กลุ่มธุรกิจเหล้าบุกทำเนียบรัฐบาล ชงนายกฯแก้กฎหมาย อ้างก่อปัญหาเพียบ ด้าน “หมักอบายมุข” รับปากกลุ่มธุรกิจขายสุรานำปัญหา ถก ครม.วันนี้ก่อนส่งเรื่องเข้าสภาแก้ ด้านศูนย์วิจัยปัญหาสุราชี้มาตรา 30 เหตุอันดับหนึ่งคนติดเหล้า เตือนนายกฯ คำนึงถึงประโยชน์ประชาชนมากกว่าภาคธุรกิจ ลั่นหากรัฐบาลมุ่งแต่เรื่องอบายมุข อยู่ไม่ครบเทอมแน่ เครือข่ายเยาวชนงดเหล้าฯ เดือดระดมพลกดดันทำเนียบฯวันนี้ ขณะที่นักวิชาการจี้"ไชยา" เร่งออกกฏกระทรวงคุมโฆษณาเหล้า
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (10 มี.ค.) นางวิมลวรรณ อุดมพร ประธานสมาพันธ์ช่วยภาครัฐลดปัญหาแอลกอฮอล์ และคณะรวม 8 คน เข้าพบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อชี้แจงถึงปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
โวย กม.เหล้าทำยุ่ง
จากนั้นนางวิมลวรรณและคณะ ได้ร่วมกันชี้แจงปัญหาผลกระทบอันเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหลายมาตรา อาทิ มาตรา 30 ที่บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือลักษณะดังต่อไปนี้ (2) การเร่ขาย และ (5) โดยแจก แถม ให้หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่น หรือ การให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“บทบัญญัติดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นอย่างมากกับผู้ผลิตไวน์ผลไม้โอทอป เพราะไวน์โอทอปมีช่องทางการจำหน่ายหลักด้วยการออกงานแสดงสินค้าโอทอป ที่จัดว่าเป็นการเร่ขาย อีกทั้งต้องให้ผู้บริโภคได้ชิมไวน์ มิฉะนั้นผู้บริโภคก็จะไม่ซื้อสินค้า ซึ่งการชิมก็เข้าข่ายการแจกแถม และผู้ผลิตไวน์โอทอปไม่ได้มีต้นทุนการผลิตและปัจจัยอื่นที่สามารถส่งเสริมสินค้าของตนได้เหมือนผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่” สมาพันธ์ ระบุเหตุผลในการแก้ไขพ.ร.บ.
พร้อมกันนี้สมาพันธ์ฯได้นำเสนอนโยบายในการแก้ไขปัญหาสังคมและเยาวชนต่อภาครัฐ โดยมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจให้น้อยที่สุด อาทิ การนำเอาสภาพความเป็นจริงที่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร สถานบันเทิง ร้านค้าปลีกในปัจจุบันมาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับพื้นที่ขาย วัน และเวลา ตลอดจนการส่งเสริมการขายและโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
“หมัก” สั่งนำเข้า ครม.ก่อนแก้ กม.
ทั้งนี้นายสมัครได้รับฟังผลกระทบเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ด้วยความสนใจ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เข้าใจในปัญหาของสมาพันธ์ฯ ที่ได้มาร้องทุกข์ ซึ่งในปัญหาข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงขอให้ทางสมาพันธ์ฯ ได้รวบรวมสรุปเป็นเอกสาร ระบุปัญหาข้อต่างๆ ในมาตรานั้นๆ ให้ชัดเจน แล้วนำส่งให้ภายในวันที่ 10 มี.ค. เพื่อจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (11 มี.ค) เพื่อให้ครม.ได้รับทราบและพิจารณาในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ โดยจะส่งให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาเหตุผล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการขอแก้ไขกฎหมายในสภาฯ ต่อไป
ในตอนท้ายนายสมัครกล่าวขอบคุณคณะสมาพันธ์ฯ ที่มาเข้าพบซึ่งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมากและขอบคุณภาคเอกชนที่ไว้วางใจให้คนที่มาจากการเลือกตั้งได้ตรวจสอบ ทั้งนี้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องแง่กฎหมาย ที่มีการออกกฎหมายในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ แล้วทำให้สังคมเดือดร้อนจึงต้องมีการช่วยแก้ไขให้ปฏิบัติได้
ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า พล.ต.ท. วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ระบุภายหลังการหารือว่า นายกรัฐมนตรีจะนำเรื่องนี้มาแถลงข่าวกับสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 11 มี.ค.นี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาพันธ์ช่วยภาครัฐลดปัญหาแอลกอฮอล์เป็นองค์กรที่สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแอลกอฮอล์ ได้แก่ บริษัทผู้ผลิตและผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้จัดจำหน่าย สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทย ผู้ทำโฆษณาและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมแห่งประเทศไทย สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมท่องเที่ยว ผู้ประกอบการสถานบันเทิง สมาคมกีฬา และอื่นๆ
จวกทบทวน ม.30 อันตราย !!!
