ในยุคเศรษฐกิจผันผวนเช่นปัจจุบัน ทำให้บรรดาผู้มีเงินออมและผู้ลงทุนต่างต้องมองหาช่องทางลงทุนใหม่ๆ เพื่อหวังเพิ่มค่าเงินออมให้เพิ่มพูนแข่งกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 5% และอัตราดอกเบี้ยที่ดิ่งลงเหลือเพียง 2% กว่าๆ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีของเหล่ามิจฉาชีพที่มักคอยจ้องหาวิธีหลอกลวงผู้ลงทุนซึ่งอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์และขาดความรู้ความเข้าใจในการลงทุน
เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยินข่าวการบุกจับบริษัทในภาคเหนือที่มีการชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาลงทุนในรูปแบบ “แชร์ข้าวสาร” โดยหลอกให้ลงทุนในสินค้าอ้างอิง คือ ข้าวสาร 1 กระสอบแทนมูลค่าหุ้น 1 หุ้น และสัญญาจะให้ผลตอบแทนสูงมากในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มีผู้เสียหายกว่าหมื่นรายเข้าแจ้งความกับตำรวจท้องที่ และมีมูลค่าความเสียหายในเบื้องต้นกว่าร้อยล้านบาท
ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น ก็มีมิจฉาชีพที่โฆษณาชวนเชื่อผ่านเว็บไซต์ หลอกให้ประชาชนในจังหวัดภาคใต้นำเงินมาลงทุนในหุ้นต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงมากในระยะเวลาอันสั้น เช่น เมื่อลงทุน 10,000 บาท จะได้รับเงินปันผลถึง 100,000 บาทภายใน 1 เดือน เป็นต้น ซึ่งมีผู้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนกว่า 300 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายตามที่สื่อได้กล่าวอ้างถึง 40 ล้านบาท
การหลอกลวงดังกล่าวนั้น มักมีรูปแบบการหลอกลวงที่ใกล้เคียงกันคือ โทรศัพท์เชิญชวนให้ลงทุนทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อน การชักชวนให้เข้าร่วมสัมมนา การโฆษณาชวนเชื่อทางเว็บไซต์ โดยหลอกว่าจะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ กองทุน หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิง เช่น น้ำมันดิบ ทองคำ หรือแม้กระทั่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วแดง ยางพารา ข้าว เป็นต้น หรือการหลอกให้ลงทุนในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ เช่น แชร์ข้าวสาร แชร์รถยนต์ เป็นต้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีการนำเงินของผู้ลงทุนไปลงทุนแต่อย่างใด เป็นเพียงการนำเงินของผู้ลงทุนรายใหม่มาจ่ายเป็นเงินปันผลหรือผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนรายเก่าในช่วงแรก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน และจะได้ชักชวนญาติ เพื่อนฝูง และคนรู้จักมาลงทุนเพิ่ม แต่ต่อมาบริษัทจะเริ่มแจ้งว่าการลงทุนมีผลขาดทุน และเรียกเก็บเงินจากผู้ลงทุนเพิ่มเพื่อรักษาสถานภาพการลงทุน ถ้าผู้ลงทุนหลงเชื่อก็จะจ่ายเงินเพิ่มให้ จนไม่สามารถหาเงินมาเพิ่มได้ ก็จะหยุดลงทุนไป โดยคิดว่าเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดของตัวเอง ทำให้บางรายต้องสูญเสียเงินถึง 6-7 ล้านบาท
สำหรับการหลอกลวงให้ลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ ก.ล.ต. ดูแลอยู่นั้น มักหลอกลวงโดยแอบอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนในตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศ อย่างเช่นเมื่อเร็วๆ นี้ มีการหลอกลวงอยู่ในรูปของบริษัทที่อ้างตัวเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศจำนวนหลายราย ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. บริษัทเหล่านี้ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจาก ก.ล.ต. และยังไม่พบหลักฐานการส่งคำสั่งไปลงทุนตามที่บริษัทเหล่านี้อ้าง แต่เป็นการสร้างสถานการณ์ให้เหมือนกับว่ามีการลงทุนจริง ซึ่งหากไม่มีการลงทุนตามที่แอบอ้างก็อาจเข้าข่ายการฉ้อโกงประชาชนด้วย
ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ทำการบุกเข้าตรวจค้น และอายัดเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของบริษัทตัวแทนเถื่อนที่ถูกร้องเรียนและเข้าข่ายการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาแล้วถึง 5 ราย และได้ดำเนินการกล่าวโทษไปแล้วจำนวน 3 ราย (โดยสามารถค้นหาข้อมูลของบริษัทดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th ในหัวข้อข่าว ก.ล.ต. ) ซึ่งบางรายก็ปิดตัวไป แต่ก็ยังมีหลายรายที่ยังคงท้าทายกฎหมายด้วยการปิดบริษัทและเปิดโดยใช้ชื่อใหม่ โดยยังคงประกอบธุรกิจด้วยการหลอกลวงประชาชนให้ลงทุนในธุรกิจผิดกฎหมายอยู่เช่นเดิม ซึ่งสร้างความเสียหายและปัญหาเดือดเนื้อร้อนใจแก่ประชาชนผู้หลงเป็นเหยื่อแล้วนับไม่ถ้วน
