นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยหลังประชุมครม. วานนี้ (20 ก.พ.) ว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการสนับสนุนปลูกยูคาลิปตัสในภาคอีสาน เพื่อผลิตไบโอออยล์ โดยเร็วๆ นี้นายกรัฐมนตรีจะเชิญ ดร.นิคม แหลมสัก นักวิจัยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูล และจะแถลงข่าวด้วยตัวเอง เนื่องจากที่ผ่านมานายวุฒิพงศ์ ได้ให้ข่าวหลายครั้ง แต่ก็ยังมีคนเข้าใจผิด
ความเข้าใจผิดดังกล่าว นายวุฒิพงศ์ ระบุว่า เพราะคนยังติดภาพยูคาลิปตัสเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจริง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ คามาลดูเลนซิส โดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเอกชนจนได้สายพันธุ์ใหม่กว่า 200 สายพันธุ์แล้ว เช่นที่สวนป่ากิตติ จ.ฉะเชิงเทราเพียงที่เดียว ซึ่งเขาไปดูงานก็มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นแล้วกว่า 100 สายพันธุ์
นายวุฒิพงศ์ อธิบายว่า ยูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะขจัดข้อเสียด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปจนหมด โดยปลูกบนคันนาได้ดี อาศัยร่วมกันกับต้นข้าวได้ เชื้อราไมเคอร์ไรซาที่รากจะตรึงไนโตรเจนในอากาศลงสู่พื้นดินได้โดยไม่แย่งธาตุอาหารพืชอื่นๆ ซึ่งเขาจะเดินทางไปดูเทคโนโลยีการผลิตไบโอออยล์ ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจมีการนำเข้าสำหรับผลิตไบโอออยล์ จากยูคาลิปตัสต่อไป
"คนที่วิจารณ์ไม่รู้เรื่อง ไม่เคยสัมผัส ผมนี่ไปเหยียบถึงแปลงปลูกเองมากกว่า 10 เที่ยวแล้ว มีอาจารย์ระดับด็อกเตอร์ไปดูด้วยหลายคน ที่บอกว่าเป็นการปลุกผีอะไรมันไม่ใช่ ผมไม่เคยบอกให้ปลูกที่ดอน แต่บอกให้ปลูกที่คันนา มันคนละเรื่อง พันธุ์ที่ปลูกแล้วมีผลเสียก็เป็นพันธุ์โบราณ ไม่อยากให้เห็นแค่ด้านเดียว เสียประโยชน์ของชาวนาหมด" รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว ทว่าเขาไม่อาจระบุสายพันธุ์ที่กล่าวถึงได้
ด้านนายพิรัตน์ นาครินทร์ นายกสมาคมรณรงค์ปลูกป่าภาคเอกชนแห่งประเทศไทย (สปอท.) ซึ่งได้หารือถึงการปลูกยูคาลิปตัสกับ นายสมัคร เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา เปิดเผยหลังทราบมติ ครม.ว่า นายสมัคร ยังเห็นชอบกับการตั้งโรงงานไบโอออยล์ เพื่อผลิตน้ำมันที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันดีเซลเพื่อใช้กับรถยนต์ อีกทั้งรัฐบาลจะดำเนินการก่อสร้างโรงงานต้นแบบแห่งแรกในทุ่งกุลาร้องไห้ จ.ร้อยเอ็ด