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า เป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ เพราะมาตรา 30 เป็นมาตราอันดับ 1 ที่ส่งผลอย่างมากต่อผู้บริโภค เนื่องจากการลด แลก แจก แถมหรือการทดลองชิมสินค้านั้นมีผลอย่างสูงต่อการตัดสินใจ ซึ่งมีความสำคัญและส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภค
ในขณะที่มาตรา 32 นั้น จะเน้นไปในส่วนของการลดจำนวนผู้บริโภคหน้าใหม่
โดยผู้แทนบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่งเคยบอกว่าการลดราคามีผลเยอะที่สุดในการเพิ่มยอดสินค้า ซึ่งหากมีการแก้กฎหมายเชื่อว่าจะส่งผลแย่อย่างมาก เพราะภาคธุรกิจเองจะได้รับแต่ยอดขายสินค้าอย่างเดียวโดยที่ไม่มองถึงสังคมว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไร การควบคุมกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะหย่อนยานลง
ทั้งนี้ ภาครัฐต้องถามตัวเองว่าจะยึดประโยชน์ฝ่ายไหนเป็นสำคัญระหว่างภาคสังคม ประชาชน หรือสนใจแต่ประโยชน์ของภาคเอกชน ธุรกิจมากกว่า เพราะรัฐบาลพูดอยู่เสมอว่ามาจาการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากจากประชาชน แล้วรัฐบาลเองจะดำเนินการเรื่องนี้เพื่อใคร ตอนนี้มีผลการวิจัยออกมามากมายถึงผลกระทบจากสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะคนที่ดื่มได้รับผลกระทบเพียง 40% ส่วนอีก 60% นั้นเป็นผลกระทบที่มีต่อผู้ที่ไม่ดื่ม
"หากเปรียบสังคมนี้เหมือนบ้าน นายกฯ เองก็เหมือนหัวหน้าครอบครัว ต้องออกกฎ คำสั่งต่างๆคุ้มครองไม่ให้ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดเสียเปรียบ อย่าเห็นประโยชน์ของธุรกิจมากกว่าประชาชน น่าจะมีการพัฒนาทั้งเรื่องของธุรกิจแต่ต้องไม่ละเมิดต่อหลักศีลธรรม อย่างรัฐบาล 2 ชุดที่ผ่านมาถือได้ว่าเอาธุรกิจนำหน้าคุณธรรมในสังคม ผลที่ออกมาจึงทำให้เป็นอยู่เหมือนทุกวันนี้ ที่จะมีทั้งเรื่องของหวย เรื่องของบ่อน ไหนจะเป็นเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปรัฐบาลก็น่าจะไม่ได้อยู่ในสังคมนี้ได้นาน"
"ภาคธุรกิจต้องทำหน้าที่ของตนเอง แต่สิ่งที่เขากำลังเรียกร้อง หรือต้องการนั้นเป็นสิ่งที่เกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวงแก่สังคม นักการเมืองในประเทศต้องไม่พูดอย่างทำอย่าง นักการเมืองต้องทำตัวเป็นผู้ใหญ่ต้องรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และให้ยึดถือคุณธรรมเป็นหลัก" นพ.บัณฑิต กล่าว
นพ.บัณฑิต กล่าวทิ้งท้ายว่า จากข้อมูลกรมสรรพสามิตได้รับเงินกว่า 7 หมื่นล้าน ซึ่งเป็นต้นทุน และกำไรที่ได้จากการขายสุรา แต่ผลที่รัฐต้องจ่ายให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุราของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ และปัญหาต่างๆ ทั้งอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย พิการ และตาย จากเหตุของสุรานั้น รวมแล้วตกที่ 1.9 แสนล้านต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการคุ้มกับการที่จะลงทุนกับเรื่องอบายมุขต่างๆ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 มี.ค.) เวลาประมาณ 08.30 น.เครือข่ายเยาวชนงดเหล้าจะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อแสดงพลังคัดค้านการแก้ไขกฎหมายเหล้าของรัฐบาลนายสมัครในครั้งนี้ด้วย โดยคาดว่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 100 คน