แม้ว่า ก.ล.ต. ได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และเตือนภัยแก่ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปตลอดมาแต่สถิติผู้ร้องเรียนผ่าน “Help Center” ของ ก.ล.ต. (หมายเลข 02-263-6000) กรณีถูกหลอกลวงให้ลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับอนุญาต และธุรกิจเถื่อนก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มสูงมากเป็นพิเศษในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2550 มีมูลค่าความเสียหายเกือบร้อยล้านบาท
ดังนั้น ก.ล.ต. จึงขอเตือนให้ผู้ลงทุนหมั่นสังเกตไว้ก่อนว่าการลงทุนที่ผลตอบแทนสูงมากนั้น น่าจะเป็นการลงทุนที่ผิดปกติ และขอให้ตั้งคำถามก่อนตัดสินใจลงทุนว่า ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหลักทรัพย์หรือสินค้าที่จะลงทุนดีพอหรือไม่ และโปรดตระหนักว่าการลงทุนทุกประเภทย่อมมีความเสี่ยง โดยเฉพาะการลงทุนที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง ก็มักมีความเสี่ยงตามติดมาเป็นเงาตามตัวเช่นกัน (high risk high expected return) นอกจากนี้ ผู้ลงทุนควรตั้งสติและตรวจสอบข้อมูลการลงทุนของบริษัทผู้ชักชวนก่อนว่าเป็นบริษัทหรือตัวแทนที่ ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องแล้วหรือไม่
โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th และรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (“ก.ส.ล.”) www.aftc.or.th หรือหากพบเบาะแสการกระทำผิด หรือปัญหาอื่นใดในการลงทุน สามารถแจ้งเรื่องมาได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน (Help Center) ของ ก.ล.ต. ที่หมายเลข 02-263-6000 หรือเข้ามาคลิกที่ “ร้องเรียน” มุมขวาของเว็บไซต์ ก.ล.ต.
หรือถ้าท่านใดที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนในรูปแบบอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เช่น แชร์ลูกโซ่ เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น ก็สามารถร้องเรียนไปยังสายด่วน 1359 กลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อแจ้งเบาะแสการกระทำผิดที่เข้าข่ายการฉ้อโกงประชาชนได้เช่นกัน
ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยินข่าวการบุกจับบริษัทในภาคเหนือที่มีการชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาลงทุนในรูปแบบ “แชร์ข้าวสาร” โดยหลอกให้ลงทุนในสินค้าอ้างอิง คือ ข้าวสาร 1 กระสอบแทนมูลค่าหุ้น 1 หุ้น และสัญญาจะให้ผลตอบแทนสูงมากในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มีผู้เสียหายกว่าหมื่นรายเข้าแจ้งความกับตำรวจท้องที่ และมีมูลค่าความเสียหายในเบื้องต้นกว่าร้อยล้านบาท
ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น ก็มีมิจฉาชีพที่โฆษณาชวนเชื่อผ่านเว็บไซต์ หลอกให้ประชาชนในจังหวัดภาคใต้นำเงินมาลงทุนในหุ้นต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงมากในระยะเวลาอันสั้น เช่น เมื่อลงทุน 10,000 บาท จะได้รับเงินปันผลถึง 100,000 บาทภายใน 1 เดือน เป็นต้น ซึ่งมีผู้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนกว่า 300 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายตามที่สื่อได้กล่าวอ้างถึง 40 ล้านบาท
การหลอกลวงดังกล่าวนั้น มักมีรูปแบบการหลอกลวงที่ใกล้เคียงกันคือ โทรศัพท์เชิญชวนให้ลงทุนทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อน การชักชวนให้เข้าร่วมสัมมนา การโฆษณาชวนเชื่อทางเว็บไซต์ โดยหลอกว่าจะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ กองทุน หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิง เช่น น้ำมันดิบ ทองคำ หรือแม้กระทั่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วแดง ยางพารา ข้าว เป็นต้น หรือการหลอกให้ลงทุนในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ เช่น แชร์ข้าวสาร แชร์รถยนต์ เป็นต้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีการนำเงินของผู้ลงทุนไปลงทุนแต่อย่างใด เป็นเพียงการนำเงินของผู้ลงทุนรายใหม่มาจ่ายเป็นเงินปันผลหรือผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนรายเก่าในช่วงแรก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน และจะได้ชักชวนญาติ เพื่อนฝูง และคนรู้จักมาลงทุนเพิ่ม แต่ต่อมาบริษัทจะเริ่มแจ้งว่าการลงทุนมีผลขาดทุน และเรียกเก็บเงินจากผู้ลงทุนเพิ่มเพื่อรักษาสถานภาพการลงทุน ถ้าผู้ลงทุนหลงเชื่อก็จะจ่ายเงินเพิ่มให้ จนไม่สามารถหาเงินมาเพิ่มได้ ก็จะหยุดลงทุนไป โดยคิดว่าเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดของตัวเอง ทำให้บางรายต้องสูญเสียเงินถึง 6-7 ล้านบาท
สำหรับการหลอกลวงให้ลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ ก.ล.ต. ดูแลอยู่นั้น มักหลอกลวงโดยแอบอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนในตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศ อย่างเช่นเมื่อเร็วๆ นี้ มีการหลอกลวงอยู่ในรูปของบริษัทที่อ้างตัวเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศจำนวนหลายราย ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. บริษัทเหล่านี้ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจาก ก.ล.ต. และยังไม่พบหลักฐานการส่งคำสั่งไปลงทุนตามที่บริษัทเหล่านี้อ้าง แต่เป็นการสร้างสถานการณ์ให้เหมือนกับว่ามีการลงทุนจริง ซึ่งหากไม่มีการลงทุนตามที่แอบอ้างก็อาจเข้าข่ายการฉ้อโกงประชาชนด้วย
ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ทำการบุกเข้าตรวจค้น และอายัดเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของบริษัทตัวแทนเถื่อนที่ถูกร้องเรียนและเข้าข่ายการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาแล้วถึง 5 ราย และได้ดำเนินการกล่าวโทษไปแล้วจำนวน 3 ราย (โดยสามารถค้นหาข้อมูลของบริษัทดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th ในหัวข้อข่าว ก.ล.ต. ) ซึ่งบางรายก็ปิดตัวไป แต่ก็ยังมีหลายรายที่ยังคงท้าทายกฎหมายด้วยการปิดบริษัทและเปิดโดยใช้ชื่อใหม่ โดยยังคงประกอบธุรกิจด้วยการหลอกลวงประชาชนให้ลงทุนในธุรกิจผิดกฎหมายอยู่เช่นเดิม ซึ่งสร้างความเสียหายและปัญหาเดือดเนื้อร้อนใจแก่ประชาชนผู้หลงเป็นเหยื่อแล้วนับไม่ถ้วน
แม้ว่า ก.ล.ต. ได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และเตือนภัยแก่ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปตลอดมาแต่สถิติผู้ร้องเรียนผ่าน “Help Center” ของ ก.ล.ต. (หมายเลข 02-263-6000) กรณีถูกหลอกลวงให้ลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับอนุญาต และธุรกิจเถื่อนก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มสูงมากเป็นพิเศษในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2550 มีมูลค่าความเสียหายเกือบร้อยล้านบาท
ดังนั้น ก.ล.ต. จึงขอเตือนให้ผู้ลงทุนหมั่นสังเกตไว้ก่อนว่าการลงทุนที่ผลตอบแทนสูงมากนั้น น่าจะเป็นการลงทุนที่ผิดปกติ และขอให้ตั้งคำถามก่อนตัดสินใจลงทุนว่า ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหลักทรัพย์หรือสินค้าที่จะลงทุนดีพอหรือไม่ และโปรดตระหนักว่าการลงทุนทุกประเภทย่อมมีความเสี่ยง โดยเฉพาะการลงทุนที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง ก็มักมีความเสี่ยงตามติดมาเป็นเงาตามตัวเช่นกัน (high risk high expected return) นอกจากนี้ ผู้ลงทุนควรตั้งสติและตรวจสอบข้อมูลการลงทุนของบริษัทผู้ชักชวนก่อนว่าเป็นบริษัทหรือตัวแทนที่ ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องแล้วหรือไม่
โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th และรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (“ก.ส.ล.”) www.aftc.or.th หรือหากพบเบาะแสการกระทำผิด หรือปัญหาอื่นใดในการลงทุน สามารถแจ้งเรื่องมาได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน (Help Center) ของ ก.ล.ต. ที่หมายเลข 02-263-6000 หรือเข้ามาคลิกที่ “ร้องเรียน” มุมขวาของเว็บไซต์ ก.ล.ต.
หรือถ้าท่านใดที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนในรูปแบบอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เช่น แชร์ลูกโซ่ เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น ก็สามารถร้องเรียนไปยังสายด่วน 1359 กลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อแจ้งเบาะแสการกระทำผิดที่เข้าข่ายการฉ้อโกงประชาชนได้เช่นกัน
ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)