ตรึงราคาสินค้า 1 เดือน "มิ่งขวัญ" ห้ามผู้ค้าโขกเพิ่ม ขอเวลาเช็คต้นทุนการผลิต ก่อนเปิดฉากถกสัปดาห์หน้า สั่งปลัดฯ เกาะติดราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด เตรียมไล่เบี้ยหาต้นทุนค่าไฟฟ้าและค่าขนส่ง โดยจะเข้าหารือกับพลังงาน คมนาคมเร็วๆ นี้
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า จะดูแลราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด หลังจากให้กรมการค้าภายในไปศึกษาต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพ 33 รายการให้เสร็จภายใน 1 เดือน ขณะนี้กรมการค้าภายในได้พิจารณาในรายการสินค้าต่าง ๆ เพื่อดูต้นทุนที่แท้จริง จากนั้นจะเชิญกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคมาหารือ ซึ่งภายใน 1 เดือนหลังจากนี้จะยังไม่มีการปรับขึ้นราคาสินค้าอย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์ไม่ได้มีนโยบายให้ขายสินค้าแบบขาดทุนแต่ต้องดูต้นทุนสินค้าที่แท้จริงว่าได้รับผลกระทบอย่างไร เชื่อว่าขณะนี้ต้องช่วยกันบริหารต้นทุนกันใหม่ โดยจะหารือกับ พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน และ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เพื่อดูว่าต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าขนส่งเป็นอย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาเป็นพื้นฐานในการหารือกับภาคเอกชน
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่ากรมฯได้ทำการศึกษาต้นทุนสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ตามที่รมว.พาณิชย์ สั่งให้ทบทวนคาดว่าจะนำเสนอต่อรมว.พาณิชย์ให้พิจารณาทันสัปดาห์นี้ เบื้องต้นพบว่ามีสินค้าหลายกลุ่มที่ปรับลดลงราคาได้ หากบริหารจัดการที่ดีก็สามารถลดต้นทุนและปรับลดราคาเช่นหมวดสินค้าอาหาร อาหารสำเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้า หรือฟู้ดคอร์ท เมื่อนำต้นทุนมาพิจารณาอย่างแท้จริงพบว่ามีต้นทุนเฉลี่ยจานละ 15 บาท ทางกรมการค้าภายในขอความร่วมมือให้ขายในราคาไม่เกินจานละ 30 บาท หมวดสินค้าของใช้ประจำวันในบ้านอาทิสบู่ น้ำยาล้างจาน แชมพู และผลิตภัณฑ์การเกษตร เป็นต้น
"ในสัปดาห์หน้ารมว.พาณิชย์ เตรียมเชิญผู้ประกอบการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพและสมาคมต่าง ๆ มาหารือ เพื่อจะขอความร่วมมือในการปรับลดหรือตรึงราคาสินค้าอุปบริโภค เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน"นายยรรยง กล่าว
ทั้งนี้นายมิ่งขวัญ ได้ประชุมหารือร่วมกับ 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มส่งออกอาหารทะเล กลุ่มผลิตรองเท้า สมาคมก่อสร้างไทยในต่างประเทศ กลุ่มดีไซน์เนอร์ ผู้ส่งออก สมาคมยานยนต์ อะไหล่รถยนต์ส่งออก สมาคมโลจิสติกส์ สมาคมผู้ส่งออกผัก และผลไม้ โดยทั้ง 7 กลุ่มได้ให้ข้อมูลการส่งออกและเห็นด้วยที่มีแนวทางการผลักดันหาตลาดใหม่นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า เมื่อได้รับมอบหมายให้หารายได้เข้าประเทศ ก็จะทบทวนงบประมาณกระทรวงพาณิชย์ใหม่ โดยจะดูว่างบประมาณที่จะนำมาบุกตลาดต่างประเทศหากงบส่วนใดที่ไม่จำเป็น จะโอนงบส่วนนั้นมาอยู่ในงบด้านการทำตลาดส่งออก หากไม่พอจะของบประมาณเพิ่ม และย้ำกับ 7 สมาคมว่าการบุกตลาดส่งออกหลังจากนี้จะทำทุกไตรมาส ไม่หยุดนิ่งเฉย
