เชียงราย -ผู้ว่าฯเชียงรายเผยพบข้าวเปลือกตามโครงการรับจำนำข้าวหายเพิ่มอีก 4 พันตัน รวมเป็นกว่า 1.3 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 140 ล้านบาท พร้อมแฉเล่ห์นายทุน ร่วมมือกับ จนท.รัฐ ลอบนำข้าวออกขายกินส่วนต่าง ก่อนปล่อยให้เป็นคดีแล้วชดใช้เงินหลวง แต่ตัวนายทุน-ข้าราชการรอด
นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการตรวจสอบการจำนำข้าวเปลือกปี 2549-50 ซึ่งองค์การคลังสินค้า (อคส.) ได้นำไปฝากไว้กับโรงสีต่างๆในจังหวัดเชียงราย พบว่ามีข้าวเปลือกสูญหายไปจากโกดัง ห้างหุ้นส่วนข้าวไทยเชียงรายไรซ์มิลล์ จำกัด ตั้งอยู่บ้านป่าแดด ม.1 ต.ป่าแดด อ.ป่าแดด ซึ่งมี นายยศวีร์ ศิริคุณานันท์ อายุ 36 ปี เป็นเจ้าของกิจการ สูญหายไป 12,712,372 ตัน คิดเป็นมูลค่า 106,783,926 บาท
ล่าสุดยังพบอีกว่า ที่บริษัทโกลเด้นอาร์เวส ไรซ์มิลล์ จำกัด เลขที่ 61 หมู่ 2 ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย มีข้าวเปลือกหายไปจำนวน 4,043 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 32 ล้านบาท รวมมูลค่า 138,783,926 ล้านบาท จึงได้สั่งการด่วนให้เจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้าแจ้งความเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี รวมทั้งติดตามข้าวที่หายไปมาคืนให้ได้
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการค้าภายใน จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้าตรวจสอบโรงสีทุกแห่งใน จ.เชียงราย ว่าเกิดกรณีข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้ตามโครงการของรัฐ ได้สูญหายอีกหรือไม่ พร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการค้าภายใน จ.เชียงราย รายงานข้อมูลทุกอย่างให้โปร่งใส
นายปรีชา กล่าวว่า เบื้องต้นจากการสั่งตรวจสอบพบว่า ห้างหุ้นส่วนข้าวไทยเชียงรายไรซ์มิลล์ ยังมีสาขาอีกแห่งที่ อ.เทิง จ.เชียงราย แต่เมื่อตรวจสอบไปแล้วพบว่าปริมาณข้าว ที่รับจำนำไว้ยังอยู่ครบถ้วน ส่วนประเด็นที่ว่าจะมีการยักยอกนำข้าวไปขายตามตลาดภายนอกที่มีจำหน่ายสูงในปัจจุบัน กก.ละ 12 บาท ไม่อยากให้ความเห็นแต่มีความเป็นไปได้ ซึ่งจะได้เร่งรัดให้เจ้าของโกดังที่ข้าวหายไป รีบมาติดต่อดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งทั้งนี้อาจจะมีการชดใช้เงินตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาค้ำประกันก็ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนี้หากมีการนำเงินมาชำระตามสัญญาค้ำประกันที่เกวียนละ 9,000 บาท หรือต่อข้าวเปลือก 1 ตัน จะเป็นการแสวงหากำไร โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายหรือไม่ นายปรีชา กล่าวว่า ตามกฎหมายกำหนดหากมีกรณีข้าวสูญหายไป ผู้ค้ำประกันคือเจ้าของโกดัง ที่รับจำนำข้าวกับรัฐ ก็ต้องชดใช้ แต่จะชดใช้ตามราคาใดนั้น ขึ้นอยู่ในสัญญาเป็นหลัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหน้าโกดังห้างหุ้นส่วนข้าวไทยเชียงรายไรซ์มิลล์ จำกัด ที่ อ.ป่าแดด ปรากฏว่ามีการปิดรั้วทางเข้าด้านหน้า โดยมีกลุ่มชายฉกรรจ์ ประมาณ 5-6 คน กระจายกันคุมเชิงในโรงสี แต่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไป แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่จากบางหน่วยงานที่เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ ขณะที่นายยศวีร์ ศิริคุณานันท์ อายุ 36 ปี เจ้าของกิจการ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ด้วย
ส่วนที่โกดังบริษัทโกลเด้นอาร์เวสไรซ์มิลล์ จำกัด ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย พบว่ายังเปิดดำเนินการอยู่ แต่ค่อนข้างเงียบ มีเพียงยามเฝ้าหน้าประตูเท่านั้น นอกจากนี้จากการสังเกตเข้าไปที่โกดัง พบว่ามีกองข้าวหลงเหลือบางส่วน ซึ่งทั้ง 2 ราย พนักงานสอบสวนยังไม่ได้ออกหมายเรียกตัวเจ้าของกิจการ มาสอบสวนปากคำทั้งสิ้น
ด้านแหล่งข่าวผู้ค้าส่งข้าวรายใหญ่ใน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ยอมรับว่าในพื้นที่ จ.เชียงราย มีขบวนการยักยอกข้าวที่มีการรับจำนำกับรัฐไปขายอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายทุนจากนอกพื้นที่ เชื่อมโยงกลุ่มนักการเมือง เข้ามาจัดตั้งโกดังหรือไซโลในพื้นที่เชียงราย มีการจัดตั้งบริษัทลูกหรือสาขาย่อย ออกไปในหลายอำเภอ เพื่อแชร์ปริมาณการรับจำนำข้าวจากภาครัฐมาไว้ในมือให้มากที่สุด
กลุ่มขบวนการพวกนี้ จะอาศัยช่องโหว่กฎหมายทำการยักยอกข้าวเปลือกไปจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ โดยใช้ 2 เส้นทาง คือ หากจะส่งไปจีน ด้วยวิธีการถูกกฎหมาย ก็ต้องผ่านทางพิธีการศุลกากรที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก วิธีการนี้ คือ ข้าวเปลือกที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในทางตรงข้ามกรณีเป็นข้าวที่ถูกยักยอกออกมาจากโกดัง ก็จะต้องใช้วิธีการเถื่อนขนย้ายผ่านประเทศที่ 2 บริเวณชายแดนติดต่อประเทศ สปป.ลาว ก่อนยักย้ายขนถ่ายไปสู่ประเทศจีนตามลำดับ
ในกรณีข้าวที่มีการยักยอกออกมาหากขายในประเทศก็ดี หรือส่งออกไปนอกประเทศก็ตาม จะมีราคาซื้อขายสูงขึ้น เรียกได้ว่ากำไรล็อตนี้ไม่ต่ำกว่า 30-40 ล้านบาท แต่ถ้าเรื่องแดงขึ้นมา ทางเจ้าหน้าที่ อคส.ก็จะไปแจ้งความตามพื้นที่เกิดเหตุ หลังจากนั้นเจ้าของกิจการ ก็จะนำเงินตามสัญญาค้ำประกัน มาชดใช้ให้ อคส.
ในส่วนนี้จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในโครงการ ร่วมรู้เห็นด้วย เมื่อทุกอย่างลงตัว รูปคดีก็จะจบ โดยที่เจ้าของโกดังไม่ต้องติดตะราง ส่วนเจ้าหน้าที่ก็สามารถนำเงินทุกบาทกลับคืนหลวงได้ นับเป็นวิธีการนำช่องโหว่กฎหมายมาแสวงหาผลกำไรมหาศาล จึงทำให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่ จ.เชียงราย
นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการตรวจสอบการจำนำข้าวเปลือกปี 2549-50 ซึ่งองค์การคลังสินค้า (อคส.) ได้นำไปฝากไว้กับโรงสีต่างๆในจังหวัดเชียงราย พบว่ามีข้าวเปลือกสูญหายไปจากโกดัง ห้างหุ้นส่วนข้าวไทยเชียงรายไรซ์มิลล์ จำกัด ตั้งอยู่บ้านป่าแดด ม.1 ต.ป่าแดด อ.ป่าแดด ซึ่งมี นายยศวีร์ ศิริคุณานันท์ อายุ 36 ปี เป็นเจ้าของกิจการ สูญหายไป 12,712,372 ตัน คิดเป็นมูลค่า 106,783,926 บาท
ล่าสุดยังพบอีกว่า ที่บริษัทโกลเด้นอาร์เวส ไรซ์มิลล์ จำกัด เลขที่ 61 หมู่ 2 ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย มีข้าวเปลือกหายไปจำนวน 4,043 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 32 ล้านบาท รวมมูลค่า 138,783,926 ล้านบาท จึงได้สั่งการด่วนให้เจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้าแจ้งความเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี รวมทั้งติดตามข้าวที่หายไปมาคืนให้ได้
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการค้าภายใน จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เข้าตรวจสอบโรงสีทุกแห่งใน จ.เชียงราย ว่าเกิดกรณีข้าวเปลือกที่รับจำนำไว้ตามโครงการของรัฐ ได้สูญหายอีกหรือไม่ พร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการค้าภายใน จ.เชียงราย รายงานข้อมูลทุกอย่างให้โปร่งใส
นายปรีชา กล่าวว่า เบื้องต้นจากการสั่งตรวจสอบพบว่า ห้างหุ้นส่วนข้าวไทยเชียงรายไรซ์มิลล์ ยังมีสาขาอีกแห่งที่ อ.เทิง จ.เชียงราย แต่เมื่อตรวจสอบไปแล้วพบว่าปริมาณข้าว ที่รับจำนำไว้ยังอยู่ครบถ้วน ส่วนประเด็นที่ว่าจะมีการยักยอกนำข้าวไปขายตามตลาดภายนอกที่มีจำหน่ายสูงในปัจจุบัน กก.ละ 12 บาท ไม่อยากให้ความเห็นแต่มีความเป็นไปได้ ซึ่งจะได้เร่งรัดให้เจ้าของโกดังที่ข้าวหายไป รีบมาติดต่อดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งทั้งนี้อาจจะมีการชดใช้เงินตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาค้ำประกันก็ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนี้หากมีการนำเงินมาชำระตามสัญญาค้ำประกันที่เกวียนละ 9,000 บาท หรือต่อข้าวเปลือก 1 ตัน จะเป็นการแสวงหากำไร โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายหรือไม่ นายปรีชา กล่าวว่า ตามกฎหมายกำหนดหากมีกรณีข้าวสูญหายไป ผู้ค้ำประกันคือเจ้าของโกดัง ที่รับจำนำข้าวกับรัฐ ก็ต้องชดใช้ แต่จะชดใช้ตามราคาใดนั้น ขึ้นอยู่ในสัญญาเป็นหลัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหน้าโกดังห้างหุ้นส่วนข้าวไทยเชียงรายไรซ์มิลล์ จำกัด ที่ อ.ป่าแดด ปรากฏว่ามีการปิดรั้วทางเข้าด้านหน้า โดยมีกลุ่มชายฉกรรจ์ ประมาณ 5-6 คน กระจายกันคุมเชิงในโรงสี แต่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไป แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่จากบางหน่วยงานที่เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ ขณะที่นายยศวีร์ ศิริคุณานันท์ อายุ 36 ปี เจ้าของกิจการ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ด้วย
ส่วนที่โกดังบริษัทโกลเด้นอาร์เวสไรซ์มิลล์ จำกัด ต.ท่าสาย อ.เมืองเชียงราย พบว่ายังเปิดดำเนินการอยู่ แต่ค่อนข้างเงียบ มีเพียงยามเฝ้าหน้าประตูเท่านั้น นอกจากนี้จากการสังเกตเข้าไปที่โกดัง พบว่ามีกองข้าวหลงเหลือบางส่วน ซึ่งทั้ง 2 ราย พนักงานสอบสวนยังไม่ได้ออกหมายเรียกตัวเจ้าของกิจการ มาสอบสวนปากคำทั้งสิ้น
ด้านแหล่งข่าวผู้ค้าส่งข้าวรายใหญ่ใน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ยอมรับว่าในพื้นที่ จ.เชียงราย มีขบวนการยักยอกข้าวที่มีการรับจำนำกับรัฐไปขายอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายทุนจากนอกพื้นที่ เชื่อมโยงกลุ่มนักการเมือง เข้ามาจัดตั้งโกดังหรือไซโลในพื้นที่เชียงราย มีการจัดตั้งบริษัทลูกหรือสาขาย่อย ออกไปในหลายอำเภอ เพื่อแชร์ปริมาณการรับจำนำข้าวจากภาครัฐมาไว้ในมือให้มากที่สุด
กลุ่มขบวนการพวกนี้ จะอาศัยช่องโหว่กฎหมายทำการยักยอกข้าวเปลือกไปจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ โดยใช้ 2 เส้นทาง คือ หากจะส่งไปจีน ด้วยวิธีการถูกกฎหมาย ก็ต้องผ่านทางพิธีการศุลกากรที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก วิธีการนี้ คือ ข้าวเปลือกที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในทางตรงข้ามกรณีเป็นข้าวที่ถูกยักยอกออกมาจากโกดัง ก็จะต้องใช้วิธีการเถื่อนขนย้ายผ่านประเทศที่ 2 บริเวณชายแดนติดต่อประเทศ สปป.ลาว ก่อนยักย้ายขนถ่ายไปสู่ประเทศจีนตามลำดับ
ในกรณีข้าวที่มีการยักยอกออกมาหากขายในประเทศก็ดี หรือส่งออกไปนอกประเทศก็ตาม จะมีราคาซื้อขายสูงขึ้น เรียกได้ว่ากำไรล็อตนี้ไม่ต่ำกว่า 30-40 ล้านบาท แต่ถ้าเรื่องแดงขึ้นมา ทางเจ้าหน้าที่ อคส.ก็จะไปแจ้งความตามพื้นที่เกิดเหตุ หลังจากนั้นเจ้าของกิจการ ก็จะนำเงินตามสัญญาค้ำประกัน มาชดใช้ให้ อคส.
ในส่วนนี้จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในโครงการ ร่วมรู้เห็นด้วย เมื่อทุกอย่างลงตัว รูปคดีก็จะจบ โดยที่เจ้าของโกดังไม่ต้องติดตะราง ส่วนเจ้าหน้าที่ก็สามารถนำเงินทุกบาทกลับคืนหลวงได้ นับเป็นวิธีการนำช่องโหว่กฎหมายมาแสวงหาผลกำไรมหาศาล จึงทำให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่ จ.เชียงราย