ผู้จัดการรายวัน - โบรกฯนอกยังวิตกตลท.ปรับการชำระค่าหุ้นจาก T+3 เป็น T+2 ห่วงความต่างของช่วงเวลาอาจทำให้เกิดความผิดพลาด ขณะที่ติงการเปิด Exclusive Partner ทำให้โบรกฯต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยอยู่แล้วเสียเปรียบเหตุมีต้นทุนสูงกว่า "บล.ทองมกุฎ" ยอมรับสภาพต้องปรับตัวให้ได้เพื่อความอยู่รอด ด้าน "โสภาวดี" ต้องหารือสมาชิกอีกครั้ง พร้อมศึกษารูปแบบจากต่างประเทศก่อนกำหนดกรอบบังคับใช้อย่างชัดเจน
มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง บริษัทหลักทรัพย์ ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวถึง การลดระยะเวลาในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จาก 3 วันเป็น 2 วันทำการ (T+2) ว่า เรื่องดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่าอาจจะเกิดปัญหากับบริษัทหลักทรัพย์ที่มีลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากความต่างของเวลาในแต่ละประเทศอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์
"ยังมีความเป็นห่วงว่าจะสามารถเคลียรริ่งได้ทันหรือไม่ เมื่อเปลี่ยนไปใช้ T+2 เนื่องจากในบางประเทศเวลาต่างจากประเทศไทยค่อนข้างมาก แต่ก็เชื่อว่าจะต้องมีการปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา"มล.ทองมกุฎกล่าว
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติที่มีการเปิดสาขาในประเทศไทยยังค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับการหาบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะคู่ค้า หรือ Exclusive Partner เข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการเปิดสาขาในประเทศของบริษัทหลักทรัพย์ข้ามชาติมีต้นทุนในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศสามารถหาคู่ค้าจากต่างประเทศ โดยให้กำหนดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) ในอัตราไม่ต่ำกว่า 60% ของอัตราขั้นต่ำ และมีเงื่อนไขสำคัญให้สมาชิกทำสัญญากับบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะ 1:1 ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศ
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการทักท้วงในเรื่องดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติหลายแห่งแต่เมื่อเป็นมติของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ประกอบการเองก็จะต้องยอมรับเงื่อนไขของสมาชิกส่วนใหญ่ โดยหลังจากนี้การปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่บีบบังคับมากขึ้นของบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯยังไม่ได้มีการกำหนดวันที่จะบังคับใช้ในเรื่องการชำระราคาส่งมอบหลักทรัพย์ เป็น 2 วันทำการ (T+2)จากปัจจุบันที่ใช้T+3 เพราะ จะต้องมีการหารือกับทางบริษัทหลักทรัพย์ และผู้ดูแลผลประโยชน์(คัตโตเดียนแบงก์) อีกครั้ง ในเรื่องความพร้อมในการใช้ ว่าจะสามารถชำระราคาส่งมอบทันหรือไม่ และส่วนนักลงทุนต่างประเทศนั้นก็มีความกังวลว่าจะชำระและส่งมอบเพราะ มีเรื่องระยะเวลาที่มีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯจะต้องมีการศึกษาจากในต่างประเทศเช่น ตลาดหุ้นฮ่องกง เกาหลี อินเดียว ที่มีการชำระราคาและส่งมอบเป็น T+2 แล้วมีการดำเนินการอย่างไร และโครงสร้างการดำเนินงาน ซึ่งศูนย์รับฝากจะมีการนำเรื่องT+2 เข้าบอร์ดศูนย์รับฝากในเดือนมีนาคมนี้ และหลังจากนั้น ก็จะมีการเสนอบอร์ดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บอร์ดตลท.) ในช่วงที่ผ่านมาศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯได้มีการหารือกับโบรกเกอร์และคัตโตเดียนแบงก์ไปแล้ว 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ และต้นเดือนมีนาคม2551
"เรื่องT+2นั้นคาดว่าจะนำเข้าบอร์ดศูนย์รับฝากฯในเร็วๆนี้ คือภายในเดือนมีนาคม แต่เข้าบอร์ดแล้วอาจจะยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งก็จะต้องมีการหารือกับโบรกเกอร์ และคัตโตเดียนแบงก์อีก"
สำหรับการลดระยะเวลาการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จากT+3 เป็น T+2 นั้นมีการที่จะเริ่มทำตั้งแต่ ปี 2548 แต่ทุกฝ่ายยังไม่พร้อม ซึ่งจะต้องมีให้นักลงทุนทั้งหมดมีการชำระราคาหลักทรัพย์อัตโนมัติผ่านธนาคารพาณิชย์ (ATS) ก่อน และเมื่อมีการบังคับใช้ไปแล้ว ก็มีความกังวลในเรื่องของนักลงทุนต่างประเทศ โดยในเรื่องจะมีการบังคับใช้หรือไม่นั้นจะต้องศึกษาในเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับ
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การเปิดให้มี Exclusive Partner เนื่องจากคณะกรรมการตลท.เห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นการสร้างโอกาสให้แก่บริษัทสมาชิกได้ทำธุรกิจกับต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานผู้ลงทุนต่างประเทศ และยังเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เตรียมตัวสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจเพื่อรองรับ และให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 2555
มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง บริษัทหลักทรัพย์ ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวถึง การลดระยะเวลาในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จาก 3 วันเป็น 2 วันทำการ (T+2) ว่า เรื่องดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่าอาจจะเกิดปัญหากับบริษัทหลักทรัพย์ที่มีลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากความต่างของเวลาในแต่ละประเทศอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าซื้อขายหลักทรัพย์
"ยังมีความเป็นห่วงว่าจะสามารถเคลียรริ่งได้ทันหรือไม่ เมื่อเปลี่ยนไปใช้ T+2 เนื่องจากในบางประเทศเวลาต่างจากประเทศไทยค่อนข้างมาก แต่ก็เชื่อว่าจะต้องมีการปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา"มล.ทองมกุฎกล่าว
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติที่มีการเปิดสาขาในประเทศไทยยังค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับการหาบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะคู่ค้า หรือ Exclusive Partner เข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการเปิดสาขาในประเทศของบริษัทหลักทรัพย์ข้ามชาติมีต้นทุนในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศสามารถหาคู่ค้าจากต่างประเทศ โดยให้กำหนดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) ในอัตราไม่ต่ำกว่า 60% ของอัตราขั้นต่ำ และมีเงื่อนไขสำคัญให้สมาชิกทำสัญญากับบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศในลักษณะ 1:1 ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศ
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการทักท้วงในเรื่องดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติหลายแห่งแต่เมื่อเป็นมติของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ประกอบการเองก็จะต้องยอมรับเงื่อนไขของสมาชิกส่วนใหญ่ โดยหลังจากนี้การปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่บีบบังคับมากขึ้นของบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯยังไม่ได้มีการกำหนดวันที่จะบังคับใช้ในเรื่องการชำระราคาส่งมอบหลักทรัพย์ เป็น 2 วันทำการ (T+2)จากปัจจุบันที่ใช้T+3 เพราะ จะต้องมีการหารือกับทางบริษัทหลักทรัพย์ และผู้ดูแลผลประโยชน์(คัตโตเดียนแบงก์) อีกครั้ง ในเรื่องความพร้อมในการใช้ ว่าจะสามารถชำระราคาส่งมอบทันหรือไม่ และส่วนนักลงทุนต่างประเทศนั้นก็มีความกังวลว่าจะชำระและส่งมอบเพราะ มีเรื่องระยะเวลาที่มีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯจะต้องมีการศึกษาจากในต่างประเทศเช่น ตลาดหุ้นฮ่องกง เกาหลี อินเดียว ที่มีการชำระราคาและส่งมอบเป็น T+2 แล้วมีการดำเนินการอย่างไร และโครงสร้างการดำเนินงาน ซึ่งศูนย์รับฝากจะมีการนำเรื่องT+2 เข้าบอร์ดศูนย์รับฝากในเดือนมีนาคมนี้ และหลังจากนั้น ก็จะมีการเสนอบอร์ดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บอร์ดตลท.) ในช่วงที่ผ่านมาศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯได้มีการหารือกับโบรกเกอร์และคัตโตเดียนแบงก์ไปแล้ว 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ และต้นเดือนมีนาคม2551
"เรื่องT+2นั้นคาดว่าจะนำเข้าบอร์ดศูนย์รับฝากฯในเร็วๆนี้ คือภายในเดือนมีนาคม แต่เข้าบอร์ดแล้วอาจจะยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งก็จะต้องมีการหารือกับโบรกเกอร์ และคัตโตเดียนแบงก์อีก"
สำหรับการลดระยะเวลาการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จากT+3 เป็น T+2 นั้นมีการที่จะเริ่มทำตั้งแต่ ปี 2548 แต่ทุกฝ่ายยังไม่พร้อม ซึ่งจะต้องมีให้นักลงทุนทั้งหมดมีการชำระราคาหลักทรัพย์อัตโนมัติผ่านธนาคารพาณิชย์ (ATS) ก่อน และเมื่อมีการบังคับใช้ไปแล้ว ก็มีความกังวลในเรื่องของนักลงทุนต่างประเทศ โดยในเรื่องจะมีการบังคับใช้หรือไม่นั้นจะต้องศึกษาในเรื่องของผลประโยชน์ที่จะได้รับ
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การเปิดให้มี Exclusive Partner เนื่องจากคณะกรรมการตลท.เห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นการสร้างโอกาสให้แก่บริษัทสมาชิกได้ทำธุรกิจกับต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานผู้ลงทุนต่างประเทศ และยังเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เตรียมตัวสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจเพื่อรองรับ และให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 2555