เงินนั้นสำคัญมานานแล้วในการหาเสียงเลือกตั้งไม่ว่าในประเทศใด ยิ่งอเมริกาซึ่งเป็นประเทศทุนนิยมเสรีมีนายทุนใหญ่ร่ำรวยมาก การเลือกตั้งก็พึ่งพาพวกนายทุนเหล่านี้
ดังนั้นเม็ดเงินสำหรับการเลือกตั้งก็เลยมากไปด้วย
คนอเมริกันถือเป็นเรื่องปกตินะครับ
แถมยังมองว่าใครระดมเงินได้มากกว่า คนนั้นจะประสบความสำเร็จมากกว่าอย่างน้อยต้องมีฝีมือในการบริหารจัดการละครับ
ดังนั้น พรรคใหญ่ 2 พรรค เวลานี้ก็ได้รับเงินบริจาคมากมาย
และระดมทุนกันต่อเนื่อง
นสพ.วอลล์สตรีท เจอร์นัล เคยประมาณการว่าในปี 2000 นั้น ข้อมูลการเงินในการทำการรณรงค์การเลือกตั้งมีมากมายนับพันๆ ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่นับการซื้อโฆษณาและการ “ซื้อเสียง”
ที่มลรัฐไอโอวา กลุ่มอิสระคอมมอนเซนส์ ได้สนับสนุนการโทรศัพท์ไปตามบ้านให้สนับสนุนผู้สมัครนายไมค์ ฮัคคาบี แถมยังกล่าวโจมตีคู่แข่งของเขาอย่างรุนแรง
อย่างนี้ก็เข้าข้างฝักใฝ่ชัดเจน
ไม่เรียกว่าอิสระแล้วละครับ แม้ว่าผู้สมัครรายนั้นจะไม่ได้รู้เห็นหรือว่าเกี่ยวข้องแต่ประการใดก็ตาม
ยังมีกลุ่มสโมสรเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นพวกต่อต้านภาษีได้ทำงานที่จะให้นายฮัคคาบีแพ้ให้ได้ ด้วยการโฆษณาในสื่อต่างๆ อย่างแพร่หลาย
ส่วนทางฝั่งเดโมแครตก็มีพวกจัดตั้งเรียกตัวเองว่า American Federation of Teachers (AFL-CIO Committee on Political Education) กลุ่มนี้ทุ่มเงินไป 250,000 เหรียญ ไปซื้อโฆษณาในรายการทางวิทยุที่โอไอวา โดยให้การสนับสนุนนางฮิลลารี คลินตัน
ส่วนพวก Friend of Earth Action นี่ก็ไม่ได้สนับสนุนหนุนคลินตันโดยไปซื้อโฆษณาโจมตีเธอยับเยินเช่นกัน
ในรอบ 4 ปี ที่ผ่านมา ทั้ง 2 พรรค แม้จะระดมเงิน แต่ก็ไม่ได้มากนัก โดยใช้เงินก็ไม่ใช้มากตามไปด้วย
ขณะที่พวกกลุ่มอิสระกลับใช้เงินมากกว่าเดิมอีกหนึ่งเท่าตัวสนับสนุนหรือค้านผู้สมัครจากทั้ง 2 พรรค
ข้อมูลทั้งปวงก็มาจาก นสพ.วอลล์สตรีท เจอร์นัล แบบที่กล่าวแล้วแหละครับ
พวกกลุ่มไม่แสวงกำไร แต่ยินดีรับเงินจากคนรวยเป็นรายบุคคลก็มีแยะครับในอเมริกา นอกจากรับทรัพย์จากคนรวยแล้ว องค์กรใหญ่ๆ ก็ให้เงินด้วย บางครั้งเงินจากสหภาพก็บริจาคให้
กลุ่มไม่หากำไร ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินจนกว่าจะหลังเลือกตั้งอีกหลายเดือน บางครั้งก็ไม่เปิดเผยไปเลย
ในการแข่งขันการเลือกตั้งปี 2000 นั้น พวกกลุ่ม “เครื่องเคียง” เหล่านี้ใช้เงินไป 260 ล้านเหรียญ ซึ่งว่ากันตามจริงก็ถือว่าพอประมาณไม่ได้มากมายเหมือนผู้สมัครที่ใช้กันมากกว่าหลายเท่า
เงิน 260 ล้านเหรียญใช้กับการแข่งขันประธานาธิบดีและสภาคองเกรส โดยหนึ่งในห้าใช้ในการเมืองระดับชาติ
