แม้ผมจะไม่รู้ว่า “เขตปกครองพิเศษ” ที่ คุณเฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทยยกขึ้นมาพูดเพื่อใช้เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีรูปธรรมอย่างไรก็ตาม แต่เพียงแค่เอ่ยคำว่า “เขตปกครองพิเศษ” ขึ้นมา ผมก็ถือว่ามีความหมายอยู่ไม่น้อย
คือไม่น้อยในขณะที่การเอ่ยถึงคำคำนี้ถือว่ามีความล่อแหลมอย่างมากสำหรับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ให้บังเอิญว่าเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มายาวนาน จนเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มอำนาจกระแสหลักก็ว่าได้
และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะเพียงแค่ คุณเฉลิม เอ่ยคำคำนี้ขึ้นมาโดยไม่ทันได้อธิบายความหมายและรายละเอียด คุณเฉลิม ก็ตกม้าตายเสียแล้ว คุณเฉลิม ตกม้าตายด้วยการนำเอาคำคำนี้เก็บเข้าลิ้นชักแล้วลั่นกุญแจปิดตาย และดูเหมือนว่า คุณเฉลิม จะเอาลูกกุญแจโยนทิ้งแม่น้ำไปด้วยอีกต่างหาก เพราะหลังจากยอมที่จะไม่พูดถึงคำคำนี้ขึ้นมาอีก นโยบายในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนที่ คุณเฉลิม ชูขึ้นมาใหม่กลับเป็นนโยบายประชานิยมไปเสียฉิบ
นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว การเอ่ยถึงคำว่า “เขตปกครองพิเศษ” ของ คุณเฉลิม ยังมีความหมายในทางสัญลักษณ์อีกด้วย เพราะนี่นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่คำคำนี้หลุดออกจากปากเจ้ากระทรวงที่ทรงอิทธิพลในกลไกอำนาจรัฐ โดยที่ก่อนหน้านี้คนที่เอ่ยมักจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอำนาจรัฐโดยตรง (เช่น นักวิชาการหรือปัญญาชน และเอ็นจีโอ) และพอเอ่ยคำคำนี้ขึ้นมาโดยที่ยังไม่ทันได้อธิบาย ก็โดนรุมยำเสียแล้ว
ฉะนั้น ความหมายเชิงสัญลักษณ์ในที่นี้จึงอยู่ตรงที่ว่า คุณเฉลิม ได้ทำให้กลุ่มอำนาจกระแสหลักต้องสะเทือนจนต้องออกมาเบรก และก็ทำได้แค่เบรก เพราะ คุณเฉลิม เป็นถึงเจ้ากระทรวงซึ่งถือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ หาไม่แล้ว คุณเฉลิม เองก็อาจโดนยำด้วยเช่นกัน
คิดแล้วก็ให้รู้สึกเสียดายอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรก เสียดายที่คำนี้ไม่ได้ถูกเอ่ยโดย คุณทักษิณ ชินวัตร ในก่อนหน้านี้ เพราะรู้กันอยู่ว่า คุณทักษิณ ไม่มีทางที่จะคิดไปในทางนี้เป็นแน่ แถมยังคิดไม่ต่างกับกลุ่มอำนาจกระแสหลักอีกด้วย ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นความคิดที่ไม่อาจแก้ปัญหาได้ ซ้ำร้ายยังเลวร้ายลงกว่าเดิมอีก
เรื่องที่สอง เสียดายที่ คุณเฉลิม ยังไม่ทันได้อธิบายความหมายและรายละเอียดเกี่ยวกับเขตปกครองพิเศษแล้วต้องมาตกม้าตายเสียก่อน เราจึงไม่รู้ว่า เขตปกครองพิเศษของ คุณเฉลิม มีรูปร่างหน้าตาเช่นใด ซึ่งบางทีอาจจะเข้าท่าก็ได้ หรือไม่ก็เป็นอีกหนึ่งนโยบายประชานิยมที่อดีตพรรคไทยรักไทยเขาถนัดกัน
การที่คนระดับเจ้ากระทรวงโดนเบรกเสียเองเช่นนี้ นับเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดคับแคบของกลุ่มอำนาจกระแสหลักโดยแท้ คือฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด แล้วก็ตีโพยตีพายว่า เขตปกครองพิเศษก็คือ การยกอำนาจรัฐให้ชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปกครอง ที่น่าเศร้าก็คือว่า ด้วยเหตุที่การตีโพยตีพายดังกล่าวเกิดขึ้นบนความได้เปรียบในการใช้สื่อ เสียงตีโพยตีพายของคนเหล่านี้จึงทำให้คนนอกพื้นที่ 3 จังหวัดพลอยเชื่อตามไปด้วย
และก็เพราะเชื่อเช่นนั้น คนที่พูดเรื่องเขตปกครองพิเศษจึงไม่เพียงจะถูกรุมยำเท่านั้น หากแม้แต่ชาวมุสลิมก็ยังพลอยถูกรังเกียจไปด้วย และก็เพราะเรื่องน่าเศร้าเช่นนี้ (ซึ่งยังมีเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง ใช่แต่เฉพาะเรื่องเขตปกครองพิเศษเท่านั้น) การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงไม่ไปถึงไหน
แต่อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไม่มีใครรู้ว่าเขตปกครองพิเศษที่ คุณเฉลิม เอ่ยขึ้นมานั้นมีความหมายและรายละเอียดอย่างไร ผมจึงรู้สึกอิสระหากจะพูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมาบ้าง เพราะยังไงเสียก็ไม่เกี่ยวกับ คุณเฉลิม
อันที่จริงแล้วผมไม่รู้หรอกว่า ความคิดเรื่องเขตปกครองพิเศษที่เขาพูดๆ กันก่อนหน้านี้หมายถึงอะไรหรือเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่า คนที่พูดคงไม่ได้พูดขึ้นมาลอยๆ เพียงแค่ได้เห็นปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แน่นอน แต่คงพูดจากที่ดูตัวอย่างเขตปกครองทำนองนี้ในประเทศอื่นประกอบด้วย ซึ่งทุกวันนี้มีหลายประเทศที่มีเขตปกครองทำนองนี้อยู่ในประเทศของตน
เขตปกครองพิเศษที่ประเทศอื่นเขามีกันนั้น โดยมีปัญหาพื้นฐานไม่ต่างจากไทย นั่นคือ เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นมีชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยอาศัยอยู่ท่ามกลางชนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ ซึ่งโดยมากแล้วชนชาติพันธุ์ที่เป็นคนส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นผู้ปกครองมากกว่า (เช่น จีน) แต่ก็มีบางประเทศเหมือนกันที่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยเป็นชนชั้นผู้ปกครอง (เช่น ซูดาน)
แต่ไม่ว่าจะปกครองโดยชนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่หรือส่วนน้อยก็ตาม ต่างล้วนมีปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชาติพันธุ์ ปัญหานี้มีที่มาจากการที่ชนแต่ละชาติพันธุ์มีศาสนา ความคิดความเชื่อ ขนบจารีต วิถีการดำเนินชีวิต ฯลฯ ที่แตกต่างกันและยากที่จะเข้ากันได้ ประเทศใดจัดการได้ดีก็ดีไป แต่ถ้าจัดการได้ไม่ดีปัญหาก็จะตามมา ซึ่งบางทีก็ขยายตัวออกไปกลายเป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ถึงขั้นมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้น กรณีวิกฤตการณ์ที่เมืองดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน นับแต่ปี 2003 จนทุกวันนี้นับเป็นตัวอย่างหนึ่ง
การจัดการปกครองที่ดีนั้น โดยรวมแล้วจะปรากฏออกมาในรูปของการให้สิทธิพิเศษในการปกครองตนเองแก่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยในระดับหนึ่ง เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกันอย่างมาก
กล่าวคือ ในเบื้องต้นสุดการให้สิทธิพิเศษในระดับหนึ่งนี้หมายความว่า ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยจะมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครองของตนเองขึ้นมา ผู้ปกครองคนนี้จะปกครองชนชาติพันธุ์ของตนใน 2 ระดับด้วยกันคือ ระดับแรก เป็นการปกครองตามขนบจารีตประเพณีความเชื่อของตน เพราะจะมีก็แต่ผู้ปกครองจากชนชาติเดียวกันเท่านั้นที่จะเข้าใจกันและกันได้ ระดับที่สอง เป็นการปกครองที่ยังคงขึ้นต่อรัฐบาลกลาง โดยผู้ปกครองหลักในพื้นที่จะยังคงมาจากรัฐบาลกลาง แต่ทำงานร่วมกับผู้ปกครองของชนชาติพันธุ์ส่วนน้อย อย่างน้อยก็ในฐานะที่รัฐบาลกลางยังคงเป็นผู้สนับสนุนหลักในเรื่องของงบประมาณอยู่
สิ่งสำคัญที่เชื่อมร้อยให้การปกครองทั้งสองระดับนี้เป็นไปอย่างราบรื่นก็คือ กฎระเบียบหรือกฎหมายที่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยถือปฏิบัติกับที่รัฐบาลกลางถือปฏิบัติที่จะต้องไปด้วยกันได้ ตัวอย่างเช่น ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยสามารถที่จะทำกิจกรรมบางอย่างตามขนบจารีตของตนได้ แต่กิจกรรมนั้นจะต้องไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนอีกชนชาติพันธุ์หนึ่งจนเกินกว่าที่จะรับได้ ในขณะเดียวกัน กฎระเบียบหรือกฎหมายหลักของรัฐบาลกลางที่ยังไงเสียก็จะต้องใช้ในเขตปกครองพิเศษอยู่ด้วย (เพราะมีชนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ แต่อาจจะมีน้อยกว่าชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยในพื้นที่) นั้น ก็จะต้องสามารถใช้ในเขตปกครองพิเศษได้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการต่างประเทศและความมั่นคงที่รัฐบาลกลางจะเป็นผู้ดำเนินการตัดสินใจ
ที่ผมยกมานี้เป็นการสรุปโดยภาพรวมจากประเทศต่างๆ ซึ่งไม่อาจลงไปในรายละเอียดได้ แต่ที่ควรกล่าวด้วยก็คือว่า ภายใต้แนวทาง (กว้างๆ) ดังกล่าว บางประเทศก็ไม่ถึงกับต้องตั้งเป็นเขตปกครองพิเศษขึ้นมาแต่อย่างใด เพียงแค่มีกฎระเบียบหรือกฎหมายเฉพาะแก่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยก็อยู่กันได้แล้ว ในกรณีนี้มักจะเป็นประเทศที่มีชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยจำนวนไม่มากนัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ขนาดไม่มากเขาก็ยังใส่ใจในสิทธิของผู้อื่น (ชนส่วนน้อย) ในอันที่จะกำหนดวิถีชีวิตตนเองได้ถึงเพียงนั้น ถ้าหากมีจำนวนมากอย่างที่ไทยมียิ่งไม่ต้องพูดถึง
แต่อย่างที่ผมได้เกริ่นไว้แล้วว่า กลุ่มอำนาจกระแสหลักยังไม่เปิดใจกว้างให้มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ซ้ำยังพาเอาคนไทยอีกไม่น้อยให้พลอยเข้าใจเขตปกครองพิเศษผิดๆ ยิ่งขึ้นไปอีก สิ่งที่ผมกล่าวมาจึงอาจอยู่ข่ายที่จะโดนยำได้ไม่ยากเช่นกัน
ถึงกระนั้นก็ตาม ก่อนจบบทความผมก็ควรชี้ให้เห็นตัวอย่างประเทศที่ล้มเหลวอย่างสุดๆ ในการแก้ปัญหาชนชาติพันธุ์ให้เห็นด้วย ประเทศนั้นก็คือ พม่า
นี่ก็ใกล้ฤดูร้อนเข้ามาอีกแล้ว ไม่นานจากนี้ไปเราก็คงได้เห็นพวกพม่าและพวกว้า (ที่ขายยาบ้าให้กับคนไทย) ยิงกับพวกไทยใหญ่ฉลองสงกรานต์กันอีกครั้ง
คือไม่น้อยในขณะที่การเอ่ยถึงคำคำนี้ถือว่ามีความล่อแหลมอย่างมากสำหรับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ให้บังเอิญว่าเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มายาวนาน จนเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มอำนาจกระแสหลักก็ว่าได้
และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะเพียงแค่ คุณเฉลิม เอ่ยคำคำนี้ขึ้นมาโดยไม่ทันได้อธิบายความหมายและรายละเอียด คุณเฉลิม ก็ตกม้าตายเสียแล้ว คุณเฉลิม ตกม้าตายด้วยการนำเอาคำคำนี้เก็บเข้าลิ้นชักแล้วลั่นกุญแจปิดตาย และดูเหมือนว่า คุณเฉลิม จะเอาลูกกุญแจโยนทิ้งแม่น้ำไปด้วยอีกต่างหาก เพราะหลังจากยอมที่จะไม่พูดถึงคำคำนี้ขึ้นมาอีก นโยบายในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนที่ คุณเฉลิม ชูขึ้นมาใหม่กลับเป็นนโยบายประชานิยมไปเสียฉิบ
นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว การเอ่ยถึงคำว่า “เขตปกครองพิเศษ” ของ คุณเฉลิม ยังมีความหมายในทางสัญลักษณ์อีกด้วย เพราะนี่นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่คำคำนี้หลุดออกจากปากเจ้ากระทรวงที่ทรงอิทธิพลในกลไกอำนาจรัฐ โดยที่ก่อนหน้านี้คนที่เอ่ยมักจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอำนาจรัฐโดยตรง (เช่น นักวิชาการหรือปัญญาชน และเอ็นจีโอ) และพอเอ่ยคำคำนี้ขึ้นมาโดยที่ยังไม่ทันได้อธิบาย ก็โดนรุมยำเสียแล้ว
ฉะนั้น ความหมายเชิงสัญลักษณ์ในที่นี้จึงอยู่ตรงที่ว่า คุณเฉลิม ได้ทำให้กลุ่มอำนาจกระแสหลักต้องสะเทือนจนต้องออกมาเบรก และก็ทำได้แค่เบรก เพราะ คุณเฉลิม เป็นถึงเจ้ากระทรวงซึ่งถือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ หาไม่แล้ว คุณเฉลิม เองก็อาจโดนยำด้วยเช่นกัน
คิดแล้วก็ให้รู้สึกเสียดายอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรก เสียดายที่คำนี้ไม่ได้ถูกเอ่ยโดย คุณทักษิณ ชินวัตร ในก่อนหน้านี้ เพราะรู้กันอยู่ว่า คุณทักษิณ ไม่มีทางที่จะคิดไปในทางนี้เป็นแน่ แถมยังคิดไม่ต่างกับกลุ่มอำนาจกระแสหลักอีกด้วย ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นความคิดที่ไม่อาจแก้ปัญหาได้ ซ้ำร้ายยังเลวร้ายลงกว่าเดิมอีก
เรื่องที่สอง เสียดายที่ คุณเฉลิม ยังไม่ทันได้อธิบายความหมายและรายละเอียดเกี่ยวกับเขตปกครองพิเศษแล้วต้องมาตกม้าตายเสียก่อน เราจึงไม่รู้ว่า เขตปกครองพิเศษของ คุณเฉลิม มีรูปร่างหน้าตาเช่นใด ซึ่งบางทีอาจจะเข้าท่าก็ได้ หรือไม่ก็เป็นอีกหนึ่งนโยบายประชานิยมที่อดีตพรรคไทยรักไทยเขาถนัดกัน
การที่คนระดับเจ้ากระทรวงโดนเบรกเสียเองเช่นนี้ นับเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดคับแคบของกลุ่มอำนาจกระแสหลักโดยแท้ คือฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด แล้วก็ตีโพยตีพายว่า เขตปกครองพิเศษก็คือ การยกอำนาจรัฐให้ชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปกครอง ที่น่าเศร้าก็คือว่า ด้วยเหตุที่การตีโพยตีพายดังกล่าวเกิดขึ้นบนความได้เปรียบในการใช้สื่อ เสียงตีโพยตีพายของคนเหล่านี้จึงทำให้คนนอกพื้นที่ 3 จังหวัดพลอยเชื่อตามไปด้วย
