เตือนสติรัฐบาล อย่ามุ่งหวังแค่ประชานิยมจนทำคนไทยฟุ้งเฟ้อ ใช้นโยบายบิดเบือนกลไกตลาดยอมตรึงราคาน้ำมันแบบไม่ลืมหูลืมตา ชี้อดีตก็มีให้เห็นเป็นบทเรียน รัฐเสียเงินเป็นแสนล้าน แต่คนไทยไม่ได้อะไรกลับคืน แนะหากจะอุ้มควรเลือกเป็นรายสาขาจะดีกว่า เพราะวิกฤตน้ำมันแพงไม่จบง่ายๆ ลุ้นต่อสัปดาห์นี้ น้ำมันขึ้นอีกระลอก เอกชน-สุวิทย์ รุมจวก “มิ่งขวัญ” ทำป่วนคุมราคาสินค้า โพลล์เผยช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เล็กน้อย กว่าครึ่งมองสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศกำลังแย่ลง ชี้รัฐบาลสอบตก รมว.พาณิชย์ได้คะแนนแค่ 5
ในวันเสาร์ที่ผ่านมา บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้ปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ลิตรละ 50 สตางค์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นดังนี้ น้ำมันเบนซิน พีทีที E20 พลัส 28.59 บาท/ ลิตร น้ำมันเบนซิน พีทีที แก๊สโซฮอล์ พลัส 95 30.59 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน พีทีที แก๊สโซฮอล์ พลัส 91 29.79 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ 95 34.59 บาท/ลิตร และน้ำมันเบนซิน พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ 91 33.49 บาท/ลิตร
และในวันอาทิตย์ ยังได้ปรับราคาน้ำมันดีเซลขึ้นอีกลิตรละ 50 สตางค์เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลหน้าสถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพและปริมณฑล อยู่ที่ ลิตรละ 30.44 บาท ซึ่งเป็นการปรับราคาขึ้นมาเท่ากับราคาขายปลีกของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ BCP แต่ยังต่ำกว่าผู้ค้ารายอื่น อยู่ลิตรละ 50 สตางค์ (สต.) ซึ่งอยู่ที่ 30.94 บาท
ทั้งนี้ การปรับราคาทั้งน้ำมันเบนซิลและดีเซลดังกล่าว ทำให้น้ำมันเบนซินได้ค่าการตลาด 1 บาท/ลิตร ขณะที่ดีเซลค่าการตลาดยังติดลบ 80 สตางค์/ลิตร ซึ่งถือเป็นราคาขายที่ยังขาดทุน เพราะกลไกถูกบิดเบือน จากการแทรกแซงของรัฐบาล
**อัดยับรัฐบาลส่งเสริมผิดทาง
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันและอดีตผู้บริหารบมจ.บางจาก กล่าวว่า ระยะสั้นนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกจะยังคงแกว่งตัวระดับสูงต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีแรงเทขายทำกำไรช่วงสั้นๆ บ้างก็ตาม โดยคาดว่านักค้าน้ำมันรวมถึงกองทุนเพื่อการเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) จะยังคงรอดูทิศทางการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับใด ซึ่งจะมีผลต่อภาวะค่าเงินเหรียญสหรัฐให้อ่อนค่ามากเท่านั้น และมาตรการดังกล่าวจะมีผลสะท้อนไปยังการเก็งกำไรในตลาดน้ำมันและทองคำมากขึ้น โอกาสที่น้ำมันดิบจะลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรลคงจะยาก ดังนั้น มาตรการสำหรับไทยแล้วควรปล่อยให้ราคาขายปลีกน้ำมันสะท้อนกลไกตลาดโลก เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพในการให้ประชาชนประหยัด
"วิกฤติน้ำมันที่ผ่านมา เรามีบทเรียนแล้วไม่ว่าจะนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปอุ้มเป็นหนี้เกือบแสนล้านบาท ประชาชนไม่ประหยัดการใช้ลง ชาติต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้า ซึ่งแม้ว่าปีนี้ ค่าเงินบาทแข็ง ช่วยให้น้ำมันลดลงได้ แต่เมื่อราคาที่สูงขึ้นไปมากก็ไม่ได้คุ้มค่าอะไร การปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกที่ควรเป็น มาตรการบังคับประหยัดก็ไม่มีความจำเป็นต้องนำมาใช้อะไร" นายมนูญกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อรัฐบาลได้นำเงินจากกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนน้ำมันฯ มาสนับสนุนรวม 90 สตางค์ต่อลิตรและจะใช้มาตรการนี้ไปอีก 5 เดือน หรือจนถึงก.ค.นี้ ก็เท่ากับไปบิดเบือนกลไกระดับหนึ่งแล้ว และหากแนวโน้มน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวระดับสูงไปอีกจนทำให้รัฐบาลอาจพิจารณามาตรการประหยัดอื่นๆ มาใช้ ก็ยิ่งจะบิดเบือนกลไกตลาด
“ส่วนตัวเห็นว่าควรจะเน้นในเรื่องของการใช้รถที่รัฐจะต้องจำกัดความเร็ว รถที่เข้าเมืองที่ขับมาเพียงคนเดียวจะต้องมีการจ่ายค่าผ่านเมือง เพราะวิธีดังกล่าวจะทำให้ประหยัดน้ำมันได้จริง และที่สำคัญจะลดการคับคั่งการจราจร ทำให้การจราจรภาพรวมประหยัดน้ำมัน รวมไปถึงทำอย่างไรที่จะสนับสนุนการใช้บริการรถสาธารณะให้มากขึ้นโดยเฉพาะรถไฟฟ้า”นายมนูญกล่าว
นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.บางจาก กล่าวว่า ในฐานะผู้ค้าน้ำมันเห็นว่าการปล่อยกลไกราคาให้เป็นไปตามหลักการดีมานด์ ซัพพลายจะมีความเหมาะสมมากกว่าการที่จะไปอุดหนุนราคาเพื่อบิดเบือนโครงสร้าง เพราะราคาที่สูงจะทำให้คนไทยประหยัดเอง ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ชัดเจนแล้ว แต่หากต้องการจะช่วยอุดหนุน ก็ควรจะทำเป็นรายสาขา เช่น ประมง ขนส่ง เกษตรกร ที่อดีตก็เคยทำโดยให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรวมตัวกันแทนที่จะนำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาช่วยเหลือคนใช้น้ำมันทุกคนที่แทบจะไม่เห็นผลอะไร สู้นำเงินส่วนนี้ไปช่วยเหลือเป็นกลุ่มจะได้ประโยชน์กว่า
**สัปดาห์นี้น้ำมันยังมีโอกาสขึ้นอีก
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานบริษัท เชลล์ในประเทศไทย กล่าวว่า สัปดาห์นี้ราคาน้ำมันดีเซลมีโอกาสปรับขึ้นมากน้อยแค่ไหนต้องดูราคาที่สิงคโปร์ทุกวัน เพราะคาดเดาได้ยากจากตลาดที่มีการเก็งกำไรสูง แต่สิ่งที่ต้องการเสนอคือเห็นว่ารัฐควรจะปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อให้ประชาชนเกิดการประหยัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะข้อเท็จจริงแล้วผู้ค้าเองก็ไม่ต้องการให้ขึ้นราคา
“ราคาดีเซลที่ควรจะเป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ควรแทรกแซง โดยค่าการตลาดที่เหมาะสมควรขึ้นอีก 1.50 บาท ราคานี้หมายความว่า กระทรวงพลังงานสนับสนุนมาแล้ว 90 สตางค์ ถ้าไม่สนับสนุนต้องขึ้น 2.40 บาท”นายธีรพจน์กล่าว
ขณะที่บางจาก ได้ชี้แจงว่า การค้าน้ำมันดีเซลยังขาดทุน เพราะค่าการตลาดยังติดลบ 80 สตางค์/ลิตร จึงเป็นไปได้ที่วันจันทร์หรืออังคารนี้ คงต้องพิจารณาปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอีกครั้งให้เท่ากับรายอื่น หากแนวโน้มราคาน้ำมันดีเซลที่ตลาดสิงคโปร์ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศไทยสูงกว่า 31 บาท/ลิตร
**ปตท.ถามตรึงราคาผิดตรงไหน
แหล่งข่าวจากบมจ.ปตท.กล่าวว่า การที่ปตท.ตรึงราคาน้ำมันโดยเฉพาะดีเซลที่ไม่นำขึ้นก่อนบริษัทอื่นๆ นั้น ปตท.ต้องถามว่าผิดตรงไหน เพราะเวลาที่ปตท.มีกำไรมาก ก็รุมด่าว่าไม่ช่วยเหลือสังคมเอารัดเอาเปรียบ แต่พอช่วยบอกว่าบิดเบือนกลไกตลาด การเมืองแทรกแซง ถ้าถามว่าทำธุรกิจอะไรก็ได้ถ้าไม่ถูกควบคุมและเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่เป็นความหวังประชาชนก็คงไม่เป็นจะดีกว่า เพราะเวลานี้ผู้บริหารทุกคนก็ทำงานรับเงินเดือนเหมือนกัน ถ้าไม่สนใจประชาชนก็ย่อมได้อยู่แล้ว แต่เพราะว่าเรารับเงินเดือนไงก็เลยไม่ได้คิดแบบธุรกิจไปหมด
**น้ำมันแพงไม่ว่าเจอคุมสินค้าอีก
นายสมมาตร ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า แต่ที่เป็นปัญหาของผู้ผลิตมากกว่าคงจะเป็นมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ที่พยายามตรึงราคาสินค้าหรือบีบให้เอกชนลดราคาแทนที่จะปล่อยให้สะท้อนกลไกตลาด รัฐบาลไม่ควรเข้าแทรกแซง และทางตรงกันข้ามสินค้าที่ควรจะดูแลควรเป็นกลุ่มที่ผูกขาดทั้งภาคการผลิตและบริการมากกว่า
"สำหรับผู้ส่งออกขณะนี้น้ำมันกระทบน้อยกว่าปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ที่เวลานี้ต้องแบกภาระขาดทุนทุกวันและราคาสินค้าของไทยก็เริ่มสูงกว่าเพื่อนบ้าน จึงเริ่มมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศแทนที่จะซื้อจากไทยบ้างแล้วปล่อยไว้จะลำบาก"นายสมมาตรกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า วันที่ 25 ม.ค.คณะกรรมการภาคเอกชน3สถาบันหรือกกร.จะหารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพงและค่าเงินบาทที่แข็งค่า
