ท่านผู้อ่านที่เคารพ ผมได้รับทราบว่า สิ่งที่ผมต้องการให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ ยังไม่สู้มีใครเข้าใจ เพราะปฏิกิริยาที่โพสต์มาก็ดี ที่โทร.หรือเขียนมาก็ดี พิสูจน์ได้ว่าผมยังโง่ และล้มเหลวในการสื่อความหมาย ผู้อ่านส่วนใหญ่ได้แบ่งพวกกันเรียบร้อยแล้ว พวกหนึ่งก็เชียร์รัฐบาลอยากกระทืบพันธมิตรฯ พวกหนึ่งก็เป็นโรคซึมเศร้าสงสารพันธมิตรฯ คิดห่วงประเทศไทย อยากให้รัฐบาลฉิบหายตายห่าไปเสียไวๆ ไม่มีใครต้องการฟังผม
ความคิดทั้งสองพวกนั้น เป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย และการแสดงออกเพื่อยืนยันว่าตนเป็นฝ่ายถูกต้องและฝ่ายตรงกันข้ามเป็นฝ่ายผิด ก็เป็นเรื่องธรรมดาอีก ส่วนใครจะผิดหรือถูกจริง น่าจะต้องตัดสินกันด้วยหลักประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย
เมื่อดูทั้งสองหลักนี้ประกอบแล้ว ความจริงจะปรากฏว่ากองเชียร์ของรัฐบาลไทยรักไทย ซึ่งกลายสภาพมาโดยลำดับเป็น นปก.เป็นพรรคพลังประชาชน และเป็นรัฐบาลอยู่ทุกวันนี้ มีพฤติกรรมเป็นนักเลงโต ใช้กำลังข่มขู่ผู้อื่น ขาดจรรยาบรรณและสมบัติผู้ดี มีตัวอย่างเห็นได้ชัด แม้กระทั่งคราวที่ไปตั้งกองประท้วงด่าทอพลเอกเปรม แกนนำของผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลทั้งนั้น ต่างก็พากันได้ดิบดี มีอำนาจและความรับผิดชอบสำคัญในรัฐบาล
สำหรับฝ่ายพันธมิตรฯ นั้น ก่อนจะชมผมก็ขอติเสียก่อน มิใช่ตบหัวแล้วลูบหลัง ผมว่ายิ่งเวลาผ่านมา สามัคคีเภทที่แสดงออกในหมู่พันธมิตรฯ ชั้นนำก็ดี การที่พันธมิตรฯ กระจายกันออกไปแสวงหาฐานันดรทางการเมืองก็ดี การที่พันธมิตรฯ มิได้ยกระดับการเคลื่อนไหวให้แหลมคมและสูงขึ้น จนสามารถแผ่รังสีไปสยบศัตรูก็ดี ทำให้กองเชียร์ของพันธมิตรฯ ถอดใจ ซึมเศร้า ท้อถอยและถอนตัวออกไปมิใช่น้อย
นั่นอาจจะมิใช่สิ่งที่พันธมิตรฯ ควบคุมได้ แต่สิ่งที่พันธมิตรฯ ควบคุมได้ เช่น การดำเนินการประท้วงด้วยความสงบและสันติมาเป็นเวลากว่าหนึ่งปี น่าจะได้รับคำชมเชยว่าเป็นการทำลายสถิติโลกในการประท้วงแบบผู้ดี ซึ่งก็ต้องยกความดีนั้นให้พ.ต.ท.ทักษิณด้วย ว่ามิได้ทำร้ายขัดขวาง การเคลื่อนไหวทางปัญญาของพันธมิตรฯ รวมทั้งการใช้สื่อและโดยเฉพาะASTVเป็นเครื่องมือ ผมว่าได้ให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ยิ่งกว่าคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สอนมาเป็นสิบๆ ปี
แต่สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายล้มเหลว รวมทั้งสื่อ สถาบันวิชาการ สังคมและประชาชนไทยพากันล้มเหลวด้วย ก็คือความเข้าใจผิดและหลงติดยึดว่า รัฐธรรมนูญที่เขียนเป็นตัวหนังสือแล้วก็ดี พรรคการเมืองที่จดทะเบียนแล้วก็ดี การเลือกตั้งที่ลงคะแนนไปแล้วก็ดี องค์กรอิสระ เช่น กกต. ที่มีอยู่ก็ดี รัฐบาลที่โปรดเกล้าฯ โดยพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบและหลักประกันของระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ความจริงเปล่าเลย ทั้งหมดนี้เป็นแต่เพียงสัญลักษณ์ พิธีกรรมและระบบพฤติกรรมแต่ละอย่างเท่านั้น หากปราศจากเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว จะอ้างเป็นประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติหาได้ไม่
ผมได้ยกตัวอย่างพรรคการเมืองไทย ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นพรรคหัวหน้าตั้ง จึงไม่มีความยั่งยืน ล้วนแต่เป็นแก๊งเลือกตั้งชั่วคราวหมด จึงไม่มีพรรคหนึ่งพรรคใดเลยที่มีคุณสมบัติสมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือพันธมิตรฯ ของสหพันธ์หรือสมาคมพรรคการเมืองโลกกระแสหลักได้เลย แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ เรื่องนี้ถ้ามองเผินๆ ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร แต่ถ้าคิดให้ซึ้งแล้ว ประเทศเราก็เสียประโยชน์ เพราะไม่มีพรรคพวกอย่างแท้จริง (ที่หาได้จากการเป็นสมชิก) เวลาจะไปแข่งเอาตำแหน่งหรือต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติก็จะสู้ใครเขาไม่ได้ เป็นที่สังเกตมาแล้วว่าตัวแทนระดับรัฐมนตรีของไทยสู้เอาตำแหน่งกับหัวหน้ากองแขกในองค์การระหว่างประเทศไม่ได้ ดร.ศุภชัย เป็นข้อยกเว้นแต่เพียงหนึ่งเดียวแท้ๆ
ผมได้พูดอีกด้วยว่า องค์กรอิสระ เช่น กกต. และกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของเรา มีความคิดและกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายความสัมพันธ์ของพรรคระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก ที่กระทำกันอยู่ก็เป็นความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการหรือปิดลับกับพรรคที่ไม่มีลักษณะเปิดหรือความเป็นสากลในทางประชาธิปไตย เช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นต้น
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาช้านานแล้ว แต่เมื่อพรรคได้รับชัยชนะเข้าปกครองประเทศ และมีบทบาททางการเมืองของโลกมากขึ้นทุกที รวมทั้งการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และองค์การการค้าโลก พอมาถึงค่อนทางเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ที่มิใช่คอมมิวนิสต์ พรรคจีนก็เริ่มลอยแพพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศต่างๆรวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่จีนสรุปว่าไม่มีน้ำยา แถมจะเป็นอุปสรรค์ต่อการขยายตัวของจีน
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 พรรคคอมมิวนิสต์ไทย-จีนนี้สามารถเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้หลายเรื่อง แต่ยังไม่มีผู้ใดลงมือ แม้แต่เรื่องพรรคคอมมิวนิสต์ไทยโดดๆ ก็มีฝรั่งเขียนอยู่ 2-3 ชิ้น ความรู้และคุณภาพก็ยังกะพร่องกะแพร่งอยู่มาก (Thomas Ladd, Shane Tarr เป็นต้น) ที่น่าเศร้าใจคือไม่มีผลงานไทยอย่างจริงจังเลย
ในบทความนี้ อย่างมากผมเพียงขอสรุปให้ฟังว่า คนไทยอาจจะยังไม่เข้าใจและแยกไม่ถูกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกัน อย่างไหนเป็นเรื่องของรัฐ อย่างไหนเป็นเรื่องของพรรค อย่างไหนเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก มิติของกาลเวลาก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะ ณ เวลาหนึ่งๆ โครงสร้างอำนาจในแต่ละประเทศ บรรยากาศและการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศ อาจจะคล้ายคลึงห่างหรือต่างกันลิบลับเลยทีเดียว
ผมใคร่ยกตัวอย่างจากแหล่งที่มาอันสุดแสนประหลาด คือหนังสือข่าวของชมรมคอมพิวเตอร์ (ไม่ใช่คอมมิวนิสต์) ผู้สูงอายุ ที่จาก “เชิงนโนชน” สรุปการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ไทยจนกระทั่งถึงวันเสียงปืนแตกดังนี้
