สมาพันธ์การขายตรงโลก ระบุจีน-อินเดีย เป็นขุมทองธุรกิจขายตรง มั่นใจ 5-10 ปีมูลค่าธุรกิจแดนมังกรพุ่งกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซิวเจ้าตลาดขายตรงอันดับ 2 แทนแดนปลาดิบ ชู 4 ยุทธศาสตร์ พัฒนาอุตสาหกรรมก้าวกระโดด ระบุปัญหาแชร์ลูกโซ่ลามทั่วโลก จีนมีปัญหามากที่สุด ผู้ประกอบการแห่อัดงบ 332 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำซีเอสอาร์ ล้างภาพลักษณ์แชร์ลูกโซ่ตลอด 5 ปี
นายทรูแมน ฮันท์ ประธานสมาพันธ์การขายตรงโลก World Federation of Direct Selling Associations (WFDSA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัทนู สกิน เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด เปิดเผยในงานสัมมนา"เปิดยุทธศาสตร์ขายตรงโลกปี 2008" ว่า ภาพรวมธุรกิจขายตรงทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา มีการเติบโต 5-6% ขณะที่ในประเทศไทยเติบโต7-9% เมื่อเทียบกับธุรกิจค้าปลีกเติบโตถึง 2 เท่าตัว โดยปีที่ผ่านมาโต 7% มีมูลค่าเพิ่มจาก 4 หมื่นล้านบาท เป็น 4.3 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม คาดว่าประเทศจีน อินเดีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพที่จะดำเนินธุรกิจขายตรง ล่าสุดในปีนี้ จีนกำลังเข้ามาเป็นสมาชิกสมาพันธ์การขายตรงโลก จากปัจจุบันมีสมาชิก82 ประเทศ
ทั้งนี้ใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ ธุรกิจขายตรงในจีนจะเป็นอันดับ 2 แทนที่ญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่า 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่จีนจะมีมูลค่าเพิ่มจาก 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นมากกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากพบว่าคนในประเทศจีน ในจำนวน 10 คน สนใจธุรกิจขายตรง 5 คน เมื่อเทียบกับไทย 2 ใน 10 คน สนใจทำธุรกิจขายตรง ส่วนอันดับ 1 ในปัจจุบันเป็นสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 33,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอันดับ 3 เป็นเยอรมัน ตามด้วย เกาหลี และประเทศที่มีการเติบโตของธุรกิจขายตรงอย่างต่อเนื่องได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
นายฮันท์ กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรมขายตรงนานาชาติจะพัฒนาก้าวกระโดด ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สมาคมขายแต่ละแห่งทั่วโลก การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ การความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค และกลุ่มเป้าหมาย และร่วมมือกันทำธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค ภายใต้และข้อบังคับจากทางภาครัฐ นอกจากนี้ ยังต้องปรับปรุงนโยบายการคืนเงินหลังการขาย ความโปร่งใส ของรายได้ของตัวแทนจำหน่าย การปฏิบัติตามกฎหมายในการบริโภคสินค้าของตัวแทนจำหน่าย และการควบคุมการส่งเสริมการขายของตัวแทนจำหน่าย
ปัจจุบัน ธุรกิจขายตรงทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทาย ทั้งจากผู้บริโภค ตลอดจนหน่วยงานที่ควบคุมดูแลกฎระเบียบ หรือกฎหมายขายตรง ทำให้ธุรกิจขายตรง ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม เช่น ปัญหาแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยหลากหลายรูปแบบ โดยพบว่า ในประเทศจีนมีปัญหาเกี่ยวกับการทำธุรกิจขายตรงแอบแฝงมากที่สุด
ดังนั้น ตั้งแต่ปี 45-49 ผู้ดำเนินธุรกิจขายตรงทั่วโลกใช้งบมูลค่า 332 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นถึง 85% ในการสนับสนุนด้านการทำตลาดอย่างรับผิดชอบสังคม ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อลบภาพลักษณ์ที่ดีในธุรกิจขายตรง