จี้"ไชยา"เร่งออกกฎกระทรวงคุมโฆษณา
วันเดียวกันที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชน จัดงานการประชุมเสนอแนวทางการกำหนดกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของกฎหมายนี้คือการควบคุมการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้น อยากให้มีการออกเป็นกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่ทำให้มาตรการควบคุมการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์อ่อนด้อยลงไปกว่าเดิม
ด้วยเหตุนี้ ทางเครือข่ายฯ จึงมีข้อเสนอกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำคัญต่อเด็ก เยาวชน และประชาชน ดังนี้ 1. การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้ในช่วงเวลา 24.00 - 05.00 น.เท่านั้น 2. การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทห้ามกระทำทางป้ายกลางแจ้งในรัศมี 500 เมตร รอบสถานศึกษา 3. การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใดๆ ต้องมีคำเตือนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
"การกำหนดมาตรการควบคุมต่างๆ ของทุกประเทศต้องเกิดขึ้นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แย่ลง จึงหวังว่า รมว.สาธารณสุข จะเร่งดำเนินการทันที โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็ก เยาวชน และประชาชนมากกว่า การมองถึงผลประโยชน์ของฝ่ายธุรกิจ และมองโลกด้วยความจริงตามข้อมูลที่มีการวิจัยออกมา ไม่ใช่ตัดสินใจด้วยอารมณ์กับความรู้สึกของตัวเอง" ดร.ปาริชาต กล่าว
ด้าน นายสงกรานต์ ภาคโชคดี เครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ในวันนี้ (11 มี.ค.)ทางเครือข่ายภาคประชาชน ตัวแทนเยาวชน นักเรียน นักศึกษา จะนำข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ พร้อมด้วยข้อมูลผลการวิจัยทั้งหมดเข้ายื่นให้แก่นายไชยาต่อไป
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (10 มี.ค.) นางวิมลวรรณ อุดมพร ประธานสมาพันธ์ช่วยภาครัฐลดปัญหาแอลกอฮอล์ และคณะรวม 8 คน เข้าพบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อชี้แจงถึงปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
โวย กม.เหล้าทำยุ่ง
จากนั้นนางวิมลวรรณและคณะ ได้ร่วมกันชี้แจงปัญหาผลกระทบอันเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหลายมาตรา อาทิ มาตรา 30 ที่บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือลักษณะดังต่อไปนี้ (2) การเร่ขาย และ (5) โดยแจก แถม ให้หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่น หรือ การให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“บทบัญญัติดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นอย่างมากกับผู้ผลิตไวน์ผลไม้โอทอป เพราะไวน์โอทอปมีช่องทางการจำหน่ายหลักด้วยการออกงานแสดงสินค้าโอทอป ที่จัดว่าเป็นการเร่ขาย อีกทั้งต้องให้ผู้บริโภคได้ชิมไวน์ มิฉะนั้นผู้บริโภคก็จะไม่ซื้อสินค้า ซึ่งการชิมก็เข้าข่ายการแจกแถม และผู้ผลิตไวน์โอทอปไม่ได้มีต้นทุนการผลิตและปัจจัยอื่นที่สามารถส่งเสริมสินค้าของตนได้เหมือนผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่” สมาพันธ์ ระบุเหตุผลในการแก้ไขพ.ร.บ.