**สุวิทย์จวกมิ่งฉุดความเชื่อมั่น
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงของกระทรวงพาณิชย์ เพราะควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากมาตรการคุมราคาจะสร้างความเดือดร้อนให้กับธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ส่วนใหญ่ ที่เป็นกิจการคนไทย ซึ่งหวังว่าการแทรกแซงควรจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่เช่นนั้นจะกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศได้
**เจ๊เกียวขอขึ้นค่าโดยสาร
นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันที่ 17 มี.ค.นี้ สมาคมฯ จะเข้าพบนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อชี้แจงความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร กิโลเมตรละ 9 สตางค์ ซึ่งจะนำเงินมาปรับปรุงสภาพรถและการบริการให้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ได้รับอนุมัติก่อนจะถึงเทศกาลสงกรานต์นี้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดวิ่งรถโดยสารในบางส่วนบางเส้นทาง หรือจะใช้วิธีลดจำนวนเที่ยววิ่งลงเพื่อความอยู่รอด
**ปชป. แนะลดภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภค
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์แถลงถึงมาตรการควบคุม ราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาในเรื่องราคาสินค้าที่ควบคุม โดยกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากในพื้นที่ห่างไกล สินค้าบางประเภทที่ ควบคุมกลับไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง ทำให้ราคาที่ประกาศไว้ไม่สามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นว่าการควบคุมราคาสินค้าจะต้องดำเนินการตามความเป็นจริง และคำนึงถึงทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค หากต้นทุนราคาสูงก็ต้องขึ้นราคา แต่ก็ต้องควบคุมไม่ให้มีการขึ้นราคาในกรณีที่ต้นทุนคงที่
นายองอาจ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ จะต้องให้ความยุติธรรมกับผู้ค้าด้วย หากไม่คำนึงถึงผู้ค้าให้ลงตัว อาจก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมได้ ดังนั้น จึงเสนอให้รัฐบาลประกาศลดราคาสินค้านำเข้าที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวโพด และปลาป่น เพื่อให้ราคาต้นทุนลดต่ำลง และสามารถควบคุมราคาสินค้าได้ตามความเป็นจริง นอกจากนี้ ยังอยากให้รัฐบาลควบคุมราคายารักษาโรค ด้วยการลดภาษีนำเข้า เนื่องจากเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของประชาชน
**โพลชี้นโยบาย “มิ่ง” ช่วยได้เล็กน้อย
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ ม.อัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง มองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมปัจจุบันผ่านหัวหน้าครัวเรือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศว่า มีประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ระบุยังไม่เห็นลดราคา และประมาณครึ่งหรือร้อยละ 50 ที่ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 15 – 20 เท่านั้นที่เห็นว่ารายการสินค้าที่รัฐบาลได้ประกาศร่วมกับภาคเอกชนในการลดราคาได้ลดราคาแล้วจริง
นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.1 ระบุว่ารายการสินค้าที่ประกาศลดราคานั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เพียงเล็กน้อยถึงช่วยไม่ได้เลย ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ระบุช่วยได้ปานกลาง และร้อยละ 26.6 ระบุช่วยได้มากถึงมากที่สุด และผลสำรวจที่พบเช่นนี้อาจเป็นเพราะรายการสินค้าที่รัฐบาลร่วมกับภาคเอกชนผู้ประกอบการประกาศลดราคานั้น เป็นสินค้าเฉพาะบางบริษัทหรือบางยี่ห้อของผู้ผลิตเท่านั้น และอาจเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีการใช้กันแพร่หลายมากนัก
