ผู้จัดการพิมพ์บทความทางวิชาการที่น่าสนใจมาก ของบรมครูกฎหมายมหาชน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ผมอ่านบทความนั้นใน www.pub-law.net หรือ Public Law Net
ผมเห็นว่าคำสรุปของดร.อมร ยังใช้ได้กับรัฐธรรมนูญปัจจุบัน “ผู้เขียนมีความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่ชนชั้นนำ – elite ของสังคมไทย ยังมีคุณภาพ (พฤติกรรม) และความรู้ ดังเช่นที่ปรากฏจากการร่างรัฐธรรมนูญ ใน พ.ศ. 2540 ตราบนั้น ประเทศไทยก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในโลกของการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ และ ถ้าเรา (คนไทย) ไม่สามารถแสวงหา “รูปแบบการปกครอง – form of government”ในระบอบประชาธิปไตย ที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและเป็นระบอบที่มีประสิทธิภาพได้ ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ “ไร้อนาคต”
ผมต้องขอโทษ ที่ต้องนำบทความที่มีค่าของท่านมาเป็นเครื่องมือวิพากษ์ต่อในบทความหมาๆ ทั้งๆ ที่ผมไม่มีข้อข้องใจในบทความของท่านแม้แต่น้อย
ผมเข้าใจดีว่าทำไมดร.อมรจึงยังทิ้งปากกาไม่ได้ ในแง่หนึ่งนักวิชาการต้องมีหน้าที่ขีดเขียนและรักษาความเป็นอิสระทางปัญญาของตน ไม่ใช่เผลอไปรับคำท้าของคนปัญญาทรามว่าเก่งจริงทำไมไม่ไปสมัครรับเลือกตั้ง และในอีกแง่หนึ่ง ในฐานะที่เป็นคนไทย ถึงแม้จะเฒ่าชะแรแก่ชราเพียงใด พวกเราก็ยังอดเป็นห่วงเมืองไทยไม่ได้ เราไม่อยากส่งต่อ” ประเทศที่ “ไร้อนาคต” ให้กับลูกหลานของเรา
ความผิดหวังเกี่ยวกับบทความของดร.อมร มิได้อยู่ที่เนื้อหาแต่อย่างใด แต่เป็นความผิดหวังในสังคมไทยซึ่งเป็นผู้บริโภคปัญญาชั้นเลว เสมือนไก่ได้พลอยฉะนั้น ความเสียดายที่ (1) ก็คือการที่”ผู้จัดการ” มีเนื้อที่หรือพิมพ์บทความให้ผู้อ่านน้อยเกินไป ผมเข้าใจดีว่าสื่อไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์หรือทีวีก็ล้วนแต่เป็นทาสของโครงสร้างทุนนิยมล้าหลังเหมือนกับสถาบันอื่นๆ เพราะฉะนั้น ความพยายามที่จะขายเนื้อที่และเวลาให้ได้ประโยชน์สูงสุดจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ความเสียดายที่ (2) ก็คือความยากไร้หรือขาดแคลนนักอ่านอาชีพ ซึ่งก็มีผลให้จำนวนผู้อ่านบทความดีๆ อย่างของดร.อมร มีน้อยเมื่อเทียบกับซ้อเจ็ด นี่ก็เป็นเหตุให้นักเขียนดีๆ เกิดขึ้นได้ยาก ผู้อ่านที่มีอยู่จึงไม่ค่อยมีทางเลือก ความเสียดายที่ (3) ก็คือ แม้ผู้อ่านแฟนพันธุ์แท้หรือแม้พันธมิตรก็เข้ามาอ่านบทความของดร.อมรน้อยเกินไป และเมื่ออ่านแล้วเกรงว่าจะเป็นการตักน้ำรดหัวสาก ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ความเสียดายข้อที่ (4)เกี่ยวกับวงวิชาการและชนชั้นนำ (elite) ที่ดร.อมร กล่าวถึง ซึ่งนอกจากจะตักน้ำรดหัวสากแล้ว ยังอาจบวกเป่าปี่ใส่หูควายเข้าไปอีกด้วย ผมกับดร.อมร เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2516-17 ด้วยกัน เรามีความเห็นตรงกันส่วนมาก ที่ตรงกันข้ามกันเลยก็มี แต่ความเห็นและข้อถกเถียงของเราทุกอย่างได้บันทึกไว้ในเทปและรายงานการประชุม มีเก็บไว้ในห้องสมุดรัฐสภา ประเด็นที่เป็นที่สงสัยและถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้รวมทั้งเรื่องที่ดร.อมรนำมาเขียนครั้งนี้ ไม่มีอะไรใหม่ ผมกล้ากล่าวได้ว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งต่อๆมานับไม่ถ้วนครั้ง โดยท่านผู้มีอัจฉริยะนับไม่ถ้วนคน ไม่มีหมาสักตัวไปเปิดอ่านหรือขอดูข้อมูลจากห้องสมุดเลย บุคคลภายนอก นักวิชาการและสื่อก็ไม่มี
ท่านผู้อ่านที่เคารพ หลายท่านอาจจะเดาว่าเอาอีกแล้ว เหมือนหัวข้อบทความก่อนที่ชื่อ “รัฐมนตรีไร้การศึกษา สู้หมาไม่ได้” ผมคงถือโอกาสเอาเรื่องการย้ายข้าราชการมาด่ากระทบท่านรัฐมนตรี สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ท่านรัฐมนตรี ไชยา สะสมทรัพย์ ท่านรัฐมนตรี จักรภพ เพ็ญแข หรือท่าน (นายกฯ) รัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ซึ่งผมขอปฏิเสธอีกครั้งว่าไม่ใช่ ผมไม่ต้องการเน้นความเลวหรือการประพฤติชั่วของบุคคล ผมสนใจความผิดที่เกิดขึ้นเพราะระบบ และการแก้ไขระบบมากกว่า
ผมขอร้องวิงวอนให้ท่านผู้อ่านที่เคารพช่วยกันคิดเรื่องระบบและการแก้ไขระบบ ตราบใดที่ระบบของเรายังไม่เป็นประชาธิปไตย ไร้ประสิทธิภาพ ปราบคอร์รัปชันไม่ได้ เพราะผู้ใหญ่กินเสียเอง ตราบนั้น ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศ “ไร้อนาคต” อย่างที่ดร.อมร ว่า ผมเห็นด้วยที่ท่านผู้อ่านจะผนึกกำลังกัน รวมรายชื่อถอดถอนรัฐมนตรี เริ่มด้วยรัฐมนตรีว่าการฯ สาธารณสุขก่อน นั่นคือ วิธีแก้ไขอย่างเป็นระบบ
หัวเรื่องของผมในวันนี้ “การฝึกหมา นักวิชาการ กับ การศึกษาของรัฐมนตรี” สืบเนื่องมาจากหัวข้อฉบับก่อน เพราะผมเชื่อว่าคนไทยทุกคน ไม่ต้องการให้มี “รัฐมนตรีไร้การศึกษา สู้หมาไม่ได้” วันนี้ผมไม่มาหาเพื่อนให้หมา
ใครเอ่ยเป็นเพื่อนรัฐมนตรี ก็จะใครที่ไหน นักวิชาการ ปริญญาชน หรือบุคคลแนวหน้าที่ดร.อมรกล่าวถึงนั่นเองว่า “จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา elite ของสังคมไทยได้แสดงตนและพิสูจน์ตนเองให้เห็นได้ ว่า elite ของเรา มีพฤติกรรม(ในทางสังคมวิทยา)ที่เห็นแก่ตัว และไม่มี “ความรู้”พอที่จะเขียน (ออกแบบ) รัฐธรรมนูญที่ดี ได้“
สาเหตุที่ไม่ได้ ดร.อมร บอกว่าเป็นเพราะ “ความเห็นแก่ตัว” และ “ไม่มีความรู้พอ” ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้ ท่านผู้อ่านจะคิดเหมือนผมหรือไม่ว่า เพราะ นักวิชาการก็ดี รัฐมนตรีก็ดี มี “การฝึก” หรือ “การศึกษา” ไม่พอ
ผมนำหมามาเปรียบเทียบ เพราะหมาประเภทที่มนุษย์นำมาใช้งานนั้น ได้รับ
”การฝึก” มาเป็นอย่างดี นอกจากจะมี “ความรู้” อันได้แก่ ทักษะ+ฝีมือ+ความเข้าใจงานของตน แล้ว หมายังมีความเสียสละ ซื่อสัตย์ และไม่เห็นแก่ตัวอีกด้วย
ขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องที่เราพูดกันวันนี้ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน คนละเรื่องก็คือ เรื่องหมา เรื่องนักวิชาการ เรื่องรัฐมนตรี เดียวกันก็คือ เรื่องการฝึกหรือการศึกษา ที่จะนำมาเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ผมจะตั้งใจให้ท่านผู้อ่านดูถูกเหยียดหยามย่ำเกียรติสถาบันรัฐมนตรี ก็หาไม่
ก่อนอื่น ผมขอยืนยันความเชื่อและศรัทธาของผมที่มีต่อมนุษย์อย่างมิเคยเสื่อมคลาย ในเมื่อช้างม้าวัวควายลิงหมาปลาวาฬและเดรัจฉานอื่นๆ สามารถเรียนหรือรับการฝึกสอนจากมนุษย์ได้ ทำไมเราจึงจะสอนฝึกคนหรือฝึกตนเองให้เป็นประชาธิปไตยไม่ได้เล่า ถ้าเราอยากเป็นประชาธิปไตยจริงๆเราต้องรักษาศรัทธาของเราที่มีต่อประชาชนไว้เสียก่อน ประชาชนนี้หมายถึงคนทุกคน โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ที่ลำบากยากจนเข้าโรงเรียนน้อยหรือไม่เคยเข้าเลย เช่น รากหญ้าของเรา เป็นต้น แต่ความเชื่อและศรัทธานั้นต้องมาจากความสุจริตใจ ความตั้งใจที่ปรับปรุงแก้ไข มิใช่ความเจ้าเล่ห์หวังเอาเขาเป็นเครื่องมือ หวังเอาคะแนนเสียงเลือกตั้งจากเขาด้วยอามิสและความหลอกลวง
ผมเคยเขียนบทความเรื่อง “อนาคตของประชาธิปไตยไทย”ในปี 2516 ว่า ไม่สดใส เพราะคนที่อยากเป็นคือประชาชน มีแต่ความเต็มใจแต่ไร้ความสามารถ ในขณะที่ผู้มีความสามารถได้แก่ชนชั้นนำ รวมทั้งนักการเมืองและระบบราชการมีความสามารถแต่ขาดความเต็มใจ (ที่จะเป็นประชาธิปไตย) จึงยกเอาความอ่อนด้อยของประชาชนมาเป็นเรื่องบังหน้า โดยไม่เคยยอมรับว่าแท้ที่จริงตนนั่นแหละที่ทำตัวเป็นอุปสรรค
ผมแทบจะไม่มีความรู้เรื่องการฝึกสุนัข แต่อาศัยที่เป็นคนรักหมาและชอบอ่าน
เรื่องหมา จึงพอจะมีความรู้งูๆ ปลาๆ เรื่องการฝึกหมารับใช้คนตาบอด การฝึกหมาช่วยชีวิตและรักษาความปลอดภัยนาย การฝึกหมาเลี้ยงและ/หรือล่าสัตว์ การฝึกหมาค้นยาเสพติด การฝึกหมาตำรวจหรือสุนัขสงคราม ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการรู้จักเลือกพันธุ์และลักษณะของหมา เสร็จแล้วก็ต้องเข้าใจจิตวิทยาเฉพาะพันธุ์ อายุ และลักษณะของหมาแต่ละตัว ว่าพันธุ์ไหน วัยไหน เหมาะกับงานอะไร สุนัขนำคนตาบอดนั้นอาจจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์และฝึกไปเรื่อยจนอายุถึง 2 –3 ขวบ สุนัขอื่นๆ ก็ลดหลั่นกันไป มาตรฐานการฝึกเพื่อปฏิบัติหน้าที่หนึ่งๆ และมาตรฐานของหมาในการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ มักจะเชื่อถือได้ จนกระทั่งหมานั้นแก่หรือหมดสภาพลง พวกเราลองอ่านพระราชนิพนธ์ของในหลวงก่อน วันหลังผมจะเขียนเรื่องหมาที่รู้ภาษาคนสามารถสื่อสารได้เป็นร้อยๆ คำ และที่น่ามหัศจรรย์อย่างยิ่ง คือ หมาที่ถือศีลห้า อยู่กินอย่างคู่ผัวตัวเมีย