พร้อมกันนี้สมาพันธ์ฯได้นำเสนอนโยบายในการแก้ไขปัญหาสังคมและเยาวชนต่อภาครัฐ โดยมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจให้น้อยที่สุด อาทิ การนำเอาสภาพความเป็นจริงที่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร สถานบันเทิง ร้านค้าปลีกในปัจจุบันมาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับพื้นที่ขาย วัน และเวลา ตลอดจนการส่งเสริมการขายและโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
“หมัก” สั่งนำเข้า ครม.ก่อนแก้ กม.
ทั้งนี้นายสมัครได้รับฟังผลกระทบเนื่องมาจากการประกาศบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ด้วยความสนใจ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เข้าใจในปัญหาของสมาพันธ์ฯ ที่ได้มาร้องทุกข์ ซึ่งในปัญหาข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงขอให้ทางสมาพันธ์ฯ ได้รวบรวมสรุปเป็นเอกสาร ระบุปัญหาข้อต่างๆ ในมาตรานั้นๆ ให้ชัดเจน แล้วนำส่งให้ภายในวันที่ 10 มี.ค. เพื่อจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (11 มี.ค) เพื่อให้ครม.ได้รับทราบและพิจารณาในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ โดยจะส่งให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาเหตุผล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการขอแก้ไขกฎหมายในสภาฯ ต่อไป
ในตอนท้ายนายสมัครกล่าวขอบคุณคณะสมาพันธ์ฯ ที่มาเข้าพบซึ่งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมากและขอบคุณภาคเอกชนที่ไว้วางใจให้คนที่มาจากการเลือกตั้งได้ตรวจสอบ ทั้งนี้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องแง่กฎหมาย ที่มีการออกกฎหมายในสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ แล้วทำให้สังคมเดือดร้อนจึงต้องมีการช่วยแก้ไขให้ปฏิบัติได้
ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า พล.ต.ท. วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ระบุภายหลังการหารือว่า นายกรัฐมนตรีจะนำเรื่องนี้มาแถลงข่าวกับสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 11 มี.ค.นี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาพันธ์ช่วยภาครัฐลดปัญหาแอลกอฮอล์เป็นองค์กรที่สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแอลกอฮอล์ ได้แก่ บริษัทผู้ผลิตและผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้จัดจำหน่าย สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทย ผู้ทำโฆษณาและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมแห่งประเทศไทย สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมท่องเที่ยว ผู้ประกอบการสถานบันเทิง สมาคมกีฬา และอื่นๆ
จวกทบทวน ม.30 อันตราย !!!
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า เป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ เพราะมาตรา 30 เป็นมาตราอันดับ 1 ที่ส่งผลอย่างมากต่อผู้บริโภค เนื่องจากการลด แลก แจก แถมหรือการทดลองชิมสินค้านั้นมีผลอย่างสูงต่อการตัดสินใจ ซึ่งมีความสำคัญและส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภค
ในขณะที่มาตรา 32 นั้น จะเน้นไปในส่วนของการลดจำนวนผู้บริโภคหน้าใหม่
โดยผู้แทนบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่งเคยบอกว่าการลดราคามีผลเยอะที่สุดในการเพิ่มยอดสินค้า ซึ่งหากมีการแก้กฎหมายเชื่อว่าจะส่งผลแย่อย่างมาก เพราะภาคธุรกิจเองจะได้รับแต่ยอดขายสินค้าอย่างเดียวโดยที่ไม่มองถึงสังคมว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไร การควบคุมกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะหย่อนยานลง
ทั้งนี้ ภาครัฐต้องถามตัวเองว่าจะยึดประโยชน์ฝ่ายไหนเป็นสำคัญระหว่างภาคสังคม ประชาชน หรือสนใจแต่ประโยชน์ของภาคเอกชน ธุรกิจมากกว่า เพราะรัฐบาลพูดอยู่เสมอว่ามาจาการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากจากประชาชน แล้วรัฐบาลเองจะดำเนินการเรื่องนี้เพื่อใคร ตอนนี้มีผลการวิจัยออกมามากมายถึงผลกระทบจากสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะคนที่ดื่มได้รับผลกระทบเพียง 40% ส่วนอีก 60% นั้นเป็นผลกระทบที่มีต่อผู้ที่ไม่ดื่ม
