ผู้จัดการรายวัน - สสว.ชี้ปัจจัยน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ยังกระทบอัตราเติบโตเอสเอ็มไทย รวมถึงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากจีน ยังสูงต่อเนื่อง เตือนธุรกิจในปี 51 สาขาเฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยังน่าห่วง ชี้ผลการดำเนินงานเอสเอ็มอี 51 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอีก 7% จากปีที่ผ่านมา
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัยเอสเอ็มอีรายสาขา สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ในภาคการผลิต การบริการ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ว่า สถานการณ์ น้ำมัน ค่าเงินบาท พฤติกรรมผู้บริโภค สถานการณ์ความไม่สงบ การแข่งขันทางธุรกิจ อัตราดอกเบี้ย และสถานการณ์หลังการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการส่งเสริมเอสเอ็มอี ซึ่งยังถือเป็นปัจจัยที่ฉุดอัตราการเติบโตของเอสเอ็มอี
“ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรให้ความสำคัญด้านความเสี่ยงเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความเป็นไปได้ของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศที่อาจจะมีการปรับตัวในแนวบวก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะลดลงไปแตะที่ระดับ 4% ในปี 2551” ดร.ณัฐพล กล่าว
ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่ต้องระวังในเรื่องอัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานในปี 2551 ได้แก่ สาขาอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ทำจากแป้ง,น้ำมันจากพืชและสัตว์, ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ, แก้วและเซรามิก และสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ในขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องระวังเกี่ยวกับอัตราการขยายตัวด้านการส่งออกในปี 51 คือ เฟอร์นิเจอร์, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, แก้วและเซรามิก, ธัญพืช และนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น
ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ในปี 2551 นี้ทางโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัยเอสเอ็มอีรายสาขา ยังเชื่อมั่นว่าเอสเอ็มอี น่าจะมีการขยายตัวด้านการส่งออกประมาณ 1.696 ล้านล้านบาท โดยปัจจัยค่าเงินบาท เศรษฐกิจสหรัฐฯ และการแข่งขันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจส่งออกของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ส่วนปัจจัยด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในปี 2551 อาจจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการดำเนินงานของเอสเอ็มอี ที่เคยทำได้ 4.41% ในปี 2550 ต้องปรับตัวลดลงประมาณ 7% หรือมีผลตอบแทนจากการดำเนินงานในปี 2551 ประมาณ 4.08% เท่านั้น
นอกจากนี้สถานการณ์การนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่ควรมองข้ามซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเอสเอ็มอีในสาขานั้นๆ กำลังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในปี 2551 นี้ ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีน ที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง ได้แก่ เครื่องดื่ม น้ำแร่ สุรา สิ่งพิมพ์ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ รถจักรยานยนต์ และเครื่องประดับอัญมณี
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัยเอสเอ็มอีรายสาขา สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ในภาคการผลิต การบริการ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ว่า สถานการณ์ น้ำมัน ค่าเงินบาท พฤติกรรมผู้บริโภค สถานการณ์ความไม่สงบ การแข่งขันทางธุรกิจ อัตราดอกเบี้ย และสถานการณ์หลังการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการส่งเสริมเอสเอ็มอี ซึ่งยังถือเป็นปัจจัยที่ฉุดอัตราการเติบโตของเอสเอ็มอี
“ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรให้ความสำคัญด้านความเสี่ยงเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความเป็นไปได้ของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศที่อาจจะมีการปรับตัวในแนวบวก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะลดลงไปแตะที่ระดับ 4% ในปี 2551” ดร.ณัฐพล กล่าว
ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่ต้องระวังในเรื่องอัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานในปี 2551 ได้แก่ สาขาอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ทำจากแป้ง,น้ำมันจากพืชและสัตว์, ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ, แก้วและเซรามิก และสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ในขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องระวังเกี่ยวกับอัตราการขยายตัวด้านการส่งออกในปี 51 คือ เฟอร์นิเจอร์, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, แก้วและเซรามิก, ธัญพืช และนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น
ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ในปี 2551 นี้ทางโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัยเอสเอ็มอีรายสาขา ยังเชื่อมั่นว่าเอสเอ็มอี น่าจะมีการขยายตัวด้านการส่งออกประมาณ 1.696 ล้านล้านบาท โดยปัจจัยค่าเงินบาท เศรษฐกิจสหรัฐฯ และการแข่งขันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจส่งออกของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ส่วนปัจจัยด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในปี 2551 อาจจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการดำเนินงานของเอสเอ็มอี ที่เคยทำได้ 4.41% ในปี 2550 ต้องปรับตัวลดลงประมาณ 7% หรือมีผลตอบแทนจากการดำเนินงานในปี 2551 ประมาณ 4.08% เท่านั้น
นอกจากนี้สถานการณ์การนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่ควรมองข้ามซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเอสเอ็มอีในสาขานั้นๆ กำลังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในปี 2551 นี้ ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีน ที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง ได้แก่ เครื่องดื่ม น้ำแร่ สุรา สิ่งพิมพ์ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ รถจักรยานยนต์ และเครื่องประดับอัญมณี