ส่วนเรื่องการฝึกหรือการศึกษาของนักวิชาการและชนชั้นนำของไทยนั้น ผมสรุปตรงกับดร.อมร ผมเคยแสดงปาฐกถาและเขียนเรื่อง”บทบาทของปัญญาชนไทย”ที่เมืองชิคาโกในปี 2514 ว่า นักวิชาการไทยมิใช่ปัญญาชน เพราะขาดความเป็นอิสระ และมีบริโภควิสัยเช่นเดียวกับชนชั้นนำอาชีพอื่นๆ คือต้องการอำนาจ ความมั่งคั่งและตำแหน่ง จึงขายตัวเป็นทาสระบบอำนาจนิยม ทั้งนี้เพราะขาดภูมิคุ้มกัน คือ การฝึก ความรู้ การสั่งสมอุดมการณ์และธรรมไม่เพียงพอ ขาดวัฒนธรรมทางปัญญาที่ต้องแสวงหาความรู้เป็นเนืองนิตย์และขาดกัลยาณมิตรที่เป็นเครือข่ายคอยตรวจสอบและสนับสนุนกัน กับทั้งสังคมและผู้มีอำนาจของไทยไม่ยอมซื้อและตีราคาผลงานทางปัญญาต่ำ สู้ซื้อคนที่ได้ปริญญาสูงๆ และมีตำแหน่งทางวิชาการมาเป็นข้าช่วงใช้มิได้
ผมไม่เห็นด้วยรัฐธรรมนูญไทยที่กีดกันผู้ที่มีอายุน้อยและไม่มีปริญญามิให้เป็นรัฐมนตรี ในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนามีนายกรัฐมนตรีที่โด่งดังที่นายุน้อย เรียนไม่จบชั้นมัธยมก็มี แต่เขาได้ผ่านการฝึกและได้รับการศึกษาที่จะเป็นผู้นำทางการเมืองมาเป็นอย่างดี ทั้งจาก องค์กรเคลื่อนไหว สหภาพเยาวชน สหภาพแรงงาน สมาคมอาชีพ เยาวชนพรรค และพรรคการเมือง สิ่งเหล่านี้บ้านเราแทบไม่มีเลย
บ้านเรามีพรรคการเมืองจอมปลอมที่เป็นแก๊งเลือกตั้งแบบไอ้เสือเอาวา มีลักษณะชั่วคราวตามกำลังและบารมีของหัวหน้า ผู้ที่เป็นหัวหน้าก็ไม่จำเป็นต้องฝึกหรือมีการศึกษา หรือแม้แต่ชั่วโมงบิน เปรียบเสมือนคนบวชสามารถเป็นเณร เป็นพระ เป็นเจ้าอาวาส และเป็นสังฆราชได้ภายในวันเดียวกัน
พูดถึงการกล่อมเกลาหรือฝึกให้มีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณก็ยิ่งน่าวิตก เพราะผู้นำการเมืองไทยพากันเป็นนักโกหกและผิดศีลห้าเป็นประจำ แล้วจะเอาหิริโอตตัปปะคือความละอายต่อบาปมาจากที่ไหน
มองดู ครม.ของนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ด้วยจิตใจที่เป็นธรรมแล้ว กล้าพูดได้ว่ามาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่มิได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และปริญญาบัตรของแต่ละคน แต่ขึ้นอยู่กับบัญชาการของอำนาจและผลประโยชน์ หรือความคิดที่ยังมิได้ฝึก จึงขาดธรรมอันเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฐิสอง ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
นั่นคือ สิ่งที่ผู้นำทุกคนควรจะน้อมรับ ได้แก่ หนึ่ง โยนิโสมนสิการ คือ ความถ่อมตนเพื่อให้เกิดการใช้ความคิดที่ถูกวิธี จากการคิดพิจารณาสืบค้นที่แยกแยะแยบคาย และเชื่อมโยง ประกอบด้วยความเพียรและไม่ประมาท เป็นต้น และ สอง คือ ปรโตโฆสะ ได้แก่ การฟังเสียงผู้อื่น รวมทั้งประชาชน การเล่าเรียนหาความรู้ รับฟังคำสั่งสอน ตรวจสอบซักถาม และสดับสัทธรรมจากผู้เป็นกัลยาณมิตร
หากรัฐมนตรีท่านใดมิได้กระทำดั่งนี้ ไม่ว่าท่านจะมีตำแหน่งสูงเพียงใด ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าท่านจะมีปริญญาสูงแค่ไหน จากทั้งในและนอก ก็ย่อมกล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้ไร้การศึกษาและเป็นปัญหาทางการเมืองและสังคมของประเทศทั้งนั้น
พวกเราสมควรสั่งสอน และรวบรวมรายชื่อกันปลดออกเสีย.
ผมเห็นว่าคำสรุปของดร.อมร ยังใช้ได้กับรัฐธรรมนูญปัจจุบัน “ผู้เขียนมีความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่ชนชั้นนำ – elite ของสังคมไทย ยังมีคุณภาพ (พฤติกรรม) และความรู้ ดังเช่นที่ปรากฏจากการร่างรัฐธรรมนูญ ใน พ.ศ. 2540 ตราบนั้น ประเทศไทยก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในโลกของการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ และ ถ้าเรา (คนไทย) ไม่สามารถแสวงหา “รูปแบบการปกครอง – form of government”ในระบอบประชาธิปไตย ที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและเป็นระบอบที่มีประสิทธิภาพได้ ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่ “ไร้อนาคต”
ผมต้องขอโทษ ที่ต้องนำบทความที่มีค่าของท่านมาเป็นเครื่องมือวิพากษ์ต่อในบทความหมาๆ ทั้งๆ ที่ผมไม่มีข้อข้องใจในบทความของท่านแม้แต่น้อย
ผมเข้าใจดีว่าทำไมดร.อมรจึงยังทิ้งปากกาไม่ได้ ในแง่หนึ่งนักวิชาการต้องมีหน้าที่ขีดเขียนและรักษาความเป็นอิสระทางปัญญาของตน ไม่ใช่เผลอไปรับคำท้าของคนปัญญาทรามว่าเก่งจริงทำไมไม่ไปสมัครรับเลือกตั้ง และในอีกแง่หนึ่ง ในฐานะที่เป็นคนไทย ถึงแม้จะเฒ่าชะแรแก่ชราเพียงใด พวกเราก็ยังอดเป็นห่วงเมืองไทยไม่ได้ เราไม่อยากส่งต่อ” ประเทศที่ “ไร้อนาคต” ให้กับลูกหลานของเรา
ความผิดหวังเกี่ยวกับบทความของดร.อมร มิได้อยู่ที่เนื้อหาแต่อย่างใด แต่เป็นความผิดหวังในสังคมไทยซึ่งเป็นผู้บริโภคปัญญาชั้นเลว เสมือนไก่ได้พลอยฉะนั้น ความเสียดายที่ (1) ก็คือการที่”ผู้จัดการ” มีเนื้อที่หรือพิมพ์บทความให้ผู้อ่านน้อยเกินไป ผมเข้าใจดีว่าสื่อไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์หรือทีวีก็ล้วนแต่เป็นทาสของโครงสร้างทุนนิยมล้าหลังเหมือนกับสถาบันอื่นๆ เพราะฉะนั้น ความพยายามที่จะขายเนื้อที่และเวลาให้ได้ประโยชน์สูงสุดจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ความเสียดายที่ (2) ก็คือความยากไร้หรือขาดแคลนนักอ่านอาชีพ ซึ่งก็มีผลให้จำนวนผู้อ่านบทความดีๆ อย่างของดร.อมร มีน้อยเมื่อเทียบกับซ้อเจ็ด นี่ก็เป็นเหตุให้นักเขียนดีๆ เกิดขึ้นได้ยาก ผู้อ่านที่มีอยู่จึงไม่ค่อยมีทางเลือก ความเสียดายที่ (3) ก็คือ แม้ผู้อ่านแฟนพันธุ์แท้หรือแม้พันธมิตรก็เข้ามาอ่านบทความของดร.อมรน้อยเกินไป และเมื่ออ่านแล้วเกรงว่าจะเป็นการตักน้ำรดหัวสาก ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ความเสียดายข้อที่ (4)เกี่ยวกับวงวิชาการและชนชั้นนำ (elite) ที่ดร.อมร กล่าวถึง ซึ่งนอกจากจะตักน้ำรดหัวสากแล้ว ยังอาจบวกเป่าปี่ใส่หูควายเข้าไปอีกด้วย ผมกับดร.อมร เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2516-17 ด้วยกัน เรามีความเห็นตรงกันส่วนมาก ที่ตรงกันข้ามกันเลยก็มี แต่ความเห็นและข้อถกเถียงของเราทุกอย่างได้บันทึกไว้ในเทปและรายงานการประชุม มีเก็บไว้ในห้องสมุดรัฐสภา ประเด็นที่เป็นที่สงสัยและถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้รวมทั้งเรื่องที่ดร.อมรนำมาเขียนครั้งนี้ ไม่มีอะไรใหม่ ผมกล้ากล่าวได้ว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งต่อๆมานับไม่ถ้วนครั้ง โดยท่านผู้มีอัจฉริยะนับไม่ถ้วนคน ไม่มีหมาสักตัวไปเปิดอ่านหรือขอดูข้อมูลจากห้องสมุดเลย บุคคลภายนอก นักวิชาการและสื่อก็ไม่มี
