ญาติวีระชน 6 ตุลาฯ 19 ตั้งวงชำแหละประวัติศาสตร์ จวก “หมักศพเดียว” อีกรอบ พร้อมโชว์หลักฐานใบชันสูตรศพจาก ร.พ.ตำรวจและศิริราชปึกใหญ่ มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 41 ราย แฉ “สมัคร” มือเปื้อนเลือดตัวจริง เพราะเป็นผู้ออกวิทยุยานเกราะปลุกระดมจนเกิดเหตุการณ์นองเลือด จี้รับผิดชอบคำพูดตัวเองอย่าทำเป็น “เผด็จการความจริง” อดีตผู้นำนักเรียนอาชีวะเชื่อมีศพอีกมากที่ยังสาบสูญ ด้านอาจารย์ประวัติศาสตร์ ชี้สังคมไทยยังพร้อมจะเกิดเหตุการณ์เหมือน 6 ตุลาฯ อีกเหตุชนชั้นนำไทยคับแคบ ครส.เรียกร้องตั้งกก.อิสระชำระ 6 ตุลาฯ
ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว วานนี้ (17 ก.พ.)คณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา จัดแถลงข่าวตอบโต้กรณี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ออกมาระบุว่าในเหตุการณ์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีผู้เสียชีวิตเพียง 1 ราย โดยระหว่างการแถลงข่าวได้นำเอกสารการชันสูตรศพ ของผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 41 ราย ซึ่งเป็นรายงานของโรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลศิริราชจำนวนหลายสิบหน้า
นายโอริสสา โอราวัณวัฒน์ อดีตเลขาธิการแนวร่วมอาชีวะศึกษาเพื่อประชาชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บทบาทการปลุกระดมของนายสมัครเป็นบทบาทสำคัญและก่อให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาขึ้น ตนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูกยิง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการยิงกรอกปากจนกรามแตก แต่บังเอิญรอด จึงเป็นคนที่ยังมีชีวิตอยู่และต้องออกมายืนยันความจริง
นายโอริสสา กล่าวต่อว่า ผู้เสียชีวิตไม่ได้มีแค่ 1 คนตามที่นายสมัครระบุ แต่จากหลักฐานที่เป็นเอกสารของทางราชการเองก็ระบุว่ามีคนตาย 41 คน อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อาจมีมากกว่านั้น เพราะบางคนไม่พบแม้แต่ศพในขณะที่ญาติพี่น้องเองก็เกรงกลัวอำนาจในขณะนั้นจึงไม่ได้มีการแจ้ง
นางเล็ก วิทยาภรณ์ มารดาของนายมนู วิทยาภรณ์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วันดังกล่าว กล่าวว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์ในวันนั้นได้ตามหาลูกเป็นเวลา 2 วัน จนไปพบเป็นศพแล้วอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ ร่างของลูกชายได้ถูกบรรจุใส่ไว้ในโลงเป็นที่เรียบร้อย ตนขอให้ทำความสะอาดร่างของลูกชายแต่ได้รับการปฏิเสธขณะที่เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่ต้องทำอะไรแล้ว เพราะได้แถมโลงให้ด้วย
“เขาฆ่าลูกเราแล้วแถมโลงให้เราอีกใบหนึ่ง ยังไงเสียโลงใบหนึ่งเราก็มีปัญญาซื้อ เราไม่ต้องการ เอาโลงไว้ใส่มือเพชฌฆาตเสียดีกว่า” นางเล็ก กล่าว และว่า นายสมัคร ที่ตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตอนนี้เป็นถึงนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของลูกชายตน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลงข่าวได้มีการอ่านเอกสารชันสูตรศพ นายมนูของโรงพยาบาลตำรวจ โดยระบุว่า เขาเป็นชายไทย อายุ 22 ปี สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ เสียชีวิตด้วยสาเหตุกระสุนปืนทะลุผ่านหัวใจจนเลือดตกใน