พร้อมกันนั้นจะขยายต่อให้มี 5 จุดในเวลาไล่เลี่ยกัน หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายคือ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ ของนายวุฒิพงศ์ นับเป็นจังหวัดนอกภาคอีสานเพียงจังหวัดเดียวที่จะตั้งโรงงาน และจะผลักดันให้ภาคอีสานมีโรงงานเป็นของตัวเองทุกจังหวัด โดยการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 10,000 ล้านบาท
"ไบโอดีเซลเหลวที่ได้จะมีต้นทุน 15 บาท/ลิตร ถ้าขายลิตรละ 20-25 บาทแล้ว ประเทศไทยเราก็รวยจนไม่รู้จะเอาไปเก็บไว้ไหน" นายพิรัตน์ กล่าว พร้อมกันนี้เขายังย้ำว่ามีข้อมูลวิทยาศาสตร์ ยืนยันทั้งหมดว่ายูคาลิปตัส ไม่มีข้อเสียอย่างที่พูดกัน
"ผมยินดีสู้คดีหากไม่จริง ถ้าผมแพ้จะเอาเงินไปให้ คุยกับท่านนายกฯ กันออกรส ท่านก็เห็นด้วยทั้งหมด ไม่เห็นว่ามีผลเสีย ปลูกแล้วก็เหมือนต้นไม้อื่นๆ แต่สื่อนำไปเขียนให้เสียหาย เพราะว่ามีคนไปให้ข่าว" นายพิรัตน์ กล่าว
ด้านนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังประชุมครม.ว่า นายวุฒิพงษ์ สนใจเรื่องการปลูกต้นไม้นี้ และเรื่องวิทยาศาสตร์ ในเมื่อมาทำงานนี้ ก็พูดในสิ่งที่เข้าใจ และพูดจากประสบการณ์ คือเรื่องยูคาลิปตัส ที่บอกว่าปลูกแล้วกินดิน กินพืช เป็นความเชื่อเมื่อ 20 ปีก่อน แต่หลังจากนั้น มันมีความเปลี่ยนแปลง
เมื่อวันก่อนตนได้ใช้เวลา 1 ชั่วโมง คุยกับผู้เชี่ยวชาญการปลูกยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นผู้ค้นพบพันธุ์ใหม่ ปลูกแบบใหม่ และดำเนินการกันมาหลายปี ตอนออกใหม่ๆ กล้าต้นละ 3 บาท เห่อกันเต็มที่ราคาขึ้นถึง 8 บาท เวลานี้เหลือ 4 บาท
นายสมัครกล่าวว่า สาเหตุที่คนไม่พอใจในเรื่องนี้ การปลูกยูคาฯแบบเก่าจะปลูกแล้วกินดินกินทราย ที่พูดนี้เป็นพันธุ์ใหม่ ถ้าปลูกบนที่ดอน 1 ไร่ได้ 300 ต้น ได้ต้นมาทำไม้ 2 ตัน ปลูก 300 ต้นในที่ 1 ไร่ ได้ไม้ 2 ตัน แต่การปลูกบนคันนา 1ไร่ 40 คูณ 4 ต้น เมตร รวม 100 ต้น เวลา 5 ปี ได้ไม้ 5 ตัน ปลูก 300 ต้นบนดินดอนธรรมดา เวลา 5 ปี ได้ไม้ 2 ตัน ความมหัศจรรรย์ คือมีคำอธิบายเหตุผล ปลูกบนคันนา รากต้นยูคาฯ ที่ลงสองซีกคันนา เวลาไถนารากจะถูกตัด จะทำให้ต้นโตเร็ว เพราะกลัวตาย รากกลายเป็นปุ๋ย ใบที่ตกลงในนาก็เป็นปุ๋ย เป็นข้อพิสูจน์ว่าไม่มีต้นไม้ปลูกเลย แต่ได้ข้าวขนาดนี้ พอปลูกยูคาฯ บนคันนาได้ข้าวมากขึ้น นี่คือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
"ผมจึงเก็บเรื่องนี้มาบอกต่อ เพราะเป็นไม้ที่มีคุณ ไม่มีโทษ มีเหตุผลการปลูกให้เห็น สิ่งที่น่าสนใจสุดยอดเรื่องนี้คือ ต้นยูคาฯ เป็นน้ำมันพืชที่สามารถไปผลิตไบโอดีเซลได้ เวลานี้คนที่คุยกับผมบอกว่า กำลังเริ่มต้น 5 โรงงานโดยเอากระป๋องมา 1 ใบ ตัดไม้ยูคาเสี้ยมเป็นชิ้นใส่เต็มกระป๋องอุดรูให้หมด เจาะรูด้านบนเอาไฟเผาด้านล่างจะเป็นแก๊สออกมา ระบบการเผาไม้ยูคาฯจะระเหิดออกมาตามขั้นตอน เป็นไบโอดีเซล เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจ เมื่อรัฐมนตรีเอ่ยถึง ผมก็ต้องเอามาสนับสนุน และเป็นคนชี้แจงว่าผมได้สนทนากับผู้เชี่ยวชาญด้วยตัวผมเอง" นายสมัคร กล่าว
