ผู้จัดการรายวัน - ปตท.เคมิคอลเตรียมทุ่มเงิน 2-3 พันล้านบาทต่อยอดธุรกิจสายโอลีโอเคมี (TOL) โดยจะผลิตเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต ที่ใช้ทำผงซักฟอก และเดลิเวอร์ทิฟของเมทิลเอสเตอร์ที่ใช้ผสมในแชมพู คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปีหน้า เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ชี้ราคาเอทิลีนตลาดจร (SPOT) ร่วงระยะสั้น คาดโรงโอเลฟินส์หลายแห่งต้องลดกำลังการผลิตลง เหตุวัตถุดิบคือแนฟธาพุ่งลิ่วรับราคาน้ำมันทำสถิตินิวไฮต์
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจโอลีโอเคมี (TOL) ในสายเมทิลเอสเตอร์จากปัจจุบันที่ใช้ทำไบโอดีเซล (บี100) โดยจะนำผลผลิตส่วนหนึ่งมาผลิตเป็นสารเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต เพื่อนำไปผสมในผงซักฟอก และอีกตัวหนึ่งจะสารเดลิเวอทีฟเพื่อใช้ในการผลิตแชมพู ซึ่งผลิตภัณฑ์เคมีดังกล่าวไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศในแต่ละปีเป็นมูลค่า 2-3 พันล้านบาทเพื่อใช้เป็นสารประกอบในการผลิตสินค้าโฮมแคร์และเฮลท์แคร์
โครงการผลิตเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต จะใช้เงินลงทุนประมาณ 50-70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,600-2,240 ล้านบาท และโครงการผลิตเดลิเวอร์ทีฟเมทิลเอสเตอร์ ใช้เงินลงทุน 10-20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 320-640 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ และจะแล้วเสร็จในปี 2552 โครงการดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตไม่มากนัก เนื่องจากตลาดในประเทศยังไม่สูงมากนัก แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับการนำไปผลิตบี 100 ที่มีมาร์จินไม่สูงมาก
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก คาดว่าจะทดแทนการนำเข้าเริ่มแรกได้ปีละ 1,000 ล้านบาท เมื่อมีความตอ้งการใช้สูงขึ้นก็มีแผนจะลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม สำหรับวัตถุดิบคือ เมทิลเอสเตอร์นั้น บริษัทจะมีการเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อนำผลผลิตส่วนหนึ่งมาใช้ต่อยอดธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่เมื่อดีมานด์ในประเทศมีสูงมากขึ้นก็คงต้องพิจารณาอีกทีว่าจะนำเข้าหรือจะมีการขยายกำลังการผลิตแบบคอขวด (Debotleneck) ต่อไป
ส่วนคู่แข่งนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตในแถบยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันตลาดสินค้าโฮมแคร์และเฮลท์แคร์ในแถบเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงสุด ทำให้ยักษ์ใหญ่หลายรายหันมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศแถบนี้ นอกจากนี้ บริษัทยังศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดธุรกิจโอลีโอเคมีอีกหลายตัวเช่นกันเพื่อให้ฐานธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ดังนั้น ในอนาคตการลงทุนของกลุ่มปตท.เคมิคอลจะยังมีการลงทุนเฉลี่ยปีละ 2-3 หมื่นล้านบาท เพราะต้องการรักษาการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ใน 4 สายธุรกิจทั้งสายโอเลฟินส์ โพลีเมอร์ เอ็มอีจี และโอลีโอเคมี รวมทั้งยังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนต่างประเทศด้วย
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ราคาเอทิลีนตลาดจรปรับตัวลดลงมากเหลือเพียง 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากโรงงานดาวน์สตรีมยังเดินเครื่องไม่เต็มที่ทำให้โรงโอเลฟินส์ต้องขายเอทีลีนออกมา แต่เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาอันสั้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงมากหลังราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นไปทำลายสถิติใหม่ ทำให้ราคาแนฟธาปรับขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 800-900 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้โรงโอเลฟินส์ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบหลายแห่งคงต้องลดกำลังการผลิตลงมา ทำให้ราคาเอทิลีนปรับตัวสูงขึ้น
