ผู้จัดการรายวัน-แม่บ้านจ๊าก! เนื้อหมูกิโลละ 120 หลังผู้เลี้ยงปรับราคาหมูหน้าฟาร์มขึ้น “พาณิชย์”แก้เกมเตรียมเสนอ “มิ่งขวัญ”ปรับสูตรในการคำนวณราคาใหม่ หวังดึงราคาขายปลีกให้ลดลง ขณะที่ผู้ประกอบการย้ำต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบเพิ่มจำเป็นต้องปรับราคา
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร โรงชำแหละ เขียงหมู และผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ เพื่อแก้ไขปัญหาเนื้อสุกรมีราคาแพงว่า ได้มีการหารือถึงโครงสร้างต้นทุนของเนื้อสุกร ตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายถึงมือผู้บริโภค ซึ่งทำให้พบว่ามีการคิดต้นทุนมากเกินไปในบางจุด และหากสามารถปรับสูตรในการคำนวณต้นทุน จะทำให้ราคาเนื้อสุกรปรับลดราคาลงมาได้ ซึ่งจะเสนอให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พิจารณาในการประชุมร่วมกับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในวันที่ 22 ก.พ.นี้
ทั้งนี้ จากการหารือพบว่า ต้นทุนหมูเป็นปัจจุบันอยู่ที่ 58.81 บาทต่อกิโลกรัม และราคาขายหมูเป็นก่อนไปยังโรงชำแหละอยู่ที่ 59.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยทางผู้เลี้ยงให้เหตุผลว่าสาเหตุที่ราคาหมูเป็นสูงขึ้น เป็นเพราะต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพงขึ้น โดยกากถั่วเหลือง เพิ่มขึ้น 40% รำข้าว เพิ่มขึ้น 30% และข้าวโพด เพิ่มขึ้น 20%
“พิจารณาแล้ว เห็นว่าต้นทุนในการเลี้ยงหมูเป็นสูงขึ้นจริง ซึ่งก็ต้องยอมให้มีการปรับขึ้นราคาหมูเป็น แต่กรมฯ กำลังหาวิธีการที่จะไม่ให้ทำให้หมูหน้าเขียงสูงขึ้นตาม เพราะเดิมจะใช้สูตรในการคำนวณราคาหมูหน้าเขียง คือ ราคาหมูเป็นคูณสองบวกด้วย 2 บาท ตรงนี้กรมฯ จะเข้ามาดู และหาทางปรับสูตรในการคำนวณใหม่ เพื่อดึงให้ราคาหมูหน้าเขียงลดลงมา และจะเสนอให้นายมิ่งขวัญในใช้การหารือกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องในวันที่ 22 ก.พ.นี้ ด้วย”นายยรรยงกล่าว
ปัจจุบัน ราคาจำหน่ายเนื้อสุกรชำแหละขณะนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 115-120 บาท เพราะเป็นการคิดตามสูตรที่ใช้กันมา และถือเป็นราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 95-100 บาท
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า กรมการค้าภายในยอมได้ให้ผู้เลี้ยงสุกรปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม ปรับราคาขายขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 59-61 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. จากที่ราคาเมื่อปลายปีอยู่ที่ 44-45 บาทต่อกิโลกรัม และจะทำให้ราคาเนื้อหมูหน้าเขียงปรับราคามาอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท
สาเหตุที่ต้องมีการปรับราคาหมูเป็น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบมีการปรับเพิ่มขึ้นราคาเกือบ 100% ตั้งแต่ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา หากไม่ให้มีการปรับราคา ผู้เลี้ยงก็ไม่สามารถอยู่ได้ ที่สำคัญ ในขณะนี้ ลูกหมูมีจำนวนลดลง จากการตาย เพราะโรคท้องเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้หมูเป็นเข้าสู่ตลาดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า แม้ผลผลิตหมูเป็นจะลดลง จะป้อนหมูออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลน
ผู้ประกอบการย้ำต้นทุนเพิ่มต้องปรับราคา
แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีก กล่าวให้ความเห็นว่า โครงการธงฟ้าของรัฐบาลที่ทำกันมาหลายปี เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาให้กับผู้บริโภคท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดี สินค้ามีราคาแพง ซึ่งผู้ประกอบการต่างก็ร่วมมือกันในหลายรูปแบบ เช่น การลดราคาในศูนย์อาหารหรือฟู้ดคอร์ท การจัดมุมสินค้าราคาถูก แต่กระทรวงพาณิชย์กลับมีนโยบายห้ามไม่ให้มีการจัดลดแลกแจกแถม ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในยุคข้าวยากหมากแพงทำให้ไม่สามารถซื้อสินค้าราคาถูกได้
สำหรับนโยบายที่จะขอความร่วมมือทางผู้ประกอบการเพื่อให้ลดราคาสินค้าลงมาอีกนั้น ก็ต้องมาพิจารณากันเป็นรายสินค้า เนื่องจากว่าขณะนี้ ต้นทุนการผลิต ค่าน้ำมัน และภาคขนส่งสินค้าได้เพิ่มสูงขึ้นมาก การที่จะลดราคาลงมานั้นต้องดูถึงต้นทุนความเป็นจริงด้วย ซึ่งสินค้าบางตัวก็ยังพอที่จะปรับลดลงมาได้บ้างเล็กน้อย แต่บางตัวไม่สามารถปรับลดลงมาได้อีกแล้ว
“สินค้าประเภทอาหารต้นทุนเพิ่มขึ้น 20-30% แล้วรัฐจะมาบังคับให้ขายในราคาเดิมนั้นก็เป็นไปไม่ได้ หากจะขายราคาเดิมก็ต้องลดปริมาณลง ถ้าไม่ปรับลดปริมาณก็ต้องปรับราคาขายเพิ่มขึ้นอีก 5-10 บาทตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กรมการค้าภายในจะควบคุมราคาอาหารได้เฉพาะในฟูดคอร์ทตามห้างเท่านั้น แต่ร้านค้าทั่วๆ ไปไม่สามารถควบคุมได้ “ ผู้ประกอบการร้านอาหารรายหนึ่งกล่าว
ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาสินค้าหลายสิบรายการ และจ่อคิวที่จะปรับขึ้นอีกนับร้อยรายการ ที่ผ่านมาได้อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาอย่างเดียว ต่อมาได้เข้ามามาควบคุมจัดทำบัญชีรายการสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพอีก 33 รายการ ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นจริง เช่น น้ำมัน ค่าขนส่ง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การที่จะให้ปรับลดราคาสินค้านั้นจึงเป็นไปไม่ได้เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร โรงชำแหละ เขียงหมู และผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ เพื่อแก้ไขปัญหาเนื้อสุกรมีราคาแพงว่า ได้มีการหารือถึงโครงสร้างต้นทุนของเนื้อสุกร ตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายถึงมือผู้บริโภค ซึ่งทำให้พบว่ามีการคิดต้นทุนมากเกินไปในบางจุด และหากสามารถปรับสูตรในการคำนวณต้นทุน จะทำให้ราคาเนื้อสุกรปรับลดราคาลงมาได้ ซึ่งจะเสนอให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ พิจารณาในการประชุมร่วมกับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในวันที่ 22 ก.พ.นี้
ทั้งนี้ จากการหารือพบว่า ต้นทุนหมูเป็นปัจจุบันอยู่ที่ 58.81 บาทต่อกิโลกรัม และราคาขายหมูเป็นก่อนไปยังโรงชำแหละอยู่ที่ 59.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยทางผู้เลี้ยงให้เหตุผลว่าสาเหตุที่ราคาหมูเป็นสูงขึ้น เป็นเพราะต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพงขึ้น โดยกากถั่วเหลือง เพิ่มขึ้น 40% รำข้าว เพิ่มขึ้น 30% และข้าวโพด เพิ่มขึ้น 20%
“พิจารณาแล้ว เห็นว่าต้นทุนในการเลี้ยงหมูเป็นสูงขึ้นจริง ซึ่งก็ต้องยอมให้มีการปรับขึ้นราคาหมูเป็น แต่กรมฯ กำลังหาวิธีการที่จะไม่ให้ทำให้หมูหน้าเขียงสูงขึ้นตาม เพราะเดิมจะใช้สูตรในการคำนวณราคาหมูหน้าเขียง คือ ราคาหมูเป็นคูณสองบวกด้วย 2 บาท ตรงนี้กรมฯ จะเข้ามาดู และหาทางปรับสูตรในการคำนวณใหม่ เพื่อดึงให้ราคาหมูหน้าเขียงลดลงมา และจะเสนอให้นายมิ่งขวัญในใช้การหารือกับกลุ่มที่เกี่ยวข้องในวันที่ 22 ก.พ.นี้ ด้วย”นายยรรยงกล่าว
ปัจจุบัน ราคาจำหน่ายเนื้อสุกรชำแหละขณะนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 115-120 บาท เพราะเป็นการคิดตามสูตรที่ใช้กันมา และถือเป็นราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 95-100 บาท
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า กรมการค้าภายในยอมได้ให้ผู้เลี้ยงสุกรปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม ปรับราคาขายขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 59-61 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. จากที่ราคาเมื่อปลายปีอยู่ที่ 44-45 บาทต่อกิโลกรัม และจะทำให้ราคาเนื้อหมูหน้าเขียงปรับราคามาอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท
สาเหตุที่ต้องมีการปรับราคาหมูเป็น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบมีการปรับเพิ่มขึ้นราคาเกือบ 100% ตั้งแต่ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา หากไม่ให้มีการปรับราคา ผู้เลี้ยงก็ไม่สามารถอยู่ได้ ที่สำคัญ ในขณะนี้ ลูกหมูมีจำนวนลดลง จากการตาย เพราะโรคท้องเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้หมูเป็นเข้าสู่ตลาดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า แม้ผลผลิตหมูเป็นจะลดลง จะป้อนหมูออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลน
ผู้ประกอบการย้ำต้นทุนเพิ่มต้องปรับราคา
แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีก กล่าวให้ความเห็นว่า โครงการธงฟ้าของรัฐบาลที่ทำกันมาหลายปี เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาให้กับผู้บริโภคท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดี สินค้ามีราคาแพง ซึ่งผู้ประกอบการต่างก็ร่วมมือกันในหลายรูปแบบ เช่น การลดราคาในศูนย์อาหารหรือฟู้ดคอร์ท การจัดมุมสินค้าราคาถูก แต่กระทรวงพาณิชย์กลับมีนโยบายห้ามไม่ให้มีการจัดลดแลกแจกแถม ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในยุคข้าวยากหมากแพงทำให้ไม่สามารถซื้อสินค้าราคาถูกได้
สำหรับนโยบายที่จะขอความร่วมมือทางผู้ประกอบการเพื่อให้ลดราคาสินค้าลงมาอีกนั้น ก็ต้องมาพิจารณากันเป็นรายสินค้า เนื่องจากว่าขณะนี้ ต้นทุนการผลิต ค่าน้ำมัน และภาคขนส่งสินค้าได้เพิ่มสูงขึ้นมาก การที่จะลดราคาลงมานั้นต้องดูถึงต้นทุนความเป็นจริงด้วย ซึ่งสินค้าบางตัวก็ยังพอที่จะปรับลดลงมาได้บ้างเล็กน้อย แต่บางตัวไม่สามารถปรับลดลงมาได้อีกแล้ว
“สินค้าประเภทอาหารต้นทุนเพิ่มขึ้น 20-30% แล้วรัฐจะมาบังคับให้ขายในราคาเดิมนั้นก็เป็นไปไม่ได้ หากจะขายราคาเดิมก็ต้องลดปริมาณลง ถ้าไม่ปรับลดปริมาณก็ต้องปรับราคาขายเพิ่มขึ้นอีก 5-10 บาทตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กรมการค้าภายในจะควบคุมราคาอาหารได้เฉพาะในฟูดคอร์ทตามห้างเท่านั้น แต่ร้านค้าทั่วๆ ไปไม่สามารถควบคุมได้ “ ผู้ประกอบการร้านอาหารรายหนึ่งกล่าว
ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาสินค้าหลายสิบรายการ และจ่อคิวที่จะปรับขึ้นอีกนับร้อยรายการ ที่ผ่านมาได้อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาอย่างเดียว ต่อมาได้เข้ามามาควบคุมจัดทำบัญชีรายการสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพอีก 33 รายการ ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นจริง เช่น น้ำมัน ค่าขนส่ง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การที่จะให้ปรับลดราคาสินค้านั้นจึงเป็นไปไม่ได้เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้น