ผู้จัดการรายวัน – เอกชนไม่สนเมกะโปรเจกต์รถไฟฟ้า 9 สายรัฐบาลสมัคร ระบุขอแค่ความชัดเจนและดำเนินการในสายหลัก ที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้าแล้วก็เพียงพอ ชี้แค่นี้ก็สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศได้แล้ว แนะรัฐไม่ควรเหวี่ยงแหกระจายการลงทุนก่อสร้างในทุกเส้นทางพร้อมกัน ด้าน สบน.ระบุทยอยปล่อยขายบอนด์ 30 ปี รวม 9.5 หมื่นล้านเพื่อก่อสร้าง ไม่จำเป็นต้องจัดตั้งวายุภักษ์ 2 ระดมทุน แต่หากจัดตั้งจริงจะมากจากภาครัฐเร่งรีบดำเนินการเฟส 2 เพื่อลดเพดานตัวเลขหนี้สาธารณะเท่านั้น
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายในสัมมนา “รถไฟฟ้า 9 สาย Big Goal ยกเครื่องประเทศไทย” ว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว เห็นได้จากเร่งดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย ซึ่งเสมือนการลงทุนภาครัฐ เพื่อที่จะเป็นการกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ และกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการซื้อที่อยู่อาศัย เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นวงจรที่ใหญ่มาก
สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายนั้น จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 7.7 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นงบประมาณสำหรับดำเนินการระยะแรก จำนวน 259,000 ล้านบาท และระยะที่สอง จำนวน 5.1 แสนล้านบาท
***ปิ๊งไอเดียสร้างทยอยเปิดสถานี**
รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สิ่งที่นากยกรัฐมนตรีและภาครัฐต้องการจะเห็นคือ การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆต้องเสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี หายถึงตั้งแต่เริ่มมีกรลงนามในสัญญา (30 เดือน) และช่วงในการทดสอบระบบ 5- 6 เดือนก่อนให้บริการ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีแนวคิดให้ระหว่างที่ดำเนินกรก่อสร้างอยู่นั้น หากเส้นทางไหนสามารถก่อสร้างสถานีให้แล้วเสร็จตั้งแต่ 3 สถานีขึ้นไปให้สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ในทันที โดยในส่วนสถานีที่เหลือก็ให้ดำเนินการก่อสร้าง และทยอยเปิดให้บริการเพิ่มเติมต่อไป
“เมื่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าเฟส และเฟส 2 แล้วเสร็จ เรื่องต่อไปคือการสร้างวงแหวนระบบรถไฟฟ้า เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง โดยเมื่อการดำเนินการดังก่าวแล้วเสร็จเชื่อว่าจะสามารถลดการจราจรลงได้ถึงร้อยละ 40 ของปริมาณรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งหากเป็นไปตามที่ต้องเป้าไว้เชื่อว่าจะมีประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้าถึงร้อยละ 60 ซึ่งหายถึงต้นทุนที่ใช้ในการดำเนินทางลดลง 100,000 ล้านบาท/ปีเมื่อเฟสที่ 1 เปิดให้บริการ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ล้านบาท/ปี เมื่อเฟสที่ 2 เปิดให้บริการ”
อย่างไรก็ตามในส่วนของงบประมาณที่ใช้ในกรก่อสร้างนั้น สำหรับระยะแรก จะแบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ (เจบิก) จำนวน 140,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 1.4% รวมทั้งการออกพันธบัตร (บอนด์) 30 ปี ของกระทรวงการคลัง จำนวน 95,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 10,000 กว่าล้านบาทนั้น มาจากงบประมาณภาครัฐในปี 2552 เพื่อนำมาใช้สำหรับค่าเวนคืนที่ดิน ฯลฯ
***หวังดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม**
นายสันติ กล่าวว่า ช่วงนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่ายต่าง ๆ เพราะนักลงทุนชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น ภายหลังจากทีเกิดปัญาหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่สหรัฐอเมริกา และรุกรามไปถึงประเทศในทวีปยุโรป ดังนั้นการสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 เส้นทางจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้กระตุ้นกรลงุนจากนักลงทุนเหล่านี้ให้หันมาสนใจเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ในทุกเส้นทาง เพื่อเป็นการกระจายรายได้ และเพิ่มจำนวนงานให้ประชาชนในจังหวัดต่างๆตามเส้นทาง รวมทั้งเป็นการช่วยต้นทุนค่าขนส่งที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลมีแผนที่ให้ทางรถไฟสายคู่ในเส้นทางต่างๆไปเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป้าหมายสู่กรเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งในภูมิภาค