ในขณะที่นายคงเจตน์ พร้อมนำพล ประธานคณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา กล่าวว่า การกล่าวคำบิดเบือนของนายสมัครในครั้งนี้ไม่คาดหวังว่าจะมีการขอโทษใดๆ แต่ตนต้องการเรียกร้องให้มีการเปิดเผยความจริงในกรณีนี้และต้องการให้คนไทย ยอมรับว่ามีการสังหารประชาชนและนักศึกษาในเหตุการณ์ดังกล่าวจริง แม้ว่า อยากเห็นการลงโทษผู้ที่ก่อเหตุในวันนั้นแต่ตนก็ไม่หวังว่ารัฐบาลสมัครจะดำเนินการใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านั้น เวลา 13.00 น. คณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา ได้จัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโดยได้รับความสนใจจาก ผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ ญาติพี่น้อง และผู้ที่สนใจ โดยนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์ที่รัฐเป็นผู้ทำร้ายเปรียบเหมือนพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเป็นมาร เสียเองต่อประชาชนซึ่งน่าจะมีสาเหตุ 3 ประการได้แก่ หนึ่ง ชนชั้นนำไทยมีความคับแคบและไม่ยอมรับกับความคิดที่แตกต่างจากตัวเอง สอง ขาดบทเรียนที่จะรับมือกับการเคลื่อนไหวของประชาชน และสาม ชนชั้นนำไทยยังมีความคิดที่เหี้ยมโหดทารุณ ซึ่งทั้งหมดยังมีอยู่ในสังคมไทย ต่อจากนี้จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการเปิดอภิปรายถึงข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ต่อกรณีดังกล่าวได้มีการหยิบยกบทบาทของนายสมัครในการปลุกระดมผ่านวิทยุ ยานเกราะก่อนหน้าวันที่ 6 ต.ค.2519 พร้อมทั้งประณามการให้สัมภาษณ์บิดเบือน ข้อเท็จจริงๆ ทั้งๆ ที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์เสนอแนะให้นายสมัครทบทวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวโดยเร็ว ดำเนินการสืบสวนเหตุการณ์อย่างเปิดเผยเพื่อเพิ่มพูนความรู้กับสังคมและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
ด้าน นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่ ามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพียง 1 คนว่า ครส.อยากเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระแห่งชาติชำระประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 ประกอบ ด้วย นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ภาครัฐและเอกชน รวมถึงวีรชนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ผู้สูญเสียชีวิต ผู้สูญหายในเหตุการณ์ เพื่อชำระประวัติศาสตร์ที่เป็นบาดแผลของสังคมไทย
นายเมธา กล่าวว่า ครส.เห็นว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบคำพูดของตัวเอง โดยการตั้งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์สอบสวนข้อเท็จจริง อย่าแสดงตนเป็น "เผด็จการความจริง" บิดเบือนเรื่องที่ตนเองมีส่วนร่วม
“มีเอกสารประวัติศาสตร์มากมายระบุว่า นายสมัครสนับสนุนวิทยุยานเกราะ ปลุกระดมให้มีการเกลียดชังนิสิตนักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ทั้งในจดหมายของ นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีสมัยนั้นที่เขียนเล่าเหตุการณ์ขณะบวชเป็นพระถือเป็นเอกสารชิ้นประวัติศาสตร์ ก็ยังมีชื่อนายสมัครเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เวลาลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มกระทิงแดง และกลุ่มต่อต้านนักศึกษาสมัยนั้นชุมนุมที่ไหน นายสมัครก็จะไปที่นั่น จึงถือว่า มีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนและปลุกระดมให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้นจนมีผู้เสียชีวิตมากมาย และสูญหายอีกนับไม่ถ้วน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวง และกลางแม่น้ำเจ้าพระยา”
เลขาธิการ ครส. กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ของภาคประชาชน ได้เคยบันทึกว่ามีหลักฐานเหตุการณ์ครั้งนั้นอยู่ระบุ รายชื่อนิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิต 41 ราย ในจำนวนนี้เป็นศพ ที่ถูกเผาระบุรายละเอียดแยกชายหญิงไม่ได้ จำนวน 4 รายเป็นศพชายไทยไม่ทราบชื่อ จำนวน 6 ราย ผูกคอตายที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนขณะเป็นผู้ต้องหา
