเวลา 77 ปีที่ผ่านมา
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้วก็จะรู้ว่าการเมืองไทยมีความพิสดารมากเหลือพรรณนา ยังอาจจะเป็นเพราะความหลากหลายของแนวคิด และทฤษฎีทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยาที่บัณฑิตไทยได้เรียนรู้จากทั้งในประเทศ และต่างประเทศซึ่งในแต่ละยุคก็จะมีประเด็นแตกต่างกันไป เช่น ในยุค ค.ศ. 1920 นั้น นักเรียนไทยที่ได้มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศก็จะได้รับอิทธิพลสังคมนิยมที่มีการพูดถึงมาร์กซ์และเลนินทั่วทุกหัวระแหงเป็นแฟชั่น ส่วนในปัจจุบันที่มักจะพูดถึงประชาธิปไตยแบบเป็ด เพราะทิศทางประชาธิปไตยของไทยมักจะเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโดยรัฐประหาร ที่สืบเนื่องมาจากนักการเมืองขาดหลักธรรมาภิบาลมักจะเอาอัตตาเป็นที่ตั้ง
ขณะที่ประชาชนก็แบ่งเป็นส่วนๆ เป็นภาคๆ เช่น ส่วนต่อต้านระบอบการโกงกินกับส่วนที่เห็นว่าระบอบการโกงกินเป็นเรื่องธรรมดา หรือภูมิภาคที่ได้รับการช่วยเหลือแบบตรงเพื่อทำให้ประชาชนศรัทธาอย่างไรเหตุผลก็จะสนับสนุนคนของพรรคการเมืองที่ใช้หลักประชานิยมวิธีการอย่างนี้ก็เป็นประชาธิปไตย จึงเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบเป็ดหมายถึงมีระบอบประชาธิปไตย แต่มีหลักการปะปนกันจนหาสูตรสำเร็จไม่ได้สักที เพราะนักการเมืองไม่พอใจกติกาที่เป็นพิษเป็นภัยกับตัวเอง จึงต้องหาทางแก้ไขด้วยเล่ห์ด้วยกล
คณะราษฎรที่ก่อการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ต้องการที่จะสร้างระบอบใหม่คือ ระบอบรัฐธรรมนูญให้เป็นไปในทิศทางที่คณะราษฎรต้องการ และหวังว่าจะเกิดเสถียรภาพมากที่สุด แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะระบอบรัฐธรรมนูญต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะความขัดแย้งในความคิดแต่ก็เป็นประชาธิปไตย ครั้นเมื่อเกิดจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญขึ้นก็ใช้กำลังทหารเปลี่ยนแปลงเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่รู้ว่าแก้รัฐธรรมนูญเพื่อใคร
จนใน พ.ศ. 2540 คนไทยได้รับรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ ส.ส.ร.เกิดจากประชาชนแต่ละจังหวัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกลุ่มปัญญาชน กลุ่มผู้มีประสบการณ์ และกลุ่มผู้มีความรู้ด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ร่วมกันร่างขึ้น โดยหวังให้เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยสำหรับคนไทยมากที่สุด แต่จิตสำนึกของบุคคลที่ครองอำนาจรัฐอาศัยช่องว่างที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดครอบคลุมเป็นกติกาสำคัญ เนื่องจาก ส.ส.ร.ฉบับ 2540 ฝันไปว่านักการเมืองยุคหลังพฤษภาทมิฬ 2535 จะมีจิตสำนึกธรรมาภิบาล แต่ ส.ส.ร.และคนไทยทุกคนฝันสลายเพราะเกิดเผด็จการรัฐสภาในหลายลักษณะ แต่ที่แน่ชัดคือการใช้อำนาจเงินซื้ออำนาจรัฐ ซึ่งเป็นที่มาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นั้น ต้องการเพียงปิดช่องโหว่มิให้นักการเมืองแสวงประโยชน์จากลัทธิประชานิยมได้อย่างอิสระ
การที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกแถลงการณ์เรื่องคัดค้านและประณามการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างความผิดของตนเองและพวกพ้อง โดยเฉพาะมาตรา 237 ที่บัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นมีไว้เพื่อป้องกัน และลงโทษนักการเมืองมิให้ทุจริตการเลือกตั้ง ป้องกันไม่ให้คนไม่ดีเจ้าเล่ห์เพทุบายซึ่งใช้เงินเพื่อให้ได้อำนาจปกครองบ้านเมือง และให้พรรคการเมืองทุกพรรครับผิดชอบด้วยการสรรหาบุคคลที่จะไม่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งมาเป็นหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค
เมื่อก่อนการเลือกตั้ง 2550 นั้นทุกพรรคการเมืองยอมศึกษากฎหมายเลือกตั้งเป็นอย่างดี และรู้ว่าโทษรุนแรงแต่ทำไมหัวหน้าพรรคที่ลูกพรรค และกรรมการพรรคถูกใบแดงจึงไม่เด็ดขาดในเรื่องนี้จนเกิดการทุจริตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าครั้งอื่นๆ เลย หรือพวกเขาไม่กลัวการทำผิดกฎหมาย หรือขาดความรับผิดชอบต่อหลักการรัฐธรรมนูญซึ่งคนไทยเรียกร้องให้เป็นกติกาที่เข้มแข็ง
สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับนักการเมืองก็ควรยอมรับ และต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมการเล่นการเมือง ซึ่งยังมีนักการเมืองที่มีอุดมการณ์หลายคนในพรรคการเมืองที่มีปัญหาทุจริตเลือกตั้งที่สามารถจะเล่นการเมืองแบบบริสุทธิ์ได้อีกต่อไปเพราะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง อย่าคำนึงถึงพรรคต้องถูกยุบ เพราะเหตุที่เกิดเป็นเพราะกลุ่มผู้บริหารขาดความรับผิดชอบไม่มีความเด็ดขาดหรือขาดอุดมการณ์ประชาธิปไตยบริสุทธิ์
การยอมรับสภาพความผิดตามมาตรา 237 เป็นการแสดงความบริสุทธิ์ส่วนมาตรา 309 นั้น เป็นเรื่องชัดเจนที่คนในระบอบทักษิณต้องการจะขจัดหลักฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส.ให้เป็นโมฆะ และในส่วนนี้จะทำให้ประชาชนที่ต่อต้านระบอบทักษิณซึ่งยังต้องพิสูจน์กันในศาลว่า ทุจริตจริงหรือไม่มองว่ารัฐบาลนี้ต้องการปกป้องระบอบทักษิณที่ปัญญาชนคนทั่วไปเชื่อว่า มีการกระทำการทุจริตคอร์รัปชันจริง มิฉะนั้นคงไม่ออกไปต่อต้านรัฐบาลทักษิณนับแสนๆ คนในช่วงก่อนรัฐประหาร 2549 เป็นร้อยครั้ง
ดังนั้นแนวทางที่จะสยบการรัฐประหารมิให้เกิดขึ้นอีก รัฐบาลจะต้องเป็นรัฐบาลธรรมาภิบาลยอมรับความผิด เพราะการยอมรับผิดประชาชนคนไทยมีจิตใจเมตตายอมเห็นอกเห็นใจโดยนิสัยอยู่แล้ว และการกลับมาในเวทีการเมืองของนักการเมืองที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องย่อมสดใส เพราะประชาชนยอมรับความบริสุทธิ์ของท่าน ส่วนที่อ้างการเมืองจะถึงทางตันนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะนักการเมืองสามารถเข้าร่วมกับพรรคใดพรรคหนึ่งได้ภายใน 30 วันเท่านั้น
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้วก็จะรู้ว่าการเมืองไทยมีความพิสดารมากเหลือพรรณนา ยังอาจจะเป็นเพราะความหลากหลายของแนวคิด และทฤษฎีทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยาที่บัณฑิตไทยได้เรียนรู้จากทั้งในประเทศ และต่างประเทศซึ่งในแต่ละยุคก็จะมีประเด็นแตกต่างกันไป เช่น ในยุค ค.ศ. 1920 นั้น นักเรียนไทยที่ได้มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศก็จะได้รับอิทธิพลสังคมนิยมที่มีการพูดถึงมาร์กซ์และเลนินทั่วทุกหัวระแหงเป็นแฟชั่น ส่วนในปัจจุบันที่มักจะพูดถึงประชาธิปไตยแบบเป็ด เพราะทิศทางประชาธิปไตยของไทยมักจะเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโดยรัฐประหาร ที่สืบเนื่องมาจากนักการเมืองขาดหลักธรรมาภิบาลมักจะเอาอัตตาเป็นที่ตั้ง
ขณะที่ประชาชนก็แบ่งเป็นส่วนๆ เป็นภาคๆ เช่น ส่วนต่อต้านระบอบการโกงกินกับส่วนที่เห็นว่าระบอบการโกงกินเป็นเรื่องธรรมดา หรือภูมิภาคที่ได้รับการช่วยเหลือแบบตรงเพื่อทำให้ประชาชนศรัทธาอย่างไรเหตุผลก็จะสนับสนุนคนของพรรคการเมืองที่ใช้หลักประชานิยมวิธีการอย่างนี้ก็เป็นประชาธิปไตย จึงเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบเป็ดหมายถึงมีระบอบประชาธิปไตย แต่มีหลักการปะปนกันจนหาสูตรสำเร็จไม่ได้สักที เพราะนักการเมืองไม่พอใจกติกาที่เป็นพิษเป็นภัยกับตัวเอง จึงต้องหาทางแก้ไขด้วยเล่ห์ด้วยกล
คณะราษฎรที่ก่อการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ต้องการที่จะสร้างระบอบใหม่คือ ระบอบรัฐธรรมนูญให้เป็นไปในทิศทางที่คณะราษฎรต้องการ และหวังว่าจะเกิดเสถียรภาพมากที่สุด แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะระบอบรัฐธรรมนูญต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะความขัดแย้งในความคิดแต่ก็เป็นประชาธิปไตย ครั้นเมื่อเกิดจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญขึ้นก็ใช้กำลังทหารเปลี่ยนแปลงเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่รู้ว่าแก้รัฐธรรมนูญเพื่อใคร
