ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (6 มี.ค.) ทีมทนายผู้ได้รับมอบอำนาจ จาก พ.ต.ท. ทักษิณชิน วัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นำโดยนายฉัตรทิพย์ ตัณฑประศาสน์ ได้เดินทางเข้าแก้ข้อกล่าว หาแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ต่ออนุกรรมการไต่สวน คดีกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ใช้อำนาจหน้าที่ เอื้อประโยชน์ธุรกิจแต่ตัวเองและพวกพ้อง ร่ำรวยผิดปกติและได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรได้ พร้อมทั้งมอบเอกสารเล่มใหญ่ หนากว่า 1 พันหน้า โดย 200 หน้าแรกเป็นเอกสารแก้ข้อ กล่าวหา ส่วนที่เหลือเป็นเอกสารหลักฐานแนบประกอบคำแก้ข้อกล่าวหา
ทั้งนี้ในหนังสือแก้ข้อกล่าวหาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ระบุว่า ขอแก้ข้อกล่าวหา 3 ประเด็น คือ กรณียังคงไว้ซึ่งหุนในบริษัท ชินคอร์ปอรชั่น จำกัด (มหาชน) ใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ ธุรกิจสัมปทานของบริษัทชินคอร์ป และร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สิน มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่ง โดยมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร จำนวน 77,000 ล้านบาท ที่ได้มาจากการขายหุ้น และเงินปันผลของ หุ้น โดยยืนยันว่าได้กระทำการด้วยความสุจริตเปิดเผย ไม่ได้มีการ วางแผนเตรียมการกระทำความผิด ไม่มีเจตนาปกปิดหุ้น หรือใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ป เพราะในปี 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ ให้โอนขายหุ้นทั้งหมดให้บุคคลต่างๆ ก่อนการเลือกตั้ง ก่อนที่จะเข้ามาดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2544
“ในช่วงนั้นข้าพเจ้ายังไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ข้าพเจ้าจะไปรู้ ล่วงหน้าเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นและไม่มีความแน่นอน เพราะหากข้าพเจ้ารู้ล่วงหน้า จริง ข้าพเจ้าก็จะกลายเป็นผู้หยั่งรู้ล่วงหน้าและสามารถควบคุม เหตุการณ์ทั้งหมดที่จะเกิดล่วงหน้าได้” หนังสือแก้ข้อกล่าวหาระบุ
คำแก้ข้อกล่าวหาระบุด้วยว่า ในเรื่องการโอนขายหุ้น มีนิติกรรมที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย มีหลักฐานและเอกสารรองรับ ทั้งหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ คณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ กรม สรรพากร และ ป.ป.ช.ก็รองรับความถูกต้องว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคู่สมรส ได้โอนกรรมสิทธิ หุ้นจริงมาโดยตลอด โดยได้ปฎิบัติตามธรรมชาติเช่นเดียวกับมนุษย์ปุถุชนธรรมดาทั่วไปที่ ได้ปฏิบัติกับบุตรหลานและบุคคลในครอบครัว โดยไม่มีการโต้แย้งจากคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์ฯ หรือ กรมสรรพากร
ส่วนเรื่องที่อนุกรรมการไต่สวนกล่าวหากรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงเป็นผู้มีอำนาจ ในการลง นามเบิกถอนทรัพย์สินของบริษัท แอมเพิล ริช อินเวสเมนท์ แต่เพียงผู้เดียว ในหนังสือระบุว่า เนื่อจากไม่ได้เห็นเอกสารที่ คตส.ใช้กล่าวอ้าง แต่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการเปิดบัญชีทั่วไปกับธนาคารที่ทำมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ในปี 2543 ก่องลงสมัคร ส.