“ผมไม่เชื่อว่า เราจะมีนายกรัฐมนตรีที่โกหกทางสาธารณะไปได้ทั่วโลกขนาดนี้ และทำร้ายจิตใจญาติวีรชน 6 ตุลา จึงขอเรียกร้องให้สังคม ร่วมกันช่วยชำระประวัติศาสตร์ด้วย ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลชุดนี้ เพื่อให้เหตุการณ์นี้มีบรรทัดฐานอย่างน้อยที่สุดก็ความจริงให้เกิดขึ้นในสังคมไทย”
ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว วานนี้ (17 ก.พ.)คณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา จัดแถลงข่าวตอบโต้กรณี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ออกมาระบุว่าในเหตุการณ์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีผู้เสียชีวิตเพียง 1 ราย โดยระหว่างการแถลงข่าวได้นำเอกสารการชันสูตรศพ ของผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 41 ราย ซึ่งเป็นรายงานของโรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลศิริราชจำนวนหลายสิบหน้า
นายโอริสสา โอราวัณวัฒน์ อดีตเลขาธิการแนวร่วมอาชีวะศึกษาเพื่อประชาชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บทบาทการปลุกระดมของนายสมัครเป็นบทบาทสำคัญและก่อให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาขึ้น ตนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูกยิง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการยิงกรอกปากจนกรามแตก แต่บังเอิญรอด จึงเป็นคนที่ยังมีชีวิตอยู่และต้องออกมายืนยันความจริง
นายโอริสสา กล่าวต่อว่า ผู้เสียชีวิตไม่ได้มีแค่ 1 คนตามที่นายสมัครระบุ แต่จากหลักฐานที่เป็นเอกสารของทางราชการเองก็ระบุว่ามีคนตาย 41 คน อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อาจมีมากกว่านั้น เพราะบางคนไม่พบแม้แต่ศพในขณะที่ญาติพี่น้องเองก็เกรงกลัวอำนาจในขณะนั้นจึงไม่ได้มีการแจ้ง
นางเล็ก วิทยาภรณ์ มารดาของนายมนู วิทยาภรณ์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วันดังกล่าว กล่าวว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์ในวันนั้นได้ตามหาลูกเป็นเวลา 2 วัน จนไปพบเป็นศพแล้วอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ ร่างของลูกชายได้ถูกบรรจุใส่ไว้ในโลงเป็นที่เรียบร้อย ตนขอให้ทำความสะอาดร่างของลูกชายแต่ได้รับการปฏิเสธขณะที่เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่ต้องทำอะไรแล้ว เพราะได้แถมโลงให้ด้วย
“เขาฆ่าลูกเราแล้วแถมโลงให้เราอีกใบหนึ่ง ยังไงเสียโลงใบหนึ่งเราก็มีปัญญาซื้อ เราไม่ต้องการ เอาโลงไว้ใส่มือเพชฌฆาตเสียดีกว่า” นางเล็ก กล่าว และว่า นายสมัคร ที่ตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตอนนี้เป็นถึงนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของลูกชายตน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลงข่าวได้มีการอ่านเอกสารชันสูตรศพ นายมนูของโรงพยาบาลตำรวจ โดยระบุว่า เขาเป็นชายไทย อายุ 22 ปี สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ เสียชีวิตด้วยสาเหตุกระสุนปืนทะลุผ่านหัวใจจนเลือดตกใน
ในขณะที่นายคงเจตน์ พร้อมนำพล ประธานคณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา กล่าวว่า การกล่าวคำบิดเบือนของนายสมัครในครั้งนี้ไม่คาดหวังว่าจะมีการขอโทษใดๆ แต่ตนต้องการเรียกร้องให้มีการเปิดเผยความจริงในกรณีนี้และต้องการให้คนไทย ยอมรับว่ามีการสังหารประชาชนและนักศึกษาในเหตุการณ์ดังกล่าวจริง แม้ว่า อยากเห็นการลงโทษผู้ที่ก่อเหตุในวันนั้นแต่ตนก็ไม่หวังว่ารัฐบาลสมัครจะดำเนินการใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านั้น เวลา 13.00 น. คณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลา ได้จัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโดยได้รับความสนใจจาก ผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ ญาติพี่น้อง และผู้ที่สนใจ โดยนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์ที่รัฐเป็นผู้ทำร้ายเปรียบเหมือนพระนารายณ์ที่อวตารลงมาเป็นมาร เสียเองต่อประชาชนซึ่งน่าจะมีสาเหตุ 3 ประการได้แก่ หนึ่ง ชนชั้นนำไทยมีความคับแคบและไม่ยอมรับกับความคิดที่แตกต่างจากตัวเอง สอง ขาดบทเรียนที่จะรับมือกับการเคลื่อนไหวของประชาชน และสาม ชนชั้นนำไทยยังมีความคิดที่เหี้ยมโหดทารุณ ซึ่งทั้งหมดยังมีอยู่ในสังคมไทย ต่อจากนี้จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการเปิดอภิปรายถึงข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ต่อกรณีดังกล่าวได้มีการหยิบยกบทบาทของนายสมัครในการปลุกระดมผ่านวิทยุ ยานเกราะก่อนหน้าวันที่ 6 ต.ค.2519 พร้อมทั้งประณามการให้สัมภาษณ์บิดเบือน ข้อเท็จจริงๆ ทั้งๆ ที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์เสนอแนะให้นายสมัครทบทวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวโดยเร็ว ดำเนินการสืบสวนเหตุการณ์อย่างเปิดเผยเพื่อเพิ่มพูนความรู้กับสังคมและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
ด้าน นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่ ามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพียง 1 คนว่า ครส.อยากเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระแห่งชาติชำระประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 ประกอบ ด้วย นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ภาครัฐและเอกชน รวมถึงวีรชนที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ผู้สูญเสียชีวิต ผู้สูญหายในเหตุการณ์ เพื่อชำระประวัติศาสตร์ที่เป็นบาดแผลของสังคมไทย
นายเมธา กล่าวว่า ครส.เห็นว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบคำพูดของตัวเอง โดยการตั้งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์สอบสวนข้อเท็จจริง อย่าแสดงตนเป็น "เผด็จการความจริง" บิดเบือนเรื่องที่ตนเองมีส่วนร่วม
“มีเอกสารประวัติศาสตร์มากมายระบุว่า นายสมัครสนับสนุนวิทยุยานเกราะ ปลุกระดมให้มีการเกลียดชังนิสิตนักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ทั้งในจดหมายของ นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีสมัยนั้นที่เขียนเล่าเหตุการณ์ขณะบวชเป็นพระถือเป็นเอกสารชิ้นประวัติศาสตร์ ก็ยังมีชื่อนายสมัครเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เวลาลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มกระทิงแดง และกลุ่มต่อต้านนักศึกษาสมัยนั้นชุมนุมที่ไหน นายสมัครก็จะไปที่นั่น จึงถือว่า มีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนและปลุกระดมให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้นจนมีผู้เสียชีวิตมากมาย และสูญหายอีกนับไม่ถ้วน ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวง และกลางแม่น้ำเจ้าพระยา”
เลขาธิการ ครส. กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ของภาคประชาชน ได้เคยบันทึกว่ามีหลักฐานเหตุการณ์ครั้งนั้นอยู่ระบุ รายชื่อนิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิต 41 ราย ในจำนวนนี้เป็นศพ ที่ถูกเผาระบุรายละเอียดแยกชายหญิงไม่ได้ จำนวน 4 รายเป็นศพชายไทยไม่ทราบชื่อ จำนวน 6 ราย ผูกคอตายที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขนขณะเป็นผู้ต้องหา
“ผมไม่เชื่อว่า เราจะมีนายกรัฐมนตรีที่โกหกทางสาธารณะไปได้ทั่วโลกขนาดนี้ และทำร้ายจิตใจญาติวีรชน 6 ตุลา จึงขอเรียกร้องให้สังคม ร่วมกันช่วยชำระประวัติศาสตร์ด้วย ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลชุดนี้ เพื่อให้เหตุการณ์นี้มีบรรทัดฐานอย่างน้อยที่สุดก็ความจริงให้เกิดขึ้นในสังคมไทย”