เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้(19 มี.ค.) พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร.) ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ ได้เข้าพบ นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด (อสส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง เพื่อรับทราบการตั้งข้อกล่าวหาที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 5 มี.ค.51 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ 3 กรณี
1. ทุจริตการทำสัญญาเช่ารถตู้ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) มูลค่า 9,800 ล้านบาท 2. การใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมกับผู้ใต้บังคับบัญชาและ 3. การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจโดยไม่มีกฎหมายรองรับ โดยการรับทราบข้อกล่าวหาใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า คณะกรรมการฯได้แจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 3 เรื่อง ให้ตนทราบ ตามกฎว่าด้วยการสอบสวนของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ตนได้ยื่นหนังสือถึง นายชัยเกษม เพื่อขอเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ในการตั้งข้อกล่าวหาสอบสวนวินัยร้ายแรงตน รวมทั้งขอให้คณะกรรมการฯ ชุดนี้พิจารณาด้วยว่า คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะปกติการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงจะต้องทำการสืบสวนข้อเท็จจริง ด้วยการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาเสียก่อน แต่กรณีนี้ไม่มีการสืบสวนข้อเท็จจริง แต่อาศัยช่องว่างของกฎหมายที่ว่า ผู้บังคับบัญชาพิจารณาในเบื้องต้น ซึ่งการพิจารณาเบื้องต้นต้องมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่า ตนซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงอย่างไร ส่วนเรื่องเอกสารหลักฐานนั้น ประธานคณะกรรมการฯบอกว่า ไม่มีอาจจะอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งฟังดูแล้วไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ที่กล่าวหาว่า ตนทุจริตการปฎิบัติหน้าที่มิชอบ ฝ่าฝืนระเบียบอะไรต่างๆ เหล่านี้ทำให้ทางราชการเสียหาย โดยระบุชัดเจนเลยว่าทุจริต แล้วมีพยานหลักฐานอะไรว่า ตนทุจริต ว่าตนฝ่าฝืนระเบียบ นั่งทบทวนดูตนไม่ได้ฝ่าฝืนอะไรทำตามระเบียบในระเบียบเขาให้ทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้น และตนก็ไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจที่จะไปอนุมัติอะไรได้ตามใจ ถ้าตนไม่ทำตามระเบียบและถ้าตนทำผิดกฎหมาย แล้วรัฐบาลจะอนุมัติได้อย่างไร เป็นคำสั่งที่น่าสงสัย
เมื่อถามว่าเป็นเรื่องการเมืองใช่หรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า มาถึงขั้นนี้มันก็ชัดเจนแล้วว่า เป็นเรื่องการเมือง เพราะว่าปกติจะทำตามขั้นตอนและถ้าทำตามขั้นตอนจะมีการสืบสวนข้อเท็จจริง ยังย้ายผมไม่ได้ ต้องสืบสวนจนกระทั่งมีมูล ว่าทำผิดวินัย และถึงจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และตอนนั้นจะย้าย จะพักราชการก็ว่าไป แต่นี้ไม่ได้ทำอะไรเลย ออกคำสั่งบอกสองแผ่นซึ่งมันไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อถามว่านอกจากเรื่องเช่ารถแล้วยังมั่นใจการชี้แจงในเรื่องที่เหลือหรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า "ผมมั่นใจทุกเรื่อง ทำไมผมด่าลูกน้องควาย แล้วผิดตรงไหน ถ้าผมไปด่าคุณก็ไปอย่าง เวลาพวกคุณถูกด่าสมองมีแค่นี้หรือ ปัญญามีแค่นี้หรือ เมื่อวานคุณไปเสพเมถุนกับใคร คุณไม่เห็นทำอะไรสักอย่างเลย พวกคุณก็ไม่ได้ฟ้องนี่ พวกคุณก็มีความรู้สึกสบายๆ ที่มีคนเขาด่าคุณอย่างนั้นใช่ไหม"
