คลอดบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ปี 2551 มุ่งทันสมัย เหมาะสม ลดการใช้จ่ายยาฟุ่มเฟือย เผยมี 683 รายการ ลดลงจากเดิม 9 รายการ เป็นยาใหม่ 24 รายการ ตัดออก 33 รายการ มียาโลหิตจาง รักษาต้อหิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง แถมยามะเร็ง 2 รายการที่ทำซีแอลโผล่เข้าบัญชียาหลัก
วานนี้(1 ก.พ.)นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า ขณะนี้บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามประกาศใช้บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 23 ม.ค. โดยจะมีผลบังคับใช้วันถัดจากวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งยาในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่นี้มีรายการยาทั้งสิ้น 683 รายการ จากเดิม 692 รายการ ในจำนวนนี้มีรายการยาที่เพิ่มขึ้น 24 รายการ และรายการยาที่ถูกตัดออกไป 33 รายการ เนื่องจากเป็นยาที่ล้าสมัย ประสิทธิภาพในการรักษาสู้ยาตัวใหม่ไม่ได้
สำหรับสาระสำคัญในการปรับปรุงบัญชียาหลักฯ ครั้งนี้ มุ่งเน้นให้บัญชียาฯ มีรายการยาที่มีความคุ้มค่า เหมาะสม ทันสมัยกับสถานการณ์ทางการแพทย์และปัญหาของโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งมียาจำเป็นต่อโรคที่พบได้บ่อย และช่วงส่งเสริมให้แพทย์ได้ใช้ยาอย่างเหมาะสมมากขึ้นลง
“ตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยขณะนี้คิดเป็น30-35 % ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายด้านยาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 15-20% โดยในปี 49 เรามีค่าใช้จ่ายด้านยาทั้งสิ้นกว่า 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงเกินไป แสดงให้เห็นว่าคนไทยใช้ยาฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่พัฒนามากกว่าเรา มีค่าใช้จ่ายด้านยาเพียง 10% เท่านั้น ดังนั้นการปรับปรุงบัญชียาหลักฯ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกฝ่ายใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยคาดหวังว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็นได้ สามารถประหยัดเงินในกระเป๋าของทั้ง 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ คือ ผู้ป่วยบัตรทอง ข้าราชการ และประกันสังคม”
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักฯ ฉบับใหม่ ที่มีความจำเป็น เช่น ยาไบมาโตพรอสต์ ใช้รักษาต้อหิน ยาอีโพอีติน รักษาโรคโลหิตจางจากโรคไตเรื้อรังที่หาสาเหตุอื่นๆ ยาอิมมูโนโกลบูลิน รักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยาโบทูลินุม ท็อกซิน ไทป์ เอ รักษาโรคคอ ทั้งนี้ รวมถึงยารักษาโรคมะเร็งที่สธ.มีการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ได้แก่ ยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและทางเดินอาหาร อิมมาทินิบ และ ยารักษาโรคมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม โดซีแท็กเซล ได้บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ครั้งนี้ด้วย ส่วนยาโรคมะเร็งปอด เออร์โลทินิบ ยังไม่ได้บรรจุในบัญชียาหลักฯ เนื่องจากผลการตรวจสอบผลข้างเคียงไม่สมบูรณ์ ไม่เข้าเกณฑ์ตามหลักการพิจารณายาในบัญชียาหลักฯ ส่วนยารักษาโรคมะเร็งเต้านม เล็ทโทโซล เป็นรายการที่บรรจุในบัญชียาหลักฯ อยู่แล้ว
“คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติชุดใหม่ โดยมีนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เป็นประธาน และมีการแต่งตั้งคณะทำงานคัดเลือกยารวม 16 สาขา ยึดหลักว่า เมื่อยาอยู่ในบัญชียาหลักฯ แล้วจะต้องมีราคาถูกลง โดยจะยืนราคาที่ตกลงกันไว้นานอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งในส่วนของยาอิมมาทินิบไม่ได้ต่อรองราคายา เนื่องจากต้องการให้ยาได้มุ่งให้ประโยชน์กับคนกลุ่มใหญ่ คือมีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยฟรีในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ระบบสวัสดิการอื่นๆมีผู้ป่วยจำนวนน้อยอีกทั้งมีผู้จ่ายให้แทนผู้ป่วย อาทิ กรมบัญชีกลางจ่ายให้ข้าราชการ ฯลฯ ทั้งนี้ได้ปรับลดหลักเกณฑ์ของผู้ป่วยในโครงการหลักประกันฯจากที่ต้องมีรายได้ไม่ถึง 3 เท่าของดัชนีมวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)เป็น1.7 ล้านบาทต่อครอบครัวกรณีที่ต้องทานยา 400 มิลลิกรัม และรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 2.2 ล้านบาทสำหรับผู้ป่วยที่ทานยา 600 มิลลิกรัม”
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนยาโดซีแท็กเซล บริษัทยาต้นตำรับได้ลดลงจาก 2.5 หมื่นบาท เป็น 3 พันกว่าบาท แต่มีเงื่อนไขในเรื่องจำนวนการสั่ง และหากซื้อในปริมาณมากก็จะลดราคาให้อีก ในขณะที่ยาสามัญจากประเทศอินเดียลดราคาจาก 2.5 หมื่นบาท เหลือ 1.8 พันบาทเท่านั้น
