ผู้จัดการรายวัน - “กลุ่มจีเอ็มเอ็ม” โชว์ผลประกอบการปี 50 มีรายได้รวม 7,317.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% ขณะที่มีกำไรสุทธิ 502.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 141% รับอานิสงค์จากการปรับโมเดลหารายได้ใหม่เป็น Total Music Business ดันเพลงซึ่งเป็นธุรกิจหลักเติบโตสูง เพราะสามารถทำรายได้จากหลายช่องทาง
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการปี 2550 ว่า กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่มีรายได้รวม 7,317.3 ล้านบาท สูงกว่าปี 2549 เป็นจำนวน 890 ล้านบาท หรือ 14% และมีกำไรสุทธิ 502.2 ล้านบาท สูงกว่าปี 2549 เป็นจำนวน 293.4 ล้านบาท หรือ 141%
โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายได้ธุรกิจเพลงมีจำนวน 3,534 ล้านบาท เติบโต 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) โอกาสทางการตลาดสูง ทั้งในส่วนของผู้บริโภคโดยตรงที่ฟังเพลงได้มากขึ้น เพราะเทคโนโลยีทันสมัยทำให้เสพเพลงได้หลายช่องทาง และในส่วนภาคธุรกิจซึ่งเพลงกลายเป็นอาวุธทางการตลาดที่สำคัญ 2) ความพร้อมเหนือคู่แข่ง ทั้งการมีรูปแบบการทำธุรกิจเพลงครบถ้วน และการมีคลังคอนเทนต์ใหญ่ที่สุด และ 3) การปรับโมเดลหารายได้ใหม่เป็น Total Music Business คือ Singing, Listening & Watching Marketing, Segment Marketing และ Subsidize Marketing เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคและความต้องการคู่ค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจขายแผ่นซีดี วีซีดี ดีวีดี และลิขสิทธิ์เพลง (Physical Product) ใกล้เคียงกับปี 2549 ขณะที่ธุรกิจดิจิตอล ธุรกิจบริหารศิลปิน และธุรกิจโชว์บิซเติบโตดีมาก มีกำไรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนน้อยกว่าธุรกิจขายฟิซิคอล โปรดักส์
สำหรับรายได้จากธุรกิจภาพยนตร์มีจำนวน 141 ล้านบาท จากภาพยนตร์ทั้งหมด 5 เรื่อง เติบโตขึ้น 54% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นทำหนังคุณภาพใน 3 ตลาดสำคัญ ได้แก่ หนังรัก หนังสยองขวัญ และหนังตลกสำหรับตลาดบน ทำให้มีรายได้เฉลี่ยต่อเรื่องมีสัดส่วนสูงเป็นอันดับ 2 ของตลาดหนังไทย (ทั้งนี้ ไม่รวมรายได้ของ “พร้อมมิตรภาพยนตร์” ซึ่งเป็นผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง “พระนเรศวรมหาราช”)” อีกทั้งยังทำให้สามารถทำรายได้จากหลายช่อง อาทิ รายได้จากการขายลิขสิทธิ์หนังสยองขวัญในต่างประเทศเป็นที่น่าพอใจ, รายได้จากการขายเพลงประกอบภาพยนตร์ ทั้งในรูปแบบการดาวน์โหลดขายเป็นอัลบั้ม และการทำคอนเสิร์ต โดยเฉพาะรายได้จากการขายเพลงประกอบหนังรักเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน
ส่วนรายได้จากธุรกิจสื่อมีจำนวน 533 ล้านบาท เติบโต 22% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีธุรกิจทีวีและธุรกิจอีเวนต์เป็นดาวเด่น ซึ่งในส่วนของธุรกิจทีวีเป็นผลมาจากความโดดเด่นของละครจบในตอนที่ได้รับความนิยมตลอดมา ตลอดจนละครหลังข่าวที่มีเนื้อหาน่าติดตาม และรายการวาไรตี้ และเกมโชว์ ซึ่งเน้นเจาะตลาดวัยรุ่นที่เป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของผู้ชมทีวี ขณะที่ในส่วนของธุรกิจอีเวนต์เป็นผลมาจากส่วนใหญ่เริ่มเข้ามามากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เพราะภาวะการเมืองและเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้น
****************************
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการปี 2550 ว่า กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่มีรายได้รวม 7,317.3 ล้านบาท สูงกว่าปี 2549 เป็นจำนวน 890 ล้านบาท หรือ 14% และมีกำไรสุทธิ 502.2 ล้านบาท สูงกว่าปี 2549 เป็นจำนวน 293.4 ล้านบาท หรือ 141%
โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายได้ธุรกิจเพลงมีจำนวน 3,534 ล้านบาท เติบโต 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) โอกาสทางการตลาดสูง ทั้งในส่วนของผู้บริโภคโดยตรงที่ฟังเพลงได้มากขึ้น เพราะเทคโนโลยีทันสมัยทำให้เสพเพลงได้หลายช่องทาง และในส่วนภาคธุรกิจซึ่งเพลงกลายเป็นอาวุธทางการตลาดที่สำคัญ 2) ความพร้อมเหนือคู่แข่ง ทั้งการมีรูปแบบการทำธุรกิจเพลงครบถ้วน และการมีคลังคอนเทนต์ใหญ่ที่สุด และ 3) การปรับโมเดลหารายได้ใหม่เป็น Total Music Business คือ Singing, Listening & Watching Marketing, Segment Marketing และ Subsidize Marketing เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคและความต้องการคู่ค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจขายแผ่นซีดี วีซีดี ดีวีดี และลิขสิทธิ์เพลง (Physical Product) ใกล้เคียงกับปี 2549 ขณะที่ธุรกิจดิจิตอล ธุรกิจบริหารศิลปิน และธุรกิจโชว์บิซเติบโตดีมาก มีกำไรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนน้อยกว่าธุรกิจขายฟิซิคอล โปรดักส์
สำหรับรายได้จากธุรกิจภาพยนตร์มีจำนวน 141 ล้านบาท จากภาพยนตร์ทั้งหมด 5 เรื่อง เติบโตขึ้น 54% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการเน้นทำหนังคุณภาพใน 3 ตลาดสำคัญ ได้แก่ หนังรัก หนังสยองขวัญ และหนังตลกสำหรับตลาดบน ทำให้มีรายได้เฉลี่ยต่อเรื่องมีสัดส่วนสูงเป็นอันดับ 2 ของตลาดหนังไทย (ทั้งนี้ ไม่รวมรายได้ของ “พร้อมมิตรภาพยนตร์” ซึ่งเป็นผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง “พระนเรศวรมหาราช”)” อีกทั้งยังทำให้สามารถทำรายได้จากหลายช่อง อาทิ รายได้จากการขายลิขสิทธิ์หนังสยองขวัญในต่างประเทศเป็นที่น่าพอใจ, รายได้จากการขายเพลงประกอบภาพยนตร์ ทั้งในรูปแบบการดาวน์โหลดขายเป็นอัลบั้ม และการทำคอนเสิร์ต โดยเฉพาะรายได้จากการขายเพลงประกอบหนังรักเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน
ส่วนรายได้จากธุรกิจสื่อมีจำนวน 533 ล้านบาท เติบโต 22% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีธุรกิจทีวีและธุรกิจอีเวนต์เป็นดาวเด่น ซึ่งในส่วนของธุรกิจทีวีเป็นผลมาจากความโดดเด่นของละครจบในตอนที่ได้รับความนิยมตลอดมา ตลอดจนละครหลังข่าวที่มีเนื้อหาน่าติดตาม และรายการวาไรตี้ และเกมโชว์ ซึ่งเน้นเจาะตลาดวัยรุ่นที่เป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของผู้ชมทีวี ขณะที่ในส่วนของธุรกิจอีเวนต์เป็นผลมาจากส่วนใหญ่เริ่มเข้ามามากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เพราะภาวะการเมืองและเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้น
****************************