หมอเลี้ยบคาดอีก 1-2 เดือนกองทุนวายุภักษ์ 2 รู้ผล เหตุต้องศึกษารายละเอียดอีกมาก ด้าน "พิชิต" รับ มีการหารือกับรมว.คลังคนใหม่ไปบ้างแล้ว แต่เป็นเพียงการหารือแนวคิดในการระดมทุนเท่านั้น ระบุรูปแบบที่เหมาะสม ต้องสร้างภาระหนี้สาธารณะให้น้อยที่สุด จี้รัฐหากออกพันธบัตรหรือกู้เงินอย่างเดียว อาจส่งผลให้หนี้พุ่งระดับ 50% ของจีดีพี แนะวายุภักษ์ 2 เหมาะกับกับโครงการที่พอจะมีกำไรกลับมาบ้าง ชูความพร้อม หากคลังไว้ใจให้เป็นผู้จัดการกองทุน
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 ว่า ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1-2 เดือนจึงจะสามารถสรุปเรื่องกองทุนวายุภักษ์ 2 ได้ เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังต้องมีการศึกษารายละเอียดในแต่ละขั้นตอนอีกมาก
อย่างไรก็ตาม ในหลักการแล้วรัฐบาลต้องการมีแหล่งเงินทุนเพื่อใช้สำหรับลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หลังจากรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 5 ชุดเพื่อดูแลโครงการเมกะโปรเจกต์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินกู้นอกเหนือจากการใช้เงินงบประมาณและการออกพันธบัตร
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวยอมรับว่า หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เข้่ามาบริหารต่อจากรัฐบาลชุดเดิม ได้มีการหารือเรื่องการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 ไปบ้างแล้ว ซึ่งการหารือดังกล่าวเป็นการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดในการระดมทุน เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดในการสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (เมกะโปรเจกต์)
ทั้งนี้ มองว่าแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ควรจะเป็นรูปแบบที่เป็นภาระกับภาครัฐน้อยที่สุด ในแง่ที่ว่าไม่เป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะ และสามารถได้เงินทุนมาสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ภาครัฐต้องการลงทุนอย่างเพียงพอในระยะเวลาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันต้องมีการกำกับและการตรวจสอบที่ดี
ส่วนมูลค่าของการระดมทุนจะเป็นเท่าไหร่นั้น จากการประเมินของรัฐบาลที่คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 5 แสนล้านบาทในการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าไต้ดิน ซึ่งในจำนวนนี้ หากใช้รูปแบบการระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรหรือกู้เงินในประเทศทั้งหมด ก็จะส่งผลให้ภาระหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นใกล้ถึงระดับ 50% ของจีดีพี ซึ่งอาจจะส่งผลให้ความคล่องตัวในการระดมทุนของภาครัฐในการกู้เงินลดลง เพราะมีหนี้มากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูจากความต้องการของภาครัฐแล้ว ยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการระดมทุนด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการกู้ยืมเงิน แต่หลัการในการพิจาราเรื่องนี้ มองว่า ถ้าโครงการใดเป็นการลงทุนที่มีรายได้กลับมาชัดเจน ก็ควรจะให้น้ำหนักต่อการพึ่งพาตนเอง เพราะจะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งตัวกองทุนวายุภักษ์ 2 เอง มองว่าควรใช้สำหรับโครงการที่พอจะมีกำไรหรือรายได้กลับมาบ้าง เพราะกองทุนเป็นการลงทุนของสาธารณะ
ส่วนโครงการที่ไม่มีผลตอบแทนกลับมา ก็ควรจะใช้เงินกู้แทน เพราะการกู้เงินเป็นการทำเท่าที่จำเป็น ถ้ามีวิธีอื่นๆ ที่สามารถทำได้ก็เลือกไปก่อน หลังจากหมดหนทางแล้วจึงค่อยมองหาแหล่งเงินกู้ ซึ่งหลักการคือ หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้สาธารณะให้มากที่สุด โดยโครงการที่เป็นหนี้ได้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโครงการที่ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ เช่น การลงทุนในน้ำ การศึกษา ซึ่งโครงการเหล่านี้สร้างผลตอบแทนทางสังคมมากกว่า และเหมาะที่จะใช้งบประมาณและเงินกู้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับกองทุนวายุภักษ์ 2 ถือว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีกว่าไม่มีทางเลือกอื่นๆ เลย ซึ่งรูปแบบของกองทุนวายุภักษ์เองก็ได้พิสูจน์ตัวเองออกมาแล้วจากกองทุนวายุภักษ์ 1 ว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงทางการลงทุนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม จะได้นำมาใช้หรือไม่คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังอีกครั้ง โดยในส่วนของบลจ.เอ็มเอฟซีเอง เรามีความพร้อมอยู่แล้วในเชิงเทคนิค แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายว่าจะเริ่มต้นได้เมื่อไหร่เท่านั้นเอง
"ถ้าหากกระทรวงการคลังจะให้เราเป็นผู้จัดการกองทุนนี้ เราก็พร้อม เพราะเราเองก็มีประสบการณ์จากการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 1 มาแล้ว ทั้งในแง่ของการบริหารจัดการและการออกแบกองทุน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงการคลังเองด้วยว่าจะให้ใครเป็นทำ"นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ มองว่าการที่กระทรวงการคลังให้ความสนใจการระดมทุนผ่านกองทุนวายุภักษ์ 2 เชื่อว่ามาจาก 2 ปัจจัย โดยปัจจัยหลักใหญ่ๆ อยู่ที่การระดมทุนผ่านกองทุนนี้ไม่เป็นการก่อหนี้สาธารณะ ประกอบกับรูปแบบการระดมทุนเอง มีการสรวจสอบอย่างโปร่งใส โดยกลไกของตลาดทุน