ส. และก่อนที่จะเป็น นายกรัฐมนตรี ได้โอนขายหุ้นทั้งหมดไปแล้ว และหลังจากนั้นไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับบริษัทนี้อีกเลย จึงขอยืนยันว่าการตั้งบริษัท แอมเพิลริช เป็นไปด้วยความสุจริตเปิดเผย ส่วนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ใน บริษัท วินมาร์ค ก็ไม่ใช้หุ้น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคู่สมรส แต่เป็นไปได้ว่ามี ผู้ถือหุ้นคนอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นำไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นหาก ไปพบหุ้นชินคอร์ปในที่ไดจะไปทึกทักว่าเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคู่สมรสไม่ได้ การกล่าวหาของ คตส.เป็นการปะติดปะต่อเรื่องอย่างเคลือบคลุม ไม่เป็นความจริง
นอกจากนี้ในหนังสือยังปฏิเสธ ข้อกล่าวหาในเรื่องอำนาจรัฐ ถือว่า ไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บริหารราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คำนึงผลประโยชน์ของประเทศ ชาติและประชาชนเป็นสำคัญไม่เคยเบียดบังหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และไม่มีความจำ เป็นในการแก้ไขสัญญาสัมปทานเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งธุรกิจสื่อสารดาวเทียม เพราะการดำเนินการดังกล่าวมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง คือ ทศท.กสท.และ กทช.และ อยู่ภายในการดูแลของกระทรวงไอซีที โดยเฉพาะการแก้ไขสัญญาสัมปทานได้มีการพิจารณาจาก ครม. ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เป็นความรับผิดชอบทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ที่สำคัญศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
“ข้าพเจ้าและครอบไม่เคยกระทำผิดใดๆ ต่อกฎหมาย ไม่เคยหาประโยชน์มิชอบจากประเทศ ข้าพเจ้าบริหารราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต การที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาทั้งหมดเป็นการกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ข้าพเจ้าเชื่อว่า เป็นปัยหามาจาก เรื่องทางการเมืองเป็นสำคัญ ดัง นั้นจึงปฎิเสธข้อกล่าวทั้งหมด” หนังสือแก้ข้อกล่าวหาระบุ
ทั้งในหนังสือแก้ข้อกล่าวหาระบุว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ไม่มีผลบังคับใช้ทันทีหลังรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550 ประกาศใช้ และประกาศดังกล่าวยังขัดแย้งรับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ซึ่ง การต่ออายุของ คตส.หลังครบ 1 ปี ไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และขัดหลักนิติธรรม ตั้งบุคคลเป็นปฏิปักษ์และมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ ถูกกล่าวหาเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวน
ภายหลังการเข้ายื่นคำแก้ข้อกล่าวหา นาย ฉัตรทิพย์ เปิดเผยว่า การดำเนินการ ของ คตส. เป็น 2 มาตรฐานเมื่อเรียกเก็บภาษีจากลูก แต่ยังมาดำเนินการคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นที่ถูกเรียกเก็บภาษีไปแล้ว ทำให้เกิดความสับสนว่ามาตรฐานที่แท้จริงเป็นอย่างไร การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นให้ลูกในราคาต้นทุนเป็น เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักธุรกิจต้องการสอนลูกว่า ทุกอย่างมีต้นทุน ไม่ใช่ได้มาฟรีๆ แต่ เป็นต้นทุนของพ่อแม่ จึงสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ ทั้งที่ความจริงจะให้ฟรีก็ได้ ถือว่า คตส.มีความเข้าใจที่ไม่เข้าใจพื้นฐาน โดยเอาการซื้อขายหุ้นของคนที่ไม่รู้จักกันมาเทียบกับ การซื้อขายระหว่างพ่อกับลูก หรือคนในครอบครัว ทั้งที่การให้ลูกหรือคนในครอบครัวเป็นการให้โดยเสน่ห์หา ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานของคนทั่วไป คนอื่นเป็นคนนอกจะมารู้เป็นเจตนาได้อย่างไร