และก็เพราะเชื่อเช่นนั้น คนที่พูดเรื่องเขตปกครองพิเศษจึงไม่เพียงจะถูกรุมยำเท่านั้น หากแม้แต่ชาวมุสลิมก็ยังพลอยถูกรังเกียจไปด้วย และก็เพราะเรื่องน่าเศร้าเช่นนี้ (ซึ่งยังมีเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง ใช่แต่เฉพาะเรื่องเขตปกครองพิเศษเท่านั้น) การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงไม่ไปถึงไหน
แต่อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไม่มีใครรู้ว่าเขตปกครองพิเศษที่ คุณเฉลิม เอ่ยขึ้นมานั้นมีความหมายและรายละเอียดอย่างไร ผมจึงรู้สึกอิสระหากจะพูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมาบ้าง เพราะยังไงเสียก็ไม่เกี่ยวกับ คุณเฉลิม
อันที่จริงแล้วผมไม่รู้หรอกว่า ความคิดเรื่องเขตปกครองพิเศษที่เขาพูดๆ กันก่อนหน้านี้หมายถึงอะไรหรือเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่า คนที่พูดคงไม่ได้พูดขึ้นมาลอยๆ เพียงแค่ได้เห็นปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แน่นอน แต่คงพูดจากที่ดูตัวอย่างเขตปกครองทำนองนี้ในประเทศอื่นประกอบด้วย ซึ่งทุกวันนี้มีหลายประเทศที่มีเขตปกครองทำนองนี้อยู่ในประเทศของตน
เขตปกครองพิเศษที่ประเทศอื่นเขามีกันนั้น โดยมีปัญหาพื้นฐานไม่ต่างจากไทย นั่นคือ เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นมีชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยอาศัยอยู่ท่ามกลางชนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ ซึ่งโดยมากแล้วชนชาติพันธุ์ที่เป็นคนส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นผู้ปกครองมากกว่า (เช่น จีน) แต่ก็มีบางประเทศเหมือนกันที่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยเป็นชนชั้นผู้ปกครอง (เช่น ซูดาน)
แต่ไม่ว่าจะปกครองโดยชนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่หรือส่วนน้อยก็ตาม ต่างล้วนมีปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชาติพันธุ์ ปัญหานี้มีที่มาจากการที่ชนแต่ละชาติพันธุ์มีศาสนา ความคิดความเชื่อ ขนบจารีต วิถีการดำเนินชีวิต ฯลฯ ที่แตกต่างกันและยากที่จะเข้ากันได้ ประเทศใดจัดการได้ดีก็ดีไป แต่ถ้าจัดการได้ไม่ดีปัญหาก็จะตามมา ซึ่งบางทีก็ขยายตัวออกไปกลายเป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ถึงขั้นมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้น กรณีวิกฤตการณ์ที่เมืองดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน นับแต่ปี 2003 จนทุกวันนี้นับเป็นตัวอย่างหนึ่ง
การจัดการปกครองที่ดีนั้น โดยรวมแล้วจะปรากฏออกมาในรูปของการให้สิทธิพิเศษในการปกครองตนเองแก่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยในระดับหนึ่ง เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกันอย่างมาก