ท่านผู้อ่านที่เคารพ หลายท่านอาจจะเดาว่าเอาอีกแล้ว เหมือนหัวข้อบทความก่อนที่ชื่อ “รัฐมนตรีไร้การศึกษา สู้หมาไม่ได้” ผมคงถือโอกาสเอาเรื่องการย้ายข้าราชการมาด่ากระทบท่านรัฐมนตรี สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ท่านรัฐมนตรี ไชยา สะสมทรัพย์ ท่านรัฐมนตรี จักรภพ เพ็ญแข หรือท่าน (นายกฯ) รัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ซึ่งผมขอปฏิเสธอีกครั้งว่าไม่ใช่ ผมไม่ต้องการเน้นความเลวหรือการประพฤติชั่วของบุคคล ผมสนใจความผิดที่เกิดขึ้นเพราะระบบ และการแก้ไขระบบมากกว่า
ผมขอร้องวิงวอนให้ท่านผู้อ่านที่เคารพช่วยกันคิดเรื่องระบบและการแก้ไขระบบ ตราบใดที่ระบบของเรายังไม่เป็นประชาธิปไตย ไร้ประสิทธิภาพ ปราบคอร์รัปชันไม่ได้ เพราะผู้ใหญ่กินเสียเอง ตราบนั้น ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศ “ไร้อนาคต” อย่างที่ดร.อมร ว่า ผมเห็นด้วยที่ท่านผู้อ่านจะผนึกกำลังกัน รวมรายชื่อถอดถอนรัฐมนตรี เริ่มด้วยรัฐมนตรีว่าการฯ สาธารณสุขก่อน นั่นคือ วิธีแก้ไขอย่างเป็นระบบ
หัวเรื่องของผมในวันนี้ “การฝึกหมา นักวิชาการ กับ การศึกษาของรัฐมนตรี” สืบเนื่องมาจากหัวข้อฉบับก่อน เพราะผมเชื่อว่าคนไทยทุกคน ไม่ต้องการให้มี “รัฐมนตรีไร้การศึกษา สู้หมาไม่ได้” วันนี้ผมไม่มาหาเพื่อนให้หมา
ใครเอ่ยเป็นเพื่อนรัฐมนตรี ก็จะใครที่ไหน นักวิชาการ ปริญญาชน หรือบุคคลแนวหน้าที่ดร.อมรกล่าวถึงนั่นเองว่า “จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา elite ของสังคมไทยได้แสดงตนและพิสูจน์ตนเองให้เห็นได้ ว่า elite ของเรา มีพฤติกรรม(ในทางสังคมวิทยา)ที่เห็นแก่ตัว และไม่มี “ความรู้”พอที่จะเขียน (ออกแบบ) รัฐธรรมนูญที่ดี ได้“
สาเหตุที่ไม่ได้ ดร.อมร บอกว่าเป็นเพราะ “ความเห็นแก่ตัว” และ “ไม่มีความรู้พอ” ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้ ท่านผู้อ่านจะคิดเหมือนผมหรือไม่ว่า เพราะ นักวิชาการก็ดี รัฐมนตรีก็ดี มี “การฝึก” หรือ “การศึกษา” ไม่พอ
ผมนำหมามาเปรียบเทียบ เพราะหมาประเภทที่มนุษย์นำมาใช้งานนั้น ได้รับ
”การฝึก” มาเป็นอย่างดี นอกจากจะมี “ความรู้” อันได้แก่ ทักษะ+ฝีมือ+ความเข้าใจงานของตน แล้ว หมายังมีความเสียสละ ซื่อสัตย์ และไม่เห็นแก่ตัวอีกด้วย
ขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องที่เราพูดกันวันนี้ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน คนละเรื่องก็คือ เรื่องหมา เรื่องนักวิชาการ เรื่องรัฐมนตรี เดียวกันก็คือ เรื่องการฝึกหรือการศึกษา ที่จะนำมาเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ผมจะตั้งใจให้ท่านผู้อ่านดูถูกเหยียดหยามย่ำเกียรติสถาบันรัฐมนตรี ก็หาไม่
ก่อนอื่น ผมขอยืนยันความเชื่อและศรัทธาของผมที่มีต่อมนุษย์อย่างมิเคยเสื่อมคลาย ในเมื่อช้างม้าวัวควายลิงหมาปลาวาฬและเดรัจฉานอื่นๆ สามารถเรียนหรือรับการฝึกสอนจากมนุษย์ได้ ทำไมเราจึงจะสอนฝึกคนหรือฝึกตนเองให้เป็นประชาธิปไตยไม่ได้เล่า ถ้าเราอยากเป็นประชาธิปไตยจริงๆเราต้องรักษาศรัทธาของเราที่มีต่อประชาชนไว้เสียก่อน ประชาชนนี้หมายถึงคนทุกคน โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ที่ลำบากยากจนเข้าโรงเรียนน้อยหรือไม่เคยเข้าเลย เช่น รากหญ้าของเรา เป็นต้น แต่ความเชื่อและศรัทธานั้นต้องมาจากความสุจริตใจ ความตั้งใจที่ปรับปรุงแก้ไข มิใช่ความเจ้าเล่ห์หวังเอาเขาเป็นเครื่องมือ หวังเอาคะแนนเสียงเลือกตั้งจากเขาด้วยอามิสและความหลอกลวง
ผมเคยเขียนบทความเรื่อง “อนาคตของประชาธิปไตยไทย”ในปี 2516 ว่า ไม่สดใส เพราะคนที่อยากเป็นคือประชาชน มีแต่ความเต็มใจแต่ไร้ความสามารถ ในขณะที่ผู้มีความสามารถได้แก่ชนชั้นนำ รวมทั้งนักการเมืองและระบบราชการมีความสามารถแต่ขาดความเต็มใจ (ที่จะเป็นประชาธิปไตย) จึงยกเอาความอ่อนด้อยของประชาชนมาเป็นเรื่องบังหน้า โดยไม่เคยยอมรับว่าแท้ที่จริงตนนั่นแหละที่ทำตัวเป็นอุปสรรค
ผมแทบจะไม่มีความรู้เรื่องการฝึกสุนัข แต่อาศัยที่เป็นคนรักหมาและชอบอ่าน
เรื่องหมา จึงพอจะมีความรู้งูๆ ปลาๆ เรื่องการฝึกหมารับใช้คนตาบอด การฝึกหมาช่วยชีวิตและรักษาความปลอดภัยนาย การฝึกหมาเลี้ยงและ/หรือล่าสัตว์ การฝึกหมาค้นยาเสพติด การฝึกหมาตำรวจหรือสุนัขสงคราม ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการรู้จักเลือกพันธุ์และลักษณะของหมา เสร็จแล้วก็ต้องเข้าใจจิตวิทยาเฉพาะพันธุ์ อายุ และลักษณะของหมาแต่ละตัว ว่าพันธุ์ไหน วัยไหน เหมาะกับงานอะไร สุนัขนำคนตาบอดนั้นอาจจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์และฝึกไปเรื่อยจนอายุถึง 2 –3 ขวบ สุนัขอื่นๆ ก็ลดหลั่นกันไป มาตรฐานการฝึกเพื่อปฏิบัติหน้าที่หนึ่งๆ และมาตรฐานของหมาในการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ มักจะเชื่อถือได้ จนกระทั่งหมานั้นแก่หรือหมดสภาพลง พวกเราลองอ่านพระราชนิพนธ์ของในหลวงก่อน วันหลังผมจะเขียนเรื่องหมาที่รู้ภาษาคนสามารถสื่อสารได้เป็นร้อยๆ คำ และที่น่ามหัศจรรย์อย่างยิ่ง คือ หมาที่ถือศีลห้า อยู่กินอย่างคู่ผัวตัวเมีย
