"ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามเล่น Net Settlement และห้ามเล่นมาร์จิ้นหุ้น XXX ตั้งแต่พรุ่งนี้จนถึงวันที่...."เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งเรามักจะพบเห็นกันเป็นระยะ ๆ เวลาที่หุ้นบางตัวมีการเคลื่อนไหวทางราคาร้อนแรงผิดปกติ Net Settlement คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ "ร่วมคิด-ชวนคุยกับ ก.ล.ต."จึงอยากจะขอนำเอาเรื่องของ Net Settlement มาเล่าให้ฟังกัน
Net Settlement ก็คือ การหักกลบลบหนี้รายการซื้อหุ้นและรายการขายหุ้นเดียวกันที่เกิดขึ้นในวันเดียวกันสำหรับการซื้อขายหุ้นในบัญชีเงินสด โดยลูกค้าชำระเงินเฉพาะส่วนต่างราคาสุทธิของค่าซื้อกับค่าขายหุ้นนั้น ถ้าหากหักกลบกันเมื่อสิ้นวันแล้วลูกค้าได้กำไรก็รอรับเงินจากโบรกเกอร์ในวันที่มีการชำระเงิน (T+3) แต่หากขาดทุนก็ต้องจ่ายส่วนต่างให้กับโบรกเกอร์แทน
ข้อดีของการซื้อขายหุ้นในแบบ Net Settlement ก็คือ ผู้ลงทุนไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก (เพราะจ่ายเฉพาะส่วนต่างค่าซื้อกับค่าขาย) นอกจากนั้น ยังช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ลงทุนและโบรกเกอร์ โดยช่วยลดขั้นตอนการชำระเงินค่าซื้อหุ้นหรือรับเงินค่าขายหุ้นในระหว่างวัน นอกจากนั้น ในแง่ของตลาดทุนโดยรวมยังช่วยให้การซื้อขายหุ้นเป็นไปอย่างคล่องตัว ซึ่งเป็นการเสริมสร้างสภาพคล่องและเพิ่มมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
อย่างไรก็ดี การซื้อขายในแบบ Net Settlement นี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงพอสมควรทั้งความเสี่ยงสำหรับลูกค้าเองและโบรกเกอร์ เช่น ความเสี่ยงระหว่างวัน (intra-day risk) กรณีที่ผู้ลงทุนซื้อหุ้นจำนวนมากในช่วงเช้าโดยคาดว่าราคาจะสูงขึ้นในช่วงบ่ายเพื่อจะได้ขายทำกำไรในวันเดียวกัน แต่ต่อมาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เกิดการก่อการร้ายขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นที่ซื้อมาปรับตัวลดลงมากในระหว่างวัน ซึ่งถ้าขายหุ้นนั้นไปทำให้ต้องขาดทุนมหาศาล หรือในกรณีที่ซื้อหุ้นมาแล้ว แต่ต่อมาในวันนั้นหุ้นนั้นถูกสั่งพักการซื้อขายทำให้ไม่สามารถขายได้ภายในวันเดียวกัน จึงต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นแบบเต็มจำนวนไป ซึ่งในกรณีตัวอย่างที่ยกมานั้น หากลูกค้ามีเงินไม่พอจ่ายค่าซื้อหุ้น โบรกเกอร์ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินให้แทน และถ้ามีกรณีเช่นนี้เป็นจำนวนมาก ก็อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเนื่องไปยังระบบชำระราคาโดยรวมได้
ดังนั้น เพื่อไม่ให้ระบบมีความเสี่ยงมากเกินไป ทางการจึงมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงโดยกำหนดให้กรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อขายหุ้นในแบบ Net Settlement ต้องนำทรัพย์สินหรือเงินสดมาวางเป็นหลักประกันก่อนการซื้อขายในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ของวงเงินที่จะซื้อหุ้น (ล่าสุดคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับเพิ่มอัตราการวางหลักประกันเป็นไม่ต่ำกว่า 15% แล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551) เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจลงทุนให้มีความรอบคอบมากยิ่งขึ้นโดยไม่ลงทุนเกินกว่าที่ตนสามารถจ่ายได้นั่นเอง