การดำเนินงานของขบวนการคอมมิวนิสต์ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย ให้เป็นรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น ได้ดำเนินมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้จัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ขึ้นในปลาย พ.ศ. 2485 เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎ หมาย แต่ได้ดำเนินการอันเป็นปฏิปักษ์กับการปกครองของไทยเรื่อยมา ครั้นใน พ.ศ. 2492 เมื่อถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามจับกุม จึงเคลื่อนไหวออกจากเมืองเข้าสู่ป่า จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ และดำ เนินการต่อต้านอำนาจรัฐรุนแรงขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2495
และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติใน พ.ศ. 2501 ได้ทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด ได้ประหารชีวิตบุคคลซึ่งเป็นแกนนำของฝ่าย พคท.เช่น นายครอง จันดาวงศ์ และนายรวม วงศพันธ์ เป็นต้น พคท.จึงปรับยุทธศาสตร์การต่อสู้ โดยใช้แนวคิดของ เหมา เจ๋อ ตุง คือยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” ปลุกระดมมวลชนชาวไร่ชาวนาในชนบทให้เข้าร่วมขบวนการเป็นแนวร่วม จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ สถาปนาฐานที่มั่น และขยายเขตงานจนกระทั่งสถานการณ์เอื้ออำนวย คืองานการเมืองสุกงอม ประชาชนแนวร่วมและกองกำลัง พร้อมที่จะจับอาวุธต่อสู้กับอำนาจรัฐแล้ว สงครามกองโจรจึงระเบิดขึ้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2508 อันเป็นที่มาของ “วันเสียงปืนแตก”
หลังจากวันเสียงปืนแตกเป็นการต่อสู้ด้วยกำลังตลอดมา ความหวังในชัยชนะของ พคท.พุ่งขึ้นสู่ขีดสูงสุดเมื่อ (1) อเมริกันยอมรับความปราชัยในสมรภูมิเวียดนาม (2) พรรคคอมมิวนิสต์ยึด 3 ประเทศอินโดจีนคือ เวียดนาม ลาว และกัมพูชาได้เบ็ดเสร็จในปี 1975 และ (3) ชนชั้นปกครองอำนาจนิยมไทยขับไล่นักศึกษาหัวก้าวหน้าไปสู่ป่าเป็นสมาชิกและแนวร่วมให้กับ พคท.เป็นจำนวนมากหลังเหตุการณ์ 16 ตุลามหาโหด 2519 หรือ 1976
ความหวังของ พคท.กลายเป็นหมัน ด้วยเหตุที่เริ่มมาจาก (1) รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นำประเทศไทยออกจากบงการเด็ดขาดของอเมริกันในปี 2517 (2) แนวทางสมานฉันท์กับนักศึกษาและประเทศเพื่อนบ้านของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ และ (3) ความสำเร็จสูงสุดของนโยบาย 66/2 ภายใต้การนำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
แต่สังคมของไทยย่อมตกอยู่ภายใต้กฎแห่งความเป็นอนิจจังเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ เราจึงแน่ใจไม่ได้ว่า ระหว่างความล้มเหลวของ พคท.และความสำเร็จของรัฐบาลไทยนั้น ของใครเป็นเรื่องชั่วคราว ของใครเป็นเรื่องถาวรกันแน่
ดังนั้นความเข้าใจเรื่องโครงสร้างและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ความคิดและผลประโยชน์ของบุคคลชั้นนำในพรรค ในรัฐบาล และในกระแสการเมืองของแต่ละยุค
บุคคล พรรค ปัญญาชนและนักปฏิวัติไทยที่เข้าๆ ไปมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นมีมานานแล้ว และแบ่งได้เป็นหลายระลอกนับตั้งแต่การลี้ภัยของนายปรีดี พนมยงค์ กบฏสันติภาพ และผู้นำนักศึกษาที่เข้าป่าอย่างเงียบๆ ก่อนปี 2500 และก่อนเสียงปืนแตก และระลอกล่าสุดคือผู้นำนิสิตนักศึกษาที่เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ๆ หลัง 6 ตุลามหาโหด