เมื่อถามต่อว่าจะมีการนำไปเปรียบเทียบกับที่นายสมัคร ใช้คำพูดเหล่านี้กับผู้สื่อข่าว ต่อคณะกรรมการฯใช่หรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า "ต้องเทียบ อย่างนั้นไม่ผิดแล้วอย่างนี้จะผิดได้อย่างไร แค่ผมพูดกับลูกน้องแค่นี้ ไม่เห็นมีอะไรเลย ลูกน้องรักเราเสียอีก"
ด้านนายชัยเกษม ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนฯ กล่าวว่าขณะนี้การสอบสวนอยู่ระหว่างการเรียกเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้ง สตช. เลขาธิการ ครม. รวมทั้งจะเชิญพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ ซึ่งเป็นขั้นตอนทั่วไปของการสอบสวน ไม่ได้มีสิ่งใดพิเศษ
ส่วนขั้นตอนการสอบสวน หลังจากคณะกรรมการฯ รวบรวมหลักฐานแล้วก็จะต้องสรุปผลการสอบสวนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่กล่าวหาหรือไม่ โดยภายในสัปดาห์หน้า จะเริ่มเรียกพยานมาให้การซึ่งจะทำไปพร้อมกับการเรียกเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานต่างๆมาสอบ อย่างไรก็ดี ยืนยันว่า คณะกรรมการสอบสวนจะดำเนินการสอบให้เสร็จตามกรอบกติกาคือภายใน 60 วัน หรือหากไม่ทันตามกำหนดก็สามารถออกไปได้ แต่ไม่เกิน 240 วัน
**"ณัฐวุฒิ"องครักษ์พิทักษ์"หมัก"
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนพาดพิง นายสมัคร สันทรเวช ว่า การด่าว่าลูกน้องจะมีปัญหาอะไร แม้ว่าจะกล่าวว่าว่าควายก็ตาม แต่มีบางคนถามสื่อมวลชนว่า ไปเสพเมถุนกับใครมา ก็ไม่ใครว่าอะไร ซึ่งถือเป็นการ สื่อความหมายว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มุ่งหมายที่จะกระทบกระทั่งกับนายกรัฐมนตรี ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับข้าราชการประจำ ที่อาจจะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย
"พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เป็นข้าราชการที่ถูกสอบสวนวินัยร้ายแรง ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านควรจะคำนึงถึงระเบียบ และวินัยของข้าราชการ ท่านเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ควรจะรู้ว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ซึ่งต้องทำให้สังคมเข้าใจก่อนว่า เหตุผล 1 ใน 3 ที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถูกตั้งกรรมการสอบนั้น ไม่ได้อยู่ที่ท่านไปด่าว่าลูกน้อง แต่การด่าว่าลูกน้องใครจะดุด่าก็เป็นสิทธิทั้งนั้น แต่ประเด็นที่ตั้งคณะกรรมการสอบสมควรหรือไม่ ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เขียนหนังสือถึงผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยถ้อยคำอย่างนั้นจึงถูกตั้งกรรมการสอบถึงความเหมาะสม และอยากเรียน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ว่าปรากฎการณ์ที่ท่านจะเอาแบบอย่าง มีอยู่ไม่ใช่น้อย"
ทั้งนี้ หากพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ก็ควรจะนิ่ง และยอมรับและว่ากันตามกระบวนการของกฎหมาย มิใช่หาจังหวะที่จะพูดจากระทบกระทั่งต่อผู้บังคับบัญชา จนเกิดความไขว้เขว่เข้าใจผิด และอาจจะเกิดแนวทางปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตนคิดว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ น่าจะยุติความเคลื่อนไหวดังกล่าว หากบริสุทธิ์วันหนึ่งผลสอบจะพิสูจน์ตัวท่านเอง และหากพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ บริสุทธิ์ ทางรัฐบาลก็จะรับผิดชอบคำสั่งที่กิดขึ้นแต่ขอให้เดินไปตามกระบวนการ
1. ทุจริตการทำสัญญาเช่ารถตู้ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) มูลค่า 9,800 ล้านบาท 2. การใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมกับผู้ใต้บังคับบัญชาและ 3. การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจโดยไม่มีกฎหมายรองรับ โดยการรับทราบข้อกล่าวหาใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า คณะกรรมการฯได้แจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 3 เรื่อง ให้ตนทราบ ตามกฎว่าด้วยการสอบสวนของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ตนได้ยื่นหนังสือถึง นายชัยเกษม เพื่อขอเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ในการตั้งข้อกล่าวหาสอบสวนวินัยร้ายแรงตน รวมทั้งขอให้คณะกรรมการฯ ชุดนี้พิจารณาด้วยว่า คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะปกติการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงจะต้องทำการสืบสวนข้อเท็จจริง ด้วยการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นมาเสียก่อน แต่กรณีนี้ไม่มีการสืบสวนข้อเท็จจริง แต่อาศัยช่องว่างของกฎหมายที่ว่า ผู้บังคับบัญชาพิจารณาในเบื้องต้น ซึ่งการพิจารณาเบื้องต้นต้องมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่า ตนซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงอย่างไร ส่วนเรื่องเอกสารหลักฐานนั้น ประธานคณะกรรมการฯบอกว่า ไม่มีอาจจะอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งฟังดูแล้วไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ที่กล่าวหาว่า ตนทุจริตการปฎิบัติหน้าที่มิชอบ ฝ่าฝืนระเบียบอะไรต่างๆ เหล่านี้ทำให้ทางราชการเสียหาย โดยระบุชัดเจนเลยว่าทุจริต แล้วมีพยานหลักฐานอะไรว่า ตนทุจริต ว่าตนฝ่าฝืนระเบียบ นั่งทบทวนดูตนไม่ได้ฝ่าฝืนอะไรทำตามระเบียบในระเบียบเขาให้ทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้น และตนก็ไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจที่จะไปอนุมัติอะไรได้ตามใจ ถ้าตนไม่ทำตามระเบียบและถ้าตนทำผิดกฎหมาย แล้วรัฐบาลจะอนุมัติได้อย่างไร เป็นคำสั่งที่น่าสงสัย
เมื่อถามว่าเป็นเรื่องการเมืองใช่หรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า มาถึงขั้นนี้มันก็ชัดเจนแล้วว่า เป็นเรื่องการเมือง เพราะว่าปกติจะทำตามขั้นตอนและถ้าทำตามขั้นตอนจะมีการสืบสวนข้อเท็จจริง ยังย้ายผมไม่ได้ ต้องสืบสวนจนกระทั่งมีมูล ว่าทำผิดวินัย และถึงจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และตอนนั้นจะย้าย จะพักราชการก็ว่าไป แต่นี้ไม่ได้ทำอะไรเลย ออกคำสั่งบอกสองแผ่นซึ่งมันไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อถามว่านอกจากเรื่องเช่ารถแล้วยังมั่นใจการชี้แจงในเรื่องที่เหลือหรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า "ผมมั่นใจทุกเรื่อง ทำไมผมด่าลูกน้องควาย แล้วผิดตรงไหน ถ้าผมไปด่าคุณก็ไปอย่าง เวลาพวกคุณถูกด่าสมองมีแค่นี้หรือ ปัญญามีแค่นี้หรือ เมื่อวานคุณไปเสพเมถุนกับใคร คุณไม่เห็นทำอะไรสักอย่างเลย พวกคุณก็ไม่ได้ฟ้องนี่ พวกคุณก็มีความรู้สึกสบายๆ ที่มีคนเขาด่าคุณอย่างนั้นใช่ไหม"
