เอเจนซี - ปักกิ่งออกโรงโต้หลังถูกหลายฝ่ายกดดันให้ยื่นมือช่วยยุติความรุนแรงในซูดาน ลั่นความพยายามเชื่อมโยงปักกิ่งกับวิกฤตดาร์ฟูร์เป็นเรื่องไร้ความรับผิดชอบและไม่ยุติธรรม ด้านกอนโดลิซซ่า ไรซ์ เข้าใจการตัดสินใจถอนตัวจากที่ปรึกษาฝ่ายศิลป์พิธีเปิด-ปิดโอลิมปิกของสปีลเบิร์กเป็นแค่การตัดสินใจของคนๆ เดียว ขณะที่แรงกดดันเรื่องนี้ยังไม่สิ้นสุด จีนยังถูกผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกระหน่ำประเด็นกีดขวางเสรีภาพสื่ออีกด้วย
หลังจากพ่อมดฮอลลิวูด สตีเวน สปีลเบิร์ก ได้ประกาศถอนตัวอย่างเป็นทางการจากการเป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลป์ของพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันโอลิมปิกปักกิ่ง 2008 อย่างเป็นทางการ พร้อมแจงเหตุว่าเพราะเขาล้มเหลวในการกระตุ้นความพยายามของรัฐบาลมังกรให้ช่วยยับยั้งความรุนแรงและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน
ล่าสุดทางโฆษกจากสถานทูตจีนประจำสหรัฐฯ ได้ออกมาตอบโต้แต่มิได้เจาะจงเฉพาะถ้อยแถลงของสปีลเบิร์กแต่เพียงเท่านั้น โดยกล่าวว่า ความพยายามเชื่อมโยงจีนเข้ากับวิกฤตการณ์ในดาร์ฟูร์นั้นเป็นเรื่องที่ “ไร้ความรับผิดชอบและไม่ยุติธรรม” เอาเสียเลย
“ประเด็นความขัดแย้งในดาร์ฟูร์นั้นไม่ใช่ธุระภายในของจีน อีกทั้งจีนเองก็ไม่ได้เป็นต้นเหตุของเรื่อง คนทั่วไปเขาก็เข้าใจว่าโอลิมปิกเป็นเรื่องของกีฬา มีแต่ประเทศตะวันตกที่มักต้องการผูกกีฬาเข้ากับการเมือง นี่เป็นกลยุทธ์ที่ไม่ฉลาดเลย” หนังสือพิมพ์พิเพิ้ลเดลี่ กระบอกเสียงของรัฐบาลจีนระบุ
ขณะที่นางกอนโดลิซซ่า ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่า การตัดสินใจของสปีลเบิร์ก ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับบันลือโลกนั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคล “ฉันคิดว่าบทบาทของสหรัฐฯ ไม่ใช่การจะตัดสินว่าใครจะเข้าร่วมในโอลิมปิกหรือไม่ แต่เป็นการเดินหน้าต่อสู้กับปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในจีน และหาโอกาสประชาสัมพันธ์สิ่งเหล่านี้” ไรซ์กล่าว
ด้านกลุ่มหัวรุนแรงในดาร์ฟูร์เชื่อว่า ความเคลื่อนไหวของสปีลเบิร์กนั้นจะสร้างความอับอายให้แก่ปักกิ่ง ซึ่งเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ในอุตสาหกรรมน้ำมันของซูดาน และเป็นผู้จัดส่งอาวุธรายใหญ่สุดให้แก่ประเทศแอฟริกาตะวันออก จนถึงขั้นต้องเปลี่ยนจุดยืนในซูดาน
นอกจากประเด็นเรื่องดาร์ฟูร์ที่กลายเป็นปัญหาคาราคาซัง และโยงใยสู่ชะตากรรมโอลิมปิกปักกิ่งแล้ว จีนยังถูกโจมตีเรื่องความล้มเหลวในการให้เสรีภาพสื่อตามที่เคยให้คำมั่นไว้อีกด้วย นักรณรงค์จากองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาเรียกปี 2007 ว่าเป็นปีตาสว่าง โดยในรายงานประจำปีระบุว่า มีนักข่าวอย่างน้อย 33 รายและผู้แสดงความคิดเห็นไม่ลงรอยในเว็บไซต์อีก 51 รายถูกทางการจีนลงโทษจำคุก ทุบสถิติประเทศที่มีนักโทษคนข่าวมากที่สุดในโลก
แม้ว่าก่อนหน้านี้จีนเคยให้คำสัญญาเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้เสรีภาพมากขึ้นแก่นักข่าวต่างชาติในช่วงการแข่งขันโอลิมปิกปักกิ่ง และเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว จีนยังได้ผ่อนปรนกฎระเบียบเกี่ยวกับการรายงานข่าวนอกเมืองใหญ่ แต่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกลับเปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วมีนักข่าวต่างชาติเกือบ 180 คนถูกตามรังควาน หรือกักขัง โดยอ้างข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในจีน
“นักข่าวทุกคนรู้ดีว่า พวกเราต้องรอคอยข่าวจากแหล่งเดียว นั่นคือ สำนักข่าวซินหัว กระบอกเสียงของรัฐบาลจีน ถ้าหากเป็นประเด็นเกี่ยวกับผู้นำพรรค การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ หรือประเด็นระหว่างประเทศ เช่น เกาหลีเหนือ เป็นต้น มันเสี่ยงเกินไปหากจะตีพิมพ์อะไรก่อนหน้านั้น” รายงานอ้างคำพูดของนักข่าวรายหนึ่งจากสำนักข่าวเป่ยจิง นิวส์
