ผู้จัดการรายวัน - แบงก์ไทยพาณิชย์ลุยขยายสินเชื่อเอสเอ็มอีโต 20-25% หวังขึ้นแท่นครองตลาดอันดับ 2 ภายใน 2-3 ปี จากปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 3 ระบุลูกค้าแบงก์อื่นมารีไฟแนนซ์เพราะบริการดี ไม่ใช่เพราะตัดราคา ส่วนภาพรวมของตลาดสินเชื่อเอสเอ็มอีสดใสกว่าปีก่อนเพราะมีปัจจัยบวกหลายอย่าง
นายวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไว้ที่ 20-25% ส่วนปีที่ผ่านมาสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารมีการเติบโตถึง 39% โดยหากธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวได้ตามเป้าหมายจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของธนาคารเติบโตขึ้นเป็น 17% ของตลาดรวม จากก่อนอยู่ที่ 15% และคาดว่าภายใน 2-3 ปี ส่วนแบ่งทางการตลาดของธนาคารจะขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 2 ของระบบ จากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 3 รองจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารได้ขยายฐานสินเชื่อของลูกค้าเอสเอ็มอีไว้แล้วจึงมองว่าการจะขึ้นเป็นอันดับ 2 จะใช้เวลาไม่นาน
ทั้งนี้จากเป้าหมายดังกล่าวจะทำให้ในสิ้นปีนี้ธนาคารจะมีฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มเป็น 250,000 -260,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่มีฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 212,000 ล้านบาท โดยธนาคารจะเน้นการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระยะยาวกับลูกค้า และการมีสำนักงานเครือข่ายธุรกิจที่ครอบคลุมสาขาทั่วประเทศ 800 สาขา ซึ่งจะให้คำปรึกษาด้านธุรกิจแก่ลูกค้าอย่างทั่วถึง สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของเอสเอ็มอีโดยรวมคาดว่าสิ้นปีนี้จะอยู่ต่ำกว่า 3% เพราะธนาคารได้มีการเข้าไปดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด มีการแนะนำลูกค้าในเรื่องการใช้สินเชื่อให้ถูกประเภทและช่วยบริหารจัดการทางการเงินของลูกค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสียภายหลัง
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวว่าธนาคารได้ไปดึงลูกค้าจากธนาคารแห่งอื่นเพื่อมาปรับโครงสร้างหนี้ หรือ รีไฟแนนซ์ นั้นตามความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในปัจจุบันยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารจากฐานสินเชื่อทั้งหมดมีประมาณ 60% ซึ่งมีเพียงครึ่งหนึ่งของสินเชื่อปล่อยใหม่ ที่เป็นการรีไฟแนนซ์มาจากธนาคารอื่น โดยธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยกับสินเชื่อเอสเอ็มอีที่มารีไฟแนนซ์ ในอัตราดอกเบี้ยปกติ ไม่ได้ตัดราคากับธนาคารอื่น ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเอสเอ็มอีของธนาคารอยู่ที่ประมาณ 6-6.5% ซึ่งใกล้เคียงกับระบบ และเชื่อว่าสาเหตุที่ลูกค้าย้ายมาใช้บริการกับธนาคารนั้น เนื่องจากการบริการที่ดี ซึ่งธนาคารอื่นควรพิจารณาถึงจุดนี้ด้วย
สำหรับภาพรวมของตลาดสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้ มองว่าน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีปัจจัยบวกหลายอย่างที่เป็นโอกาสดังนี้ 1. สภาพเศรษฐกิจในปีนี้น่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น จากการที่มีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศแล้วมีนโยบายเน้นกระตุ้นการลงทุน การบริโภคภาคประชาชนซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับธุรกิจเอสเอ็มอีโดยตรง 2. รัฐบาลมีโครงสร้างที่จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เช่น สินเชื่อของธนาคารต่างๆ หรือโครงการเงินกู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานดอกเบี้ยต่ำเป็นต้น 3. เรื่องราคาสินค้าเกษตรซึ่งขณะนี้อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอีก เนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้ายังมีสูงเช่นกัน 4.ในช่วงที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและค่าเงินแต่ผู้ประกอบการก็ยังสามารถปรับตัวได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นโอกาสให้มีการขยายธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มมากขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายๆ ด้านที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งเรื่องต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง และการผันผวนของค่าเงินบาท ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับภาวะการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารจัดการที่ดี ส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนในโครงการของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. นั้น มองว่าจะเป็นอีกส่วนที่ช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารเติบโต ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจสินเชื่อดังกล่าวแล้ว
ล่าสุดธนาคารเปิดให้บริการสินเชื่อขนาดย่อม หรือ ไมโคร (SSME) ที่เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่ต้องการวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งมองว่าการเปิดให้บริการตรงนี้จะเป็นการเข้าไปสนับสนุนกลุ่มลูกค้าระดับย่อย เช่น กลุ่ม OTOP ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ อีกทั้งมองว่ากลุ่มลูกค้าเหล่านี้ยังมีความต้องการสินเชื่อเป็นแสนราย จึงเป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร สำหรับการบริหารความเสี่ยง ธนาคารก็ต้องมีการพิจารณาแตกต่างกันไปในส่วนของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งมองว่าปีนี้แม้การแข่งขันของธุรกิจลูกค้าขนาดย่อยของธนาคารพาณิชย์จะมีความรุนแรงมากขึ้น แต่สินเชื่อน่าจะเติบโตได้ เพราะว่าฐานลูกค้ายังมีอยู่มาก โดยธนาคารได้เริ่มเปิดให้บริการสินเชื่อนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆนี้
นายวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไว้ที่ 20-25% ส่วนปีที่ผ่านมาสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารมีการเติบโตถึง 39% โดยหากธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวได้ตามเป้าหมายจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของธนาคารเติบโตขึ้นเป็น 17% ของตลาดรวม จากก่อนอยู่ที่ 15% และคาดว่าภายใน 2-3 ปี ส่วนแบ่งทางการตลาดของธนาคารจะขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 2 ของระบบ จากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 3 รองจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารได้ขยายฐานสินเชื่อของลูกค้าเอสเอ็มอีไว้แล้วจึงมองว่าการจะขึ้นเป็นอันดับ 2 จะใช้เวลาไม่นาน
ทั้งนี้จากเป้าหมายดังกล่าวจะทำให้ในสิ้นปีนี้ธนาคารจะมีฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มเป็น 250,000 -260,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่มีฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 212,000 ล้านบาท โดยธนาคารจะเน้นการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระยะยาวกับลูกค้า และการมีสำนักงานเครือข่ายธุรกิจที่ครอบคลุมสาขาทั่วประเทศ 800 สาขา ซึ่งจะให้คำปรึกษาด้านธุรกิจแก่ลูกค้าอย่างทั่วถึง สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของเอสเอ็มอีโดยรวมคาดว่าสิ้นปีนี้จะอยู่ต่ำกว่า 3% เพราะธนาคารได้มีการเข้าไปดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด มีการแนะนำลูกค้าในเรื่องการใช้สินเชื่อให้ถูกประเภทและช่วยบริหารจัดการทางการเงินของลูกค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสียภายหลัง
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวว่าธนาคารได้ไปดึงลูกค้าจากธนาคารแห่งอื่นเพื่อมาปรับโครงสร้างหนี้ หรือ รีไฟแนนซ์ นั้นตามความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในปัจจุบันยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ของธนาคารจากฐานสินเชื่อทั้งหมดมีประมาณ 60% ซึ่งมีเพียงครึ่งหนึ่งของสินเชื่อปล่อยใหม่ ที่เป็นการรีไฟแนนซ์มาจากธนาคารอื่น โดยธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยกับสินเชื่อเอสเอ็มอีที่มารีไฟแนนซ์ ในอัตราดอกเบี้ยปกติ ไม่ได้ตัดราคากับธนาคารอื่น ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเอสเอ็มอีของธนาคารอยู่ที่ประมาณ 6-6.5% ซึ่งใกล้เคียงกับระบบ และเชื่อว่าสาเหตุที่ลูกค้าย้ายมาใช้บริการกับธนาคารนั้น เนื่องจากการบริการที่ดี ซึ่งธนาคารอื่นควรพิจารณาถึงจุดนี้ด้วย
สำหรับภาพรวมของตลาดสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้ มองว่าน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีปัจจัยบวกหลายอย่างที่เป็นโอกาสดังนี้ 1. สภาพเศรษฐกิจในปีนี้น่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น จากการที่มีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศแล้วมีนโยบายเน้นกระตุ้นการลงทุน การบริโภคภาคประชาชนซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับธุรกิจเอสเอ็มอีโดยตรง 2. รัฐบาลมีโครงสร้างที่จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เช่น สินเชื่อของธนาคารต่างๆ หรือโครงการเงินกู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานดอกเบี้ยต่ำเป็นต้น 3. เรื่องราคาสินค้าเกษตรซึ่งขณะนี้อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอีก เนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้ายังมีสูงเช่นกัน 4.ในช่วงที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและค่าเงินแต่ผู้ประกอบการก็ยังสามารถปรับตัวได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นโอกาสให้มีการขยายธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มมากขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายๆ ด้านที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งเรื่องต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง และการผันผวนของค่าเงินบาท ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับภาวะการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารจัดการที่ดี ส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรนในโครงการของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. นั้น มองว่าจะเป็นอีกส่วนที่ช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารเติบโต ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจสินเชื่อดังกล่าวแล้ว
ล่าสุดธนาคารเปิดให้บริการสินเชื่อขนาดย่อม หรือ ไมโคร (SSME) ที่เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่ต้องการวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งมองว่าการเปิดให้บริการตรงนี้จะเป็นการเข้าไปสนับสนุนกลุ่มลูกค้าระดับย่อย เช่น กลุ่ม OTOP ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ อีกทั้งมองว่ากลุ่มลูกค้าเหล่านี้ยังมีความต้องการสินเชื่อเป็นแสนราย จึงเป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร สำหรับการบริหารความเสี่ยง ธนาคารก็ต้องมีการพิจารณาแตกต่างกันไปในส่วนของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งมองว่าปีนี้แม้การแข่งขันของธุรกิจลูกค้าขนาดย่อยของธนาคารพาณิชย์จะมีความรุนแรงมากขึ้น แต่สินเชื่อน่าจะเติบโตได้ เพราะว่าฐานลูกค้ายังมีอยู่มาก โดยธนาคารได้เริ่มเปิดให้บริการสินเชื่อนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆนี้