ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – “ส.โรงแรมหาดใหญ่-สงขลา” จ้องยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลนอมินีแม้ว ช่วยต่อสมหายใจผู้ประกอบการท่องเที่ยวโดยด่วน หลังถูกไฟใต้ลุกลามเข้ามาเผาผลาญในพื้นที่ ดันการขยายวงเงินกู้ซอฟต์โลนไปอีก 2 ปีให้เป็นเรื่องร้อนสุด ประกาศพร้อมผนึกกำลังหอการค้าและองค์กรภาคธุรกิจอื่นๆ ร่วมขับเคลื่อน
นายสมชาติ พิมพ์ธนพูนพร นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่มีความชัดเจนเกี่ยวกับรัฐมนตรีที่จะเข้ามากำกับดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวใน จ.สงขลา จะยื่นข้อเรียกร้องในเรื่องของความช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ โดยขอให้ขยายเวลาช่วยเหลือผู้ประกอบการไปอีก 2 ปี เนื่องจากการท่องเที่ยวของ จ.สงขลายังอยู่ในภาวะทรงตัว ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการหารือต่อผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ไปแล้วด้วย
ทั้งนี้ เพราะหากดูตัวเลขของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาทางด่านพรมแดนไทยมาเลเซีย ด้าน อ.สะเดา จ.สงขลา ค่อนข้างสูง ซึ่งมองได้ว่าภาวการณ์ท่องเที่ยวเริ่มขยายตัว แต่ในความเป็นจริงแล้วนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ จ.สงขลาแค่ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 70 เปอร์เซ็นต์ หันไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดฝั่งอันดามัน จึงต้องการเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ คงมาตรการช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการและขยายไปอีก 2 ปี
“ที่ผ่านมาองค์กรและผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวใน จ.สงขลา รวมถึงหอการค้าจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันยื่นข้อเรียกร้องไปยังผู้รับผิดชอบในรัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในเรื่องของเงินกู้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากภาคธุรกิจใน จ.สงขลาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จากผลพวงของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัย
นอกจากนี้ นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา ยังกล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการเบื้องต้นที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวของ จ.สงขลาคือ ให้ภาครัฐผลักดันการจัดประชุมสัมมนาโดยให้มาจัดใน จ.สงขลาให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการประคองตัวอยู่ได้ และจะต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะการสกัดกั้นข่าวลือที่สร้างภาพลบให้แก่ จ.สงขลา
“ความสับสนของนักท่องเที่ยว เป็นผลมาจากการให้ข่าวของแต่ละหน่วยงานรัฐ ซึ่งค่อนข้างจะสับสนมาก ดังนั้น จึงควรที่จะกำหนดผู้มีอำนาจให้ข่าวเพียงคนเดียว เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาหรือจังหวัดอื่นๆ เพื่อยืนยันความชัดเจนในแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น” นายสมชาติกล่าว
แบงก์ชาติเผยช่วยผู้ประกอบการใต้แล้ว 3,910 ราย
ด้านนายนิรุธ รักษาเสรี ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหนังสือที่ ธปท.ฝกช.(22) ว.64/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551 เรื่องการสนับสนุนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องขยายระยะเวลาให้สถาบันการเงิน ส่งหนังสือขอรับการจัดสรรวงเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จนกว่าวงเงินที่กำหนดไว้จะถูกจัดสรรหมด แต่ทั้งนี้ไม่เกินสิ้นปี 2553
นอกจากนี้ ได้ขยายความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทออกไปอีก 1 ปี โดยให้ธนาคารพาณิชย์ส่งหนังสือขอความเห็นชอบให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการที่เชื่อถือได้มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามวงเงินที่ได้จัดสรรไว้ แต่ไม่เกินวันที่ 22 ธันวาคม 2551