นักข่าวบางรายที่พยายามจะคุ้ยหาความจริงในประเด็นอ่อนไหว ก็เผชิญกับภัยคุกคามชีวิต อย่างกรณีของนักข่าว 5 คน ที่ถูกอันธพาลรุมทำร้ายขณะกำลังตรวจสอบสาเหตุการพังทลายของสะพานแห่งหนึ่งในมณฑลหูหนัน อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนับสิบราย เป็นต้น
หลังจากพ่อมดฮอลลิวูด สตีเวน สปีลเบิร์ก ได้ประกาศถอนตัวอย่างเป็นทางการจากการเป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลป์ของพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันโอลิมปิกปักกิ่ง 2008 อย่างเป็นทางการ พร้อมแจงเหตุว่าเพราะเขาล้มเหลวในการกระตุ้นความพยายามของรัฐบาลมังกรให้ช่วยยับยั้งความรุนแรงและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน
ล่าสุดทางโฆษกจากสถานทูตจีนประจำสหรัฐฯ ได้ออกมาตอบโต้แต่มิได้เจาะจงเฉพาะถ้อยแถลงของสปีลเบิร์กแต่เพียงเท่านั้น โดยกล่าวว่า ความพยายามเชื่อมโยงจีนเข้ากับวิกฤตการณ์ในดาร์ฟูร์นั้นเป็นเรื่องที่ “ไร้ความรับผิดชอบและไม่ยุติธรรม” เอาเสียเลย
“ประเด็นความขัดแย้งในดาร์ฟูร์นั้นไม่ใช่ธุระภายในของจีน อีกทั้งจีนเองก็ไม่ได้เป็นต้นเหตุของเรื่อง คนทั่วไปเขาก็เข้าใจว่าโอลิมปิกเป็นเรื่องของกีฬา มีแต่ประเทศตะวันตกที่มักต้องการผูกกีฬาเข้ากับการเมือง นี่เป็นกลยุทธ์ที่ไม่ฉลาดเลย” หนังสือพิมพ์พิเพิ้ลเดลี่ กระบอกเสียงของรัฐบาลจีนระบุ
ขณะที่นางกอนโดลิซซ่า ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่า การตัดสินใจของสปีลเบิร์ก ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับบันลือโลกนั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคล “ฉันคิดว่าบทบาทของสหรัฐฯ ไม่ใช่การจะตัดสินว่าใครจะเข้าร่วมในโอลิมปิกหรือไม่ แต่เป็นการเดินหน้าต่อสู้กับปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในจีน และหาโอกาสประชาสัมพันธ์สิ่งเหล่านี้” ไรซ์กล่าว
ด้านกลุ่มหัวรุนแรงในดาร์ฟูร์เชื่อว่า ความเคลื่อนไหวของสปีลเบิร์กนั้นจะสร้างความอับอายให้แก่ปักกิ่ง ซึ่งเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ในอุตสาหกรรมน้ำมันของซูดาน และเป็นผู้จัดส่งอาวุธรายใหญ่สุดให้แก่ประเทศแอฟริกาตะวันออก จนถึงขั้นต้องเปลี่ยนจุดยืนในซูดาน
นอกจากประเด็นเรื่องดาร์ฟูร์ที่กลายเป็นปัญหาคาราคาซัง และโยงใยสู่ชะตากรรมโอลิมปิกปักกิ่งแล้ว จีนยังถูกโจมตีเรื่องความล้มเหลวในการให้เสรีภาพสื่อตามที่เคยให้คำมั่นไว้อีกด้วย นักรณรงค์จากองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาเรียกปี 2007 ว่าเป็นปีตาสว่าง โดยในรายงานประจำปีระบุว่า มีนักข่าวอย่างน้อย 33 รายและผู้แสดงความคิดเห็นไม่ลงรอยในเว็บไซต์อีก 51 รายถูกทางการจีนลงโทษจำคุก ทุบสถิติประเทศที่มีนักโทษคนข่าวมากที่สุดในโลก
แม้ว่าก่อนหน้านี้จีนเคยให้คำสัญญาเป็นมั่นเหมาะว่าจะให้เสรีภาพมากขึ้นแก่นักข่าวต่างชาติในช่วงการแข่งขันโอลิมปิกปักกิ่ง และเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว จีนยังได้ผ่อนปรนกฎระเบียบเกี่ยวกับการรายงานข่าวนอกเมืองใหญ่ แต่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนกลับเปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วมีนักข่าวต่างชาติเกือบ 180 คนถูกตามรังควาน หรือกักขัง โดยอ้างข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในจีน
“นักข่าวทุกคนรู้ดีว่า พวกเราต้องรอคอยข่าวจากแหล่งเดียว นั่นคือ สำนักข่าวซินหัว กระบอกเสียงของรัฐบาลจีน ถ้าหากเป็นประเด็นเกี่ยวกับผู้นำพรรค การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ หรือประเด็นระหว่างประเทศ เช่น เกาหลีเหนือ เป็นต้น มันเสี่ยงเกินไปหากจะตีพิมพ์อะไรก่อนหน้านั้น” รายงานอ้างคำพูดของนักข่าวรายหนึ่งจากสำนักข่าวเป่ยจิง นิวส์
นักข่าวบางรายที่พยายามจะคุ้ยหาความจริงในประเด็นอ่อนไหว ก็เผชิญกับภัยคุกคามชีวิต อย่างกรณีของนักข่าว 5 คน ที่ถูกอันธพาลรุมทำร้ายขณะกำลังตรวจสอบสาเหตุการพังทลายของสะพานแห่งหนึ่งในมณฑลหูหนัน อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนับสิบราย เป็นต้น