นอกจากนั้น หากหุ้นในตลาดตัวใดมีราคาเคลื่อนไหวอย่างร้อนแรงและไม่มีปัจจัยพื้นฐานมารองรับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีมาตรการห้ามซื้อขายหุ้นเหล่านี้ในแบบ Net Settlement เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้ลงทุนใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหุ้นนั้นด้วย โดยหากหุ้น X ถูกห้ามการซื้อขายแบบ Net Settlement และผู้ลงทุนมีการซื้อหุ้น X และขายหุ้น X ในวันเดียวกัน ผู้ลงทุนจะต้องชำระเงินค่าซื้อหุ้น X ก่อน และเมื่อโบรกเกอร์ได้รับเงินค่าซื้อหุ้น X จากลูกค้าเรียบร้อยแล้ว โบรกเกอร์จะจ่ายเงินค่าขายหุ้น X กลับมาให้
แม้จะมีโอกาสทำกำไรได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ผู้ลงทุนก็ควรตระหนักไว้เสมอว่า การลงทุนในรูปแบบเก็งกำไรเช่นนี้มีความเสี่ยงสูง เหตุการณ์ร้าย ๆ อาจเกิดขึ้นในตลาดในระหว่างวันได้ทุกเวลา ดังนั้น จึงควรติดตามข่าวสารต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และไม่ควรลงทุนเกินความสามารถในการจ่ายเงินของเราเอง เพื่อความปลอดภัย วงเงินที่ผู้ลงทุนนำมาใช้ซื้อหุ้นควรคำนวณจากพื้นฐานที่ว่า หากไม่มีการจ่ายเฉพาะส่วนต่างของค่าซื้อและค่าขายหุ้นแล้ว ผู้ลงทุนจะสามารถชำระเงินค่าซื้อหุ้นทั้งหมดในวันนั้นได้มากเท่าไร และไม่ควรซื้อหุ้นเกินวงเงินนั้น มิเช่นนั้น อาจต้องพบกับเรื่องเดือดร้อนไปในชั่วข้ามคืนก็เป็นได้
ก.ล.ต. ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถามเพื่อสร้างสรรค์ความรู้สู่ตลาดทุนไทย เพียงเข้าไปใน www.sec.or.th > หัวข้อ What’s new รับของที่ระลึกสุดเก๋ ฟรี!
Net Settlement ก็คือ การหักกลบลบหนี้รายการซื้อหุ้นและรายการขายหุ้นเดียวกันที่เกิดขึ้นในวันเดียวกันสำหรับการซื้อขายหุ้นในบัญชีเงินสด โดยลูกค้าชำระเงินเฉพาะส่วนต่างราคาสุทธิของค่าซื้อกับค่าขายหุ้นนั้น ถ้าหากหักกลบกันเมื่อสิ้นวันแล้วลูกค้าได้กำไรก็รอรับเงินจากโบรกเกอร์ในวันที่มีการชำระเงิน (T+3) แต่หากขาดทุนก็ต้องจ่ายส่วนต่างให้กับโบรกเกอร์แทน
ข้อดีของการซื้อขายหุ้นในแบบ Net Settlement ก็คือ ผู้ลงทุนไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก (เพราะจ่ายเฉพาะส่วนต่างค่าซื้อกับค่าขาย) นอกจากนั้น ยังช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ลงทุนและโบรกเกอร์ โดยช่วยลดขั้นตอนการชำระเงินค่าซื้อหุ้นหรือรับเงินค่าขายหุ้นในระหว่างวัน นอกจากนั้น ในแง่ของตลาดทุนโดยรวมยังช่วยให้การซื้อขายหุ้นเป็นไปอย่างคล่องตัว ซึ่งเป็นการเสริมสร้างสภาพคล่องและเพิ่มมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