ด้านนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นอภิปรายต่อรัฐสภาในบ่ายวันเดียวกัน หลัง ครม.ออกมติดังกล่าวว่า อยากให้รัฐบาลพิจารณามติส่งเสริมปลูกยูคาลิปตัสให้รอบคอบอีกครั้ง เนื่องจากงานวิจัยในประเทศหลายฉบับ เช่น จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พบว่า การปลูกยูคาลิปตัสจะมีผลกระทบต่อดินและน้ำ อีกทั้งรากของยูคาลิปตัสยังกำจัดลำบาก ใบยูคาลิปตัสสลายตัวช้า ต้นยูคาลิปตัสปล่อยสารเคมียับยั้งการเจริญเติบโตของพืชข้างเคียง แถมหลังการเพาะปลูกแล้วยังต้องฟื้นฟูดินอีกมาก
จากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ในปี 46 ประเทศจีนซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าไทยมากยังมีการปลูกยูคาลิปตัสเพียง 4 ล้านไร่เท่านั้น และเน้นไปยังการเพาะปลูกไม้ผลมากกว่า แต่ปัจจุบันประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ทั่วประเทศเพียง 320 ล้านไร่ กลับมีพื้นที่ยูคาลิปตัสเท่ากับประเทศจีนแล้ว
"ปกติในต่างประเทศ เขาจะปลูกยูคาในที่ที่ดินเสีย ปลูกอะไรไม่ได้ ก็ปลูกทิ้งให้เป็นป่าไปเลย จะไม่เข้าไปตัด แต่ของเรากลับมาส่งเสริมเกษตรกรปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมกระดาษ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งจะมีผลกระทบมหาศาล เช่น ทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย รากที่กำจัดได้ยาก และมันยังทำให้ระดับน้ำธรรมชาติลดลงด้วย" ส.ส.ประชาธิปัตย์ กล่าว
ความเข้าใจผิดดังกล่าว นายวุฒิพงศ์ ระบุว่า เพราะคนยังติดภาพยูคาลิปตัสเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจริง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ คามาลดูเลนซิส โดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเอกชนจนได้สายพันธุ์ใหม่กว่า 200 สายพันธุ์แล้ว เช่นที่สวนป่ากิตติ จ.ฉะเชิงเทราเพียงที่เดียว ซึ่งเขาไปดูงานก็มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นแล้วกว่า 100 สายพันธุ์
นายวุฒิพงศ์ อธิบายว่า ยูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวจะขจัดข้อเสียด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปจนหมด โดยปลูกบนคันนาได้ดี อาศัยร่วมกันกับต้นข้าวได้ เชื้อราไมเคอร์ไรซาที่รากจะตรึงไนโตรเจนในอากาศลงสู่พื้นดินได้โดยไม่แย่งธาตุอาหารพืชอื่นๆ ซึ่งเขาจะเดินทางไปดูเทคโนโลยีการผลิตไบโอออยล์ ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจมีการนำเข้าสำหรับผลิตไบโอออยล์ จากยูคาลิปตัสต่อไป
