สอนมวยภารกิจที่รัฐมนตรีคลังยุค "หมัก" ต้องทำ สร้างความเชื่อมั่นเพื่อให้เกิดการบริโภค เดินหน้าเมกะโปรเจกต์หนุนเอกชนลงทุน-กระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สำคัญ "หมอเลี้ยบ" ต้องกล้าตัดสินใจมากกว่านี้ ยกกรณี 30% เสียเครดิตจม ลั่นกระทรวงคลังไม่ใช่ที่ทดลองงาน ชี้ขอเวลา 6 เดือนต้องรับผิดชอบคำพูด หากล้มเหลวต้องพิจารณาตัวเอง เศรษฐกิจบอบช้ำมากพอแล้ว ส่ายหน้า ”ทนง พิทยะ” เข้าพบ ตอกย้ำลูกแหง่-ไร้น้ำยา
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภารกิจเร่งด่วนของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ในการเข้ารับตำแหน่งคือการฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนที่หายไปหลังจากที่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และมีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งการหยุดชะงักของประชาชนในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจดังนั้น นพ.สุรพงษ์จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนให้กลับมาโดยเร็วรวมถึงนักลงทุนที่ชะลอการลงทุนออกไป รัฐบาลจะต้องหามาตรการต่างๆ ออกมากระตุ้นในทุกระดับ การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์จะต้องเดินหน้าต่อไปเพราะเมื่อรัฐเป็นผู้นำในการลงทุนแล้วภาคเอกชนจะเกิดความเชื่อมั่นและลงทุนตามทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ดีเช่นเดิม
“การเร่งสร้างความเชื่อมั่นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยในส่วนของรากหญ้าหากจะนำนโยบายประชานิยมที่เคยใช้ทั้งกองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล ก็สามารถทำได้ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถมีการเติบโตได้อย่างยั่งยืน สำหรับด้านนักลงทุนต้องมีมาตรการออกมาเพื่อเร่งให้ขยายการลงทุนมากขึ้น” นายสมชัยกล่าว
***ต้องกล้าแทรกแซงแบงก์ชาติ
ขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชนให้ความเห็นต่อกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ได้หารือกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง 30% และยังไม่ยกเลิกมาตรการดังกล่าวในทันทีนั้น ทำให้นักลงทุนต่างผิดหวังกับท่าทีดังกล่าวเพราะสวนทางกับนโยบายในตอนหาเสียงที่ประกาศว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวทันที
ทั้งนี้ การที่ ธปท.ยังไม่ตัดสินใจยกเลิกมาตรการ 30% เนื่องจากเกรงว่าการประกาศยกเลิกมาตรการนี้จะเกิดผลในทางลบจะมีเงินทุนจากต่างชาติทะลักเข้ามามากทำให้เงินบาทแข็งค่าจนไม่สามารถควบคุมได้และต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว ดังนั้น รมว.คัลจึงต้องกล้าตัดสินใจกดดันให้ ธปท.ยกเลิกมาตรการดังกล่าวเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติ
“การแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติโดยหลักการถือว่าไม่มีความเหมาะสมแต่การแทรกแซงในครั้งนี้หากสามารถทำได้และเกิดผลดีต่อตลาดเงินตลาดทุนและสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนได้ก็เป็นเรื่องที่สมควรทำ เพราะเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากที่รอเข้ามาลงทุนในประเทศยังไม่กล้าเข้ามาเนื่องจากยังมีมาตรการนี้คอยสกัดกั้นอยู่”
***ตลาดออฟชอร์หายบาทไม่มีตัวชี้นำ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทที่ ธปท.กลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมได้หากยกเลิกมาตรการ 30% เป็นการมองในมุมของ ธปท.เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งตัวชี้นำที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนั้นมาจากตลาดแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ 2 ตลาด หากยกเลิกมาตรการนี้จะทำให้ตลาดต่างประเทศ (off shore) หายไป ซึ่งตลาดต่างประเทศเองเป็นตัวชี้นำให้ค่าเงินแข็ง
ส่วนสาเหตุที่ค่าเงินบาทชะลอการแข็งค่าลงในระยะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากมาตรการ 30% แต่อย่างใด การชะลอลงดังกล่าวเกิดจากการที่ธปท.แทรกแซงค่าเงินบาทโดยตัวเลขการแทรกแทรงเงินบาทในช่วงต้นปี 2549 จนถึงวันประกาศมาจรการ 30% ใช้ไป 500,000 ล้านบาท แต่ภายหลังการใช้มาตรการถึงสิ้นเดือนมกราคม 2551 ธปท.ใช้เงินไปถึง 1,500,000 ล้านบาท สูงถึง 3 เท่าก่อนประกาศใช้มาตรการ
“วิธีแก้ปัญหาของแบงก์ชาติที่ถูกต้องคือการลดดอกเบี้ยและยกเลิกมาตรการ 30% ซึ่งรัฐมนตรีคลังเองต้องมีความกล้าที่จะตัดสินใจ จะมัวรอให้แบงก์ชาติให้ความเห็นและประวิงเวลาไปผลเสียจะเพิ่มขึ้นทวีคูณเงินที่ใช้ต่อสู้ค่าเงินหมดไปเกือบ 2 ล้านล้านบาทแล้ว จึงถึงเวลาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องเร่งตัดสินใจหาวิธียกเลิกมาตรการ 30% โดยเร็ว”
***"ทนง" เข้าพบตอกย้ำภาพไร้น้ำยา
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังให้ความเห็นต่อการที่นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง เข้าพบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมาว่า จากการพูดคุยกับภาคเอกชนนั้น มองได้หลายแง่มุม บางคนมองว่าเป็น รมว.คลังที่ไม่มีฝีมือในการบริหารงานกระทรวงการคลังทั้งภาพที่ รมว.คลังเองเป็นหมอและมี รมช.คลังเป็นพยาบาล ภาคเอกชนก็ไม่มีความเชื่อมั่นอยู่แล้วทำให้ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจคอยให้คำปรึกษา
ทั้งนี้ หากจะมองในแง่การให้โอกาสแล้วการเป็นหมอพยาบาลเข้ามาบริหารเงินของประเทศนับล้านล้านบาทก็จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษคอยให้คำปรึกษาในระยะแรก แต่ประเด็นสำคัญก็คือประเทศไทยโดยเฉพาะกระทรวงการคลังไม่ใช่ที่ทดลองงานของใคร การที่ นพ.สุรพงษ์ขอเวลาถึง 6 เดือน เพื่อพิสูจน์ฝีมืออาจนานเกินไปสำหรับเศรษฐกิจที่อาการไม่ค่อยดีนักในขณะนี้ เนื่องจากระยะเวลาครึ่งปีอาจทำให้ประเทศบอบช้ำมากกว่าที่เป็นอยู่ได้
“การดึงตัวนักบริหารชั้นหนึ่งมาเป็นที่ปรึกษาแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของการเข้ามาทำหน้าที่ของรัฐมนตรีคลังคนนี้ สายตาที่ภาคเอกชนมองเข้ามาเห็นถึงความไร้น้ำยาของหมอที่เข้ามาดูแลการเงินของประเทศเป็นภาพของรัฐมนตรีตัวแทนที่เข้ามาเพื่อรักษาฐานอำนาจให้กับคนบางคนเท่านั้น” แหล่งข่าวกล่าวและย้ำว่า บทบาท รมว.คลังที่นพ.สุรพงษ์ได้รับนั้นเป็นการเล่นในระดับชาติจะต้องแยกแยะให้ได้ว่าสิ่งที่ทำเรื่องไหนเป็นเรื่องส่วนรวม เรื่องไหนเป็นเรื่องส่วนตัว
"การขอโอกาสพิสูจน์ฝีมือ 6 เดือนนั้นต้องเลือกเรื่องที่จะทำให้ถูกว่า เรื่องใดเร่งด่วนจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเรื่องให้ถูกต้อง หากทำได้ก็ถือว่าสอบผ่านหากไม่ได้ต้องพิจารณาตนเอง" แหล่งข่าวทิ้งท้าย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภารกิจเร่งด่วนของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ในการเข้ารับตำแหน่งคือการฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนที่หายไปหลังจากที่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และมีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งการหยุดชะงักของประชาชนในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจดังนั้น นพ.สุรพงษ์จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนให้กลับมาโดยเร็วรวมถึงนักลงทุนที่ชะลอการลงทุนออกไป รัฐบาลจะต้องหามาตรการต่างๆ ออกมากระตุ้นในทุกระดับ การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์จะต้องเดินหน้าต่อไปเพราะเมื่อรัฐเป็นผู้นำในการลงทุนแล้วภาคเอกชนจะเกิดความเชื่อมั่นและลงทุนตามทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ดีเช่นเดิม
“การเร่งสร้างความเชื่อมั่นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยในส่วนของรากหญ้าหากจะนำนโยบายประชานิยมที่เคยใช้ทั้งกองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล ก็สามารถทำได้ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถมีการเติบโตได้อย่างยั่งยืน สำหรับด้านนักลงทุนต้องมีมาตรการออกมาเพื่อเร่งให้ขยายการลงทุนมากขึ้น” นายสมชัยกล่าว
***ต้องกล้าแทรกแซงแบงก์ชาติ
ขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชนให้ความเห็นต่อกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ได้หารือกับนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง 30% และยังไม่ยกเลิกมาตรการดังกล่าวในทันทีนั้น ทำให้นักลงทุนต่างผิดหวังกับท่าทีดังกล่าวเพราะสวนทางกับนโยบายในตอนหาเสียงที่ประกาศว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวทันที
ทั้งนี้ การที่ ธปท.ยังไม่ตัดสินใจยกเลิกมาตรการ 30% เนื่องจากเกรงว่าการประกาศยกเลิกมาตรการนี้จะเกิดผลในทางลบจะมีเงินทุนจากต่างชาติทะลักเข้ามามากทำให้เงินบาทแข็งค่าจนไม่สามารถควบคุมได้และต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว ดังนั้น รมว.คัลจึงต้องกล้าตัดสินใจกดดันให้ ธปท.ยกเลิกมาตรการดังกล่าวเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากต่างชาติ
“การแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติโดยหลักการถือว่าไม่มีความเหมาะสมแต่การแทรกแซงในครั้งนี้หากสามารถทำได้และเกิดผลดีต่อตลาดเงินตลาดทุนและสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนได้ก็เป็นเรื่องที่สมควรทำ เพราะเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากที่รอเข้ามาลงทุนในประเทศยังไม่กล้าเข้ามาเนื่องจากยังมีมาตรการนี้คอยสกัดกั้นอยู่”
***ตลาดออฟชอร์หายบาทไม่มีตัวชี้นำ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทที่ ธปท.กลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมได้หากยกเลิกมาตรการ 30% เป็นการมองในมุมของ ธปท.เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งตัวชี้นำที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนั้นมาจากตลาดแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ 2 ตลาด หากยกเลิกมาตรการนี้จะทำให้ตลาดต่างประเทศ (off shore) หายไป ซึ่งตลาดต่างประเทศเองเป็นตัวชี้นำให้ค่าเงินแข็ง
ส่วนสาเหตุที่ค่าเงินบาทชะลอการแข็งค่าลงในระยะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากมาตรการ 30% แต่อย่างใด การชะลอลงดังกล่าวเกิดจากการที่ธปท.แทรกแซงค่าเงินบาทโดยตัวเลขการแทรกแทรงเงินบาทในช่วงต้นปี 2549 จนถึงวันประกาศมาจรการ 30% ใช้ไป 500,000 ล้านบาท แต่ภายหลังการใช้มาตรการถึงสิ้นเดือนมกราคม 2551 ธปท.ใช้เงินไปถึง 1,500,000 ล้านบาท สูงถึง 3 เท่าก่อนประกาศใช้มาตรการ
“วิธีแก้ปัญหาของแบงก์ชาติที่ถูกต้องคือการลดดอกเบี้ยและยกเลิกมาตรการ 30% ซึ่งรัฐมนตรีคลังเองต้องมีความกล้าที่จะตัดสินใจ จะมัวรอให้แบงก์ชาติให้ความเห็นและประวิงเวลาไปผลเสียจะเพิ่มขึ้นทวีคูณเงินที่ใช้ต่อสู้ค่าเงินหมดไปเกือบ 2 ล้านล้านบาทแล้ว จึงถึงเวลาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องเร่งตัดสินใจหาวิธียกเลิกมาตรการ 30% โดยเร็ว”
***"ทนง" เข้าพบตอกย้ำภาพไร้น้ำยา
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังให้ความเห็นต่อการที่นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง เข้าพบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมาว่า จากการพูดคุยกับภาคเอกชนนั้น มองได้หลายแง่มุม บางคนมองว่าเป็น รมว.คลังที่ไม่มีฝีมือในการบริหารงานกระทรวงการคลังทั้งภาพที่ รมว.คลังเองเป็นหมอและมี รมช.คลังเป็นพยาบาล ภาคเอกชนก็ไม่มีความเชื่อมั่นอยู่แล้วทำให้ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจคอยให้คำปรึกษา
ทั้งนี้ หากจะมองในแง่การให้โอกาสแล้วการเป็นหมอพยาบาลเข้ามาบริหารเงินของประเทศนับล้านล้านบาทก็จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษคอยให้คำปรึกษาในระยะแรก แต่ประเด็นสำคัญก็คือประเทศไทยโดยเฉพาะกระทรวงการคลังไม่ใช่ที่ทดลองงานของใคร การที่ นพ.สุรพงษ์ขอเวลาถึง 6 เดือน เพื่อพิสูจน์ฝีมืออาจนานเกินไปสำหรับเศรษฐกิจที่อาการไม่ค่อยดีนักในขณะนี้ เนื่องจากระยะเวลาครึ่งปีอาจทำให้ประเทศบอบช้ำมากกว่าที่เป็นอยู่ได้
“การดึงตัวนักบริหารชั้นหนึ่งมาเป็นที่ปรึกษาแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของการเข้ามาทำหน้าที่ของรัฐมนตรีคลังคนนี้ สายตาที่ภาคเอกชนมองเข้ามาเห็นถึงความไร้น้ำยาของหมอที่เข้ามาดูแลการเงินของประเทศเป็นภาพของรัฐมนตรีตัวแทนที่เข้ามาเพื่อรักษาฐานอำนาจให้กับคนบางคนเท่านั้น” แหล่งข่าวกล่าวและย้ำว่า บทบาท รมว.คลังที่นพ.สุรพงษ์ได้รับนั้นเป็นการเล่นในระดับชาติจะต้องแยกแยะให้ได้ว่าสิ่งที่ทำเรื่องไหนเป็นเรื่องส่วนรวม เรื่องไหนเป็นเรื่องส่วนตัว
"การขอโอกาสพิสูจน์ฝีมือ 6 เดือนนั้นต้องเลือกเรื่องที่จะทำให้ถูกว่า เรื่องใดเร่งด่วนจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเรื่องให้ถูกต้อง หากทำได้ก็ถือว่าสอบผ่านหากไม่ได้ต้องพิจารณาตนเอง" แหล่งข่าวทิ้งท้าย