เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ คณะรัฐมนตรีเงา ของพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีเงา พร้อมด้วยรัฐมนตรีเงาทั้งคณะ เข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพียงโดยใช้เวลา กว่า3 ชั่วโมง
ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ ได้แถลงว่า การประชุมนัดแรกเพื่อเป็นการกำหนดแนวทางการทำงานของฝ่ายค้านให้เป็นไปอย่างมีระบบ มีความครอบคลุม รวมทั้งทำให้การเมืองมีพัฒนาการ นอกจากนี้ประชาชนและประเทศชาติจะได้ประโยชน์อย่างสูงสุดจากการทำงานที่จริงจังของทุกฝ่าย ซึ่งยืนยันว่าการทำงานของครม.เงา ไม่เหมือนกับการทำงานของครม.จริง โดยจะทำหน้าที่เฉพาะตรวจสอบติดตามและเสนอแนะการทำงานเท่านั้น และจะไม่มีปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนกับองค์กรอื่นๆ โดยเฉพาะการทำงานของกรรมาธิการ เนื่องจากเป็นกลไกของสภา และ ส.ว.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าในที่ประชุมได้มีการให้ทุกคนรับข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในเบื้องต้น คือการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 51 โดยจำแนกเป็นรายกระทรวง รายจังหวัด เพื่อให้ติดตามผลงานต่างๆ ที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้ทำไว้ รวมถึงรัฐบาลชุดนี้ นอกจากนี้ยังมีการแจกรายชื่อกฎหมายที่ยังค้างอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อดูว่ามีร่างใด ที่พรรคเห็นว่าควรจะผลักดันต่อไป หรือไม่ควรสานต่อไป เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจุดยืนของพรรค
นายกรัฐมนตรีเงากล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้กำหนดแนวทางการทำงานเบื้องต้น โดยจะมีการประชุมทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.30-11.00 น. ก่อนที่จะไปร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฏร โดยจะมีการหยิบยกปัญหาเร่งด่วนของบ้านเมือง เพื่อหาแนวทางเสนอแนะรัฐบาล รวมทั้งผลพวงจากปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน และการประชุม ครม.ในแต่ละนัด อีกทั้งเรื่องอื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาเป็นพิเศษ คือพรรคจะมีการเสนอนโยบายค่าครองชีพ 99 วัน ต่อรัฐบาลชุดใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1. การฟื้นฟูเศรษฐกิจ 2. การพัฒนาการศึกษาของประเทศ 3. ปัญหาความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4. การฟื้นฟูประชาธิปไตย และ 5. ปัญหายาเสพติด ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจมากที่สุด โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ การลดภาระค่าใช้จ่าย ที่ต้องแก้ไขเป็นเร่งด่วน พรรคเคยเสนอแผนวาระ 99 วันมาแล้ว ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่ครอบคลุมการแก้ปัญหา การขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำมัน และการเรียนฟรี
"อยากฝากรัฐบาลว่า อย่ารังเกียจว่าเป็นข้อเสนอของเรา ขอให้รับไปดำเนินการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะ ปัญหาหนี้สินที่ไม่ใช้เรื่องการพักชำระหนี้เกษตรกรเท่านั้น แต่รัฐบาลควรดูเรื่องหนี้บัตรเครดิต ปัญหาหนี้เสีย ปัญหากฎหมายข้อมูลเครดิต จึงอยากให้รัฐบาลลดภาระของประชาชนเฉพาะหน้า "
