ผู้จัดการรายวัน – “เทพชัย” โต้รัฐ มั่นใจรายการข่าวของ ไทยทีพีบีเอส มีความสมดุลของการนำเสนอข่าว พร้อมเห็นด้วยหากมีสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาอีก แต่ต้องอยู่ภายใต้เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ย้ำชัดความเป็นกลางในการคัดเลือกพนักงานในเบื้องต้น ล่าสุดเผยผังรายการประจำวันที่ 15-29 กุมภาพันธ์ นักวิชาการ มช.ชี้ทีวีสาธารณะต้องตอบสนองประชาชนทุกกลุ่ม
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส และคณะกรรมการชั่วคราวนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการที่ภาคการเมืองตั้งข้อสังเกตเรื่องความสมดุลในการนำเสนอข่าวของไทยพีบีเอส ขอชี้แจงว่า ด้วยความเป็นทีวีสาธารณะ ซึ่งหมายความว่า ไทยพีบีเอส ไม่ใช่ช่องข่าว ดังนั้นจึงต้องมีการนำเสนอรายการที่หลากหลาย
สำหรับรายการข่าวทางไทยพีบีเอส ได้วางเป็นจุดแข็งของสถานีฯจึงได้วางรูปแบบนำเสนอรายการข่าว ภายใต้ความเป็นธรรม สมดุล และมีความหลากหลากหลายในการนำเสนอ เชื่อว่าจากการเป็นทีวีสาธารณะ ที่มีกฎหมายรองรับ สามารถนำเสนอข่าวสารแบบเจาะลึก โดยไม่มีเรื่องของการแทรกแซงสื่อเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างไร อีกทั้งการที่มีทีมข่าวจากทีไอทีวีเดิม ซึ่งเป็นกลุ่มคนข่าวที่มีคุณภาพ เชื่อมั่นว่าการนำเสนอรายการข่าวจะได้รับความน่าเชื่อถือจากประชาชนได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ทางไทยพีบีเอส ได้วางรูปแบบการนำเสนอข่าวที่แตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ช่องอื่น โดยจะลดบทบาทความสำคัญของบุคคลที่สำคัญๆลง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทางการเมือง แต่จะให้ความสำคัญกับประชาชนมากขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการนำเสนอข่าว
นายเทพชัย กล่าวต่อว่า ตามที่รัฐบาลจะก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาอีกช่องนั้น ตนเห็นด้วย ถ้าสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวจะมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารเพียงแต่สงสัยว่าเหตุผลของการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ครั้งนี้มาจากเหตุผลใดมากกว่า
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าไทยพีบีเอสไม่มีความเป็นธรรมในการรับพนักงานนั้น เนื่องจากไทยพีบีเอสต้องรีบเร่งให้ทีวีสาธารณะเกิดขึ้นเร่งด่วน ดังนั้นเบื้องต้นของการคัดเลือกพนักงาน จึงมีทั้งการทาบทามเข้ามา และพิจารณาจากพนักงานทีไอทีวีเข้ามาก่อน เพราะคนเหล่านี้มีประสบการณ์ และมีแนวความคิดเกี่ยวกับทีวีสาธารณะในแง่บวก ซึ่งจะช่วยให้ทีวีสาธารณะเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น
**คลอดผัง 15-29 ก.พ. คืบหน้า 60%
ล่าสุดวานนี้ (13 ก.พ.) ไทยพีบีเอส ได้เปิดตัวผังรายการใหม่ประจำวันที่ 15-29 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งมีความเป็นทีวีสาธารณะคืบหน้าขึ้นเป็น 60% นายเทพชัย กล่าวว่า ผังรายการใหม่ประจำวันที่ 15-29 กุมภาพันธ์นี้ จะเป็นผังที่มีความสมบูรณ์ขึ้นกว่าผังเดิม เนื่องจากมีรายการข่าวและรายการที่สร้างเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สำหรับประชาชนทุกระดับชั้น แบ่งสัดส่วนรายการแต่ประเภท 1.รายการข่าว 39.98% 2.สารคดีเชิงข่าวและวิเคราะห์ข่าว 5.42% 3.รายการสารคดี 29.57% รายการสารประโยชน์ 11.58% รายการเด็กและเยาวชน 7.01% และสาระบันเทิง 6.44%