จนใน พ.ศ. 2540 คนไทยได้รับรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ ส.ส.ร.เกิดจากประชาชนแต่ละจังหวัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกลุ่มปัญญาชน กลุ่มผู้มีประสบการณ์ และกลุ่มผู้มีความรู้ด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ร่วมกันร่างขึ้น โดยหวังให้เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยสำหรับคนไทยมากที่สุด แต่จิตสำนึกของบุคคลที่ครองอำนาจรัฐอาศัยช่องว่างที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดครอบคลุมเป็นกติกาสำคัญ เนื่องจาก ส.ส.ร.ฉบับ 2540 ฝันไปว่านักการเมืองยุคหลังพฤษภาทมิฬ 2535 จะมีจิตสำนึกธรรมาภิบาล แต่ ส.ส.ร.และคนไทยทุกคนฝันสลายเพราะเกิดเผด็จการรัฐสภาในหลายลักษณะ แต่ที่แน่ชัดคือการใช้อำนาจเงินซื้ออำนาจรัฐ ซึ่งเป็นที่มาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นั้น ต้องการเพียงปิดช่องโหว่มิให้นักการเมืองแสวงประโยชน์จากลัทธิประชานิยมได้อย่างอิสระ
การที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกแถลงการณ์เรื่องคัดค้านและประณามการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างความผิดของตนเองและพวกพ้อง โดยเฉพาะมาตรา 237 ที่บัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นมีไว้เพื่อป้องกัน และลงโทษนักการเมืองมิให้ทุจริตการเลือกตั้ง ป้องกันไม่ให้คนไม่ดีเจ้าเล่ห์เพทุบายซึ่งใช้เงินเพื่อให้ได้อำนาจปกครองบ้านเมือง และให้พรรคการเมืองทุกพรรครับผิดชอบด้วยการสรรหาบุคคลที่จะไม่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งมาเป็นหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค
เมื่อก่อนการเลือกตั้ง 2550 นั้นทุกพรรคการเมืองยอมศึกษากฎหมายเลือกตั้งเป็นอย่างดี และรู้ว่าโทษรุนแรงแต่ทำไมหัวหน้าพรรคที่ลูกพรรค และกรรมการพรรคถูกใบแดงจึงไม่เด็ดขาดในเรื่องนี้จนเกิดการทุจริตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าครั้งอื่นๆ เลย หรือพวกเขาไม่กลัวการทำผิดกฎหมาย หรือขาดความรับผิดชอบต่อหลักการรัฐธรรมนูญซึ่งคนไทยเรียกร้องให้เป็นกติกาที่เข้มแข็ง
สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับนักการเมืองก็ควรยอมรับ และต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมการเล่นการเมือง ซึ่งยังมีนักการเมืองที่มีอุดมการณ์หลายคนในพรรคการเมืองที่มีปัญหาทุจริตเลือกตั้งที่สามารถจะเล่นการเมืองแบบบริสุทธิ์ได้อีกต่อไปเพราะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง อย่าคำนึงถึงพรรคต้องถูกยุบ เพราะเหตุที่เกิดเป็นเพราะกลุ่มผู้บริหารขาดความรับผิดชอบไม่มีความเด็ดขาดหรือขาดอุดมการณ์ประชาธิปไตยบริสุทธิ์
การยอมรับสภาพความผิดตามมาตรา 237 เป็นการแสดงความบริสุทธิ์ส่วนมาตรา 309 นั้น เป็นเรื่องชัดเจนที่คนในระบอบทักษิณต้องการจะขจัดหลักฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส.ให้เป็นโมฆะ และในส่วนนี้จะทำให้ประชาชนที่ต่อต้านระบอบทักษิณซึ่งยังต้องพิสูจน์กันในศาลว่า ทุจริตจริงหรือไม่มองว่ารัฐบาลนี้ต้องการปกป้องระบอบทักษิณที่ปัญญาชนคนทั่วไปเชื่อว่า มีการกระทำการทุจริตคอร์รัปชันจริง มิฉะนั้นคงไม่ออกไปต่อต้านรัฐบาลทักษิณนับแสนๆ คนในช่วงก่อนรัฐประหาร 2549 เป็นร้อยครั้ง
ดังนั้นแนวทางที่จะสยบการรัฐประหารมิให้เกิดขึ้นอีก รัฐบาลจะต้องเป็นรัฐบาลธรรมาภิบาลยอมรับความผิด เพราะการยอมรับผิดประชาชนคนไทยมีจิตใจเมตตายอมเห็นอกเห็นใจโดยนิสัยอยู่แล้ว และการกลับมาในเวทีการเมืองของนักการเมืองที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องย่อมสดใส เพราะประชาชนยอมรับความบริสุทธิ์ของท่าน ส่วนที่อ้างการเมืองจะถึงทางตันนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะนักการเมืองสามารถเข้าร่วมกับพรรคใดพรรคหนึ่งได้ภายใน 30 วันเท่านั้น