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 ว่า ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1-2 เดือนจึงจะสามารถสรุปเรื่องกองทุนวายุภักษ์ 2 ได้ เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังต้องมีการศึกษารายละเอียดในแต่ละขั้นตอนอีกมาก
อย่างไรก็ตาม ในหลักการแล้วรัฐบาลต้องการมีแหล่งเงินทุนเพื่อใช้สำหรับลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หลังจากรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 5 ชุดเพื่อดูแลโครงการเมกะโปรเจกต์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินกู้นอกเหนือจากการใช้เงินงบประมาณและการออกพันธบัตร
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวยอมรับว่า หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เข้่ามาบริหารต่อจากรัฐบาลชุดเดิม ได้มีการหารือเรื่องการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 ไปบ้างแล้ว ซึ่งการหารือดังกล่าวเป็นการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดในการระดมทุน เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดในการสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (เมกะโปรเจกต์)
ทั้งนี้ มองว่าแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ควรจะเป็นรูปแบบที่เป็นภาระกับภาครัฐน้อยที่สุด ในแง่ที่ว่าไม่เป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะ และสามารถได้เงินทุนมาสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ภาครัฐต้องการลงทุนอย่างเพียงพอในระยะเวลาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันต้องมีการกำกับและการตรวจสอบที่ดี
ส่วนมูลค่าของการระดมทุนจะเป็นเท่าไหร่นั้น จากการประเมินของรัฐบาลที่คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 5 แสนล้านบาทในการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าไต้ดิน ซึ่งในจำนวนนี้ หากใช้รูปแบบการระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรหรือกู้เงินในประเทศทั้งหมด ก็จะส่งผลให้ภาระหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นใกล้ถึงระดับ 50% ของจีดีพี ซึ่งอาจจะส่งผลให้ความคล่องตัวในการระดมทุนของภาครัฐในการกู้เงินลดลง เพราะมีหนี้มากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูจากความต้องการของภาครัฐแล้ว ยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการระดมทุนด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการกู้ยืมเงิน แต่หลัการในการพิจาราเรื่องนี้ มองว่า ถ้าโครงการใดเป็นการลงทุนที่มีรายได้กลับมาชัดเจน ก็ควรจะให้น้ำหนักต่อการพึ่งพาตนเอง เพราะจะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งตัวกองทุนวายุภักษ์ 2 เอง มองว่าควรใช้สำหรับโครงการที่พอจะมีกำไรหรือรายได้กลับมาบ้าง เพราะกองทุนเป็นการลงทุนของสาธารณะ
ส่วนโครงการที่ไม่มีผลตอบแทนกลับมา ก็ควรจะใช้เงินกู้แทน เพราะการกู้เงินเป็นการทำเท่าที่จำเป็น ถ้ามีวิธีอื่นๆ ที่สามารถทำได้ก็เลือกไปก่อน หลังจากหมดหนทางแล้วจึงค่อยมองหาแหล่งเงินกู้ ซึ่งหลักการคือ หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้สาธารณะให้มากที่สุด โดยโครงการที่เป็นหนี้ได้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโครงการที่ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ เช่น การลงทุนในน้ำ การศึกษา ซึ่งโครงการเหล่านี้สร้างผลตอบแทนทางสังคมมากกว่า และเหมาะที่จะใช้งบประมาณและเงินกู้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับกองทุนวายุภักษ์ 2 ถือว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีกว่าไม่มีทางเลือกอื่นๆ เลย ซึ่งรูปแบบของกองทุนวายุภักษ์เองก็ได้พิสูจน์ตัวเองออกมาแล้วจากกองทุนวายุภักษ์ 1 ว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงทางการลงทุนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม จะได้นำมาใช้หรือไม่คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังอีกครั้ง โดยในส่วนของบลจ.เอ็มเอฟซีเอง เรามีความพร้อมอยู่แล้วในเชิงเทคนิค แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายว่าจะเริ่มต้นได้เมื่อไหร่เท่านั้นเอง
"ถ้าหากกระทรวงการคลังจะให้เราเป็นผู้จัดการกองทุนนี้ เราก็พร้อม เพราะเราเองก็มีประสบการณ์จากการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 1 มาแล้ว ทั้งในแง่ของการบริหารจัดการและการออกแบกองทุน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงการคลังเองด้วยว่าจะให้ใครเป็นทำ"นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ มองว่าการที่กระทรวงการคลังให้ความสนใจการระดมทุนผ่านกองทุนวายุภักษ์ 2 เชื่อว่ามาจาก 2 ปัจจัย โดยปัจจัยหลักใหญ่ๆ อยู่ที่การระดมทุนผ่านกองทุนนี้ไม่เป็นการก่อหนี้สาธารณะ ประกอบกับรูปแบบการระดมทุนเอง มีการสรวจสอบอย่างโปร่งใส โดยกลไกของตลาดทุน