ผู้จัดการรายวัน - สำนักงาน ก.ล.ต. แทงกั๊กบลจ. ออกประกาศผ่อนผัน โฆษณากองทุนรวมไม่ต้องขอความเห็นชอบ เว้นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคต แต่กำหนดโทษทางอาญาขู่ หากปฏิบัติตามที่โฆษณาไม่ได้ โดยให้มีผลต่อเนื่องถึงตัวแทนขายหน่วยลงทุนด้วย พร้อมกันนี้ ยังสั่งห้ามใช้คำโฆษณากล่าวอ้างแบบไม่มีหลักฐาน หรือเป็นการเร่งรัดการซื้อหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาตัดสินใจด้วยตัวเอง ด้านวงการกองทุนไม่หวั่นโทษอาญา ระบุหากโฆษณาแล้วทำไม่ได้ ลูกค้าก็จะขาดความเชื่อมั่นไปเอง ชี้เป็นบทลงโทษที่รุนแรงกว่าเยอะ
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศดังกล่าว อยู่ที่การปรับปรุงให้การโฆษณา สามารถกระทำได้โดยบริษัทหลักทรัพย์ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานก่อนการโฆษณา เว้นแต่การโฆษณาที่เกี่ยวกับประมาณการผลตอบแทนในอนาคตต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานก่อน จากเดิมที่ต้องยื่นให้สำนักงานพิจารณาทั้งหมด โดยประกาศดังกล่าว ได้ขยายขอบเขตการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงการโฆษณาของตัวแทนขายหน่วยลงทุน (LBDU) ให้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประกาศนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในการโฆษณา บริษัทหลักทรัพย์ต้องตระหนักถึงความถูกต้องและความเหมาะสมของข้อมูลที่ใช้ในโฆษณาไม่ให้เป็นเท็จ เกินความจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่น ๆ เช่น การระบุคำเตือน การโฆษณาระหว่างการพิจารณาคำขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม หรือการโฆษณาที่มีข้อความที่คัดลอกหรืออ้างอิงจากบทความอื่น เป็นต้น
โดยสำนักงาน ได้กำหนดบทลงโทษเชิง administrative sanction เอาไว้ว่า หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่ปฏิบัติตามประกาศโฆษณา สำนักงานจะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาลงโทษบริษัทหลักทรัพย์ทางอาญา หรือทาง administrative sanction ซึ่งตัวอย่างการลงโทษในกรณีหลังนี้ ได้แก่ การสั่งให้หยุดการโฆษณา การกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอความเห็นชอบ การโฆษณาครั้งต่อ ๆ ไปภายในระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการโฆษณาเอาไวว่า ข้อมูลที่ใช้ในโฆษณาไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข แผนภาพ เสียง หรือข้อความ ต้องไม่เป็นเท็จ เกินความจริง หรือทำให้ผู้ลงทุนเกิดความเข้าใจผิด ตัวอย่างของโฆษณาที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ในรายละเอียดโครงการและหนังสือชี้ชวน การโฆษณาที่ทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจได้ว่าจะไม่สูญเสียเงินลงทุนสำหรับกองทุนที่ไม่ใช่กองทุนรวมมีประกัน การแสดงผลการดำเนินงานในอดีตเฉพาะบางช่วงเวลาที่อาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่าผลการดำเนินงานในอดีตดีกว่าความเป็นจริง การโฆษณาอัตราการเติบโตของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เพื่อให้ผู้ลงทุนสำคัญผิดว่าคือ ผลการดำเนินงานของกองทุน เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ควรหลีกเลี่ยงคำกล่าวอ้างแบบไม่มีหลักฐาน และอาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกองทุน เช่น “ลงทุนคุ้มค่าที่สุด” “ผลการลงทุนที่น่าพอใจ” หรือ “ให้เงินลงทุนเติบโตสม่ำเสมอ”
นอกจากนี้ ยังห้ามใช้ข้อมูลในลักษณะเป็นการเร่งรัดการซื้อหน่วยลงทุน เช่น “ลงทุนเดี๋ยวนี้ โอกาสเดียวได้รับผลตอบแทนสูง” “นี่เป็นเวลาลงทุนที่ดีที่สุด” “ซื้อหน่วยลงทุน ก่อนที่จะสายเกินไป” “โอกาสสุดท้าย ก่อน IPO จะสิ้นสุด” หรือ “ซื้อหน่วยลงทุนภายในเดือนนี้จะได้รับของสมนาคุณต่าง ๆ” เป็นต้น เนื่องจากผู้ลงทุนควรมีเวลาในการตัดสินใจลงทุนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ข้อห้ามดังกล่าวไม่ใช้กับการโฆษณาสำหรับกองทุน LTF และ RMF ในเรื่องระยะเวลาลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีที่ลงทุน บริษัทหลักทรัพย์อาจระบุเงื่อนไขหรือระยะเวลาในการลงทุน LTF หรือ RMF เพื่อให้ผู้ลงทุนทำการลงทุนให้ทันต่อการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีนั้นได้