แต่ในปี 2006 เลือกตั้งกลางเทอม พวกข้างเคียงเหล่านี้ใช้เงินถึง 600 ล้านเหรียญ หรือ 2 ใน 3 ของเงินที่พวกพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคใช้ครับ
และพวกผู้สมัครนั้นเป็นผู้ใช้เงินรายใหญ่ที่สุดอยู่ดี
กระนั้นก็ตามเงินเดินสะพัดมากกว่าเดิมใน 2 ปีที่ผ่านมา
ปี 1995 -96 เพิ่มจาก 2.8 พันล้านเหรียญเป็น 3.6 พันล้านเหรียญ ในปี 1996-2000 และเพิ่มเป็น 4.8 พันล้านเหรียญ ในช่วงปี 2003-04 ครับ
ปีนี้และปีหน้าก็คาดได้ว่า เงินจะเดินอยู่ในตลาดการเมืองไม่ต่ำกว่า 6 พันล้านเหรียญแล้วครับ
ส่วนพวกกลุ่มอิสระก็เพิ่มปริมาณไปด้วย
กฎหมายออกมาในปี 2002 ต้องการให้ใช้เงินน้อยลงในการเลือกตั้งเป็นกฎหมายชื่อ Bipartisan Campaign Reform Act of 2002 จัดเสนอโดยวุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน
กฎหมายนี้ห้ามไม่ให้พรรคการเมืองรับเงินก้อนใหญ่จากบุคคลที่ร่ำรวยหรือจากบรรษัทใหญ่, จากสหภาพหรือจากกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ
กฎหมายยังยกความสำคัญต่อ “กลุ่มรวมๆ” กับการระดมทุนซึ่งรวมเอาระดมเงินจากเพื่อนพ้องน้องพี่, จากลูกจ้างบรรษัทใหญ่ๆ, จากครอบครัวและผ่านมือเข้าสู่พรรคในลักษณะเป็นเงินก้อนใหญ่ให้กับการรณรงค์ทางการเมือง
กฎหมายยังไม่ให้สหภาพยึดโยงการบริจาคกับพรรคการเมืองด้วย
มีกลุ่มอีกระดับหนึ่งซึ่งโตเร็ว กลุ่มนี้จัดตั้งโดยอาศัยเซกชันที่ 501C ของ Tax Code ซึ่งให้ฐานะการเว้นภาษีต่อกลุ่มไม่แสวงกำไรโดยในหมวดว่าด้วย “Social Welfare” มีหมวดย่อยที่กลุ่มนี้สามารถกระตุ้นให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกหรือต่อต้านผู้สมัครคนใดก็ได้
และภายใต้กฎนี้ กลุ่มไม่รับเงินจากแหล่งที่กฎหมายระบุไว้
มีข้อมูลระบุว่ามีถึง 527 องค์กรโตขึ้นมาด้วยเงิน 171 ล้าน ในปี 2000 โดยมีเงินเพิ่มเป็น 316 ล้านในปี 2002 และปี 2004 มีเงิน 653 ล้าน การใช้เงินลดลงเหลือ 443 ล้านในปี 2006 ในเลือกตั้งกลางเทอม
กลุ่มใหม่ๆ นี้กำลังดึงเงินที่พรรคใช้และได้รับมาก่อนที่จะมีการปรามโดยกฎหมายในปี 2002 ครับ
หลังจากนั้นถึงปีถัดมาตัวเลขระบุว่า จอร์จ โซรอสเองก็เคยใช้เงิน 200,000 เหรียญกับพรรคเดโมแครต หลังจากนั้นก็ให้เงินไม่ต่ำกว่า 20 ล้านกับ 527 องค์กรครับ
นี่แหละครับ... ทุนกับเงินในการเลือกตั้งของอเมริกา
สำหรับในไทยนั้น เงินชี้ขาด แต่เราไม่แยบยลเหมือนในอเมริกา แม้เราจะระดมทุน แต่เราแค่จัดโต๊ะเลี้ยงอาหารหาเงินก็เท่านั้น
ไม่มีการระดมหาเงินกันต่อเนื่อง
ไม่มีองค์กร “ข้างเคียง” ช่วยกันสนับสนุนหรือต่อต้านคู่แข่งเหมือนของเขา