ส่วนภาพรวมของเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องเร่งเรียกความเชื่อมั่นกลับมา ด้วยการสร้างความชัดเจนกับนโยบายการสำรองร้อยละ 30 และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่กันไป รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในการทำงานที่เป็นเอกภาพระหว่างการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง ที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการบริหารเศรษฐกิจมหภาค ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจนอกจากจะสนับสนุนการลงทุนในภาครัฐแล้ว ที่เราจะเน้นเรื่องการคุ้มค่าการลงทุนในเชิงประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ และดำเนินการอย่างโปร่งใส ยังต้องสนับสนุนการลงทุนในภาคเอกชนด้วยการสร้างความเชื่อมั่นและแก้ไขระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม หากโครงการใดที่เป็นประโยชน์กับประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ ยินดีสนับสนุน แต่ต้องพิจารณาใน3 ข้อ คือ 1. มีหลักการยั่งยืนและพอเพียงในการกำกับ จัดเม็ดเงินลงไปสู่ชุมชน 2. มีเป้าหมายที่ชัดเจน และอิงต่อความต้องการของแต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ไหนที่จนซ้ำซาก จะดูแลเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นไม่ได้ และ 3. โครงการประชานิยมที่ลดภาระของประชาชนควรวางระบบสวัสดิการ ซึ่งจะมีหลักประกันไม่ให้ประชาชนวิ่งหาผู้มีอำนาจ โดยอาจจะมีกฎหมายรองรับที่ต้องศึกษาอย่างชัดเจนว่า ต้องใช้งบประมาณเท่าไร อย่างไร ซึ่งทั้งหมดเป็นการศึกษาเบื้องต้น เพื่อให้ความคิดกับรัฐบาลในฐานะพรรคฝ่ายค้านเรามองปัญหาเร่งด่วน และนำเสนอความคิดเบื้องต้นในการแก้ปัญหาบางประการ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของรัฐบาลที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ แต่ทั้งหมดคือ หลักความคิดที่เราจะใช้ในการตรวจสอบและประเมินการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงการจัดทำ และแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
**ป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีผลโพลระบุว่าไม่เห็นด้วยกับตั้ง ครม. เงา เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลที่มารับตำแหน่งรัฐมนตรีเงา ว่า ครม.เงาถือเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย คิดว่าต้องให้เวลาสักพัก ให้ประชาชนได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ ครม.ชัดเจนขึ้น
วัตถุประสงค์ที่พรรคได้ประกาศตั้ง ครม.เงา เพื่อทำหน้าที่แทนประชาชน ในการตรวจสอบ รัฐบาล รวมทั้งเสนอแนะสิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ที่รัฐบาลไม่ได้ทำ เพื่อให้รัฐบาลกลับมามีสติ และทำในสิ่งที่ถูกต้อง นอกจากนี้เพื่อเป็นการดูแลกระบวนการออกหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
"เราเคยมีบทเรียนว่าถ้าการตรวจสอบควบคุมแบบธรรมดา กว่าจะรู้ว่ารัฐบาลได้ทำความเสียหายแก่ชาติและพี่น้องประชาชนอย่างไรก็สายเสียแล้ว เช่นรัฐบาลก่อหน้านี้ เพราะฉะนั้นมาวันนี้ฝ่ายค้านเองต้องทำหน้าที่ให้สมกับที่พี่น้องประชาชนให้ความไว้วางใจการทำงาน จึงต้องทำกับสิ่งที่ ครม.ได้ดำเนินการ เรียกว่า ก้าวต่อก้าว" นายสุเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเป็นการกดดันการทำงานของฝ่ายค้านเองหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ฝ่ายค้านได้ตัดสินใจแต่แรกแล้วว่า เราจะต้องทำหน้าที่ของเราให้แข็งแรงกว่าเดิม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากรัฐบาลจนรุนแรงยากเกินจะเยียวยาได้ ในสถานภาพปัจจุบันถ้า รัฐบาลทำอะไรที่ผิดพลาด แล้วประชาชนรู้ช้า ความเสียหายจะเกิดมากมาย
เมื่อถามว่า จะหาช่องทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างไรโดยเฉพาะในระดับรากหญ้า นายสุเทพ กล่าวว่า ในทางการเมืองประชาชนไม่มีการแบ่งแยกระดับ บ้านเมืองจะอยู่ตรงไหนก็จะมีความเข้าใจ แต่คนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง อาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ เราคงต้องพยายามอธิบายชี้แจงต่อประชาชนเป็นระยะๆ ตนกังวลว่าหากรัฐบาลนี้ใช้นิสัยเหมือนกับรัฐบาลชุดก่อน ที่พยายามปิดกั้นสื่อ หรือบิดเบือนฝ่ายค้านก็จะเสียเปรียบ แต่ตนคิดว่าวันนี้ พี่น้องประชาชนหูตากว้างขวาง เราก็พยายามจะทำความเข้าใจ
ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ ได้แถลงว่า การประชุมนัดแรกเพื่อเป็นการกำหนดแนวทางการทำงานของฝ่ายค้านให้เป็นไปอย่างมีระบบ มีความครอบคลุม รวมทั้งทำให้การเมืองมีพัฒนาการ นอกจากนี้ประชาชนและประเทศชาติจะได้ประโยชน์อย่างสูงสุดจากการทำงานที่จริงจังของทุกฝ่าย ซึ่งยืนยันว่าการทำงานของครม.เงา ไม่เหมือนกับการทำงานของครม.จริง โดยจะทำหน้าที่เฉพาะตรวจสอบติดตามและเสนอแนะการทำงานเท่านั้น และจะไม่มีปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนกับองค์กรอื่นๆ โดยเฉพาะการทำงานของกรรมาธิการ เนื่องจากเป็นกลไกของสภา และ ส.ว.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าในที่ประชุมได้มีการให้ทุกคนรับข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในเบื้องต้น คือการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 51 โดยจำแนกเป็นรายกระทรวง รายจังหวัด เพื่อให้ติดตามผลงานต่างๆ ที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้ทำไว้ รวมถึงรัฐบาลชุดนี้ นอกจากนี้ยังมีการแจกรายชื่อกฎหมายที่ยังค้างอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อดูว่ามีร่างใด ที่พรรคเห็นว่าควรจะผลักดันต่อไป หรือไม่ควรสานต่อไป เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจุดยืนของพรรค
นายกรัฐมนตรีเงากล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้กำหนดแนวทางการทำงานเบื้องต้น โดยจะมีการประชุมทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.30-11.00 น. ก่อนที่จะไปร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฏร โดยจะมีการหยิบยกปัญหาเร่งด่วนของบ้านเมือง เพื่อหาแนวทางเสนอแนะรัฐบาล รวมทั้งผลพวงจากปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน และการประชุม ครม.ในแต่ละนัด อีกทั้งเรื่องอื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาเป็นพิเศษ คือพรรคจะมีการเสนอนโยบายค่าครองชีพ 99 วัน ต่อรัฐบาลชุดใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1. การฟื้นฟูเศรษฐกิจ 2. การพัฒนาการศึกษาของประเทศ 3. ปัญหาความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4. การฟื้นฟูประชาธิปไตย และ 5. ปัญหายาเสพติด ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจมากที่สุด โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพ การลดภาระค่าใช้จ่าย ที่ต้องแก้ไขเป็นเร่งด่วน พรรคเคยเสนอแผนวาระ 99 วันมาแล้ว ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่ครอบคลุมการแก้ปัญหา การขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ค่าน้ำมัน และการเรียนฟรี
"อยากฝากรัฐบาลว่า อย่ารังเกียจว่าเป็นข้อเสนอของเรา ขอให้รับไปดำเนินการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยเฉพาะ ปัญหาหนี้สินที่ไม่ใช้เรื่องการพักชำระหนี้เกษตรกรเท่านั้น แต่รัฐบาลควรดูเรื่องหนี้บัตรเครดิต ปัญหาหนี้เสีย ปัญหากฎหมายข้อมูลเครดิต จึงอยากให้รัฐบาลลดภาระของประชาชนเฉพาะหน้า "
ส่วนภาพรวมของเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องเร่งเรียกความเชื่อมั่นกลับมา ด้วยการสร้างความชัดเจนกับนโยบายการสำรองร้อยละ 30 และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่กันไป รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในการทำงานที่เป็นเอกภาพระหว่างการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง ที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการบริหารเศรษฐกิจมหภาค ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจนอกจากจะสนับสนุนการลงทุนในภาครัฐแล้ว