ส่วนการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตนั้น ได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ 2 รูปแบบ คือ การระบุตัวเลขผลตอบแทนที่แน่นอน และระบุอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาที่แน่นอน (auto redemption) ที่บริษัทจัดการมีเจตนาจ่ายคืนผู้ถือหน่วยลงทุนจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ทั้งนี้ การประมาณการผลตอบแทนในอนาคตต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผลตามหลักวิชาการ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมาณการดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลล่าสุดและเป็นที่ยอมรับเป็นการทั่วไป
โดยการประมาณการผลตอบแทนข้างต้น สามารถกระทำได้สำหรับกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลที่พอร์ตการลงทุนไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุโครงการหรือรอบการลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ มีการถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการหรือรอบการลงทุน โดยต้องเปิดเผยรายละเอียด พอร์ตการลงทุน เช่น ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน สัดส่วนการลงทุน ระยะเวลาลงทุน ผลตอบแทนของทรัพย์สิน ที่จะลงทุน และค่าใช้จ่าย เป็นต้น ไว้ในโฆษณา รวมทั้งในโครงการและหนังสือชี้ชวนหรือในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลการลงทุนได้
อย่างไรก็ตาม การประมาณการผลตอบแทนซึ่งยังไม่เกิดขึ้นจริง มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ หากสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนตระหนักว่าบริษัทหลักทรัพย์มิได้รับประกันผลตอบแทนแต่อย่างใด จึงต้องจัดให้มีคำเตือนเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบว่าผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนหรืออัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามที่โฆษณาไว้ โดยบริษัทจัดการต้องเป็นผู้จัดทำข้อมูลประกอบการประมาณการผลตอบแทนเพื่อขอความเห็นชอบต่อสำนักงานก่อนการโฆษณาเท่านั้น ทั้งนี้ ตัวแทนขายหน่วยลงทุน (LBDU) สามารถนำข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานแล้วไปเผยแพร่ต่อได้ โดยห้ามเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัทจัดการกองทุนรายหนึ่งกล่าวว่า การออกประกาศดังกล่าว ส่งผลดีในแง่ของการลดขั้นตอนในการทำโฆษณาได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ส่วนการลงโทษนั้น เชื่อว่าคงไม่มีนัยยะสำคัญอะไรมากมายนัก เพราะหากบลจ.ใดประกาศหรือโฆษณาเกินจริงแล้วสุดท้ายทำไม่ได้อย่างที่พูดออกไป ก็จะขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้าและผู้ลงทุนไปเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงกว่าการลงโทษทางอาญาด้วยซ้ำ
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน โดยเนื้อหาสำคัญของประกาศดังกล่าว อยู่ที่การปรับปรุงให้การโฆษณา สามารถกระทำได้โดยบริษัทหลักทรัพย์ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานก่อนการโฆษณา เว้นแต่การโฆษณาที่เกี่ยวกับประมาณการผลตอบแทนในอนาคตต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานก่อน จากเดิมที่ต้องยื่นให้สำนักงานพิจารณาทั้งหมด โดยประกาศดังกล่าว ได้ขยายขอบเขตการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงการโฆษณาของตัวแทนขายหน่วยลงทุน (LBDU) ให้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประกาศนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในการโฆษณา บริษัทหลักทรัพย์ต้องตระหนักถึงความถูกต้องและความเหมาะสมของข้อมูลที่ใช้ในโฆษณาไม่ให้เป็นเท็จ เกินความจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่น ๆ เช่น การระบุคำเตือน การโฆษณาระหว่างการพิจารณาคำขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม หรือการโฆษณาที่มีข้อความที่คัดลอกหรืออ้างอิงจากบทความอื่น เป็นต้น
โดยสำนักงาน ได้กำหนดบทลงโทษเชิง administrative sanction เอาไว้ว่า หากบริษัทหลักทรัพย์ไม่ปฏิบัติตามประกาศโฆษณา สำนักงานจะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาลงโทษบริษัทหลักทรัพย์ทางอาญา หรือทาง administrative sanction ซึ่งตัวอย่างการลงโทษในกรณีหลังนี้ ได้แก่ การสั่งให้หยุดการโฆษณา การกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอความเห็นชอบ การโฆษณาครั้งต่อ ๆ ไปภายในระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการโฆษณาเอาไวว่า ข้อมูลที่ใช้ในโฆษณาไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข แผนภาพ เสียง หรือข้อความ ต้องไม่เป็นเท็จ เกินความจริง หรือทำให้ผู้ลงทุนเกิดความเข้าใจผิด ตัวอย่างของโฆษณาที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ในรายละเอียดโครงการและหนังสือชี้ชวน