เรามีแต่ด่ากันไปด่ากันมา และเอาดีใส่ตัว เอาชั่วป้ายคนอื่นเท่านั้น
ดังนั้นเม็ดเงินสำหรับการเลือกตั้งก็เลยมากไปด้วย
คนอเมริกันถือเป็นเรื่องปกตินะครับ
แถมยังมองว่าใครระดมเงินได้มากกว่า คนนั้นจะประสบความสำเร็จมากกว่าอย่างน้อยต้องมีฝีมือในการบริหารจัดการละครับ
ดังนั้น พรรคใหญ่ 2 พรรค เวลานี้ก็ได้รับเงินบริจาคมากมาย
และระดมทุนกันต่อเนื่อง
นสพ.วอลล์สตรีท เจอร์นัล เคยประมาณการว่าในปี 2000 นั้น ข้อมูลการเงินในการทำการรณรงค์การเลือกตั้งมีมากมายนับพันๆ ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่นับการซื้อโฆษณาและการ “ซื้อเสียง”
ที่มลรัฐไอโอวา กลุ่มอิสระคอมมอนเซนส์ ได้สนับสนุนการโทรศัพท์ไปตามบ้านให้สนับสนุนผู้สมัครนายไมค์ ฮัคคาบี แถมยังกล่าวโจมตีคู่แข่งของเขาอย่างรุนแรง
อย่างนี้ก็เข้าข้างฝักใฝ่ชัดเจน
ไม่เรียกว่าอิสระแล้วละครับ แม้ว่าผู้สมัครรายนั้นจะไม่ได้รู้เห็นหรือว่าเกี่ยวข้องแต่ประการใดก็ตาม
ยังมีกลุ่มสโมสรเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นพวกต่อต้านภาษีได้ทำงานที่จะให้นายฮัคคาบีแพ้ให้ได้ ด้วยการโฆษณาในสื่อต่างๆ อย่างแพร่หลาย
ส่วนทางฝั่งเดโมแครตก็มีพวกจัดตั้งเรียกตัวเองว่า American Federation of Teachers (AFL-CIO Committee on Political Education) กลุ่มนี้ทุ่มเงินไป 250,000 เหรียญ ไปซื้อโฆษณาในรายการทางวิทยุที่โอไอวา โดยให้การสนับสนุนนางฮิลลารี คลินตัน
ส่วนพวก Friend of Earth Action นี่ก็ไม่ได้สนับสนุนหนุนคลินตันโดยไปซื้อโฆษณาโจมตีเธอยับเยินเช่นกัน
ในรอบ 4 ปี ที่ผ่านมา ทั้ง 2 พรรค แม้จะระดมเงิน แต่ก็ไม่ได้มากนัก โดยใช้เงินก็ไม่ใช้มากตามไปด้วย
ขณะที่พวกกลุ่มอิสระกลับใช้เงินมากกว่าเดิมอีกหนึ่งเท่าตัวสนับสนุนหรือค้านผู้สมัครจากทั้ง 2 พรรค
ข้อมูลทั้งปวงก็มาจาก นสพ.วอลล์สตรีท เจอร์นัล แบบที่กล่าวแล้วแหละครับ
พวกกลุ่มไม่แสวงกำไร แต่ยินดีรับเงินจากคนรวยเป็นรายบุคคลก็มีแยะครับในอเมริกา นอกจากรับทรัพย์จากคนรวยแล้ว องค์กรใหญ่ๆ ก็ให้เงินด้วย บางครั้งเงินจากสหภาพก็บริจาคให้
กลุ่มไม่หากำไร ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินจนกว่าจะหลังเลือกตั้งอีกหลายเดือน บางครั้งก็ไม่เปิดเผยไปเลย
ในการแข่งขันการเลือกตั้งปี 2000 นั้น พวกกลุ่ม “เครื่องเคียง” เหล่านี้ใช้เงินไป 260 ล้านเหรียญ ซึ่งว่ากันตามจริงก็ถือว่าพอประมาณไม่ได้มากมายเหมือนผู้สมัครที่ใช้กันมากกว่าหลายเท่า
เงิน 260 ล้านเหรียญใช้กับการแข่งขันประธานาธิบดีและสภาคองเกรส โดยหนึ่งในห้าใช้ในการเมืองระดับชาติ