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆ มีมากมายหลายมิติ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องอุดมการณ์และความสำนึกในความเป็นชาติ ซึ่งในข้อนี้ เราสามารถแบ่งคนไทยดังกล่าวออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ (1) กลุ่มผู้รักชาติ ไม่ยอมสามิภักดิ์จีน และไม่เห็นด้วยการใช้กำลังและการนำจากจีนมาเป็นปัจจัยในการต่อสู้ รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ที่โดดเด่นและยืนหยัดที่สุดในกลุ่มนี้ และนิสิตนักศึกษาในระลอกหลังสุดเป็นตัวอย่างที่ดีที่แตกหนีจากป่าออกมาเพราะไม่ต้องการตกอยู่ใต้การนำของพรรคจีนและสหายสายนิยมพรรคจีนซึ่งเป็นผู้กุมอำนาจในพรรค และ (2) กลุ่มที่สามิภักดิ์จีนและลัทธิเหมาสุดตัว เห็นว่าการปฏิวัติเป็นเรื่องสากล ยินดีรับการนำและกำลังจากภายนอกมาเป็นปัจจัยสู่ชัยชนะ
ทั้งหมดที่ผมเล่ามานี้จะเป็นพื้นฐานและภูมิหลังให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคพลังประชาชน และผมขอชี้ให้เห็นความเด่นและความสามารถของในการใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมือง และโลกล้อมประเทศของระบอบทักษิณ ซึ่งกลุ่มผู้รักชาติ (1) ที่กล่าวข้างต้นประณามและไม่ยอมรับ จนกระทั่งเป็นปัจจัยฉุดรั้งความก้าวหน้าของ พคท.อย่างรุนแรง
ฉบับหน้าเราจะเปรียบเทียบอุดมการณ์ โครงสร้าง ผู้นำ องค์ประกอบ และระบบพฤติกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคพลังประชาชน ตามที่นายจักรภพ เพ็ญแข ประกาศว่าจะร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ไม่นานมานี้ ผู้แทนของพรรคจีนก็ได้เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมือนกัน แต่จุดยืนและจุดเน้นระหว่างพรรคจะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราไม่มีเนื้อที่ในฉบับนี้
ความคิดทั้งสองพวกนั้น เป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย และการแสดงออกเพื่อยืนยันว่าตนเป็นฝ่ายถูกต้องและฝ่ายตรงกันข้ามเป็นฝ่ายผิด ก็เป็นเรื่องธรรมดาอีก ส่วนใครจะผิดหรือถูกจริง น่าจะต้องตัดสินกันด้วยหลักประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย
เมื่อดูทั้งสองหลักนี้ประกอบแล้ว ความจริงจะปรากฏว่ากองเชียร์ของรัฐบาลไทยรักไทย ซึ่งกลายสภาพมาโดยลำดับเป็น นปก.เป็นพรรคพลังประชาชน และเป็นรัฐบาลอยู่ทุกวันนี้ มีพฤติกรรมเป็นนักเลงโต ใช้กำลังข่มขู่ผู้อื่น ขาดจรรยาบรรณและสมบัติผู้ดี มีตัวอย่างเห็นได้ชัด แม้กระทั่งคราวที่ไปตั้งกองประท้วงด่าทอพลเอกเปรม แกนนำของผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลทั้งนั้น ต่างก็พากันได้ดิบดี มีอำนาจและความรับผิดชอบสำคัญในรัฐบาล
สำหรับฝ่ายพันธมิตรฯ นั้น ก่อนจะชมผมก็ขอติเสียก่อน มิใช่ตบหัวแล้วลูบหลัง ผมว่ายิ่งเวลาผ่านมา สามัคคีเภทที่แสดงออกในหมู่พันธมิตรฯ ชั้นนำก็ดี การที่พันธมิตรฯ กระจายกันออกไปแสวงหาฐานันดรทางการเมืองก็ดี การที่พันธมิตรฯ มิได้ยกระดับการเคลื่อนไหวให้แหลมคมและสูงขึ้น จนสามารถแผ่รังสีไปสยบศัตรูก็ดี ทำให้กองเชียร์ของพันธมิตรฯ ถอดใจ ซึมเศร้า ท้อถอยและถอนตัวออกไปมิใช่น้อย