ดังนั้น หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.5 เห็นว่าควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม เช่น อันดับแรกได้แก่ แก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ร้อยละ 37.8 อันดับสองคือ ของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ร้อยละ 23.3 อันดับสามได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง อาทิ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ขนมปัง ร้อยละ 15.4 อันดับที่สี่ ได้แก่ สินค้าปรุงรส ร้อยละ 6.3 และอันดับที่ห้า ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูป เช่น มาม่า อาหารแห้ง ร้อยละ 4.0 ตามลำดับ ที่เหลือระบุเป็นสินค้าประเภทอื่นๆ
**กว่าครึ่งมองศก.แย่ลง
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 46.7 ระบุรายได้เท่าเดิม ร้อยละ 40.6 ระบุรายได้ลดลง และเพียงร้อยละ 12.7 ระบุรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ปี 2550 แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ระบุรายจ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ระบุรายจ่ายเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 7.4 เท่านั้นที่ระบุรายจ่ายลดลง โดยหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ระบุมีหนี้สิน และประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.8 กำลังมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 มองว่าสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศกำลังแย่ลง ร้อยละ 32.5 มองว่ากำลังทรงตัว และมีเพียงร้อยละ 8.9 เท่านั้นที่มองว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น
*รบ.สอบตก-มิ่งได้คะแนนแค่ 5
และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของหัวหน้าครัวเรือนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าได้คะแนนต่ำกว่าครึ่งหรือ 4.33 คะแนน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบประชาชนระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมได้ 5.91 คะแนน และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเอกชน ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ในการลดราคาสินค้าให้กับประชาชนรวมได้ 6.85 คะแนน
ในวันเสาร์ที่ผ่านมา บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้ปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ลิตรละ 50 สตางค์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นดังนี้ น้ำมันเบนซิน พีทีที E20 พลัส 28.59 บาท/ ลิตร น้ำมันเบนซิน พีทีที แก๊สโซฮอล์ พลัส 95 30.59 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน พีทีที แก๊สโซฮอล์ พลัส 91 29.79 บาท/ลิตร น้ำมันเบนซิน พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ 95 34.59 บาท/ลิตร และน้ำมันเบนซิน พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ 91 33.49 บาท/ลิตร
และในวันอาทิตย์ ยังได้ปรับราคาน้ำมันดีเซลขึ้นอีกลิตรละ 50 สตางค์เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลหน้าสถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพและปริมณฑล อยู่ที่ ลิตรละ 30.44 บาท ซึ่งเป็นการปรับราคาขึ้นมาเท่ากับราคาขายปลีกของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ BCP แต่ยังต่ำกว่าผู้ค้ารายอื่น อยู่ลิตรละ 50 สตางค์ (สต.) ซึ่งอยู่ที่ 30.94 บาท
ทั้งนี้ การปรับราคาทั้งน้ำมันเบนซิลและดีเซลดังกล่าว ทำให้น้ำมันเบนซินได้ค่าการตลาด 1 บาท/ลิตร ขณะที่ดีเซลค่าการตลาดยังติดลบ 80 สตางค์/ลิตร ซึ่งถือเป็นราคาขายที่ยังขาดทุน เพราะกลไกถูกบิดเบือน จากการแทรกแซงของรัฐบาล