ส่วนเรื่องการฝึกหรือการศึกษาของนักวิชาการและชนชั้นนำของไทยนั้น ผมสรุปตรงกับดร.อมร ผมเคยแสดงปาฐกถาและเขียนเรื่อง”บทบาทของปัญญาชนไทย”ที่เมืองชิคาโกในปี 2514 ว่า นักวิชาการไทยมิใช่ปัญญาชน เพราะขาดความเป็นอิสระ และมีบริโภควิสัยเช่นเดียวกับชนชั้นนำอาชีพอื่นๆ คือต้องการอำนาจ ความมั่งคั่งและตำแหน่ง จึงขายตัวเป็นทาสระบบอำนาจนิยม ทั้งนี้เพราะขาดภูมิคุ้มกัน คือ การฝึก ความรู้ การสั่งสมอุดมการณ์และธรรมไม่เพียงพอ ขาดวัฒนธรรมทางปัญญาที่ต้องแสวงหาความรู้เป็นเนืองนิตย์และขาดกัลยาณมิตรที่เป็นเครือข่ายคอยตรวจสอบและสนับสนุนกัน กับทั้งสังคมและผู้มีอำนาจของไทยไม่ยอมซื้อและตีราคาผลงานทางปัญญาต่ำ สู้ซื้อคนที่ได้ปริญญาสูงๆ และมีตำแหน่งทางวิชาการมาเป็นข้าช่วงใช้มิได้
ผมไม่เห็นด้วยรัฐธรรมนูญไทยที่กีดกันผู้ที่มีอายุน้อยและไม่มีปริญญามิให้เป็นรัฐมนตรี ในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนามีนายกรัฐมนตรีที่โด่งดังที่นายุน้อย เรียนไม่จบชั้นมัธยมก็มี แต่เขาได้ผ่านการฝึกและได้รับการศึกษาที่จะเป็นผู้นำทางการเมืองมาเป็นอย่างดี ทั้งจาก องค์กรเคลื่อนไหว สหภาพเยาวชน สหภาพแรงงาน สมาคมอาชีพ เยาวชนพรรค และพรรคการเมือง สิ่งเหล่านี้บ้านเราแทบไม่มีเลย
บ้านเรามีพรรคการเมืองจอมปลอมที่เป็นแก๊งเลือกตั้งแบบไอ้เสือเอาวา มีลักษณะชั่วคราวตามกำลังและบารมีของหัวหน้า ผู้ที่เป็นหัวหน้าก็ไม่จำเป็นต้องฝึกหรือมีการศึกษา หรือแม้แต่ชั่วโมงบิน เปรียบเสมือนคนบวชสามารถเป็นเณร เป็นพระ เป็นเจ้าอาวาส และเป็นสังฆราชได้ภายในวันเดียวกัน
พูดถึงการกล่อมเกลาหรือฝึกให้มีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณก็ยิ่งน่าวิตก เพราะผู้นำการเมืองไทยพากันเป็นนักโกหกและผิดศีลห้าเป็นประจำ แล้วจะเอาหิริโอตตัปปะคือความละอายต่อบาปมาจากที่ไหน
มองดู ครม.ของนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ด้วยจิตใจที่เป็นธรรมแล้ว กล้าพูดได้ว่ามาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่มิได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และปริญญาบัตรของแต่ละคน แต่ขึ้นอยู่กับบัญชาการของอำนาจและผลประโยชน์ หรือความคิดที่ยังมิได้ฝึก จึงขาดธรรมอันเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฐิสอง ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
นั่นคือ สิ่งที่ผู้นำทุกคนควรจะน้อมรับ ได้แก่ หนึ่ง โยนิโสมนสิการ คือ ความถ่อมตนเพื่อให้เกิดการใช้ความคิดที่ถูกวิธี จากการคิดพิจารณาสืบค้นที่แยกแยะแยบคาย และเชื่อมโยง ประกอบด้วยความเพียรและไม่ประมาท เป็นต้น และ สอง คือ ปรโตโฆสะ ได้แก่ การฟังเสียงผู้อื่น รวมทั้งประชาชน การเล่าเรียนหาความรู้ รับฟังคำสั่งสอน ตรวจสอบซักถาม และสดับสัทธรรมจากผู้เป็นกัลยาณมิตร
หากรัฐมนตรีท่านใดมิได้กระทำดั่งนี้ ไม่ว่าท่านจะมีตำแหน่งสูงเพียงใด ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าท่านจะมีปริญญาสูงแค่ไหน จากทั้งในและนอก ก็ย่อมกล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้ไร้การศึกษาและเป็นปัญหาทางการเมืองและสังคมของประเทศทั้งนั้น
พวกเราสมควรสั่งสอน และรวบรวมรายชื่อกันปลดออกเสีย.