เตือนน้ำอัดลมเพิ่มความเสี่ยงโรคเกาต์ โดยเฉพาะหากดื่มวันละ 2 กระป๋องขึ้นไป โอกาสป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับไขข้อชนิดนี้จะเพิ่มขึ้นถึง 85% เมื่อเทียบกับคนที่ดื่มน้ำอัดลมเดือนละไม่ถึงหนึ่งกระป๋อง
รายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในบริติช เมดิคัล เจอร์นัล มาจากการศึกษาผู้ชายคน อายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 46,000 ที่ไม่มีประวัติเป็นโรคเกาต์มาก่อน โดยติดตามผลนาน 12 ปี ด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเป็นระยะๆ
นักวิจัยพบว่า ตลอดระยะเวลาการติดตามผล มีผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ 755 คน ทั้งนี้ อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มคนที่ดื่มน้ำอัดลม 5-6 กระป๋องต่อสัปดาห์ โดยตัดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ออกทั้งหมด เช่น ดัชนีมวลกาย อายุ ความดันโลหิต และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
น้ำอัดลมประเภทไดเอ็ตไม่ทำให้ความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับน้ำผลไม้และผลไม้ที่อุดมด้วยน้ำตาลฟรุกโตส (แอปเปิล และส้ม) ที่เกี่ยวพันกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
ปกติแล้ว โรคเกาต์จะเกี่ยวข้องกับอาการปวดตามข้ออย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกรดยูริกภายในข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ
น้ำอัดลมรสหวานประกอบด้วยฟรุกโตสปริมาณมาก ทั้งนี้ ฟรุกโตสซึ่งเป็นน้ำตาลตามธรรมชาติที่พบในผลไม้ และเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ เนื่องจากทำให้ระดับของกรดยูริกในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
ดร.ฮีออน ชอย ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อจากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย, แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ผู้นำการศึกษา กล่าวว่าการได้รับน้ำตาลจากน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์มากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนั้น นักวิจัยอเมริกันและแคนาดาระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา สอดคล้องกับปริมาณการดื่มน้ำอัดลมที่เพิ่มขึ้น
ดร.ชอยเพิ่มเติมว่า แพทย์ควรแนะนำให้ผู้ป่วยโรคนี้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตส เพิ่มเติมจากการงดอาหารที่อุดมด้วยพิวรีน เช่น เนื้อแดง และเบียร์
รายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในบริติช เมดิคัล เจอร์นัล มาจากการศึกษาผู้ชายคน อายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 46,000 ที่ไม่มีประวัติเป็นโรคเกาต์มาก่อน โดยติดตามผลนาน 12 ปี ด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเป็นระยะๆ
นักวิจัยพบว่า ตลอดระยะเวลาการติดตามผล มีผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ 755 คน ทั้งนี้ อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มคนที่ดื่มน้ำอัดลม 5-6 กระป๋องต่อสัปดาห์ โดยตัดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ออกทั้งหมด เช่น ดัชนีมวลกาย อายุ ความดันโลหิต และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
น้ำอัดลมประเภทไดเอ็ตไม่ทำให้ความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับน้ำผลไม้และผลไม้ที่อุดมด้วยน้ำตาลฟรุกโตส (แอปเปิล และส้ม) ที่เกี่ยวพันกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
ปกติแล้ว โรคเกาต์จะเกี่ยวข้องกับอาการปวดตามข้ออย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกรดยูริกภายในข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ
น้ำอัดลมรสหวานประกอบด้วยฟรุกโตสปริมาณมาก ทั้งนี้ ฟรุกโตสซึ่งเป็นน้ำตาลตามธรรมชาติที่พบในผลไม้ และเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ เนื่องจากทำให้ระดับของกรดยูริกในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
ดร.ฮีออน ชอย ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อจากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย, แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ผู้นำการศึกษา กล่าวว่าการได้รับน้ำตาลจากน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเกาต์มากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนั้น นักวิจัยอเมริกันและแคนาดาระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา สอดคล้องกับปริมาณการดื่มน้ำอัดลมที่เพิ่มขึ้น
ดร.ชอยเพิ่มเติมว่า แพทย์ควรแนะนำให้ผู้ป่วยโรคนี้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตส เพิ่มเติมจากการงดอาหารที่อุดมด้วยพิวรีน เช่น เนื้อแดง และเบียร์