กก.สอบยุบชท.-มฌ.ประชุมครั้งสุดท้ายก่อนสรุป 11 หน้า ส่ง กกต.พิจารณา “บุญทัน” ระบุผลสอบออกมาคล้ายกัน ด้าน กกต.นัดหารือ 18 มี.ค. หากไม่มีปัญหาเชื่อลงมติได้ “สดศรี” ระบุ อยู่ที่ว่าจะดูข้อกฎหมาย หรือข้อเท็จจริง ชี้ กม.เขียนไว้ชัดว่าถ้าเป็นเรื่องกรรมการบริหารพรรคดำเนินการพรรคการเมืองต้องรับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ ( 13 มี.ค.) คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนกรณี ยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยได้ประชุมเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปและจัดทำเอกสารก่อนที่จะนำเสนอต่อ กกต. เพื่อนำเข้าพิจารณาในวันที่ 18 มี.ค. ที่จะถึงนี้ โดยภายหลังการประชุมนายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการฯเปิดเผยว่า ที่ประชุมยืนยันมติเอกฉันท์แบบเดิม และเชื่อว่าสำนวนที่สรุปมานั้นจะสามารถ ตอบคำถามของสังคมและเป็นที่พอใจได้ หากเป็นข้อสอบตนก็ให้เอ เพราะในอนาคต สามารถนำมาศึกษาทางวิชาการได้ โดยเอกสารที่จะนำเสนอต่อ กกต. นั้นมี 11 หน้า
นายบุญทัน กล่าวว่า แนวการสรุปที่ออกมานั้นคล้ายกันทั้งสองพรรคโดยเรา ได้ดูรอบด้านทั้งจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเกี่ยวพันกับพรรค เราก็ได้ตรวจสอบอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังพิจารณาในแง่มุมของกฎหมาย ที่รวม ไปถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มีทั้งเจตนารมณ์จากคนร่างและเจตนารมณ์ของตัวหนังสือ ส่วนกกต.จะเห็นว่าอย่างไรก็เป็นสิทธิของกกต. โดยความเห็นของคณะกรรมการนั้นไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงขนาดที่ว่า กกต. ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคหรือไม่
“รายละเอียดของทั้งสองพรรคที่เสนอจะคล้ายๆกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดเช่น พรรคมัชฌิมาธิปไตยที่มีเป็นเอกภาพ มีความแตกแยกแทบจะไม่เป็นพรรคอยู่แล้วจะไปเกี่ยวข้องได้อย่างไร”
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.กล่าวว่าเมื่อคณะกรรมการสอบสวนกรณียุบพรรคฯ เสนอมายัง กกต.ก็จะนัดหารือในวันที่ 18 มี.ค. หากไม่มีปัญหาก็สามารถลงมติได้เลย แต่หากเห็นว่าควรสอบเพิ่มก็สามารถส่งให้คณะกรรมการฯสอบได้ อย่างไรก็ตาม กกต.มีหน้าที่เพียงรับฟังความเห็นว่าคดีเป็นอย่างไร จากนั้นต้องนำไปสู่ศาลฎีกาฯ และศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเบื้องต้นที่ กกต.ให้ใบแดงกับกรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 พรรค จะเป็นข้อมูลเพียงพอว่าพรรคมีส่วนเกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ต้องช่วยกันอ่านกฎหมายในมาตรา 103 วรรค 3 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองว่าหากกรรมการบริหารพรรคกระทำผิดทุจริตเลือกตั้ง กฎหมายระบุว่าต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ และหากข้อเท็จจริงเพียงพอก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. กล่าวว่าการพิจารณากรณียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาฯ หากพิจารณาข้อกฎหมายก็ไม่มีเรื่องอะไรต้องพิจารณา แต่ถ้าเอาเรื่องข้อเท็จจริง มาผูกโยงกันแล้ว ก็ต้องไปดูว่ามีพฤติกรรมอย่างไร
