เอเอฟพี - โก๊ะจ๊กตง รัฐมนตรีอาวุโสแห่งสิงคโปร์ เรียกร้องเมื่อวันพฤหัสบดี(21) ให้จัดลำดับโครงสร้างอำนาจและสถาบันในเวทีโลกเสียใหม่ และขอให้ชาติตะวันตกเปิดโอกาสให้มหาอำนาจจากเอเชียมีส่วนร่วมในระเบียบระหว่างประเทศมากขึ้น
โก๊ะระบุว่า สถาบันและพิธีปฏิบัติระหว่างประเทศในแบบที่เป็นอยู่ ไม่ได้สะท้อนการกระจายตัวของอำนาจในโลกอย่างแท้จริงอีกต่อไปแล้ว และไม่เท่าทันปัญหาท้าทายของโลก รวมถึงไม่เท่าทันความทะเยอทะยานของมหาอำนาจที่กำลังผงาดขึ้นมา
"ในขณะที่เอเชียเติบโตขึ้น การจัดลำดับโครงสร้างอำนาจและสถาบันทั่วโลกเสียใหม่ จึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาพการณ์ที่เป็นอยู่จึงต้องเปลี่ยนแปลง" เขากล่าวในที่ประชุมเรื่องความเป็นผู้นำของทวีปเอเชีย ที่กรุงโซล เกาหลีใต้
"ไม่ว่าชาติตะวันตกจะชอบหรือไม่ก็ตาม เอเชียจะเสาะแสวงหาอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และแม้แต่วัฒนธรรม ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจของทวีปที่เติบโตขึ้น" โก๊ะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแดนลอดช่องตั้งแต่ปี 1990-2004 กล่าว
เขาชี้ให้เห็นว่า ส่วนร่วมของเอเชียในจีดีพีโลก เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว นับตั้งแต่ปี 1980 ขึ้นไปอยู่ที่ 36% ตัวเลขนี้จะเพิ่มไปถึง 45% ภายในปี 2020 เขากล่าว โดยอ้างตัวเลขประมาณการจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)
ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ขยายตัวในอัตราเฉลี่ย 7.5% ต่อปี คิดเป็น 2 เท่าของอัตราเฉลี่ยทั่วโลก และในอีก 20 ปีข้างหน้า เอเชียก็น่าจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้ที่ระหว่าง 4-6% ต่อปี โก๊ะบอก
"สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติชุดปัจจุบัน จำเป็นต้องยอมรับความจริงที่ว่า การเพิ่มมหาอำนาจหน้าใหม่...จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพระหว่างประเทศ และเพิ่มความชอบธรรมในการดำรงอยู่ขององค์การสหประชาชาติ" โก๊ะกล่าว
"ในทำนองเดียวกัน ลองยกอีกหนึ่งตัวอย่าง ว่าทำไมสถาบันการเงินระหว่างประเทศอย่าง ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก จึงให้แต่ตัวแทนจากยุโรปและอเมริกาเป็นผู้บริหารล่ะ"
ชาติตะวันตกไม่ควรตอบโต้การผงาดขึ้นมาของเอเชียด้วยการปกป้องตัวเองหรือความหวาดกลัว และเขายังบอกด้วยว่า "การเปลี่ยนจากสถานะเดิม ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า ระหว่างเอเชียและยุโรปจะเป็นเกมที่ผู้ชนะได้แต้มเพียงคนเดียว แล้วผู้เล่นคนอื่นไม่ได้อะไรเลย"
"ผมมองว่าโครงสร้างใหม่ของโลกจะมีศูนย์กลางอำนาจหลายแห่งซึ่งมีความใกล้ชิดและเท่าเทียมกันจริงๆ โดยเอเชียมีบทบาทที่เท่าเทียมกับสหรัฐฯและยุโรป ในการก่อร่างสถาบันและบรรทัดฐานระหว่างประเทศ และแบ่งปันความรับผิดชอบในการจัดการปัญหาท้าทายของโลก"
โก๊ะระบุว่า สถาบันและพิธีปฏิบัติระหว่างประเทศในแบบที่เป็นอยู่ ไม่ได้สะท้อนการกระจายตัวของอำนาจในโลกอย่างแท้จริงอีกต่อไปแล้ว และไม่เท่าทันปัญหาท้าทายของโลก รวมถึงไม่เท่าทันความทะเยอทะยานของมหาอำนาจที่กำลังผงาดขึ้นมา
"ในขณะที่เอเชียเติบโตขึ้น การจัดลำดับโครงสร้างอำนาจและสถาบันทั่วโลกเสียใหม่ จึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาพการณ์ที่เป็นอยู่จึงต้องเปลี่ยนแปลง" เขากล่าวในที่ประชุมเรื่องความเป็นผู้นำของทวีปเอเชีย ที่กรุงโซล เกาหลีใต้
"ไม่ว่าชาติตะวันตกจะชอบหรือไม่ก็ตาม เอเชียจะเสาะแสวงหาอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และแม้แต่วัฒนธรรม ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจของทวีปที่เติบโตขึ้น" โก๊ะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแดนลอดช่องตั้งแต่ปี 1990-2004 กล่าว
เขาชี้ให้เห็นว่า ส่วนร่วมของเอเชียในจีดีพีโลก เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว นับตั้งแต่ปี 1980 ขึ้นไปอยู่ที่ 36% ตัวเลขนี้จะเพิ่มไปถึง 45% ภายในปี 2020 เขากล่าว โดยอ้างตัวเลขประมาณการจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)
ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ขยายตัวในอัตราเฉลี่ย 7.5% ต่อปี คิดเป็น 2 เท่าของอัตราเฉลี่ยทั่วโลก และในอีก 20 ปีข้างหน้า เอเชียก็น่าจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้ที่ระหว่าง 4-6% ต่อปี โก๊ะบอก
"สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติชุดปัจจุบัน จำเป็นต้องยอมรับความจริงที่ว่า การเพิ่มมหาอำนาจหน้าใหม่...จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพระหว่างประเทศ และเพิ่มความชอบธรรมในการดำรงอยู่ขององค์การสหประชาชาติ" โก๊ะกล่าว
"ในทำนองเดียวกัน ลองยกอีกหนึ่งตัวอย่าง ว่าทำไมสถาบันการเงินระหว่างประเทศอย่าง ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก จึงให้แต่ตัวแทนจากยุโรปและอเมริกาเป็นผู้บริหารล่ะ"
ชาติตะวันตกไม่ควรตอบโต้การผงาดขึ้นมาของเอเชียด้วยการปกป้องตัวเองหรือความหวาดกลัว และเขายังบอกด้วยว่า "การเปลี่ยนจากสถานะเดิม ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า ระหว่างเอเชียและยุโรปจะเป็นเกมที่ผู้ชนะได้แต้มเพียงคนเดียว แล้วผู้เล่นคนอื่นไม่ได้อะไรเลย"
"ผมมองว่าโครงสร้างใหม่ของโลกจะมีศูนย์กลางอำนาจหลายแห่งซึ่งมีความใกล้ชิดและเท่าเทียมกันจริงๆ โดยเอเชียมีบทบาทที่เท่าเทียมกับสหรัฐฯและยุโรป ในการก่อร่างสถาบันและบรรทัดฐานระหว่างประเทศ และแบ่งปันความรับผิดชอบในการจัดการปัญหาท้าทายของโลก"