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ควบคุมธุรกิจขายตรงเป็นกฎหมายเดียวกับทางทวีปตะวันตก ซึ่งใช้คุ้มครองสำหรับกลุ่มผู้ที่มีจริยธรรม แต่สำหรับประเทศไทย จะต้องมีการผลักดันให้มี พ.ร.บ.ธุรกิจขาย ตรงออกมาควบคุม
นายทรูแมน ฮันท์ ประธานสมาพันธ์การขายตรงโลก World Federation of Direct Selling Associations (WFDSA) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัทนู สกิน เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด เปิดเผยในงานสัมมนา"เปิดยุทธศาสตร์ขายตรงโลกปี 2008" ว่า ภาพรวมธุรกิจขายตรงทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา มีการเติบโต 5-6% ขณะที่ในประเทศไทยเติบโต7-9% เมื่อเทียบกับธุรกิจค้าปลีกเติบโตถึง 2 เท่าตัว โดยปีที่ผ่านมาโต 7% มีมูลค่าเพิ่มจาก 4 หมื่นล้านบาท เป็น 4.3 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม คาดว่าประเทศจีน อินเดีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพที่จะดำเนินธุรกิจขายตรง ล่าสุดในปีนี้ จีนกำลังเข้ามาเป็นสมาชิกสมาพันธ์การขายตรงโลก จากปัจจุบันมีสมาชิก82 ประเทศ
ทั้งนี้ใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ ธุรกิจขายตรงในจีนจะเป็นอันดับ 2 แทนที่ญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่า 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่จีนจะมีมูลค่าเพิ่มจาก 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นมากกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากพบว่าคนในประเทศจีน ในจำนวน 10 คน สนใจธุรกิจขายตรง 5 คน เมื่อเทียบกับไทย 2 ใน 10 คน สนใจทำธุรกิจขายตรง ส่วนอันดับ 1 ในปัจจุบันเป็นสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 33,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอันดับ 3 เป็นเยอรมัน ตามด้วย เกาหลี และประเทศที่มีการเติบโตของธุรกิจขายตรงอย่างต่อเนื่องได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
นายฮันท์ กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรมขายตรงนานาชาติจะพัฒนาก้าวกระโดด ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สมาคมขายแต่ละแห่งทั่วโลก การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ การความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค และกลุ่มเป้าหมาย และร่วมมือกันทำธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค ภายใต้และข้อบังคับจากทางภาครัฐ นอกจากนี้ ยังต้องปรับปรุงนโยบายการคืนเงินหลังการขาย ความโปร่งใส ของรายได้ของตัวแทนจำหน่าย การปฏิบัติตามกฎหมายในการบริโภคสินค้าของตัวแทนจำหน่าย และการควบคุมการส่งเสริมการขายของตัวแทนจำหน่าย
ปัจจุบัน ธุรกิจขายตรงทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทาย ทั้งจากผู้บริโภค ตลอดจนหน่วยงานที่ควบคุมดูแลกฎระเบียบ หรือกฎหมายขายตรง ทำให้ธุรกิจขายตรง ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม เช่น ปัญหาแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยหลากหลายรูปแบบ โดยพบว่า ในประเทศจีนมีปัญหาเกี่ยวกับการทำธุรกิจขายตรงแอบแฝงมากที่สุด
ดังนั้น ตั้งแต่ปี 45-49 ผู้ดำเนินธุรกิจขายตรงทั่วโลกใช้งบมูลค่า 332 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นถึง 85% ในการสนับสนุนด้านการทำตลาดอย่างรับผิดชอบสังคม ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อลบภาพลักษณ์ที่ดีในธุรกิจขายตรง
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ควบคุมธุรกิจขายตรงเป็นกฎหมายเดียวกับทางทวีปตะวันตก ซึ่งใช้คุ้มครองสำหรับกลุ่มผู้ที่มีจริยธรรม แต่สำหรับประเทศไทย จะต้องมีการผลักดันให้มี พ.ร.บ.ธุรกิจขาย ตรงออกมาควบคุม