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า จะดูแลราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด หลังจากให้กรมการค้าภายในไปศึกษาต้นทุนสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพ 33 รายการให้เสร็จภายใน 1 เดือน ขณะนี้กรมการค้าภายในได้พิจารณาในรายการสินค้าต่าง ๆ เพื่อดูต้นทุนที่แท้จริง จากนั้นจะเชิญกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคมาหารือ ซึ่งภายใน 1 เดือนหลังจากนี้จะยังไม่มีการปรับขึ้นราคาสินค้าอย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์ไม่ได้มีนโยบายให้ขายสินค้าแบบขาดทุนแต่ต้องดูต้นทุนสินค้าที่แท้จริงว่าได้รับผลกระทบอย่างไร เชื่อว่าขณะนี้ต้องช่วยกันบริหารต้นทุนกันใหม่ โดยจะหารือกับ พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน และ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เพื่อดูว่าต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าขนส่งเป็นอย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาเป็นพื้นฐานในการหารือกับภาคเอกชน
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่ากรมฯได้ทำการศึกษาต้นทุนสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ตามที่รมว.พาณิชย์ สั่งให้ทบทวนคาดว่าจะนำเสนอต่อรมว.พาณิชย์ให้พิจารณาทันสัปดาห์นี้ เบื้องต้นพบว่ามีสินค้าหลายกลุ่มที่ปรับลดลงราคาได้ หากบริหารจัดการที่ดีก็สามารถลดต้นทุนและปรับลดราคาเช่นหมวดสินค้าอาหาร อาหารสำเร็จรูปตามห้างสรรพสินค้า หรือฟู้ดคอร์ท เมื่อนำต้นทุนมาพิจารณาอย่างแท้จริงพบว่ามีต้นทุนเฉลี่ยจานละ 15 บาท ทางกรมการค้าภายในขอความร่วมมือให้ขายในราคาไม่เกินจานละ 30 บาท หมวดสินค้าของใช้ประจำวันในบ้านอาทิสบู่ น้ำยาล้างจาน แชมพู และผลิตภัณฑ์การเกษตร เป็นต้น
"ในสัปดาห์หน้ารมว.พาณิชย์ เตรียมเชิญผู้ประกอบการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพและสมาคมต่าง ๆ มาหารือ เพื่อจะขอความร่วมมือในการปรับลดหรือตรึงราคาสินค้าอุปบริโภค เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน"นายยรรยง กล่าว
ทั้งนี้นายมิ่งขวัญ ได้ประชุมหารือร่วมกับ 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มส่งออกอาหารทะเล กลุ่มผลิตรองเท้า สมาคมก่อสร้างไทยในต่างประเทศ กลุ่มดีไซน์เนอร์ ผู้ส่งออก สมาคมยานยนต์ อะไหล่รถยนต์ส่งออก สมาคมโลจิสติกส์ สมาคมผู้ส่งออกผัก และผลไม้ โดยทั้ง 7 กลุ่มได้ให้ข้อมูลการส่งออกและเห็นด้วยที่มีแนวทางการผลักดันหาตลาดใหม่นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า เมื่อได้รับมอบหมายให้หารายได้เข้าประเทศ ก็จะทบทวนงบประมาณกระทรวงพาณิชย์ใหม่ โดยจะดูว่างบประมาณที่จะนำมาบุกตลาดต่างประเทศหากงบส่วนใดที่ไม่จำเป็น จะโอนงบส่วนนั้นมาอยู่ในงบด้านการทำตลาดส่งออก หากไม่พอจะของบประมาณเพิ่ม และย้ำกับ 7 สมาคมว่าการบุกตลาดส่งออกหลังจากนี้จะทำทุกไตรมาส ไม่หยุดนิ่งเฉย