วานนี้(1 ก.พ.)นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า ขณะนี้บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามประกาศใช้บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 23 ม.ค. โดยจะมีผลบังคับใช้วันถัดจากวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งยาในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่นี้มีรายการยาทั้งสิ้น 683 รายการ จากเดิม 692 รายการ ในจำนวนนี้มีรายการยาที่เพิ่มขึ้น 24 รายการ และรายการยาที่ถูกตัดออกไป 33 รายการ เนื่องจากเป็นยาที่ล้าสมัย ประสิทธิภาพในการรักษาสู้ยาตัวใหม่ไม่ได้
สำหรับสาระสำคัญในการปรับปรุงบัญชียาหลักฯ ครั้งนี้ มุ่งเน้นให้บัญชียาฯ มีรายการยาที่มีความคุ้มค่า เหมาะสม ทันสมัยกับสถานการณ์ทางการแพทย์และปัญหาของโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งมียาจำเป็นต่อโรคที่พบได้บ่อย และช่วงส่งเสริมให้แพทย์ได้ใช้ยาอย่างเหมาะสมมากขึ้นลง
“ตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยขณะนี้คิดเป็น30-35 % ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายด้านยาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 15-20% โดยในปี 49 เรามีค่าใช้จ่ายด้านยาทั้งสิ้นกว่า 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงเกินไป แสดงให้เห็นว่าคนไทยใช้ยาฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่พัฒนามากกว่าเรา มีค่าใช้จ่ายด้านยาเพียง 10% เท่านั้น ดังนั้นการปรับปรุงบัญชียาหลักฯ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกฝ่ายใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยคาดหวังว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่จำเป็นได้ สามารถประหยัดเงินในกระเป๋าของทั้ง 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ คือ ผู้ป่วยบัตรทอง ข้าราชการ และประกันสังคม”
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับยาที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักฯ ฉบับใหม่ ที่มีความจำเป็น เช่น ยาไบมาโตพรอสต์ ใช้รักษาต้อหิน ยาอีโพอีติน รักษาโรคโลหิตจางจากโรคไตเรื้อรังที่หาสาเหตุอื่นๆ ยาอิมมูโนโกลบูลิน รักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยาโบทูลินุม ท็อกซิน ไทป์ เอ รักษาโรคคอ ทั้งนี้ รวมถึงยารักษาโรคมะเร็งที่สธ.มีการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ได้แก่ ยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและทางเดินอาหาร อิมมาทินิบ และ ยารักษาโรคมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม โดซีแท็กเซล ได้บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ครั้งนี้ด้วย ส่วนยาโรคมะเร็งปอด เออร์โลทินิบ ยังไม่ได้บรรจุในบัญชียาหลักฯ เนื่องจากผลการตรวจสอบผลข้างเคียงไม่สมบูรณ์ ไม่เข้าเกณฑ์ตามหลักการพิจารณายาในบัญชียาหลักฯ ส่วนยารักษาโรคมะเร็งเต้านม เล็ทโทโซล เป็นรายการที่บรรจุในบัญชียาหลักฯ อยู่แล้ว
“คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติชุดใหม่ โดยมีนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เป็นประธาน และมีการแต่งตั้งคณะทำงานคัดเลือกยารวม 16 สาขา ยึดหลักว่า เมื่อยาอยู่ในบัญชียาหลักฯ แล้วจะต้องมีราคาถูกลง โดยจะยืนราคาที่ตกลงกันไว้นานอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งในส่วนของยาอิมมาทินิบไม่ได้ต่อรองราคายา เนื่องจากต้องการให้ยาได้มุ่งให้ประโยชน์กับคนกลุ่มใหญ่ คือมีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยฟรีในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ระบบสวัสดิการอื่นๆมีผู้ป่วยจำนวนน้อยอีกทั้งมีผู้จ่ายให้แทนผู้ป่วย อาทิ กรมบัญชีกลางจ่ายให้ข้าราชการ ฯลฯ ทั้งนี้ได้ปรับลดหลักเกณฑ์ของผู้ป่วยในโครงการหลักประกันฯจากที่ต้องมีรายได้ไม่ถึง 3 เท่าของดัชนีมวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)เป็น1.7 ล้านบาทต่อครอบครัวกรณีที่ต้องทานยา 400 มิลลิกรัม และรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 2.2 ล้านบาทสำหรับผู้ป่วยที่ทานยา 600 มิลลิกรัม”
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนยาโดซีแท็กเซล บริษัทยาต้นตำรับได้ลดลงจาก 2.5 หมื่นบาท เป็น 3 พันกว่าบาท แต่มีเงื่อนไขในเรื่องจำนวนการสั่ง และหากซื้อในปริมาณมากก็จะลดราคาให้อีก ในขณะที่ยาสามัญจากประเทศอินเดียลดราคาจาก 2.5 หมื่นบาท เหลือ 1.8 พันบาทเท่านั้น