"คนที่วิจารณ์ไม่รู้เรื่อง ไม่เคยสัมผัส ผมนี่ไปเหยียบถึงแปลงปลูกเองมากกว่า 10 เที่ยวแล้ว มีอาจารย์ระดับด็อกเตอร์ไปดูด้วยหลายคน ที่บอกว่าเป็นการปลุกผีอะไรมันไม่ใช่ ผมไม่เคยบอกให้ปลูกที่ดอน แต่บอกให้ปลูกที่คันนา มันคนละเรื่อง พันธุ์ที่ปลูกแล้วมีผลเสียก็เป็นพันธุ์โบราณ ไม่อยากให้เห็นแค่ด้านเดียว เสียประโยชน์ของชาวนาหมด" รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว ทว่าเขาไม่อาจระบุสายพันธุ์ที่กล่าวถึงได้
ด้านนายพิรัตน์ นาครินทร์ นายกสมาคมรณรงค์ปลูกป่าภาคเอกชนแห่งประเทศไทย (สปอท.) ซึ่งได้หารือถึงการปลูกยูคาลิปตัสกับ นายสมัคร เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา เปิดเผยหลังทราบมติ ครม.ว่า นายสมัคร ยังเห็นชอบกับการตั้งโรงงานไบโอออยล์ เพื่อผลิตน้ำมันที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันดีเซลเพื่อใช้กับรถยนต์ อีกทั้งรัฐบาลจะดำเนินการก่อสร้างโรงงานต้นแบบแห่งแรกในทุ่งกุลาร้องไห้ จ.ร้อยเอ็ด
พร้อมกันนั้นจะขยายต่อให้มี 5 จุดในเวลาไล่เลี่ยกัน หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายคือ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ ของนายวุฒิพงศ์ นับเป็นจังหวัดนอกภาคอีสานเพียงจังหวัดเดียวที่จะตั้งโรงงาน และจะผลักดันให้ภาคอีสานมีโรงงานเป็นของตัวเองทุกจังหวัด โดยการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 10,000 ล้านบาท
"ไบโอดีเซลเหลวที่ได้จะมีต้นทุน 15 บาท/ลิตร ถ้าขายลิตรละ 20-25 บาทแล้ว ประเทศไทยเราก็รวยจนไม่รู้จะเอาไปเก็บไว้ไหน" นายพิรัตน์ กล่าว พร้อมกันนี้เขายังย้ำว่ามีข้อมูลวิทยาศาสตร์ ยืนยันทั้งหมดว่ายูคาลิปตัส ไม่มีข้อเสียอย่างที่พูดกัน
"ผมยินดีสู้คดีหากไม่จริง ถ้าผมแพ้จะเอาเงินไปให้ คุยกับท่านนายกฯ กันออกรส ท่านก็เห็นด้วยทั้งหมด ไม่เห็นว่ามีผลเสีย ปลูกแล้วก็เหมือนต้นไม้อื่นๆ แต่สื่อนำไปเขียนให้เสียหาย เพราะว่ามีคนไปให้ข่าว" นายพิรัตน์ กล่าว
ด้านนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังประชุมครม.ว่า นายวุฒิพงษ์ สนใจเรื่องการปลูกต้นไม้นี้ และเรื่องวิทยาศาสตร์ ในเมื่อมาทำงานนี้ ก็พูดในสิ่งที่เข้าใจ และพูดจากประสบการณ์ คือเรื่องยูคาลิปตัส ที่บอกว่าปลูกแล้วกินดิน กินพืช เป็นความเชื่อเมื่อ 20 ปีก่อน แต่หลังจากนั้น มันมีความเปลี่ยนแปลง
เมื่อวันก่อนตนได้ใช้เวลา 1 ชั่วโมง คุยกับผู้เชี่ยวชาญการปลูกยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นผู้ค้นพบพันธุ์ใหม่ ปลูกแบบใหม่ และดำเนินการกันมาหลายปี ตอนออกใหม่ๆ กล้าต้นละ 3 บาท เห่อกันเต็มที่ราคาขึ้นถึง 8 บาท เวลานี้เหลือ 4 บาท