“สมมุติว่าไปใช้เงินที่ถูกยึดได้ไปเป็นเงินของพรรคการเมืองก็เป็นเรื่อง ที่พรรคการเมืองต้องรับผิดชอบโดยตรง แต่ถ้าเป็นเงินส่วนตัวก็ไม่น่าจะใช่ กฎหมายเขียนไว้ชัดว่าถ้าเป็นเรื่องกรรมการบริหารพรรคดำเนินการ พรรคการเมือง ต้องรับผิดชอบ เราต้องดูตามข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการเสนอมา อย่างไรก็ตามขณะที่ดิฉันเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เราไม่เห็นด้วยเลยและเป็นกรรมาธิการฯ เสียงข้างน้อยตลอด หรือตอนยกร่างกฎหมายลูกของ กกต.ทั้ง 3 ฉบับก็ไม่ได้รับเลือกไป ดิฉันคงมีความประพฤติที่ดีมากไป”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ ( 13 มี.ค.) คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนกรณี ยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยได้ประชุมเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปและจัดทำเอกสารก่อนที่จะนำเสนอต่อ กกต. เพื่อนำเข้าพิจารณาในวันที่ 18 มี.ค. ที่จะถึงนี้ โดยภายหลังการประชุมนายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการฯเปิดเผยว่า ที่ประชุมยืนยันมติเอกฉันท์แบบเดิม และเชื่อว่าสำนวนที่สรุปมานั้นจะสามารถ ตอบคำถามของสังคมและเป็นที่พอใจได้ หากเป็นข้อสอบตนก็ให้เอ เพราะในอนาคต สามารถนำมาศึกษาทางวิชาการได้ โดยเอกสารที่จะนำเสนอต่อ กกต. นั้นมี 11 หน้า
นายบุญทัน กล่าวว่า แนวการสรุปที่ออกมานั้นคล้ายกันทั้งสองพรรคโดยเรา ได้ดูรอบด้านทั้งจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเกี่ยวพันกับพรรค เราก็ได้ตรวจสอบอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังพิจารณาในแง่มุมของกฎหมาย ที่รวม ไปถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มีทั้งเจตนารมณ์จากคนร่างและเจตนารมณ์ของตัวหนังสือ ส่วนกกต.จะเห็นว่าอย่างไรก็เป็นสิทธิของกกต. โดยความเห็นของคณะกรรมการนั้นไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงขนาดที่ว่า กกต. ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคหรือไม่
“รายละเอียดของทั้งสองพรรคที่เสนอจะคล้ายๆกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดเช่น พรรคมัชฌิมาธิปไตยที่มีเป็นเอกภาพ มีความแตกแยกแทบจะไม่เป็นพรรคอยู่แล้วจะไปเกี่ยวข้องได้อย่างไร”
นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.กล่าวว่าเมื่อคณะกรรมการสอบสวนกรณียุบพรรคฯ เสนอมายัง กกต.ก็จะนัดหารือในวันที่ 18 มี.ค. หากไม่มีปัญหาก็สามารถลงมติได้เลย แต่หากเห็นว่าควรสอบเพิ่มก็สามารถส่งให้คณะกรรมการฯสอบได้ อย่างไรก็ตาม กกต.มีหน้าที่เพียงรับฟังความเห็นว่าคดีเป็นอย่างไร จากนั้นต้องนำไปสู่ศาลฎีกาฯ และศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูเบื้องต้นที่ กกต.ให้ใบแดงกับกรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 พรรค จะเป็นข้อมูลเพียงพอว่าพรรคมีส่วนเกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ นายสุเมธ กล่าวว่า ต้องช่วยกันอ่านกฎหมายในมาตรา 103 วรรค 3 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองว่าหากกรรมการบริหารพรรคกระทำผิดทุจริตเลือกตั้ง กฎหมายระบุว่าต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ และหากข้อเท็จจริงเพียงพอก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. กล่าวว่าการพิจารณากรณียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาฯ หากพิจารณาข้อกฎหมายก็ไม่มีเรื่องอะไรต้องพิจารณา แต่ถ้าเอาเรื่องข้อเท็จจริง มาผูกโยงกันแล้ว ก็ต้องไปดูว่ามีพฤติกรรมอย่างไร
“สมมุติว่าไปใช้เงินที่ถูกยึดได้ไปเป็นเงินของพรรคการเมืองก็เป็นเรื่อง ที่พรรคการเมืองต้องรับผิดชอบโดยตรง แต่ถ้าเป็นเงินส่วนตัวก็ไม่น่าจะใช่ กฎหมายเขียนไว้ชัดว่าถ้าเป็นเรื่องกรรมการบริหารพรรคดำเนินการ พรรคการเมือง ต้องรับผิดชอบ เราต้องดูตามข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการเสนอมา อย่างไรก็ตามขณะที่ดิฉันเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เราไม่เห็นด้วยเลยและเป็นกรรมาธิการฯ เสียงข้างน้อยตลอด หรือตอนยกร่างกฎหมายลูกของ กกต.ทั้ง 3 ฉบับก็ไม่ได้รับเลือกไป ดิฉันคงมีความประพฤติที่ดีมากไป”