***เอกชนขอชัดเจนแค่1สายก็พอใจ**
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า เมื่อได้รับฟังความคิดและความมุ่งมั่นของภาครัฐจะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ส่วนตัวมองว่าภาครัฐไม่ควรเร่งกระจาย หรือดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกเส้นทางให้เกิดขึ้นพร้อมกันในทันที แต่ควรดำเนินการก่อสร้างในเส้นที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้แล้ว จำนวน 3 -4 เส้นทางให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อทำให้เกิดปัจจัยบวกแก่ประเทศไทย ในด้านจิตวิทยาด้านการลงทุนกับนักลงทุนชาวต่างประเทศ
“ส่วนตัว แต่สร้างหรือดำเนินการอย่างจริงจังแต่ 1 สาย ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ภาครัฐไม่ควรกระจายก่อสร้างในทีเดียวทุกสาย โดยควรให้ความสำคัญกับสายหลัก หรือสายที่มีคามคืบหน้าหรือความชัดเจนมากแล้วก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม ดังนั้นจะก่อสร่งรถไฟฟ้ากี่สายนั้นไม่ใช่ปัญหาของผูประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่ที่ทุกคนเฝ้ารออยู่นั่นคือความชัดเจนในการดำเนินการก่อสร้างนั่นเอง”
ทั้งนี้ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า เรื่องที่สำคัญของภาครัฐในตอนนี้คือ เรื่องผังเมือง โดยภาครัฐต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ากรุงเทพมหานครจะเป็นศูนย์กลางในเรื่องใด และจังหวัดปริมณฑลรอบกรุงเทพฯจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง เพราะถือว่าเป็นการกำหนดความชัดเจนให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในการสร้างโปรดักส์ที่ตอบสนองตรงความต้องการของประชาชนได้ถูกต้อง ดังนั้นภาครัฐจึงควรดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายผังเมืองของกรุงเทพฯ และปริมาณมณฑลอย่างบูรณาการ
**3สายหลักช่วยกระตุ้นตลาดบ้านเดี่ยว**
ด้านนาย ชายนิด โง้วศิริมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ส่วนตัวยังมองว่าธุรกิจบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ยอดขายลดลง โดยเฉพาะในเส้นทางสายสีม่วงม่วง – เขียว – แดง ที่มีความแน่นอนแล้วจะช่วยผลักดันให้การเติบโตของตลาดบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์กลับมา เพราะหากมีรถไฟฟ้าเปิดให้บริกรได้จริงจะช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องค่าใช้จ่ายได้ ขณะเดียวกันส่วนตัวไม่เชื่อว่ากรปลูกพืชพลังงานทดแทน (ไบโอดีเซล) ร้อยละ 20 ของพลังทั้งหมดจะไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคพลังงานของประเทศ
นอกจากนี้ประเมินว่า ทิศทางของธุรกิจคอนโดมิเนียมจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อต่อไปในอนาคต โดยจากการสำรวจพบว่าคอนโดมิเนียมที่เปิดใหม่นั้น โดยเฉพาะโครงการที่ใกล้กับรถไฟฟ้า จะมียอดจองแล้วกว่าร้อยละ 80 เพราะผู้บริโภคเลี่ยงที่มีค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเพิ่มขึ้น
***แหล่งทุนเฟสแรกพร้อมเสร็จแล้ว**
นายพงษ์ภานุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับแหล่งเงินที่จะมาดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ในเฟสแรกจะเน้นจากเงินกู้และพันธบัตร เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยล่าสุด รฟม.จะมีการเซ็นสัญญากู้เงินกับเจบิกในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงในช่วงปลายเดือนนี้ ขณะที่ บีทีเอส และบีเอ็มซีแอล อาจจะให้กระทรวงคมนาคมเข้าไปเจรจาในปรับปรุงสัมปทานใหม่ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ นอกเหนือจากแนวคิดการเข้าซื้อกิจการที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
“ตอนนี้ เรามีหนี้สาธารณะประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท หรือ 37-38% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับไม่น่ากังวล ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำคือดูแลหนี้สาธารณะไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจนเกินไป ปีนี้งบประมาณปี 2552 อยู่ที่ 1.88 ล้านบาท เรานำมาใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าแค่ 1 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการออกบอนด์ระยะยาว และมาจากการกู้เงินเจบิก โดยเงินกู้เหล่านี้จะไม่มีปรากฏออกมาในงบประมาณทั่วไป แต่จะปรากฏออกมาเมื่อถึงเวลาที่จะต้องชำระเงินเท่านั้น”