**อัดยับรัฐบาลส่งเสริมผิดทาง
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันและอดีตผู้บริหารบมจ.บางจาก กล่าวว่า ระยะสั้นนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกจะยังคงแกว่งตัวระดับสูงต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีแรงเทขายทำกำไรช่วงสั้นๆ บ้างก็ตาม โดยคาดว่านักค้าน้ำมันรวมถึงกองทุนเพื่อการเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) จะยังคงรอดูทิศทางการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับใด ซึ่งจะมีผลต่อภาวะค่าเงินเหรียญสหรัฐให้อ่อนค่ามากเท่านั้น และมาตรการดังกล่าวจะมีผลสะท้อนไปยังการเก็งกำไรในตลาดน้ำมันและทองคำมากขึ้น โอกาสที่น้ำมันดิบจะลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรลคงจะยาก ดังนั้น มาตรการสำหรับไทยแล้วควรปล่อยให้ราคาขายปลีกน้ำมันสะท้อนกลไกตลาดโลก เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพในการให้ประชาชนประหยัด
"วิกฤติน้ำมันที่ผ่านมา เรามีบทเรียนแล้วไม่ว่าจะนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปอุ้มเป็นหนี้เกือบแสนล้านบาท ประชาชนไม่ประหยัดการใช้ลง ชาติต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้า ซึ่งแม้ว่าปีนี้ ค่าเงินบาทแข็ง ช่วยให้น้ำมันลดลงได้ แต่เมื่อราคาที่สูงขึ้นไปมากก็ไม่ได้คุ้มค่าอะไร การปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกที่ควรเป็น มาตรการบังคับประหยัดก็ไม่มีความจำเป็นต้องนำมาใช้อะไร" นายมนูญกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อรัฐบาลได้นำเงินจากกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนน้ำมันฯ มาสนับสนุนรวม 90 สตางค์ต่อลิตรและจะใช้มาตรการนี้ไปอีก 5 เดือน หรือจนถึงก.ค.นี้ ก็เท่ากับไปบิดเบือนกลไกระดับหนึ่งแล้ว และหากแนวโน้มน้ำมันตลาดโลกยังทรงตัวระดับสูงไปอีกจนทำให้รัฐบาลอาจพิจารณามาตรการประหยัดอื่นๆ มาใช้ ก็ยิ่งจะบิดเบือนกลไกตลาด
“ส่วนตัวเห็นว่าควรจะเน้นในเรื่องของการใช้รถที่รัฐจะต้องจำกัดความเร็ว รถที่เข้าเมืองที่ขับมาเพียงคนเดียวจะต้องมีการจ่ายค่าผ่านเมือง เพราะวิธีดังกล่าวจะทำให้ประหยัดน้ำมันได้จริง และที่สำคัญจะลดการคับคั่งการจราจร ทำให้การจราจรภาพรวมประหยัดน้ำมัน รวมไปถึงทำอย่างไรที่จะสนับสนุนการใช้บริการรถสาธารณะให้มากขึ้นโดยเฉพาะรถไฟฟ้า”นายมนูญกล่าว
นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.บางจาก กล่าวว่า ในฐานะผู้ค้าน้ำมันเห็นว่าการปล่อยกลไกราคาให้เป็นไปตามหลักการดีมานด์ ซัพพลายจะมีความเหมาะสมมากกว่าการที่จะไปอุดหนุนราคาเพื่อบิดเบือนโครงสร้าง เพราะราคาที่สูงจะทำให้คนไทยประหยัดเอง ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ชัดเจนแล้ว แต่หากต้องการจะช่วยอุดหนุน ก็ควรจะทำเป็นรายสาขา เช่น ประมง ขนส่ง เกษตรกร ที่อดีตก็เคยทำโดยให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรวมตัวกันแทนที่จะนำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาช่วยเหลือคนใช้น้ำมันทุกคนที่แทบจะไม่เห็นผลอะไร สู้นำเงินส่วนนี้ไปช่วยเหลือเป็นกลุ่มจะได้ประโยชน์กว่า
**สัปดาห์นี้น้ำมันยังมีโอกาสขึ้นอีก
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานบริษัท เชลล์ในประเทศไทย กล่าวว่า สัปดาห์นี้ราคาน้ำมันดีเซลมีโอกาสปรับขึ้นมากน้อยแค่ไหนต้องดูราคาที่สิงคโปร์ทุกวัน เพราะคาดเดาได้ยากจากตลาดที่มีการเก็งกำไรสูง แต่สิ่งที่ต้องการเสนอคือเห็นว่ารัฐควรจะปล่อยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อให้ประชาชนเกิดการประหยัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะข้อเท็จจริงแล้วผู้ค้าเองก็ไม่ต้องการให้ขึ้นราคา
“ราคาดีเซลที่ควรจะเป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ควรแทรกแซง โดยค่าการตลาดที่เหมาะสมควรขึ้นอีก 1.50 บาท ราคานี้หมายความว่า กระทรวงพลังงานสนับสนุนมาแล้ว 90 สตางค์ ถ้าไม่สนับสนุนต้องขึ้น 2.40 บาท”นายธีรพจน์กล่าว
ขณะที่บางจาก ได้ชี้แจงว่า การค้าน้ำมันดีเซลยังขาดทุน เพราะค่าการตลาดยังติดลบ 80 สตางค์/ลิตร จึงเป็นไปได้ที่วันจันทร์หรืออังคารนี้ คงต้องพิจารณาปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลอีกครั้งให้เท่ากับรายอื่น หากแนวโน้มราคาน้ำมันดีเซลที่ตลาดสิงคโปร์ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศไทยสูงกว่า 31 บาท/ลิตร