นายสมัครกล่าวว่า สาเหตุที่คนไม่พอใจในเรื่องนี้ การปลูกยูคาฯแบบเก่าจะปลูกแล้วกินดินกินทราย ที่พูดนี้เป็นพันธุ์ใหม่ ถ้าปลูกบนที่ดอน 1 ไร่ได้ 300 ต้น ได้ต้นมาทำไม้ 2 ตัน ปลูก 300 ต้นในที่ 1 ไร่ ได้ไม้ 2 ตัน แต่การปลูกบนคันนา 1ไร่ 40 คูณ 4 ต้น เมตร รวม 100 ต้น เวลา 5 ปี ได้ไม้ 5 ตัน ปลูก 300 ต้นบนดินดอนธรรมดา เวลา 5 ปี ได้ไม้ 2 ตัน ความมหัศจรรรย์ คือมีคำอธิบายเหตุผล ปลูกบนคันนา รากต้นยูคาฯ ที่ลงสองซีกคันนา เวลาไถนารากจะถูกตัด จะทำให้ต้นโตเร็ว เพราะกลัวตาย รากกลายเป็นปุ๋ย ใบที่ตกลงในนาก็เป็นปุ๋ย เป็นข้อพิสูจน์ว่าไม่มีต้นไม้ปลูกเลย แต่ได้ข้าวขนาดนี้ พอปลูกยูคาฯ บนคันนาได้ข้าวมากขึ้น นี่คือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
"ผมจึงเก็บเรื่องนี้มาบอกต่อ เพราะเป็นไม้ที่มีคุณ ไม่มีโทษ มีเหตุผลการปลูกให้เห็น สิ่งที่น่าสนใจสุดยอดเรื่องนี้คือ ต้นยูคาฯ เป็นน้ำมันพืชที่สามารถไปผลิตไบโอดีเซลได้ เวลานี้คนที่คุยกับผมบอกว่า กำลังเริ่มต้น 5 โรงงานโดยเอากระป๋องมา 1 ใบ ตัดไม้ยูคาเสี้ยมเป็นชิ้นใส่เต็มกระป๋องอุดรูให้หมด เจาะรูด้านบนเอาไฟเผาด้านล่างจะเป็นแก๊สออกมา ระบบการเผาไม้ยูคาฯจะระเหิดออกมาตามขั้นตอน เป็นไบโอดีเซล เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจ เมื่อรัฐมนตรีเอ่ยถึง ผมก็ต้องเอามาสนับสนุน และเป็นคนชี้แจงว่าผมได้สนทนากับผู้เชี่ยวชาญด้วยตัวผมเอง" นายสมัคร กล่าว
ด้านนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นอภิปรายต่อรัฐสภาในบ่ายวันเดียวกัน หลัง ครม.ออกมติดังกล่าวว่า อยากให้รัฐบาลพิจารณามติส่งเสริมปลูกยูคาลิปตัสให้รอบคอบอีกครั้ง เนื่องจากงานวิจัยในประเทศหลายฉบับ เช่น จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พบว่า การปลูกยูคาลิปตัสจะมีผลกระทบต่อดินและน้ำ อีกทั้งรากของยูคาลิปตัสยังกำจัดลำบาก ใบยูคาลิปตัสสลายตัวช้า ต้นยูคาลิปตัสปล่อยสารเคมียับยั้งการเจริญเติบโตของพืชข้างเคียง แถมหลังการเพาะปลูกแล้วยังต้องฟื้นฟูดินอีกมาก
จากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ในปี 46 ประเทศจีนซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าไทยมากยังมีการปลูกยูคาลิปตัสเพียง 4 ล้านไร่เท่านั้น และเน้นไปยังการเพาะปลูกไม้ผลมากกว่า แต่ปัจจุบันประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ทั่วประเทศเพียง 320 ล้านไร่ กลับมีพื้นที่ยูคาลิปตัสเท่ากับประเทศจีนแล้ว
"ปกติในต่างประเทศ เขาจะปลูกยูคาในที่ที่ดินเสีย ปลูกอะไรไม่ได้ ก็ปลูกทิ้งให้เป็นป่าไปเลย จะไม่เข้าไปตัด แต่ของเรากลับมาส่งเสริมเกษตรกรปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมกระดาษ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งจะมีผลกระทบมหาศาล เช่น ทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย รากที่กำจัดได้ยาก และมันยังทำให้ระดับน้ำธรรมชาติลดลงด้วย" ส.ส.ประชาธิปัตย์ กล่าว