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันว่าในการระดมทุนจากการออกบอนด์นั้น ภาครัฐจะทยอยนำบอนด์ดังกล่าวออกมาขายไม่ใช่การขายเพียงครั้งเดียว เพื่อให้ไม่เกิดผลกระทบจากปัจจัยทางกรเงินในช่วงนั้นเข้ามีผลกระทบต่อการระดมทุน ขณะเดียวกันการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เพราะงบประมาณในการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะแรกถูกกำหนดสัดส่วนและแหล่งที่มาของเงินทุนไว้เรียบร้อยแล้ว
***วายุภักษ์ 2 จะเกิดหากรัฐเร่งดำเนินการ**
ดร.พิชิต อัครทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของการจัดหาแหล่งระดมทุนก่อสร้างนั้น มองว่ามีด้วยกัน 2 ส่วน โดยแนวทางแรกคือ ซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน หรือมาจากเงินกู้ และเงินภาษีพิเศษต่างๆ อาทีภาษีน้ำมัน ซึ่งเมื่อครั้งก่อนที่จะมีการปรับลดการจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซล กองทุรสถาบันพลังงานสามารถจัดเก็บเงินภาษีน้ำมันได้ถึงปี 50,000 ล้านบาท โดยหากดำเนินกรได้ 5 ปี ก็จะมีเงินตรงส่วนไว้ถึง 250,000 ล้านบาท
ส่วนที่ 2 มาจากรายได้ในอนาคตของผู้ประกอบการ รวมทั้งรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะสามารถจัดเก็บรายได้ถึง 50,000 – 100,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังจะมาจากการขายหุ้น หรือที่ดินที่ไม่เกิดประโยชน์ของกระทรวงการคลัง แล้วนำไปลงทุนอย่างกองทุนวายุภักษ์ 1 ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการระดมทุนหาแหล่งเงินทุนได้
ขณะที่การจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 เชื่อว่าหากภาครัฐไม่เร่งดำเนินการก่อสร้างระยะที่สองเร็วจนเกินไป ก็ยังไม่มีความจำเป็นหรือต้องรีบเร่งในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เพราะดูจากตัวเลขหนี้สาธารณะขณะนี้ยังไม่ถึงร้อยละ 50 ของจีดีพี แต่หากตัวเลขดังกล่าวมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น การจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 หรือกองทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถือว่าเป็นเครืองมือทางการเงินที่สามารถช่วยเพดานตัวเลขหนี้สาธารณะได้ โดยจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวงเงินที่ต้องการในการจัดตั้งกองทุนนั่น
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายในสัมมนา “รถไฟฟ้า 9 สาย Big Goal ยกเครื่องประเทศไทย” ว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว เห็นได้จากเร่งดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย ซึ่งเสมือนการลงทุนภาครัฐ เพื่อที่จะเป็นการกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ และกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการซื้อที่อยู่อาศัย เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นวงจรที่ใหญ่มาก
สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายนั้น จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 7.7 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นงบประมาณสำหรับดำเนินการระยะแรก จำนวน 259,000 ล้านบาท และระยะที่สอง จำนวน 5.1 แสนล้านบาท
***ปิ๊งไอเดียสร้างทยอยเปิดสถานี**
รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สิ่งที่นากยกรัฐมนตรีและภาครัฐต้องการจะเห็นคือ การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆต้องเสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี หายถึงตั้งแต่เริ่มมีกรลงนามในสัญญา (30 เดือน) และช่วงในการทดสอบระบบ 5- 6 เดือนก่อนให้บริการ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีแนวคิดให้ระหว่างที่ดำเนินกรก่อสร้างอยู่นั้น หากเส้นทางไหนสามารถก่อสร้างสถานีให้แล้วเสร็จตั้งแต่ 3 สถานีขึ้นไปให้สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ในทันที โดยในส่วนสถานีที่เหลือก็ให้ดำเนินการก่อสร้าง และทยอยเปิดให้บริการเพิ่มเติมต่อไป