"หากเปรียบสังคมนี้เหมือนบ้าน นายกฯ เองก็เหมือนหัวหน้าครอบครัว ต้องออกกฎ คำสั่งต่างๆคุ้มครองไม่ให้ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดเสียเปรียบ อย่าเห็นประโยชน์ของธุรกิจมากกว่าประชาชน น่าจะมีการพัฒนาทั้งเรื่องของธุรกิจแต่ต้องไม่ละเมิดต่อหลักศีลธรรม อย่างรัฐบาล 2 ชุดที่ผ่านมาถือได้ว่าเอาธุรกิจนำหน้าคุณธรรมในสังคม ผลที่ออกมาจึงทำให้เป็นอยู่เหมือนทุกวันนี้ ที่จะมีทั้งเรื่องของหวย เรื่องของบ่อน ไหนจะเป็นเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปรัฐบาลก็น่าจะไม่ได้อยู่ในสังคมนี้ได้นาน"
"ภาคธุรกิจต้องทำหน้าที่ของตนเอง แต่สิ่งที่เขากำลังเรียกร้อง หรือต้องการนั้นเป็นสิ่งที่เกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวงแก่สังคม นักการเมืองในประเทศต้องไม่พูดอย่างทำอย่าง นักการเมืองต้องทำตัวเป็นผู้ใหญ่ต้องรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และให้ยึดถือคุณธรรมเป็นหลัก" นพ.บัณฑิต กล่าว
นพ.บัณฑิต กล่าวทิ้งท้ายว่า จากข้อมูลกรมสรรพสามิตได้รับเงินกว่า 7 หมื่นล้าน ซึ่งเป็นต้นทุน และกำไรที่ได้จากการขายสุรา แต่ผลที่รัฐต้องจ่ายให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุราของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ และปัญหาต่างๆ ทั้งอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย พิการ และตาย จากเหตุของสุรานั้น รวมแล้วตกที่ 1.9 แสนล้านต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการคุ้มกับการที่จะลงทุนกับเรื่องอบายมุขต่างๆ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 มี.ค.) เวลาประมาณ 08.30 น.เครือข่ายเยาวชนงดเหล้าจะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อแสดงพลังคัดค้านการแก้ไขกฎหมายเหล้าของรัฐบาลนายสมัครในครั้งนี้ด้วย โดยคาดว่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 100 คน
จี้"ไชยา"เร่งออกกฎกระทรวงคุมโฆษณา
วันเดียวกันที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชน จัดงานการประชุมเสนอแนวทางการกำหนดกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของกฎหมายนี้คือการควบคุมการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้น อยากให้มีการออกเป็นกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่ทำให้มาตรการควบคุมการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์อ่อนด้อยลงไปกว่าเดิม
ด้วยเหตุนี้ ทางเครือข่ายฯ จึงมีข้อเสนอกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำคัญต่อเด็ก เยาวชน และประชาชน ดังนี้ 1. การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้ในช่วงเวลา 24.00 - 05.00 น.เท่านั้น 2. การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทห้ามกระทำทางป้ายกลางแจ้งในรัศมี 500 เมตร รอบสถานศึกษา 3. การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใดๆ ต้องมีคำเตือนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
"การกำหนดมาตรการควบคุมต่างๆ ของทุกประเทศต้องเกิดขึ้นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แย่ลง จึงหวังว่า รมว.สาธารณสุข จะเร่งดำเนินการทันที โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็ก เยาวชน และประชาชนมากกว่า การมองถึงผลประโยชน์ของฝ่ายธุรกิจ และมองโลกด้วยความจริงตามข้อมูลที่มีการวิจัยออกมา ไม่ใช่ตัดสินใจด้วยอารมณ์กับความรู้สึกของตัวเอง" ดร.ปาริชาต กล่าว
ด้าน นายสงกรานต์ ภาคโชคดี เครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า ในวันนี้ (11 มี.ค.)ทางเครือข่ายภาคประชาชน ตัวแทนเยาวชน นักเรียน นักศึกษา จะนำข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ พร้อมด้วยข้อมูลผลการวิจัยทั้งหมดเข้ายื่นให้แก่นายไชยาต่อไป