โดยแบ่งออกเป็น รายการที่ผลิตเอง 50.18% รายการจัดซื้อลิขสิทธิ์ เช่น สารคดี 26.87% รายการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 21.78% และรายการจ้างผลิต 1.17% (ละคร นะโม ฮีโร่ผู้น่ารัก)
อย่างไรก็ตามจำนวนฝ่ายข่าวกว่า 310 คนที่มีอยู่ ยังมองว่าน่าจะเพิ่มอีกสัก 10-20 คน จึงจะมีความสมบูรณ์ในการทำงาน นอกจากนี้ยังจะต้องมีการฟอร์มทีมฝ่ายข่าวขึ้นมาอีก 1-2 ชุด สำหรับนำเสนอข่าวทางภาคใต้แบบเจาะลึก
“ผังใหม่นี้ จะยังมุ่งเน้นรายการข่าวและสารคดีเป็นหลักในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับไทย เพราะขณะนี้พบว่า รายการสารคดีที่เรตติ้งค่อนข้างดี 2.5 เชื่อว่าเป็นรายการที่จะดึงให้ประชาชนรับชมรายการต่างๆของไทยพีบีเอสด้วย อย่างไรก็ตามจำนวนรายการที่ผลิตเองของสถานีฯ สำหรับผังในอนาคต จะพยายามไม่ให้เกิน 50% แต่จะพยายามให้มีการรับจ้างผลิต จากผู้จัดรายการต่างๆที่นำเสนอรายการเข้ามามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรายการที่มีความเป็นสาธารณะมากยิ่งขึ้น คาดว่าในอีก 3-4 เดือน ไทยพีบีเอส จะเป็นทีวีสาธารณะเต็ม 100%”
สำหรับรายการใหม่ๆ นอกจากรายการข่าว ที่จะออกอากาศในผังประจำวันที่ 15-29 กุมภาพันธ์นี้ ได้แก่ รายการชั่วโมงทำกิน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-10.00น. ซึ่งเป็นรายการสด นำเสนอผลกระทบของปากท้องชาวบ้าน รายการไทยมุง ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.05-17.53น. เป็นรายการสดเน้นกลุ่มครอบครัวและชุมชน รายการดนตรี กวี ศิลป์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 17.05-17.53น. เป็นโชว์ดนตรีและศิลปะการแสดงหลากหลายแขนง และรายการ Hot Short Films ทุกวันอาทิตย์ เวลา17.05-17.53น. เป็นเวทีสำหรับผู้ที่รักหนังสั้น
ส่วนผังรายการในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ จะมีรายการ ข่าวภาคเด็ก, โลกใสใบสวย, คนละไม้คนละมือ, ครอบครัวเดียวกัน และในช่วงไพร์มไทม์ จะนำสารคดีเรื่อง “Silk Road เส้นทางสายไหม” ที่ผลิตโดยทีมงานจาก NHK มานำเสนอด้วย
**ทีวีสาธารณะต้องตอบสนอง ปชช.ทุกกลุ่ม-
วานนี้ (13 ก.พ.) ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครือข่ายเพื่อนทีวีสาธารณะและเครือข่ายนักวิชาการนิเทศศาสตร์ ร่วมกับคณะการสื่อสารมวลชน และวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเสวนาวิชาการเตรียมความพร้อมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโทรทัศน์สาธารณะ ครั้งที่ 2 "โทรทัศน์สาธารณะ:ของสาธารณะ โดยสาธารณะ เพื่อสาธารณะ" โดย ศ.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการเสวนา
รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีสื่อกระจายเสียง 2 ประเภท คือ สื่อของรัฐและสื่อสัมปทานเพื่อธุรกิจ ดังนั้น จึงมีการเรียกร้องให้เกิดสื่อสาธารณะที่ให้ประชาชนมีทางเลือกในการรับชมหรือรับฟัง โดยสื่อสาธารณะจะต้องมีเนื้อหาสาระที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มและผลิตรายการที่มีคุณภาพ
"เมื่อประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการสื่อกระจายเสียงสาธารณะแห่งแรกตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 ม.ค.51 โดยโอนกิจการของสถานีโทรทัศน์ TITV มาเป็นโทรทัศน์สาธารณะเป็นแห่งแรกของประเทศไทยนั้น จึงเป็นที่คาดหวังว่าโทรทัศน์สาธารณะดังกล่าวจะเป็นโทรทัศน์สาธารณะของสาธารณะหรือของประชาชนอย่างแท้จริง โดยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม"
นางสาวปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ ผู้ประสานงานเครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ เห็นว่า โทรทัศน์สาธารณะควรจะต้องเป็นโทรทัศน์ที่ประชาชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมจริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงมีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นเท่านั้น แต่จะต้องมีการนำความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนไปปฏิบัติจริงด้วย นอกจากนี้ควรจะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการผลิตรายการในรูปแบบและมีเนื้อหาเรื่องราวอย่างที่ต้องการจริงๆ ด้วย ส่วนความเป็นเจ้าของโทรทัศน์สาธารณะนั้นก็ควรจะเปิดให้ประชาชนเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งเชื่อว่าประชาชนพร้อมที่จะเสียเงินสนับสนุนโทรทัศน์สาธารณะ
นางสาวปัณณพร แสดงความเห็นกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวตำหนิการยุบ TITV แล้วตั้งโทรทัศน์สาธารณะรวมทั้งพูดถึงการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ว่า เป็นการสะท้อนให้ความคิดของนายกรัฐมนตรีที่ไม่เชื่อมั่นว่าประชาชนจะสามารถทำให้เกิดโทรทัศน์สาธารณะได้ รวมทั้งหวั่นเกรงว่าประชาชนจะสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารประเทศได้มากขึ้น
ส่วนการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่นั้น มองว่าน่าจะเป็นความพยายามที่จะมีสื่อที่สามารถควบคุมได้เป็นของตัวเองเพื่อกำหนดทิศทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่งเรื่องนี้เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะต้องยอมรับทุกรัฐบาลที่ผ่านมาก็พยายามที่จะควบคุมสื่อให้ได้อยู่แล้ว
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส และคณะกรรมการชั่วคราวนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการที่ภาคการเมืองตั้งข้อสังเกตเรื่องความสมดุลในการนำเสนอข่าวของไทยพีบีเอส ขอชี้แจงว่า ด้วยความเป็นทีวีสาธารณะ ซึ่งหมายความว่า ไทยพีบีเอส ไม่ใช่ช่องข่าว ดังนั้นจึงต้องมีการนำเสนอรายการที่หลากหลาย
สำหรับรายการข่าวทางไทยพีบีเอส ได้วางเป็นจุดแข็งของสถานีฯจึงได้วางรูปแบบนำเสนอรายการข่าว ภายใต้ความเป็นธรรม สมดุล และมีความหลากหลากหลายในการนำเสนอ เชื่อว่าจากการเป็นทีวีสาธารณะ ที่มีกฎหมายรองรับ สามารถนำเสนอข่าวสารแบบเจาะลึก โดยไม่มีเรื่องของการแทรกแซงสื่อเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างไร อีกทั้งการที่มีทีมข่าวจากทีไอทีวีเดิม ซึ่งเป็นกลุ่มคนข่าวที่มีคุณภาพ เชื่อมั่นว่าการนำเสนอรายการข่าวจะได้รับความน่าเชื่อถือจากประชาชนได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ทางไทยพีบีเอส ได้วางรูปแบบการนำเสนอข่าวที่แตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ช่องอื่น โดยจะลดบทบาทความสำคัญของบุคคลที่สำคัญๆลง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทางการเมือง แต่จะให้ความสำคัญกับประชาชนมากขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการนำเสนอข่าว
นายเทพชัย กล่าวต่อว่า ตามที่รัฐบาลจะก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาอีกช่องนั้น ตนเห็นด้วย ถ้าสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวจะมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารเพียงแต่สงสัยว่าเหตุผลของการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ครั้งนี้มาจากเหตุผลใดมากกว่า
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าไทยพีบีเอสไม่มีความเป็นธรรมในการรับพนักงานนั้น เนื่องจากไทยพีบีเอสต้องรีบเร่งให้ทีวีสาธารณะเกิดขึ้นเร่งด่วน ดังนั้นเบื้องต้นของการคัดเลือกพนักงาน จึงมีทั้งการทาบทามเข้ามา และพิจารณาจากพนักงานทีไอทีวีเข้ามาก่อน เพราะคนเหล่านี้มีประสบการณ์ และมีแนวความคิดเกี่ยวกับทีวีสาธารณะในแง่บวก ซึ่งจะช่วยให้ทีวีสาธารณะเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น
**คลอดผัง 15-29 ก.พ. คืบหน้า 60%
ล่าสุดวานนี้ (13 ก.พ.) ไทยพีบีเอส ได้เปิดตัวผังรายการใหม่ประจำวันที่ 15-29 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งมีความเป็นทีวีสาธารณะคืบหน้าขึ้นเป็น 60% นายเทพชัย กล่าวว่า ผังรายการใหม่ประจำวันที่ 15-29 กุมภาพันธ์นี้ จะเป็นผังที่มีความสมบูรณ์ขึ้นกว่าผังเดิม เนื่องจากมีรายการข่าวและรายการที่สร้างเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สำหรับประชาชนทุกระดับชั้น แบ่งสัดส่วนรายการแต่ประเภท 1.รายการข่าว 39.98% 2.สารคดีเชิงข่าวและวิเคราะห์ข่าว 5.42% 3.รายการสารคดี 29.57% รายการสารประโยชน์ 11.58% รายการเด็กและเยาวชน 7.01% และสาระบันเทิง 6.44%
โดยแบ่งออกเป็น รายการที่ผลิตเอง 50.18% รายการจัดซื้อลิขสิทธิ์ เช่น สารคดี 26.87% รายการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 21.78% และรายการจ้างผลิต 1.17% (ละคร นะโม ฮีโร่ผู้น่ารัก)
อย่างไรก็ตามจำนวนฝ่ายข่าวกว่า 310 คนที่มีอยู่ ยังมองว่าน่าจะเพิ่มอีกสัก 10-20 คน จึงจะมีความสมบูรณ์ในการทำงาน นอกจากนี้ยังจะต้องมีการฟอร์มทีมฝ่ายข่าวขึ้นมาอีก 1-2 ชุด สำหรับนำเสนอข่าวทางภาคใต้แบบเจาะลึก
“ผังใหม่นี้ จะยังมุ่งเน้นรายการข่าวและสารคดีเป็นหลักในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับไทย เพราะขณะนี้พบว่า รายการสารคดีที่เรตติ้งค่อนข้างดี 2.5 เชื่อว่าเป็นรายการที่จะดึงให้ประชาชนรับชมรายการต่างๆของไทยพีบีเอสด้วย อย่างไรก็ตามจำนวนรายการที่ผลิตเองของสถานีฯ สำหรับผังในอนาคต จะพยายามไม่ให้เกิน 50% แต่จะพยายามให้มีการรับจ้างผลิต จากผู้จัดรายการต่างๆที่นำเสนอรายการเข้ามามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรายการที่มีความเป็นสาธารณะมากยิ่งขึ้น คาดว่าในอีก 3-4 เดือน ไทยพีบีเอส จะเป็นทีวีสาธารณะเต็ม 100%”
สำหรับรายการใหม่ๆ นอกจากรายการข่าว ที่จะออกอากาศในผังประจำวันที่ 15-29 กุมภาพันธ์นี้ ได้แก่ รายการชั่วโมงทำกิน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-10.00น. ซึ่งเป็นรายการสด นำเสนอผลกระทบของปากท้องชาวบ้าน รายการไทยมุง ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.05-17.53น. เป็นรายการสดเน้นกลุ่มครอบครัวและชุมชน รายการดนตรี กวี ศิลป์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 17.05-17.53น. เป็นโชว์ดนตรีและศิลปะการแสดงหลากหลายแขนง และรายการ Hot Short Films ทุกวันอาทิตย์ เวลา17.05-17.53น. เป็นเวทีสำหรับผู้ที่รักหนังสั้น