นั่นอาจจะมิใช่สิ่งที่พันธมิตรฯ ควบคุมได้ แต่สิ่งที่พันธมิตรฯ ควบคุมได้ เช่น การดำเนินการประท้วงด้วยความสงบและสันติมาเป็นเวลากว่าหนึ่งปี น่าจะได้รับคำชมเชยว่าเป็นการทำลายสถิติโลกในการประท้วงแบบผู้ดี ซึ่งก็ต้องยกความดีนั้นให้พ.ต.ท.ทักษิณด้วย ว่ามิได้ทำร้ายขัดขวาง การเคลื่อนไหวทางปัญญาของพันธมิตรฯ รวมทั้งการใช้สื่อและโดยเฉพาะASTVเป็นเครื่องมือ ผมว่าได้ให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ยิ่งกว่าคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สอนมาเป็นสิบๆ ปี
แต่สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายล้มเหลว รวมทั้งสื่อ สถาบันวิชาการ สังคมและประชาชนไทยพากันล้มเหลวด้วย ก็คือความเข้าใจผิดและหลงติดยึดว่า รัฐธรรมนูญที่เขียนเป็นตัวหนังสือแล้วก็ดี พรรคการเมืองที่จดทะเบียนแล้วก็ดี การเลือกตั้งที่ลงคะแนนไปแล้วก็ดี องค์กรอิสระ เช่น กกต. ที่มีอยู่ก็ดี รัฐบาลที่โปรดเกล้าฯ โดยพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบและหลักประกันของระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ความจริงเปล่าเลย ทั้งหมดนี้เป็นแต่เพียงสัญลักษณ์ พิธีกรรมและระบบพฤติกรรมแต่ละอย่างเท่านั้น หากปราศจากเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงแล้ว จะอ้างเป็นประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติหาได้ไม่
ผมได้ยกตัวอย่างพรรคการเมืองไทย ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นพรรคหัวหน้าตั้ง จึงไม่มีความยั่งยืน ล้วนแต่เป็นแก๊งเลือกตั้งชั่วคราวหมด จึงไม่มีพรรคหนึ่งพรรคใดเลยที่มีคุณสมบัติสมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือพันธมิตรฯ ของสหพันธ์หรือสมาคมพรรคการเมืองโลกกระแสหลักได้เลย แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ เรื่องนี้ถ้ามองเผินๆ ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร แต่ถ้าคิดให้ซึ้งแล้ว ประเทศเราก็เสียประโยชน์ เพราะไม่มีพรรคพวกอย่างแท้จริง (ที่หาได้จากการเป็นสมชิก) เวลาจะไปแข่งเอาตำแหน่งหรือต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติก็จะสู้ใครเขาไม่ได้ เป็นที่สังเกตมาแล้วว่าตัวแทนระดับรัฐมนตรีของไทยสู้เอาตำแหน่งกับหัวหน้ากองแขกในองค์การระหว่างประเทศไม่ได้ ดร.ศุภชัย เป็นข้อยกเว้นแต่เพียงหนึ่งเดียวแท้ๆ
ผมได้พูดอีกด้วยว่า องค์กรอิสระ เช่น กกต. และกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้งของเรา มีความคิดและกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายความสัมพันธ์ของพรรคระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก ที่กระทำกันอยู่ก็เป็นความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการหรือปิดลับกับพรรคที่ไม่มีลักษณะเปิดหรือความเป็นสากลในทางประชาธิปไตย เช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นต้น
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาช้านานแล้ว แต่เมื่อพรรคได้รับชัยชนะเข้าปกครองประเทศ และมีบทบาททางการเมืองของโลกมากขึ้นทุกที รวมทั้งการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และองค์การการค้าโลก พอมาถึงค่อนทางเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ที่มิใช่คอมมิวนิสต์ พรรคจีนก็เริ่มลอยแพพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศต่างๆรวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่จีนสรุปว่าไม่มีน้ำยา แถมจะเป็นอุปสรรค์ต่อการขยายตัวของจีน
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 พรรคคอมมิวนิสต์ไทย-จีนนี้สามารถเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้หลายเรื่อง แต่ยังไม่มีผู้ใดลงมือ แม้แต่เรื่องพรรคคอมมิวนิสต์ไทยโดดๆ ก็มีฝรั่งเขียนอยู่ 2-3 ชิ้น ความรู้และคุณภาพก็ยังกะพร่องกะแพร่งอยู่มาก (Thomas Ladd, Shane Tarr เป็นต้น) ที่น่าเศร้าใจคือไม่มีผลงานไทยอย่างจริงจังเลย
ในบทความนี้ อย่างมากผมเพียงขอสรุปให้ฟังว่า คนไทยอาจจะยังไม่เข้าใจและแยกไม่ถูกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกัน อย่างไหนเป็นเรื่องของรัฐ อย่างไหนเป็นเรื่องของพรรค อย่างไหนเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก มิติของกาลเวลาก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะ ณ เวลาหนึ่งๆ โครงสร้างอำนาจในแต่ละประเทศ บรรยากาศและการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศ อาจจะคล้ายคลึงห่างหรือต่างกันลิบลับเลยทีเดียว
ผมใคร่ยกตัวอย่างจากแหล่งที่มาอันสุดแสนประหลาด คือหนังสือข่าวของชมรมคอมพิวเตอร์ (ไม่ใช่คอมมิวนิสต์) ผู้สูงอายุ ที่จาก “เชิงนโนชน” สรุปการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ไทยจนกระทั่งถึงวันเสียงปืนแตกดังนี้
การดำเนินงานของขบวนการคอมมิวนิสต์ เพื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย ให้เป็นรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น ได้ดำเนินมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้จัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ขึ้นในปลาย พ.ศ. 2485 เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎ หมาย แต่ได้ดำเนินการอันเป็นปฏิปักษ์กับการปกครองของไทยเรื่อยมา ครั้นใน พ.ศ. 2492 เมื่อถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามจับกุม จึงเคลื่อนไหวออกจากเมืองเข้าสู่ป่า จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ และดำ เนินการต่อต้านอำนาจรัฐรุนแรงขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2495
และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติใน พ.ศ. 2501 ได้ทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด ได้ประหารชีวิตบุคคลซึ่งเป็นแกนนำของฝ่าย พคท.เช่น นายครอง จันดาวงศ์ และนายรวม วงศพันธ์ เป็นต้น พคท.จึงปรับยุทธศาสตร์การต่อสู้ โดยใช้แนวคิดของ เหมา เจ๋อ ตุง คือยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” ปลุกระดมมวลชนชาวไร่ชาวนาในชนบทให้เข้าร่วมขบวนการเป็นแนวร่วม จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ สถาปนาฐานที่มั่น และขยายเขตงานจนกระทั่งสถานการณ์เอื้ออำนวย คืองานการเมืองสุกงอม ประชาชนแนวร่วมและกองกำลัง พร้อมที่จะจับอาวุธต่อสู้กับอำนาจรัฐแล้ว สงครามกองโจรจึงระเบิดขึ้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2508 อันเป็นที่มาของ “วันเสียงปืนแตก”
หลังจากวันเสียงปืนแตกเป็นการต่อสู้ด้วยกำลังตลอดมา ความหวังในชัยชนะของ พคท.พุ่งขึ้นสู่ขีดสูงสุดเมื่อ (1) อเมริกันยอมรับความปราชัยในสมรภูมิเวียดนาม (2) พรรคคอมมิวนิสต์ยึด 3 ประเทศอินโดจีนคือ เวียดนาม ลาว และกัมพูชาได้เบ็ดเสร็จในปี 1975 และ (3) ชนชั้นปกครองอำนาจนิยมไทยขับไล่นักศึกษาหัวก้าวหน้าไปสู่ป่าเป็นสมาชิกและแนวร่วมให้กับ พคท.เป็นจำนวนมากหลังเหตุการณ์ 16 ตุลามหาโหด 2519 หรือ 1976