อย่างไรก็ดี การซื้อขายในแบบ Net Settlement นี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงพอสมควรทั้งความเสี่ยงสำหรับลูกค้าเองและโบรกเกอร์ เช่น ความเสี่ยงระหว่างวัน (intra-day risk) กรณีที่ผู้ลงทุนซื้อหุ้นจำนวนมากในช่วงเช้าโดยคาดว่าราคาจะสูงขึ้นในช่วงบ่ายเพื่อจะได้ขายทำกำไรในวันเดียวกัน แต่ต่อมาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เกิดการก่อการร้ายขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นที่ซื้อมาปรับตัวลดลงมากในระหว่างวัน ซึ่งถ้าขายหุ้นนั้นไปทำให้ต้องขาดทุนมหาศาล หรือในกรณีที่ซื้อหุ้นมาแล้ว แต่ต่อมาในวันนั้นหุ้นนั้นถูกสั่งพักการซื้อขายทำให้ไม่สามารถขายได้ภายในวันเดียวกัน จึงต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นแบบเต็มจำนวนไป ซึ่งในกรณีตัวอย่างที่ยกมานั้น หากลูกค้ามีเงินไม่พอจ่ายค่าซื้อหุ้น โบรกเกอร์ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินให้แทน และถ้ามีกรณีเช่นนี้เป็นจำนวนมาก ก็อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเนื่องไปยังระบบชำระราคาโดยรวมได้
ดังนั้น เพื่อไม่ให้ระบบมีความเสี่ยงมากเกินไป ทางการจึงมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงโดยกำหนดให้กรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อขายหุ้นในแบบ Net Settlement ต้องนำทรัพย์สินหรือเงินสดมาวางเป็นหลักประกันก่อนการซื้อขายในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ของวงเงินที่จะซื้อหุ้น (ล่าสุดคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับเพิ่มอัตราการวางหลักประกันเป็นไม่ต่ำกว่า 15% แล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551) เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจลงทุนให้มีความรอบคอบมากยิ่งขึ้นโดยไม่ลงทุนเกินกว่าที่ตนสามารถจ่ายได้นั่นเอง
นอกจากนั้น หากหุ้นในตลาดตัวใดมีราคาเคลื่อนไหวอย่างร้อนแรงและไม่มีปัจจัยพื้นฐานมารองรับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีมาตรการห้ามซื้อขายหุ้นเหล่านี้ในแบบ Net Settlement เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้ลงทุนใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหุ้นนั้นด้วย โดยหากหุ้น X ถูกห้ามการซื้อขายแบบ Net Settlement และผู้ลงทุนมีการซื้อหุ้น X และขายหุ้น X ในวันเดียวกัน ผู้ลงทุนจะต้องชำระเงินค่าซื้อหุ้น X ก่อน และเมื่อโบรกเกอร์ได้รับเงินค่าซื้อหุ้น X จากลูกค้าเรียบร้อยแล้ว โบรกเกอร์จะจ่ายเงินค่าขายหุ้น X กลับมาให้
แม้จะมีโอกาสทำกำไรได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ผู้ลงทุนก็ควรตระหนักไว้เสมอว่า การลงทุนในรูปแบบเก็งกำไรเช่นนี้มีความเสี่ยงสูง เหตุการณ์ร้าย ๆ อาจเกิดขึ้นในตลาดในระหว่างวันได้ทุกเวลา ดังนั้น จึงควรติดตามข่าวสารต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และไม่ควรลงทุนเกินความสามารถในการจ่ายเงินของเราเอง เพื่อความปลอดภัย วงเงินที่ผู้ลงทุนนำมาใช้ซื้อหุ้นควรคำนวณจากพื้นฐานที่ว่า หากไม่มีการจ่ายเฉพาะส่วนต่างของค่าซื้อและค่าขายหุ้นแล้ว ผู้ลงทุนจะสามารถชำระเงินค่าซื้อหุ้นทั้งหมดในวันนั้นได้มากเท่าไร และไม่ควรซื้อหุ้นเกินวงเงินนั้น มิเช่นนั้น อาจต้องพบกับเรื่องเดือดร้อนไปในชั่วข้ามคืนก็เป็นได้
ก.ล.ต. ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถามเพื่อสร้างสรรค์ความรู้สู่ตลาดทุนไทย เพียงเข้าไปใน www.sec.or.th > หัวข้อ What’s new รับของที่ระลึกสุดเก๋ ฟรี!