นายฉัตรทิพย์ กล่าวว่า ในการยื่นคำชี้แจงครั้งนี้ทีมทนายยังได้แนบบัญชีรายชื่อพยานบุคคล ที่เกี่ยวข้องจำนวน 100 ปากต่ออนุกรรมการไต่สวน อาทิ บอร์ด ทศท. บอร์ด กสท.กรรมการ ป.ป.ช.เรื่องการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ประธานสภา และประธานวุฒิ ในสมัยนั้น รวมถึง ส. ส.และส.ว.ที่ร่วมกันโหวตผ่านกฎหมาย เพื่อให้อนุกรรมการไต่สวนออกหมายเรียกให้มาให้ ถ้อยคำเพิ่มเติม
ทั้งนี้หากมีการขอตัดพยานคนสำคัญออกไปก็ต้องพิจารณาว่าสมเหตุสมผล หรือไม่ และขอให้สอบพยานเพิ่มไม่ใช่เป็นการประวิงเวลา เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการสอบพยานฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาแม้แต่รายเดียว
“ขอตั้งข้อสังเกตว่าการออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้อง แต่เหตุได 1 ปีที่ผ่านมา จึงยังไม่มีการยกเลิกใช้กฎหมายดังกล่าว แต่ยังมีการใช้กันอยู่จนถึง ปัจจุบัน ถ้าเอื้อประโยชน์จริงก็ยกเลิกไปเลยซิ”
ศาลปค.ไม่รับ “บรรณพจน์”ฟ้องคตส.
วันเดียวกันที่ศาลปกครองสูงสุด ได้มีการคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นตน ไม่รับคำฟ้องของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ฟ้อง คตส. กรณีออกคำสั่งอายัดทรัพย์สินของนายบรรณพจน์หลายฉบับ ด้วยเหตุผลว่า การแต่งตั้งและการดำเนินการของ คตส. เป็นไปตามกระบวนยุติธรรม ทางศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในขอบอำนาจของศาลปกครองแต่อย่างใด เป็นผลให้ทรัพย์สินของนายบรรณพจน์ ยังคงถูกอายัดต่อไปจนกว่ากระบวนการทางศาลจะถึงที่สุด
“คดีนี้มิใช่คดีพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางปกครองออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจกระทำการตามกระบวนดการยุติธรรมทางอาญาตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอปประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 30 ก.ย. 2549 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง จึงไม่อาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้ ที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย และเมื่อได้วินิจฉัยเช่นนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาคำขอให้มีคำสั่งทุเลาการบังคับเป็นการชั่วคราว” คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดระบุ
จี้ถามสรรพากรปล่อยภาษีบรรณพจน์หลุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วานนี้ (6 มี.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้ถามสดถาม รมว.คลังให้ชี้แจง ข้อเท็จจริงและความรับผิดชอบในความเสียหายในกรณีที่คณะกรรมการอุทธรณ์ ของกรมสรรพากรมีมติ 2ต่อ1ไม่เก็บภาษีจำนวน 546 ล้านบาท จากนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าคดีนี้หมดอายุความ ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวที่จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร และจะดำเนินการเรียกเก็บภาษีคืนได้อย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การกระทู้ถามของนายกรณ์ต้องเจออุปสรรค์เมื่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้วินิจฉัยว่าการตั้งคำถาม ขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อที่130(6) เนื่องจากเป็นการถามที่เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งทางกฎหมาย ทำให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นำโดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ชี้แจงว่า การตั้งกระทู้นี้ไม่ได้ขัดกับข้อบังคับเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ประกอบกับได้มีการบรรจุไว้ในวาระการประชุมแล้ว ดังนั้น ถือว่าพรรคฝ่ายค้านมีสิทธิ์ตั้งกระทู้ถามนี้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในที่สุดนายสมศักดิ์ก็อนุญาตให้นายกรณ์สามารถถามต่อ และให้รัฐมนตรีลุกขึ้นชี้แจง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ ของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่มีติ 2 ต่อ1ไปแล้วว่าคดีนี้หมดอายุความไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถเรียกประเมินภาษีได้ จึงมีมติให้ปลดภาษีของผู้ร้อง ซึ่งถือว่าการตัดสินของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงถือว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว เพราะฉะนั้นกรมสรรพากรจึงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้
อย่างไรก็ตามทันทีที่มีข่าวออกทางกระทรวงการคลังได้มีการตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และพบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ การรับโอนหุ้นในกรณี ไม่ได้มีการแสดงแบบรายการเสียภาษีประจำปี จึงเป็นเหตุให้ไม่มีเจ้าหน้าที่ กรมสรรพากรรับทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ทั้งนี้ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่า กรมสรรพากรจะดำเนินการในการจัดเก็บรายได้ตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทุกประการ
จากนั้น นายกรณ์ได้สอบถามถึงความคืบหน้าในการประเมิณภาษีใน2ส่วนที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งเรื่องให้กรมสรรพากรดำเนินการ ได้แก่ 1.ภาษีจากการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เม้นท์ จำกัด และ2.ในส่วนของนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร ซึ่งทั้ง 2กรณีมีภาระภาษีรวมกันกว่า 3 หมื่นล้านบาท ว่าทั้ง2กรณีมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง เพราะจนถึงขณะนี้ก็ไม่ปรากฏว่าจะเก็บได้หรือไม่ จึงอยากถามว่ากรมสรรพากรจะให้ความมั่นใจกับประชาชนอย่างไรในการดำเนินการตามเก็บภาษีทั้ง 2 กรณีนี้
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า กรณีของนายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษีในฐานะที่ตนกำกับดูแลจะดำเนินการ ให้ดีที่สุด และให้เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ส่วนกรณีของบริษัท แอมเพิลริช นั้นอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ สำหรับภาษี 500 กว่าล้านที่เสียหายไปแล้ว เพราะกรมสรรพากรไม่มีศักยภาพในการจัดเก็บ แต่ปีนี้จนถึงเดือนตุลาคมกรมสรรพากรจะสามารถเก็บภาษีได้เกินเป้า 8,000 กว่าล้านบาท และปีหน้าจะเก็บให้ได้มากกว่า หมื่นล้าน แต่กรณีนี้ได้หมดอายุความไปแล้ว กรมสรรพากรจึงไม่สามารถทำอะไรได้
ทั้งนี้ในหนังสือแก้ข้อกล่าวหาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ระบุว่า ขอแก้ข้อกล่าวหา 3 ประเด็น คือ กรณียังคงไว้ซึ่งหุนในบริษัท ชินคอร์ปอรชั่น จำกัด (มหาชน) ใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ ธุรกิจสัมปทานของบริษัทชินคอร์ป และร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สิน มาโดยไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่ง โดยมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควร จำนวน 77,000 ล้านบาท ที่ได้มาจากการขายหุ้น และเงินปันผลของ หุ้น โดยยืนยันว่าได้กระทำการด้วยความสุจริตเปิดเผย ไม่ได้มีการ วางแผนเตรียมการกระทำความผิด ไม่มีเจตนาปกปิดหุ้น หรือใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ป เพราะในปี 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ ให้โอนขายหุ้นทั้งหมดให้บุคคลต่างๆ ก่อนการเลือกตั้ง ก่อนที่จะเข้ามาดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2544
“ในช่วงนั้นข้าพเจ้ายังไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ข้าพเจ้าจะไปรู้ ล่วงหน้าเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นและไม่มีความแน่นอน เพราะหากข้าพเจ้ารู้ล่วงหน้า จริง ข้าพเจ้าก็จะกลายเป็นผู้หยั่งรู้ล่วงหน้าและสามารถควบคุม เหตุการณ์ทั้งหมดที่จะเกิดล่วงหน้าได้” หนังสือแก้ข้อกล่าวหาระบุ
คำแก้ข้อกล่าวหาระบุด้วยว่า ในเรื่องการโอนขายหุ้น มีนิติกรรมที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย มีหลักฐานและเอกสารรองรับ ทั้งหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ คณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ กรม สรรพากร และ ป.ป.ช.ก็รองรับความถูกต้องว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคู่สมรส ได้โอนกรรมสิทธิ หุ้นจริงมาโดยตลอด โดยได้ปฎิบัติตามธรรมชาติเช่นเดียวกับมนุษย์ปุถุชนธรรมดาทั่วไปที่ ได้ปฏิบัติกับบุตรหลานและบุคคลในครอบครัว โดยไม่มีการโต้แย้งจากคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์ฯ หรือ กรมสรรพากร
ส่วนเรื่องที่อนุกรรมการไต่สวนกล่าวหากรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงเป็นผู้มีอำนาจ ในการลง นามเบิกถอนทรัพย์สินของบริษัท แอมเพิล ริช อินเวสเมนท์ แต่เพียงผู้เดียว ในหนังสือระบุว่า เนื่อจากไม่ได้เห็นเอกสารที่ คตส.ใช้กล่าวอ้าง แต่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการเปิดบัญชีทั่วไปกับธนาคารที่ทำมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ในปี 2543 ก่องลงสมัคร ส.ส. และก่อนที่จะเป็น นายกรัฐมนตรี ได้โอนขายหุ้นทั้งหมดไปแล้ว และหลังจากนั้นไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับบริษัทนี้อีกเลย จึงขอยืนยันว่าการตั้งบริษัท แอมเพิลริช เป็นไปด้วยความสุจริตเปิดเผย ส่วนหุ้นบริษัท ชินคอร์ป ใน บริษัท วินมาร์ค ก็ไม่ใช้หุ้น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคู่สมรส แต่เป็นไปได้ว่ามี ผู้ถือหุ้นคนอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ นำไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นหาก ไปพบหุ้นชินคอร์ปในที่ไดจะไปทึกทักว่าเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคู่สมรสไม่ได้ การกล่าวหาของ คตส.เป็นการปะติดปะต่อเรื่องอย่างเคลือบคลุม ไม่เป็นความจริง
นอกจากนี้ในหนังสือยังปฏิเสธ ข้อกล่าวหาในเรื่องอำนาจรัฐ ถือว่า ไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ บริหารราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คำนึงผลประโยชน์ของประเทศ ชาติและประชาชนเป็นสำคัญไม่เคยเบียดบังหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และไม่มีความจำ เป็นในการแก้ไขสัญญาสัมปทานเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งธุรกิจสื่อสารดาวเทียม เพราะการดำเนินการดังกล่าวมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง คือ ทศท.กสท.และ กทช.และ อยู่ภายในการดูแลของกระทรวงไอซีที โดยเฉพาะการแก้ไขสัญญาสัมปทานได้มีการพิจารณาจาก ครม. ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เป็นความรับผิดชอบทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ที่สำคัญศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
“ข้าพเจ้าและครอบไม่เคยกระทำผิดใดๆ ต่อกฎหมาย ไม่เคยหาประโยชน์มิชอบจากประเทศ ข้าพเจ้าบริหารราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต การที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาทั้งหมดเป็นการกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ข้าพเจ้าเชื่อว่า เป็นปัยหามาจาก เรื่องทางการเมืองเป็นสำคัญ ดัง นั้นจึงปฎิเสธข้อกล่าวทั้งหมด” หนังสือแก้ข้อกล่าวหาระบุ
ทั้งในหนังสือแก้ข้อกล่าวหาระบุว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ไม่มีผลบังคับใช้ทันทีหลังรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550 ประกาศใช้ และประกาศดังกล่าวยังขัดแย้งรับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ซึ่ง การต่ออายุของ คตส.หลังครบ 1 ปี ไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และขัดหลักนิติธรรม ตั้งบุคคลเป็นปฏิปักษ์และมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ ถูกกล่าวหาเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวน
ภายหลังการเข้ายื่นคำแก้ข้อกล่าวหา นาย ฉัตรทิพย์ เปิดเผยว่า การดำเนินการ ของ คตส. เป็น 2 มาตรฐานเมื่อเรียกเก็บภาษีจากลูก แต่ยังมาดำเนินการคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นที่ถูกเรียกเก็บภาษีไปแล้ว ทำให้เกิดความสับสนว่ามาตรฐานที่แท้จริงเป็นอย่างไร การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นให้ลูกในราคาต้นทุนเป็น เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักธุรกิจต้องการสอนลูกว่า ทุกอย่างมีต้นทุน ไม่ใช่ได้มาฟรีๆ แต่ เป็นต้นทุนของพ่อแม่ จึงสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ ทั้งที่ความจริงจะให้ฟรีก็ได้ ถือว่า คตส.มีความเข้าใจที่ไม่เข้าใจพื้นฐาน โดยเอาการซื้อขายหุ้นของคนที่ไม่รู้จักกันมาเทียบกับ การซื้อขายระหว่างพ่อกับลูก หรือคนในครอบครัว ทั้งที่การให้ลูกหรือคนในครอบครัวเป็นการให้โดยเสน่ห์หา ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานของคนทั่วไป คนอื่นเป็นคนนอกจะมารู้เป็นเจตนาได้อย่างไร
นายฉัตรทิพย์ กล่าวว่า ในการยื่นคำชี้แจงครั้งนี้ทีมทนายยังได้แนบบัญชีรายชื่อพยานบุคคล ที่เกี่ยวข้องจำนวน 100 ปากต่ออนุกรรมการไต่สวน อาทิ บอร์ด ทศท. บอร์ด กสท.กรรมการ ป.ป.ช.เรื่องการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ประธานสภา และประธานวุฒิ ในสมัยนั้น รวมถึง ส. ส.และส.ว.ที่ร่วมกันโหวตผ่านกฎหมาย เพื่อให้อนุกรรมการไต่สวนออกหมายเรียกให้มาให้ ถ้อยคำเพิ่มเติม
ทั้งนี้หากมีการขอตัดพยานคนสำคัญออกไปก็ต้องพิจารณาว่าสมเหตุสมผล หรือไม่ และขอให้สอบพยานเพิ่มไม่ใช่เป็นการประวิงเวลา เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการสอบพยานฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาแม้แต่รายเดียว
“ขอตั้งข้อสังเกตว่าการออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้อง แต่เหตุได 1 ปีที่ผ่านมา จึงยังไม่มีการยกเลิกใช้กฎหมายดังกล่าว แต่ยังมีการใช้กันอยู่จนถึง ปัจจุบัน ถ้าเอื้อประโยชน์จริงก็ยกเลิกไปเลยซิ”
ศาลปค.ไม่รับ “บรรณพจน์”ฟ้องคตส.