ความหวังของ พคท.กลายเป็นหมัน ด้วยเหตุที่เริ่มมาจาก (1) รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นำประเทศไทยออกจากบงการเด็ดขาดของอเมริกันในปี 2517 (2) แนวทางสมานฉันท์กับนักศึกษาและประเทศเพื่อนบ้านของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ และ (3) ความสำเร็จสูงสุดของนโยบาย 66/2 ภายใต้การนำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
แต่สังคมของไทยย่อมตกอยู่ภายใต้กฎแห่งความเป็นอนิจจังเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ เราจึงแน่ใจไม่ได้ว่า ระหว่างความล้มเหลวของ พคท.และความสำเร็จของรัฐบาลไทยนั้น ของใครเป็นเรื่องชั่วคราว ของใครเป็นเรื่องถาวรกันแน่
ดังนั้นความเข้าใจเรื่องโครงสร้างและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ความคิดและผลประโยชน์ของบุคคลชั้นนำในพรรค ในรัฐบาล และในกระแสการเมืองของแต่ละยุค
บุคคล พรรค ปัญญาชนและนักปฏิวัติไทยที่เข้าๆ ไปมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นมีมานานแล้ว และแบ่งได้เป็นหลายระลอกนับตั้งแต่การลี้ภัยของนายปรีดี พนมยงค์ กบฏสันติภาพ และผู้นำนักศึกษาที่เข้าป่าอย่างเงียบๆ ก่อนปี 2500 และก่อนเสียงปืนแตก และระลอกล่าสุดคือผู้นำนิสิตนักศึกษาที่เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ๆ หลัง 6 ตุลามหาโหด
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆ มีมากมายหลายมิติ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องอุดมการณ์และความสำนึกในความเป็นชาติ ซึ่งในข้อนี้ เราสามารถแบ่งคนไทยดังกล่าวออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ (1) กลุ่มผู้รักชาติ ไม่ยอมสามิภักดิ์จีน และไม่เห็นด้วยการใช้กำลังและการนำจากจีนมาเป็นปัจจัยในการต่อสู้ รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ที่โดดเด่นและยืนหยัดที่สุดในกลุ่มนี้ และนิสิตนักศึกษาในระลอกหลังสุดเป็นตัวอย่างที่ดีที่แตกหนีจากป่าออกมาเพราะไม่ต้องการตกอยู่ใต้การนำของพรรคจีนและสหายสายนิยมพรรคจีนซึ่งเป็นผู้กุมอำนาจในพรรค และ (2) กลุ่มที่สามิภักดิ์จีนและลัทธิเหมาสุดตัว เห็นว่าการปฏิวัติเป็นเรื่องสากล ยินดีรับการนำและกำลังจากภายนอกมาเป็นปัจจัยสู่ชัยชนะ
ทั้งหมดที่ผมเล่ามานี้จะเป็นพื้นฐานและภูมิหลังให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคพลังประชาชน และผมขอชี้ให้เห็นความเด่นและความสามารถของในการใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมือง และโลกล้อมประเทศของระบอบทักษิณ ซึ่งกลุ่มผู้รักชาติ (1) ที่กล่าวข้างต้นประณามและไม่ยอมรับ จนกระทั่งเป็นปัจจัยฉุดรั้งความก้าวหน้าของ พคท.อย่างรุนแรง
ฉบับหน้าเราจะเปรียบเทียบอุดมการณ์ โครงสร้าง ผู้นำ องค์ประกอบ และระบบพฤติกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคพลังประชาชน ตามที่นายจักรภพ เพ็ญแข ประกาศว่าจะร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ไม่นานมานี้ ผู้แทนของพรรคจีนก็ได้เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหมือนกัน แต่จุดยืนและจุดเน้นระหว่างพรรคจะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราไม่มีเนื้อที่ในฉบับนี้