แต่ในปี 2006 เลือกตั้งกลางเทอม พวกข้างเคียงเหล่านี้ใช้เงินถึง 600 ล้านเหรียญ หรือ 2 ใน 3 ของเงินที่พวกพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคใช้ครับ
และพวกผู้สมัครนั้นเป็นผู้ใช้เงินรายใหญ่ที่สุดอยู่ดี
กระนั้นก็ตามเงินเดินสะพัดมากกว่าเดิมใน 2 ปีที่ผ่านมา
ปี 1995 -96 เพิ่มจาก 2.8 พันล้านเหรียญเป็น 3.6 พันล้านเหรียญ ในปี 1996-2000 และเพิ่มเป็น 4.8 พันล้านเหรียญ ในช่วงปี 2003-04 ครับ
ปีนี้และปีหน้าก็คาดได้ว่า เงินจะเดินอยู่ในตลาดการเมืองไม่ต่ำกว่า 6 พันล้านเหรียญแล้วครับ
ส่วนพวกกลุ่มอิสระก็เพิ่มปริมาณไปด้วย
กฎหมายออกมาในปี 2002 ต้องการให้ใช้เงินน้อยลงในการเลือกตั้งเป็นกฎหมายชื่อ Bipartisan Campaign Reform Act of 2002 จัดเสนอโดยวุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคน
กฎหมายนี้ห้ามไม่ให้พรรคการเมืองรับเงินก้อนใหญ่จากบุคคลที่ร่ำรวยหรือจากบรรษัทใหญ่, จากสหภาพหรือจากกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ
กฎหมายยังยกความสำคัญต่อ “กลุ่มรวมๆ” กับการระดมทุนซึ่งรวมเอาระดมเงินจากเพื่อนพ้องน้องพี่, จากลูกจ้างบรรษัทใหญ่ๆ, จากครอบครัวและผ่านมือเข้าสู่พรรคในลักษณะเป็นเงินก้อนใหญ่ให้กับการรณรงค์ทางการเมือง
กฎหมายยังไม่ให้สหภาพยึดโยงการบริจาคกับพรรคการเมืองด้วย
มีกลุ่มอีกระดับหนึ่งซึ่งโตเร็ว กลุ่มนี้จัดตั้งโดยอาศัยเซกชันที่ 501C ของ Tax Code ซึ่งให้ฐานะการเว้นภาษีต่อกลุ่มไม่แสวงกำไรโดยในหมวดว่าด้วย “Social Welfare” มีหมวดย่อยที่กลุ่มนี้สามารถกระตุ้นให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกหรือต่อต้านผู้สมัครคนใดก็ได้
และภายใต้กฎนี้ กลุ่มไม่รับเงินจากแหล่งที่กฎหมายระบุไว้
มีข้อมูลระบุว่ามีถึง 527 องค์กรโตขึ้นมาด้วยเงิน 171 ล้าน ในปี 2000 โดยมีเงินเพิ่มเป็น 316 ล้านในปี 2002 และปี 2004 มีเงิน 653 ล้าน การใช้เงินลดลงเหลือ 443 ล้านในปี 2006 ในเลือกตั้งกลางเทอม
กลุ่มใหม่ๆ นี้กำลังดึงเงินที่พรรคใช้และได้รับมาก่อนที่จะมีการปรามโดยกฎหมายในปี 2002 ครับ
หลังจากนั้นถึงปีถัดมาตัวเลขระบุว่า จอร์จ โซรอสเองก็เคยใช้เงิน 200,000 เหรียญกับพรรคเดโมแครต หลังจากนั้นก็ให้เงินไม่ต่ำกว่า 20 ล้านกับ 527 องค์กรครับ
นี่แหละครับ... ทุนกับเงินในการเลือกตั้งของอเมริกา
สำหรับในไทยนั้น เงินชี้ขาด แต่เราไม่แยบยลเหมือนในอเมริกา แม้เราจะระดมทุน แต่เราแค่จัดโต๊ะเลี้ยงอาหารหาเงินก็เท่านั้น
ไม่มีการระดมหาเงินกันต่อเนื่อง
ไม่มีองค์กร “ข้างเคียง” ช่วยกันสนับสนุนหรือต่อต้านคู่แข่งเหมือนของเขา
เรามีแต่ด่ากันไปด่ากันมา และเอาดีใส่ตัว เอาชั่วป้ายคนอื่นเท่านั้น