“เมื่อการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าเฟส และเฟส 2 แล้วเสร็จ เรื่องต่อไปคือการสร้างวงแหวนระบบรถไฟฟ้า เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง โดยเมื่อการดำเนินการดังก่าวแล้วเสร็จเชื่อว่าจะสามารถลดการจราจรลงได้ถึงร้อยละ 40 ของปริมาณรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งหากเป็นไปตามที่ต้องเป้าไว้เชื่อว่าจะมีประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้าถึงร้อยละ 60 ซึ่งหายถึงต้นทุนที่ใช้ในการดำเนินทางลดลง 100,000 ล้านบาท/ปีเมื่อเฟสที่ 1 เปิดให้บริการ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ล้านบาท/ปี เมื่อเฟสที่ 2 เปิดให้บริการ”
อย่างไรก็ตามในส่วนของงบประมาณที่ใช้ในกรก่อสร้างนั้น สำหรับระยะแรก จะแบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ (เจบิก) จำนวน 140,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ย 1.4% รวมทั้งการออกพันธบัตร (บอนด์) 30 ปี ของกระทรวงการคลัง จำนวน 95,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 10,000 กว่าล้านบาทนั้น มาจากงบประมาณภาครัฐในปี 2552 เพื่อนำมาใช้สำหรับค่าเวนคืนที่ดิน ฯลฯ
***หวังดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม**
นายสันติ กล่าวว่า ช่วงนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่ายต่าง ๆ เพราะนักลงทุนชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้น ภายหลังจากทีเกิดปัญาหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่สหรัฐอเมริกา และรุกรามไปถึงประเทศในทวีปยุโรป ดังนั้นการสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 9 เส้นทางจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้กระตุ้นกรลงุนจากนักลงทุนเหล่านี้ให้หันมาสนใจเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ในทุกเส้นทาง เพื่อเป็นการกระจายรายได้ และเพิ่มจำนวนงานให้ประชาชนในจังหวัดต่างๆตามเส้นทาง รวมทั้งเป็นการช่วยต้นทุนค่าขนส่งที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลมีแผนที่ให้ทางรถไฟสายคู่ในเส้นทางต่างๆไปเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป้าหมายสู่กรเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งในภูมิภาค
***เอกชนขอชัดเจนแค่1สายก็พอใจ**
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า เมื่อได้รับฟังความคิดและความมุ่งมั่นของภาครัฐจะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ส่วนตัวมองว่าภาครัฐไม่ควรเร่งกระจาย หรือดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกเส้นทางให้เกิดขึ้นพร้อมกันในทันที แต่ควรดำเนินการก่อสร้างในเส้นที่ได้รับการอนุมัติไปก่อนหน้านี้แล้ว จำนวน 3 -4 เส้นทางให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อทำให้เกิดปัจจัยบวกแก่ประเทศไทย ในด้านจิตวิทยาด้านการลงทุนกับนักลงทุนชาวต่างประเทศ
“ส่วนตัว แต่สร้างหรือดำเนินการอย่างจริงจังแต่ 1 สาย ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ภาครัฐไม่ควรกระจายก่อสร้างในทีเดียวทุกสาย โดยควรให้ความสำคัญกับสายหลัก หรือสายที่มีคามคืบหน้าหรือความชัดเจนมากแล้วก่อน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม ดังนั้นจะก่อสร่งรถไฟฟ้ากี่สายนั้นไม่ใช่ปัญหาของผูประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่ที่ทุกคนเฝ้ารออยู่นั่นคือความชัดเจนในการดำเนินการก่อสร้างนั่นเอง”
ทั้งนี้ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า เรื่องที่สำคัญของภาครัฐในตอนนี้คือ เรื่องผังเมือง โดยภาครัฐต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ากรุงเทพมหานครจะเป็นศูนย์กลางในเรื่องใด และจังหวัดปริมณฑลรอบกรุงเทพฯจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง เพราะถือว่าเป็นการกำหนดความชัดเจนให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในการสร้างโปรดักส์ที่ตอบสนองตรงความต้องการของประชาชนได้ถูกต้อง ดังนั้นภาครัฐจึงควรดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายผังเมืองของกรุงเทพฯ และปริมาณมณฑลอย่างบูรณาการ
**3สายหลักช่วยกระตุ้นตลาดบ้านเดี่ยว**
ด้านนาย ชายนิด โง้วศิริมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ส่วนตัวยังมองว่าธุรกิจบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ยอดขายลดลง โดยเฉพาะในเส้นทางสายสีม่วงม่วง – เขียว – แดง ที่มีความแน่นอนแล้วจะช่วยผลักดันให้การเติบโตของตลาดบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์กลับมา เพราะหากมีรถไฟฟ้าเปิดให้บริกรได้จริงจะช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องค่าใช้จ่ายได้ ขณะเดียวกันส่วนตัวไม่เชื่อว่ากรปลูกพืชพลังงานทดแทน (ไบโอดีเซล) ร้อยละ 20 ของพลังทั้งหมดจะไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคพลังงานของประเทศ
นอกจากนี้ประเมินว่า ทิศทางของธุรกิจคอนโดมิเนียมจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อต่อไปในอนาคต โดยจากการสำรวจพบว่าคอนโดมิเนียมที่เปิดใหม่นั้น โดยเฉพาะโครงการที่ใกล้กับรถไฟฟ้า จะมียอดจองแล้วกว่าร้อยละ 80 เพราะผู้บริโภคเลี่ยงที่มีค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเพิ่มขึ้น
***แหล่งทุนเฟสแรกพร้อมเสร็จแล้ว**
นายพงษ์ภานุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับแหล่งเงินที่จะมาดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ในเฟสแรกจะเน้นจากเงินกู้และพันธบัตร เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยล่าสุด รฟม.จะมีการเซ็นสัญญากู้เงินกับเจบิกในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงในช่วงปลายเดือนนี้ ขณะที่ บีทีเอส และบีเอ็มซีแอล อาจจะให้กระทรวงคมนาคมเข้าไปเจรจาในปรับปรุงสัมปทานใหม่ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ นอกเหนือจากแนวคิดการเข้าซื้อกิจการที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
“ตอนนี้ เรามีหนี้สาธารณะประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท หรือ 37-38% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับไม่น่ากังวล ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำคือดูแลหนี้สาธารณะไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจนเกินไป ปีนี้งบประมาณปี 2552 อยู่ที่ 1.88 ล้านบาท เรานำมาใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าแค่ 1 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการออกบอนด์ระยะยาว และมาจากการกู้เงินเจบิก โดยเงินกู้เหล่านี้จะไม่มีปรากฏออกมาในงบประมาณทั่วไป แต่จะปรากฏออกมาเมื่อถึงเวลาที่จะต้องชำระเงินเท่านั้น”
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันว่าในการระดมทุนจากการออกบอนด์นั้น ภาครัฐจะทยอยนำบอนด์ดังกล่าวออกมาขายไม่ใช่การขายเพียงครั้งเดียว เพื่อให้ไม่เกิดผลกระทบจากปัจจัยทางกรเงินในช่วงนั้นเข้ามีผลกระทบต่อการระดมทุน ขณะเดียวกันการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เพราะงบประมาณในการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะแรกถูกกำหนดสัดส่วนและแหล่งที่มาของเงินทุนไว้เรียบร้อยแล้ว
***วายุภักษ์ 2 จะเกิดหากรัฐเร่งดำเนินการ**
ดร.พิชิต อัครทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของการจัดหาแหล่งระดมทุนก่อสร้างนั้น มองว่ามีด้วยกัน 2 ส่วน โดยแนวทางแรกคือ ซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน หรือมาจากเงินกู้ และเงินภาษีพิเศษต่างๆ อาทีภาษีน้ำมัน ซึ่งเมื่อครั้งก่อนที่จะมีการปรับลดการจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซล กองทุรสถาบันพลังงานสามารถจัดเก็บเงินภาษีน้ำมันได้ถึงปี 50,000 ล้านบาท โดยหากดำเนินกรได้ 5 ปี ก็จะมีเงินตรงส่วนไว้ถึง 250,000 ล้านบาท
ส่วนที่ 2 มาจากรายได้ในอนาคตของผู้ประกอบการ รวมทั้งรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะสามารถจัดเก็บรายได้ถึง 50,000 – 100,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังจะมาจากการขายหุ้น หรือที่ดินที่ไม่เกิดประโยชน์ของกระทรวงการคลัง แล้วนำไปลงทุนอย่างกองทุนวายุภักษ์ 1 ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการระดมทุนหาแหล่งเงินทุนได้
ขณะที่การจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ 2 เชื่อว่าหากภาครัฐไม่เร่งดำเนินการก่อสร้างระยะที่สองเร็วจนเกินไป ก็ยังไม่มีความจำเป็นหรือต้องรีบเร่งในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เพราะดูจากตัวเลขหนี้สาธารณะขณะนี้ยังไม่ถึงร้อยละ 50 ของจีดีพี แต่หากตัวเลขดังกล่าวมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น การจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 หรือกองทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ถือว่าเป็นเครืองมือทางการเงินที่สามารถช่วยเพดานตัวเลขหนี้สาธารณะได้ โดยจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวงเงินที่ต้องการในการจัดตั้งกองทุนนั่น