**ปตท.ถามตรึงราคาผิดตรงไหน
แหล่งข่าวจากบมจ.ปตท.กล่าวว่า การที่ปตท.ตรึงราคาน้ำมันโดยเฉพาะดีเซลที่ไม่นำขึ้นก่อนบริษัทอื่นๆ นั้น ปตท.ต้องถามว่าผิดตรงไหน เพราะเวลาที่ปตท.มีกำไรมาก ก็รุมด่าว่าไม่ช่วยเหลือสังคมเอารัดเอาเปรียบ แต่พอช่วยบอกว่าบิดเบือนกลไกตลาด การเมืองแทรกแซง ถ้าถามว่าทำธุรกิจอะไรก็ได้ถ้าไม่ถูกควบคุมและเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่เป็นความหวังประชาชนก็คงไม่เป็นจะดีกว่า เพราะเวลานี้ผู้บริหารทุกคนก็ทำงานรับเงินเดือนเหมือนกัน ถ้าไม่สนใจประชาชนก็ย่อมได้อยู่แล้ว แต่เพราะว่าเรารับเงินเดือนไงก็เลยไม่ได้คิดแบบธุรกิจไปหมด
**น้ำมันแพงไม่ว่าเจอคุมสินค้าอีก
นายสมมาตร ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า แต่ที่เป็นปัญหาของผู้ผลิตมากกว่าคงจะเป็นมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ที่พยายามตรึงราคาสินค้าหรือบีบให้เอกชนลดราคาแทนที่จะปล่อยให้สะท้อนกลไกตลาด รัฐบาลไม่ควรเข้าแทรกแซง และทางตรงกันข้ามสินค้าที่ควรจะดูแลควรเป็นกลุ่มที่ผูกขาดทั้งภาคการผลิตและบริการมากกว่า
"สำหรับผู้ส่งออกขณะนี้น้ำมันกระทบน้อยกว่าปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ที่เวลานี้ต้องแบกภาระขาดทุนทุกวันและราคาสินค้าของไทยก็เริ่มสูงกว่าเพื่อนบ้าน จึงเริ่มมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศแทนที่จะซื้อจากไทยบ้างแล้วปล่อยไว้จะลำบาก"นายสมมาตรกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า วันที่ 25 ม.ค.คณะกรรมการภาคเอกชน3สถาบันหรือกกร.จะหารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพงและค่าเงินบาทที่แข็งค่า
**สุวิทย์จวกมิ่งฉุดความเชื่อมั่น
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงของกระทรวงพาณิชย์ เพราะควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากมาตรการคุมราคาจะสร้างความเดือดร้อนให้กับธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ส่วนใหญ่ ที่เป็นกิจการคนไทย ซึ่งหวังว่าการแทรกแซงควรจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่เช่นนั้นจะกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศได้
**เจ๊เกียวขอขึ้นค่าโดยสาร
นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันที่ 17 มี.ค.นี้ สมาคมฯ จะเข้าพบนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อชี้แจงความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร กิโลเมตรละ 9 สตางค์ ซึ่งจะนำเงินมาปรับปรุงสภาพรถและการบริการให้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ได้รับอนุมัติก่อนจะถึงเทศกาลสงกรานต์นี้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดวิ่งรถโดยสารในบางส่วนบางเส้นทาง หรือจะใช้วิธีลดจำนวนเที่ยววิ่งลงเพื่อความอยู่รอด
**ปชป. แนะลดภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภค
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์แถลงถึงมาตรการควบคุม ราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาในเรื่องราคาสินค้าที่ควบคุม โดยกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากในพื้นที่ห่างไกล สินค้าบางประเภทที่ ควบคุมกลับไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง ทำให้ราคาที่ประกาศไว้ไม่สามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นว่าการควบคุมราคาสินค้าจะต้องดำเนินการตามความเป็นจริง และคำนึงถึงทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค หากต้นทุนราคาสูงก็ต้องขึ้นราคา แต่ก็ต้องควบคุมไม่ให้มีการขึ้นราคาในกรณีที่ต้นทุนคงที่