แม้ว่าราคาเอทิลีนตลาดจรจะปรับตัวลงมา แต่ไม่กระทบธุรกิจของปตท.เคมิคอล เนื่องจากราคามีราคาขายตามสัญญา และผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกอย่าง HDPE ยังมีราคาดีอยู่ที่ตันละ 1,600 เหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปี 2551 ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจโอลีโอเคมี (TOL) ในสายเมทิลเอสเตอร์จากปัจจุบันที่ใช้ทำไบโอดีเซล (บี100) โดยจะนำผลผลิตส่วนหนึ่งมาผลิตเป็นสารเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต เพื่อนำไปผสมในผงซักฟอก และอีกตัวหนึ่งจะสารเดลิเวอทีฟเพื่อใช้ในการผลิตแชมพู ซึ่งผลิตภัณฑ์เคมีดังกล่าวไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศในแต่ละปีเป็นมูลค่า 2-3 พันล้านบาทเพื่อใช้เป็นสารประกอบในการผลิตสินค้าโฮมแคร์และเฮลท์แคร์
โครงการผลิตเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต จะใช้เงินลงทุนประมาณ 50-70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,600-2,240 ล้านบาท และโครงการผลิตเดลิเวอร์ทีฟเมทิลเอสเตอร์ ใช้เงินลงทุน 10-20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 320-640 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ และจะแล้วเสร็จในปี 2552 โครงการดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตไม่มากนัก เนื่องจากตลาดในประเทศยังไม่สูงมากนัก แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับการนำไปผลิตบี 100 ที่มีมาร์จินไม่สูงมาก
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก คาดว่าจะทดแทนการนำเข้าเริ่มแรกได้ปีละ 1,000 ล้านบาท เมื่อมีความตอ้งการใช้สูงขึ้นก็มีแผนจะลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม สำหรับวัตถุดิบคือ เมทิลเอสเตอร์นั้น บริษัทจะมีการเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อนำผลผลิตส่วนหนึ่งมาใช้ต่อยอดธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่เมื่อดีมานด์ในประเทศมีสูงมากขึ้นก็คงต้องพิจารณาอีกทีว่าจะนำเข้าหรือจะมีการขยายกำลังการผลิตแบบคอขวด (Debotleneck) ต่อไป
ส่วนคู่แข่งนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตในแถบยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันตลาดสินค้าโฮมแคร์และเฮลท์แคร์ในแถบเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงสุด ทำให้ยักษ์ใหญ่หลายรายหันมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศแถบนี้ นอกจากนี้ บริษัทยังศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดธุรกิจโอลีโอเคมีอีกหลายตัวเช่นกันเพื่อให้ฐานธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ดังนั้น ในอนาคตการลงทุนของกลุ่มปตท.เคมิคอลจะยังมีการลงทุนเฉลี่ยปีละ 2-3 หมื่นล้านบาท เพราะต้องการรักษาการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ใน 4 สายธุรกิจทั้งสายโอเลฟินส์ โพลีเมอร์ เอ็มอีจี และโอลีโอเคมี รวมทั้งยังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนต่างประเทศด้วย
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ราคาเอทิลีนตลาดจรปรับตัวลดลงมากเหลือเพียง 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากโรงงานดาวน์สตรีมยังเดินเครื่องไม่เต็มที่ทำให้โรงโอเลฟินส์ต้องขายเอทีลีนออกมา แต่เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาอันสั้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงมากหลังราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นไปทำลายสถิติใหม่ ทำให้ราคาแนฟธาปรับขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 800-900 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้โรงโอเลฟินส์ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบหลายแห่งคงต้องลดกำลังการผลิตลงมา ทำให้ราคาเอทิลีนปรับตัวสูงขึ้น
แม้ว่าราคาเอทิลีนตลาดจรจะปรับตัวลงมา แต่ไม่กระทบธุรกิจของปตท.เคมิคอล เนื่องจากราคามีราคาขายตามสัญญา และผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกอย่าง HDPE ยังมีราคาดีอยู่ที่ตันละ 1,600 เหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปี 2551 ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว