ผู้จัดการรายวัน - เมืองไทยประกันภัยและภัทรประกันภัย โชว์ผลประกอบการปี 50 เบี้ยประกันภัยโต 16 % คิดเป็นเบี้ยรวมกว่า 3,800 ล้านบาท เผยคณะทำงานเร่งปิดดีลควบรวมใกล้เสร็จก่อนประกาศความพร้อมก้าวสู่บริษัทประกันวินาศภัยในระดับแนวหน้าของประเทศ
นางกฤตยา ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2550 ว่า บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 1,611 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของลูกค้ารายย่อยในช่องทาง Bancassurance และ Telemarketing สำหรับในด้านผลกำไรนั้น บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิจำนวน 239 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนสูงถึง 51 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ27 และมีรายได้สุทธิจากการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 หรือคิดเป็น 242 ล้านบาท
นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด กล่าวว่า ในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นปีแห่งความสำเร็จของบริษัทฯ ด้วยผลการดำเนินงานเบี้ยประกันภัยรับที่เติบโตสูงถึงร้อยละ 16 คิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับรวม 2,194 ล้านบาท เป็นผลมาจากการขยายฐานลูกค้ารายใหม่ ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกในกลุ่มรถยนต์อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง จึงมีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรถยนต์เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70 สำหรับผลกำไรนั้นบริษัทฯ มีกำไรสุทธิหลังหักภาษีจำนวน 76.2 ล้านบาท จากการตั้งยอดเงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้เพิ่มขึ้นถึง 266.8 ล้านบาท ในปี 2550
สำหรับความคืบหน้าในเรื่องการจับมือเพื่อผนึกกำลังควบรวมกิจการของทั้ง 2 บริษัทฯ “เมืองไทยประกันภัย และภัทรประกันภัย” นั้น ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของคณะทำงาน ซึ่งทุกอย่างใกล้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ โดยขั้นตอนการควบรวมกิจการนั้นได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (“พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย”) และประกาศกรมการประกันภัย หรือคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (“ค.ป.ภ.”)
โดยเฉพาะ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย ซึ่งเป็นบทกฎหมายใหม่ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 กำหนดให้ในการควบกัน ต้องได้รับความเห็นชอบโครงการแสดงรายละเอียดการดำเนินงาน (“โครงการดำเนินการควบบริษัท”) จากค.ป.ภ. และการควบบริษัท จะมีผลสมบูรณ์เมื่อบริษัทที่จะควบกันได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ค.ป.ภ. กำหนดแล้ว ซึ่งขณะนี้ ทั้ง 2 บริษัทได้ดำเนินการยื่นโครงการดำเนินการควบบริษัทแล้ว เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ ค.ป.ภ. พร้อมกันนี้บริษัทได้ยื่นหนังสือขอหารือกับกรมสรรพากรในประเด็นภาษีเกี่ยวกับการควบบริษัทต่อกรมสรรพากรแล้ว คาดว่าทั้งสองหน่วยงานจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2551 แต่หากผลการพิจารณาดำเนินการได้เสร็จสิ้นก่อน 6 เดือน บริษัทใหม่ก็สามารถจดทะเบียนจัดตั้งและดำเนินกิจการได้ทันที
"จากแผนการดำเนินธุรกิจหลังการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เอาประกัน ลูกค้า และคู่ค้าทุกราย ด้วยบริษัทใหม่นี้จะมีฐานเบี้ยประกันภัยที่หลากหลายและครอบคลุม ซึ่งสามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่ม พร้อมกันนี้ยังมั่นใจว่าจะก้าวขึ้นสู่บริษัทประกันวินาศภัยในระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้" นางนวลพรรณกล่าว.
นางกฤตยา ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2550 ว่า บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 1,611 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของลูกค้ารายย่อยในช่องทาง Bancassurance และ Telemarketing สำหรับในด้านผลกำไรนั้น บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิจำนวน 239 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนสูงถึง 51 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ27 และมีรายได้สุทธิจากการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 หรือคิดเป็น 242 ล้านบาท
นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด กล่าวว่า ในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นปีแห่งความสำเร็จของบริษัทฯ ด้วยผลการดำเนินงานเบี้ยประกันภัยรับที่เติบโตสูงถึงร้อยละ 16 คิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับรวม 2,194 ล้านบาท เป็นผลมาจากการขยายฐานลูกค้ารายใหม่ ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกในกลุ่มรถยนต์อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง จึงมีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรถยนต์เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70 สำหรับผลกำไรนั้นบริษัทฯ มีกำไรสุทธิหลังหักภาษีจำนวน 76.2 ล้านบาท จากการตั้งยอดเงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้เพิ่มขึ้นถึง 266.8 ล้านบาท ในปี 2550
สำหรับความคืบหน้าในเรื่องการจับมือเพื่อผนึกกำลังควบรวมกิจการของทั้ง 2 บริษัทฯ “เมืองไทยประกันภัย และภัทรประกันภัย” นั้น ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของคณะทำงาน ซึ่งทุกอย่างใกล้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ โดยขั้นตอนการควบรวมกิจการนั้นได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (“พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย”) และประกาศกรมการประกันภัย หรือคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (“ค.ป.ภ.”)
โดยเฉพาะ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย ซึ่งเป็นบทกฎหมายใหม่ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 กำหนดให้ในการควบกัน ต้องได้รับความเห็นชอบโครงการแสดงรายละเอียดการดำเนินงาน (“โครงการดำเนินการควบบริษัท”) จากค.ป.ภ. และการควบบริษัท จะมีผลสมบูรณ์เมื่อบริษัทที่จะควบกันได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ค.ป.ภ. กำหนดแล้ว ซึ่งขณะนี้ ทั้ง 2 บริษัทได้ดำเนินการยื่นโครงการดำเนินการควบบริษัทแล้ว เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ ค.ป.ภ. พร้อมกันนี้บริษัทได้ยื่นหนังสือขอหารือกับกรมสรรพากรในประเด็นภาษีเกี่ยวกับการควบบริษัทต่อกรมสรรพากรแล้ว คาดว่าทั้งสองหน่วยงานจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2551 แต่หากผลการพิจารณาดำเนินการได้เสร็จสิ้นก่อน 6 เดือน บริษัทใหม่ก็สามารถจดทะเบียนจัดตั้งและดำเนินกิจการได้ทันที
"จากแผนการดำเนินธุรกิจหลังการควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เอาประกัน ลูกค้า และคู่ค้าทุกราย ด้วยบริษัทใหม่นี้จะมีฐานเบี้ยประกันภัยที่หลากหลายและครอบคลุม ซึ่งสามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่ม พร้อมกันนี้ยังมั่นใจว่าจะก้าวขึ้นสู่บริษัทประกันวินาศภัยในระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้" นางนวลพรรณกล่าว.