ส่วนผังรายการในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ จะมีรายการ ข่าวภาคเด็ก, โลกใสใบสวย, คนละไม้คนละมือ, ครอบครัวเดียวกัน และในช่วงไพร์มไทม์ จะนำสารคดีเรื่อง “Silk Road เส้นทางสายไหม” ที่ผลิตโดยทีมงานจาก NHK มานำเสนอด้วย
**ทีวีสาธารณะต้องตอบสนอง ปชช.ทุกกลุ่ม-
วานนี้ (13 ก.พ.) ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครือข่ายเพื่อนทีวีสาธารณะและเครือข่ายนักวิชาการนิเทศศาสตร์ ร่วมกับคณะการสื่อสารมวลชน และวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเสวนาวิชาการเตรียมความพร้อมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโทรทัศน์สาธารณะ ครั้งที่ 2 "โทรทัศน์สาธารณะ:ของสาธารณะ โดยสาธารณะ เพื่อสาธารณะ" โดย ศ.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการเสวนา
รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีสื่อกระจายเสียง 2 ประเภท คือ สื่อของรัฐและสื่อสัมปทานเพื่อธุรกิจ ดังนั้น จึงมีการเรียกร้องให้เกิดสื่อสาธารณะที่ให้ประชาชนมีทางเลือกในการรับชมหรือรับฟัง โดยสื่อสาธารณะจะต้องมีเนื้อหาสาระที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มและผลิตรายการที่มีคุณภาพ
"เมื่อประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการสื่อกระจายเสียงสาธารณะแห่งแรกตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 ม.ค.51 โดยโอนกิจการของสถานีโทรทัศน์ TITV มาเป็นโทรทัศน์สาธารณะเป็นแห่งแรกของประเทศไทยนั้น จึงเป็นที่คาดหวังว่าโทรทัศน์สาธารณะดังกล่าวจะเป็นโทรทัศน์สาธารณะของสาธารณะหรือของประชาชนอย่างแท้จริง โดยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม"
นางสาวปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ ผู้ประสานงานเครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคเหนือ เห็นว่า โทรทัศน์สาธารณะควรจะต้องเป็นโทรทัศน์ที่ประชาชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมจริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงมีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นเท่านั้น แต่จะต้องมีการนำความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนไปปฏิบัติจริงด้วย นอกจากนี้ควรจะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการผลิตรายการในรูปแบบและมีเนื้อหาเรื่องราวอย่างที่ต้องการจริงๆ ด้วย ส่วนความเป็นเจ้าของโทรทัศน์สาธารณะนั้นก็ควรจะเปิดให้ประชาชนเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งเชื่อว่าประชาชนพร้อมที่จะเสียเงินสนับสนุนโทรทัศน์สาธารณะ
นางสาวปัณณพร แสดงความเห็นกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวตำหนิการยุบ TITV แล้วตั้งโทรทัศน์สาธารณะรวมทั้งพูดถึงการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ว่า เป็นการสะท้อนให้ความคิดของนายกรัฐมนตรีที่ไม่เชื่อมั่นว่าประชาชนจะสามารถทำให้เกิดโทรทัศน์สาธารณะได้ รวมทั้งหวั่นเกรงว่าประชาชนจะสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารประเทศได้มากขึ้น
ส่วนการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่นั้น มองว่าน่าจะเป็นความพยายามที่จะมีสื่อที่สามารถควบคุมได้เป็นของตัวเองเพื่อกำหนดทิศทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่งเรื่องนี้เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะต้องยอมรับทุกรัฐบาลที่ผ่านมาก็พยายามที่จะควบคุมสื่อให้ได้อยู่แล้ว