ส่วนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการ ซึ่งเป็นข้อมูลเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 ประกอบด้วยผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดสงขลา-สตูล อนุมัติ จำนวน 91 ราย วงเงิน 1,910 ล้านบาท ผู้ประกอบการพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อนุมัติจำนวน 3,819 ราย วงเงิน 21,480.2 ล้านบาท
นายสมชาติ พิมพ์ธนพูนพร นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่มีความชัดเจนเกี่ยวกับรัฐมนตรีที่จะเข้ามากำกับดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวใน จ.สงขลา จะยื่นข้อเรียกร้องในเรื่องของความช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ โดยขอให้ขยายเวลาช่วยเหลือผู้ประกอบการไปอีก 2 ปี เนื่องจากการท่องเที่ยวของ จ.สงขลายังอยู่ในภาวะทรงตัว ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการหารือต่อผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ไปแล้วด้วย
ทั้งนี้ เพราะหากดูตัวเลขของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาทางด่านพรมแดนไทยมาเลเซีย ด้าน อ.สะเดา จ.สงขลา ค่อนข้างสูง ซึ่งมองได้ว่าภาวการณ์ท่องเที่ยวเริ่มขยายตัว แต่ในความเป็นจริงแล้วนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ จ.สงขลาแค่ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 70 เปอร์เซ็นต์ หันไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดฝั่งอันดามัน จึงต้องการเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ คงมาตรการช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการและขยายไปอีก 2 ปี
“ที่ผ่านมาองค์กรและผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวใน จ.สงขลา รวมถึงหอการค้าจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันยื่นข้อเรียกร้องไปยังผู้รับผิดชอบในรัฐบาลที่ผ่านมา เพื่อหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในเรื่องของเงินกู้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากภาคธุรกิจใน จ.สงขลาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จากผลพวงของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัย
นอกจากนี้ นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา ยังกล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการเบื้องต้นที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวของ จ.สงขลาคือ ให้ภาครัฐผลักดันการจัดประชุมสัมมนาโดยให้มาจัดใน จ.สงขลาให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการประคองตัวอยู่ได้ และจะต้องเร่งสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะการสกัดกั้นข่าวลือที่สร้างภาพลบให้แก่ จ.สงขลา
“ความสับสนของนักท่องเที่ยว เป็นผลมาจากการให้ข่าวของแต่ละหน่วยงานรัฐ ซึ่งค่อนข้างจะสับสนมาก ดังนั้น จึงควรที่จะกำหนดผู้มีอำนาจให้ข่าวเพียงคนเดียว เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาหรือจังหวัดอื่นๆ เพื่อยืนยันความชัดเจนในแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น” นายสมชาติกล่าว
แบงก์ชาติเผยช่วยผู้ประกอบการใต้แล้ว 3,910 ราย
ด้านนายนิรุธ รักษาเสรี ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหนังสือที่ ธปท.ฝกช.(22) ว.64/2551 ลงวันที่ 14 มกราคม 2551 เรื่องการสนับสนุนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องขยายระยะเวลาให้สถาบันการเงิน ส่งหนังสือขอรับการจัดสรรวงเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จนกว่าวงเงินที่กำหนดไว้จะถูกจัดสรรหมด แต่ทั้งนี้ไม่เกินสิ้นปี 2553
นอกจากนี้ ได้ขยายความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทออกไปอีก 1 ปี โดยให้ธนาคารพาณิชย์ส่งหนังสือขอความเห็นชอบให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการที่เชื่อถือได้มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ตามวงเงินที่ได้จัดสรรไว้ แต่ไม่เกินวันที่ 22 ธันวาคม 2551
ส่วนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการ ซึ่งเป็นข้อมูลเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 ประกอบด้วยผู้ประกอบการพื้นที่จังหวัดสงขลา-สตูล อนุมัติ จำนวน 91 ราย วงเงิน 1,910 ล้านบาท ผู้ประกอบการพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อนุมัติจำนวน 3,819 ราย วงเงิน 21,480.2 ล้านบาท