การโฆษณาที่ทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจได้ว่าจะไม่สูญเสียเงินลงทุนสำหรับกองทุนที่ไม่ใช่กองทุนรวมมีประกัน การแสดงผลการดำเนินงานในอดีตเฉพาะบางช่วงเวลาที่อาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่าผลการดำเนินงานในอดีตดีกว่าความเป็นจริง การโฆษณาอัตราการเติบโตของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เพื่อให้ผู้ลงทุนสำคัญผิดว่าคือ ผลการดำเนินงานของกองทุน เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ควรหลีกเลี่ยงคำกล่าวอ้างแบบไม่มีหลักฐาน และอาจทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกองทุน เช่น “ลงทุนคุ้มค่าที่สุด” “ผลการลงทุนที่น่าพอใจ” หรือ “ให้เงินลงทุนเติบโตสม่ำเสมอ”
นอกจากนี้ ยังห้ามใช้ข้อมูลในลักษณะเป็นการเร่งรัดการซื้อหน่วยลงทุน เช่น “ลงทุนเดี๋ยวนี้ โอกาสเดียวได้รับผลตอบแทนสูง” “นี่เป็นเวลาลงทุนที่ดีที่สุด” “ซื้อหน่วยลงทุน ก่อนที่จะสายเกินไป” “โอกาสสุดท้าย ก่อน IPO จะสิ้นสุด” หรือ “ซื้อหน่วยลงทุนภายในเดือนนี้จะได้รับของสมนาคุณต่าง ๆ” เป็นต้น เนื่องจากผู้ลงทุนควรมีเวลาในการตัดสินใจลงทุนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ข้อห้ามดังกล่าวไม่ใช้กับการโฆษณาสำหรับกองทุน LTF และ RMF ในเรื่องระยะเวลาลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีที่ลงทุน บริษัทหลักทรัพย์อาจระบุเงื่อนไขหรือระยะเวลาในการลงทุน LTF หรือ RMF เพื่อให้ผู้ลงทุนทำการลงทุนให้ทันต่อการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปีนั้นได้
ส่วนการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตนั้น ได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ 2 รูปแบบ คือ การระบุตัวเลขผลตอบแทนที่แน่นอน และระบุอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งล่วงหน้าซึ่งระบุเวลาที่แน่นอน (auto redemption) ที่บริษัทจัดการมีเจตนาจ่ายคืนผู้ถือหน่วยลงทุนจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ทั้งนี้ การประมาณการผลตอบแทนในอนาคตต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผลตามหลักวิชาการ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมาณการดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลล่าสุดและเป็นที่ยอมรับเป็นการทั่วไป
โดยการประมาณการผลตอบแทนข้างต้น สามารถกระทำได้สำหรับกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลที่พอร์ตการลงทุนไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุโครงการหรือรอบการลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ มีการถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการหรือรอบการลงทุน โดยต้องเปิดเผยรายละเอียด พอร์ตการลงทุน เช่น ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน สัดส่วนการลงทุน ระยะเวลาลงทุน ผลตอบแทนของทรัพย์สิน ที่จะลงทุน และค่าใช้จ่าย เป็นต้น ไว้ในโฆษณา รวมทั้งในโครงการและหนังสือชี้ชวนหรือในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลการลงทุนได้
อย่างไรก็ตาม การประมาณการผลตอบแทนซึ่งยังไม่เกิดขึ้นจริง มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ หากสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนตระหนักว่าบริษัทหลักทรัพย์มิได้รับประกันผลตอบแทนแต่อย่างใด จึงต้องจัดให้มีคำเตือนเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบว่าผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนหรืออัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามที่โฆษณาไว้ โดยบริษัทจัดการต้องเป็นผู้จัดทำข้อมูลประกอบการประมาณการผลตอบแทนเพื่อขอความเห็นชอบต่อสำนักงานก่อนการโฆษณาเท่านั้น ทั้งนี้ ตัวแทนขายหน่วยลงทุน (LBDU) สามารถนำข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานแล้วไปเผยแพร่ต่อได้ โดยห้ามเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัทจัดการกองทุนรายหนึ่งกล่าวว่า การออกประกาศดังกล่าว ส่งผลดีในแง่ของการลดขั้นตอนในการทำโฆษณาได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ส่วนการลงโทษนั้น เชื่อว่าคงไม่มีนัยยะสำคัญอะไรมากมายนัก เพราะหากบลจ.ใดประกาศหรือโฆษณาเกินจริงแล้วสุดท้ายทำไม่ได้อย่างที่พูดออกไป ก็จะขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้าและผู้ลงทุนไปเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงกว่าการลงโทษทางอาญาด้วยซ้ำ