ที่เราจะเน้นเรื่องการคุ้มค่าการลงทุนในเชิงประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ และดำเนินการอย่างโปร่งใส ยังต้องสนับสนุนการลงทุนในภาคเอกชนด้วยการสร้างความเชื่อมั่นและแก้ไขระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม หากโครงการใดที่เป็นประโยชน์กับประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ ยินดีสนับสนุน แต่ต้องพิจารณาใน3 ข้อ คือ 1. มีหลักการยั่งยืนและพอเพียงในการกำกับ จัดเม็ดเงินลงไปสู่ชุมชน 2. มีเป้าหมายที่ชัดเจน และอิงต่อความต้องการของแต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ไหนที่จนซ้ำซาก จะดูแลเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นไม่ได้ และ 3. โครงการประชานิยมที่ลดภาระของประชาชนควรวางระบบสวัสดิการ ซึ่งจะมีหลักประกันไม่ให้ประชาชนวิ่งหาผู้มีอำนาจ โดยอาจจะมีกฎหมายรองรับที่ต้องศึกษาอย่างชัดเจนว่า ต้องใช้งบประมาณเท่าไร อย่างไร ซึ่งทั้งหมดเป็นการศึกษาเบื้องต้น เพื่อให้ความคิดกับรัฐบาลในฐานะพรรคฝ่ายค้านเรามองปัญหาเร่งด่วน และนำเสนอความคิดเบื้องต้นในการแก้ปัญหาบางประการ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของรัฐบาลที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ แต่ทั้งหมดคือ หลักความคิดที่เราจะใช้ในการตรวจสอบและประเมินการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงการจัดทำ และแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
**ป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีผลโพลระบุว่าไม่เห็นด้วยกับตั้ง ครม. เงา เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลที่มารับตำแหน่งรัฐมนตรีเงา ว่า ครม.เงาถือเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย คิดว่าต้องให้เวลาสักพัก ให้ประชาชนได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ ครม.ชัดเจนขึ้น
วัตถุประสงค์ที่พรรคได้ประกาศตั้ง ครม.เงา เพื่อทำหน้าที่แทนประชาชน ในการตรวจสอบ รัฐบาล รวมทั้งเสนอแนะสิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ที่รัฐบาลไม่ได้ทำ เพื่อให้รัฐบาลกลับมามีสติ และทำในสิ่งที่ถูกต้อง นอกจากนี้เพื่อเป็นการดูแลกระบวนการออกหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
"เราเคยมีบทเรียนว่าถ้าการตรวจสอบควบคุมแบบธรรมดา กว่าจะรู้ว่ารัฐบาลได้ทำความเสียหายแก่ชาติและพี่น้องประชาชนอย่างไรก็สายเสียแล้ว เช่นรัฐบาลก่อหน้านี้ เพราะฉะนั้นมาวันนี้ฝ่ายค้านเองต้องทำหน้าที่ให้สมกับที่พี่น้องประชาชนให้ความไว้วางใจการทำงาน จึงต้องทำกับสิ่งที่ ครม.ได้ดำเนินการ เรียกว่า ก้าวต่อก้าว" นายสุเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเป็นการกดดันการทำงานของฝ่ายค้านเองหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ฝ่ายค้านได้ตัดสินใจแต่แรกแล้วว่า เราจะต้องทำหน้าที่ของเราให้แข็งแรงกว่าเดิม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากรัฐบาลจนรุนแรงยากเกินจะเยียวยาได้ ในสถานภาพปัจจุบันถ้า รัฐบาลทำอะไรที่ผิดพลาด แล้วประชาชนรู้ช้า ความเสียหายจะเกิดมากมาย
เมื่อถามว่า จะหาช่องทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างไรโดยเฉพาะในระดับรากหญ้า นายสุเทพ กล่าวว่า ในทางการเมืองประชาชนไม่มีการแบ่งแยกระดับ บ้านเมืองจะอยู่ตรงไหนก็จะมีความเข้าใจ แต่คนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง อาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ เราคงต้องพยายามอธิบายชี้แจงต่อประชาชนเป็นระยะๆ ตนกังวลว่าหากรัฐบาลนี้ใช้นิสัยเหมือนกับรัฐบาลชุดก่อน ที่พยายามปิดกั้นสื่อ หรือบิดเบือนฝ่ายค้านก็จะเสียเปรียบ แต่ตนคิดว่าวันนี้ พี่น้องประชาชนหูตากว้างขวาง เราก็พยายามจะทำความเข้าใจ