วันเดียวกันที่ศาลปกครองสูงสุด ได้มีการคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นตน ไม่รับคำฟ้องของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ฟ้อง คตส. กรณีออกคำสั่งอายัดทรัพย์สินของนายบรรณพจน์หลายฉบับ ด้วยเหตุผลว่า การแต่งตั้งและการดำเนินการของ คตส. เป็นไปตามกระบวนยุติธรรม ทางศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในขอบอำนาจของศาลปกครองแต่อย่างใด เป็นผลให้ทรัพย์สินของนายบรรณพจน์ ยังคงถูกอายัดต่อไปจนกว่ากระบวนการทางศาลจะถึงที่สุด
“คดีนี้มิใช่คดีพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางปกครองออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจกระทำการตามกระบวนดการยุติธรรมทางอาญาตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอปประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 30 ก.ย. 2549 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง จึงไม่อาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้ ที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย และเมื่อได้วินิจฉัยเช่นนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาคำขอให้มีคำสั่งทุเลาการบังคับเป็นการชั่วคราว” คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุดระบุ
จี้ถามสรรพากรปล่อยภาษีบรรณพจน์หลุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วานนี้ (6 มี.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้ถามสดถาม รมว.คลังให้ชี้แจง ข้อเท็จจริงและความรับผิดชอบในความเสียหายในกรณีที่คณะกรรมการอุทธรณ์ ของกรมสรรพากรมีมติ 2ต่อ1ไม่เก็บภาษีจำนวน 546 ล้านบาท จากนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าคดีนี้หมดอายุความ ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวที่จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร และจะดำเนินการเรียกเก็บภาษีคืนได้อย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การกระทู้ถามของนายกรณ์ต้องเจออุปสรรค์เมื่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้วินิจฉัยว่าการตั้งคำถาม ขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อที่130(6) เนื่องจากเป็นการถามที่เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งทางกฎหมาย ทำให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นำโดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ชี้แจงว่า การตั้งกระทู้นี้ไม่ได้ขัดกับข้อบังคับเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ประกอบกับได้มีการบรรจุไว้ในวาระการประชุมแล้ว ดังนั้น ถือว่าพรรคฝ่ายค้านมีสิทธิ์ตั้งกระทู้ถามนี้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในที่สุดนายสมศักดิ์ก็อนุญาตให้นายกรณ์สามารถถามต่อ และให้รัฐมนตรีลุกขึ้นชี้แจง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ ของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่มีติ 2 ต่อ1ไปแล้วว่าคดีนี้หมดอายุความไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถเรียกประเมินภาษีได้ จึงมีมติให้ปลดภาษีของผู้ร้อง ซึ่งถือว่าการตัดสินของคณะกรรมการอุทธรณ์จึงถือว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว เพราะฉะนั้นกรมสรรพากรจึงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้
อย่างไรก็ตามทันทีที่มีข่าวออกทางกระทรวงการคลังได้มีการตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และพบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ การรับโอนหุ้นในกรณี ไม่ได้มีการแสดงแบบรายการเสียภาษีประจำปี จึงเป็นเหตุให้ไม่มีเจ้าหน้าที่ กรมสรรพากรรับทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ทั้งนี้ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่า กรมสรรพากรจะดำเนินการในการจัดเก็บรายได้ตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทุกประการ
จากนั้น นายกรณ์ได้สอบถามถึงความคืบหน้าในการประเมิณภาษีใน2ส่วนที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งเรื่องให้กรมสรรพากรดำเนินการ ได้แก่ 1.ภาษีจากการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เม้นท์ จำกัด และ2.ในส่วนของนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร ซึ่งทั้ง 2กรณีมีภาระภาษีรวมกันกว่า 3 หมื่นล้านบาท ว่าทั้ง2กรณีมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง เพราะจนถึงขณะนี้ก็ไม่ปรากฏว่าจะเก็บได้หรือไม่ จึงอยากถามว่ากรมสรรพากรจะให้ความมั่นใจกับประชาชนอย่างไรในการดำเนินการตามเก็บภาษีทั้ง 2 กรณีนี้
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า กรณีของนายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษีในฐานะที่ตนกำกับดูแลจะดำเนินการ ให้ดีที่สุด และให้เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ส่วนกรณีของบริษัท แอมเพิลริช นั้นอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ สำหรับภาษี 500 กว่าล้านที่เสียหายไปแล้ว เพราะกรมสรรพากรไม่มีศักยภาพในการจัดเก็บ แต่ปีนี้จนถึงเดือนตุลาคมกรมสรรพากรจะสามารถเก็บภาษีได้เกินเป้า 8,000 กว่าล้านบาท และปีหน้าจะเก็บให้ได้มากกว่า หมื่นล้าน แต่กรณีนี้ได้หมดอายุความไปแล้ว กรมสรรพากรจึงไม่สามารถทำอะไรได้