นายองอาจ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ จะต้องให้ความยุติธรรมกับผู้ค้าด้วย หากไม่คำนึงถึงผู้ค้าให้ลงตัว อาจก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมได้ ดังนั้น จึงเสนอให้รัฐบาลประกาศลดราคาสินค้านำเข้าที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวโพด และปลาป่น เพื่อให้ราคาต้นทุนลดต่ำลง และสามารถควบคุมราคาสินค้าได้ตามความเป็นจริง นอกจากนี้ ยังอยากให้รัฐบาลควบคุมราคายารักษาโรค ด้วยการลดภาษีนำเข้า เนื่องจากเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของประชาชน
**โพลชี้นโยบาย “มิ่ง” ช่วยได้เล็กน้อย
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ ม.อัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง มองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมปัจจุบันผ่านหัวหน้าครัวเรือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศว่า มีประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ระบุยังไม่เห็นลดราคา และประมาณครึ่งหรือร้อยละ 50 ที่ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 15 – 20 เท่านั้นที่เห็นว่ารายการสินค้าที่รัฐบาลได้ประกาศร่วมกับภาคเอกชนในการลดราคาได้ลดราคาแล้วจริง
นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.1 ระบุว่ารายการสินค้าที่ประกาศลดราคานั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เพียงเล็กน้อยถึงช่วยไม่ได้เลย ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ระบุช่วยได้ปานกลาง และร้อยละ 26.6 ระบุช่วยได้มากถึงมากที่สุด และผลสำรวจที่พบเช่นนี้อาจเป็นเพราะรายการสินค้าที่รัฐบาลร่วมกับภาคเอกชนผู้ประกอบการประกาศลดราคานั้น เป็นสินค้าเฉพาะบางบริษัทหรือบางยี่ห้อของผู้ผลิตเท่านั้น และอาจเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีการใช้กันแพร่หลายมากนัก
ดังนั้น หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.5 เห็นว่าควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม เช่น อันดับแรกได้แก่ แก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ร้อยละ 37.8 อันดับสองคือ ของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ร้อยละ 23.3 อันดับสามได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง อาทิ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ขนมปัง ร้อยละ 15.4 อันดับที่สี่ ได้แก่ สินค้าปรุงรส ร้อยละ 6.3 และอันดับที่ห้า ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูป เช่น มาม่า อาหารแห้ง ร้อยละ 4.0 ตามลำดับ ที่เหลือระบุเป็นสินค้าประเภทอื่นๆ
**กว่าครึ่งมองศก.แย่ลง
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 46.7 ระบุรายได้เท่าเดิม ร้อยละ 40.6 ระบุรายได้ลดลง และเพียงร้อยละ 12.7 ระบุรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ปี 2550 แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ระบุรายจ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ระบุรายจ่ายเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 7.4 เท่านั้นที่ระบุรายจ่ายลดลง โดยหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ระบุมีหนี้สิน และประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.8 กำลังมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 มองว่าสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศกำลังแย่ลง ร้อยละ 32.5 มองว่ากำลังทรงตัว และมีเพียงร้อยละ 8.9 เท่านั้นที่มองว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น
*รบ.สอบตก-มิ่งได้คะแนนแค่ 5
และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของหัวหน้าครัวเรือนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าได้คะแนนต่ำกว่าครึ่งหรือ 4.33 คะแนน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบประชาชนระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมได้ 5.91 คะแนน และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเอกชน ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ในการลดราคาสินค้าให้กับประชาชนรวมได้ 6.85 คะแนน