กล่าวคือ ในเบื้องต้นสุดการให้สิทธิพิเศษในระดับหนึ่งนี้หมายความว่า ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยจะมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครองของตนเองขึ้นมา ผู้ปกครองคนนี้จะปกครองชนชาติพันธุ์ของตนใน 2 ระดับด้วยกันคือ ระดับแรก เป็นการปกครองตามขนบจารีตประเพณีความเชื่อของตน เพราะจะมีก็แต่ผู้ปกครองจากชนชาติเดียวกันเท่านั้นที่จะเข้าใจกันและกันได้ ระดับที่สอง เป็นการปกครองที่ยังคงขึ้นต่อรัฐบาลกลาง โดยผู้ปกครองหลักในพื้นที่จะยังคงมาจากรัฐบาลกลาง แต่ทำงานร่วมกับผู้ปกครองของชนชาติพันธุ์ส่วนน้อย อย่างน้อยก็ในฐานะที่รัฐบาลกลางยังคงเป็นผู้สนับสนุนหลักในเรื่องของงบประมาณอยู่
สิ่งสำคัญที่เชื่อมร้อยให้การปกครองทั้งสองระดับนี้เป็นไปอย่างราบรื่นก็คือ กฎระเบียบหรือกฎหมายที่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยถือปฏิบัติกับที่รัฐบาลกลางถือปฏิบัติที่จะต้องไปด้วยกันได้ ตัวอย่างเช่น ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยสามารถที่จะทำกิจกรรมบางอย่างตามขนบจารีตของตนได้ แต่กิจกรรมนั้นจะต้องไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนอีกชนชาติพันธุ์หนึ่งจนเกินกว่าที่จะรับได้ ในขณะเดียวกัน กฎระเบียบหรือกฎหมายหลักของรัฐบาลกลางที่ยังไงเสียก็จะต้องใช้ในเขตปกครองพิเศษอยู่ด้วย (เพราะมีชนชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ แต่อาจจะมีน้อยกว่าชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยในพื้นที่) นั้น ก็จะต้องสามารถใช้ในเขตปกครองพิเศษได้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการต่างประเทศและความมั่นคงที่รัฐบาลกลางจะเป็นผู้ดำเนินการตัดสินใจ
ที่ผมยกมานี้เป็นการสรุปโดยภาพรวมจากประเทศต่างๆ ซึ่งไม่อาจลงไปในรายละเอียดได้ แต่ที่ควรกล่าวด้วยก็คือว่า ภายใต้แนวทาง (กว้างๆ) ดังกล่าว บางประเทศก็ไม่ถึงกับต้องตั้งเป็นเขตปกครองพิเศษขึ้นมาแต่อย่างใด เพียงแค่มีกฎระเบียบหรือกฎหมายเฉพาะแก่ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยก็อยู่กันได้แล้ว ในกรณีนี้มักจะเป็นประเทศที่มีชนชาติพันธุ์ส่วนน้อยจำนวนไม่มากนัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ขนาดไม่มากเขาก็ยังใส่ใจในสิทธิของผู้อื่น (ชนส่วนน้อย) ในอันที่จะกำหนดวิถีชีวิตตนเองได้ถึงเพียงนั้น ถ้าหากมีจำนวนมากอย่างที่ไทยมียิ่งไม่ต้องพูดถึง
แต่อย่างที่ผมได้เกริ่นไว้แล้วว่า กลุ่มอำนาจกระแสหลักยังไม่เปิดใจกว้างให้มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ซ้ำยังพาเอาคนไทยอีกไม่น้อยให้พลอยเข้าใจเขตปกครองพิเศษผิดๆ ยิ่งขึ้นไปอีก สิ่งที่ผมกล่าวมาจึงอาจอยู่ข่ายที่จะโดนยำได้ไม่ยากเช่นกัน
ถึงกระนั้นก็ตาม ก่อนจบบทความผมก็ควรชี้ให้เห็นตัวอย่างประเทศที่ล้มเหลวอย่างสุดๆ ในการแก้ปัญหาชนชาติพันธุ์ให้เห็นด้วย ประเทศนั้นก็คือ พม่า
นี่ก็ใกล้ฤดูร้อนเข้ามาอีกแล้ว ไม่นานจากนี้ไปเราก็คงได้เห็นพวกพม่าและพวกว้า (ที่ขายยาบ้าให้กับคนไทย) ยิงกับพวกไทยใหญ่ฉลองสงกรานต์กันอีกครั้ง