เมื่อถามต่อว่าจะมีการนำไปเปรียบเทียบกับที่นายสมัคร ใช้คำพูดเหล่านี้กับผู้สื่อข่าว ต่อคณะกรรมการฯใช่หรือไม่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า "ต้องเทียบ อย่างนั้นไม่ผิดแล้วอย่างนี้จะผิดได้อย่างไร แค่ผมพูดกับลูกน้องแค่นี้ ไม่เห็นมีอะไรเลย ลูกน้องรักเราเสียอีก"
ด้านนายชัยเกษม ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนฯ กล่าวว่าขณะนี้การสอบสวนอยู่ระหว่างการเรียกเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้ง สตช. เลขาธิการ ครม. รวมทั้งจะเชิญพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ ซึ่งเป็นขั้นตอนทั่วไปของการสอบสวน ไม่ได้มีสิ่งใดพิเศษ
ส่วนขั้นตอนการสอบสวน หลังจากคณะกรรมการฯ รวบรวมหลักฐานแล้วก็จะต้องสรุปผลการสอบสวนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่กล่าวหาหรือไม่ โดยภายในสัปดาห์หน้า จะเริ่มเรียกพยานมาให้การซึ่งจะทำไปพร้อมกับการเรียกเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานต่างๆมาสอบ อย่างไรก็ดี ยืนยันว่า คณะกรรมการสอบสวนจะดำเนินการสอบให้เสร็จตามกรอบกติกาคือภายใน 60 วัน หรือหากไม่ทันตามกำหนดก็สามารถออกไปได้ แต่ไม่เกิน 240 วัน
**"ณัฐวุฒิ"องครักษ์พิทักษ์"หมัก"
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนพาดพิง นายสมัคร สันทรเวช ว่า การด่าว่าลูกน้องจะมีปัญหาอะไร แม้ว่าจะกล่าวว่าว่าควายก็ตาม แต่มีบางคนถามสื่อมวลชนว่า ไปเสพเมถุนกับใครมา ก็ไม่ใครว่าอะไร ซึ่งถือเป็นการ สื่อความหมายว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มุ่งหมายที่จะกระทบกระทั่งกับนายกรัฐมนตรี ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับข้าราชการประจำ ที่อาจจะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย
"พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เป็นข้าราชการที่ถูกสอบสวนวินัยร้ายแรง ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านควรจะคำนึงถึงระเบียบ และวินัยของข้าราชการ ท่านเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ควรจะรู้ว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ซึ่งต้องทำให้สังคมเข้าใจก่อนว่า เหตุผล 1 ใน 3 ที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถูกตั้งกรรมการสอบนั้น ไม่ได้อยู่ที่ท่านไปด่าว่าลูกน้อง แต่การด่าว่าลูกน้องใครจะดุด่าก็เป็นสิทธิทั้งนั้น แต่ประเด็นที่ตั้งคณะกรรมการสอบสมควรหรือไม่ ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เขียนหนังสือถึงผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยถ้อยคำอย่างนั้นจึงถูกตั้งกรรมการสอบถึงความเหมาะสม และอยากเรียน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ว่าปรากฎการณ์ที่ท่านจะเอาแบบอย่าง มีอยู่ไม่ใช่น้อย"
ทั้งนี้ หากพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ก็ควรจะนิ่ง และยอมรับและว่ากันตามกระบวนการของกฎหมาย มิใช่หาจังหวะที่จะพูดจากระทบกระทั่งต่อผู้บังคับบัญชา จนเกิดความไขว้เขว่เข้าใจผิด และอาจจะเกิดแนวทางปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตนคิดว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ น่าจะยุติความเคลื่อนไหวดังกล่าว หากบริสุทธิ์วันหนึ่งผลสอบจะพิสูจน์ตัวท่านเอง และหากพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ บริสุทธิ์ ทางรัฐบาลก็จะรับผิดชอบคำสั่งที่กิดขึ้นแต่ขอให้เดินไปตามกระบวนการ