ธุรกิจโรงแรมระส่ำหนัก หลังโรงแรมใหม่แห่ผุดเป็นดอกเห็ด จากนโยบายเจาะตลาดนักท่องเที่ยวไฮเอนด์ ทีเอชเอ หวัง พ.ร.บ.ธุรกิจโรงแรมฉบับใหม่ จะมาช่วยคุมสถานการณ์ ระบุ ททท.ควรมีแผนสำรอง หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯและอังกฤษส่อแววเดี๊ยง เผยนักท่องเที่ยวหลักของไทยกว่า 50% ยังคงเป็นตลาดระดับกลาง จี้ รมว.ท่องเที่ยวคนใหม่ ปัดฝุ่นโครงการเก่ากระตุ้นตลาด
นายชนินทร์ โทณะวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า ต้องการให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปรับแผนการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว เห็นได้ชัดจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และ มีทีท่าว่าจะลุกลามไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลก ประกอบกับทั้งสองประเทศดังกล่าว เป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทยเช่นกัน
ดังนั้น จากแผนงานของ ททท. ที่มุ่งเจาะกลุ่มตลาดระดับบน(ไฮเอนด์) ก็ควรหาแผนงานรองรับความเสี่ยงตรงนี้ไว้บ้าง เพราะเชื่อว่า เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีจะมีผลด้านจิตวิทยา ให้คนชะลอการจับจ่าย ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ประกอบกับ ตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย ยังคงเป็นตลาดระดับกลาง มีสัดส่วนกว่า 50% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยทั้งหมด ส่วนตลาดล่างที่ใช้บริการห้องพักเฉลี่ยคืนละ 400-500 บาท มีสัดส่วน 25% ขณะที่ตลาดไฮเอนด์ตามเป้าหมายของ ททท. มีสัดส่วนเพียง 10-15% เท่านั้น ดังนั้น การโปรโมตของรัฐบาล และ ททท. ซึ่งส่งผลให้เกิดการลงทุนสร้างโรงแรมที่พักจำนวนมาก ก่อให้เกิดภาวะห้องพัก (โอเวอร์ซัปพลาย) และการแข่งขันด้านราคา โดยโรงแรมที่นักท่องเที่ยวใช้บริการส่วนใหญ่เป็นระดับ 2-4 ดาว
นายชนินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบัน จำนวนห้องพัก ทั่วประเทศไทย มีประมาณ 3 แสนห้อง และในปีนี้คาดว่าจะมีโรงแรมเปิดใหม่จำนวนมาก โดยเฉพาะตามเมืองท่องเที่ยวหลักๆ คิดเป็นจำนวนห้องที่จะเพิ่มขึ้นจากของเดิมอีกราว 6-7% หรือราว 1.2 หมื่นห้อง ดังนั้นเพื่อให้สมดุลประเทศไทยจะต้องมีจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตไม่น้อยกว่า 10% แต่ในความเป็นจริงในปีนี้นักท่องเที่ยวน่าจะเพิ่มได้เพียง 4-5% น้อยกว่าที่ ททท.ตั้งเป้าหมายว่าจะเติบโต 6% จึงต้องการให้ภาครัฐ เข้ามาช่วยดูแลควบคุมในส่วนนี้ด้วย โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาด ตามแผนงานที่วางไว้ เพราะ ท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอันดับต้นๆ หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ สส.พรรคชาติไทย ซึ่งมีพื้นเดิมเป็นนักกฎหมาย จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตรงนี้มองว่า คงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน ขณะที่ปัญหาท่องเที่ยวต้องได้รับการแก้ไขทันที และ เมื่อเรียนรู้งานเสร็จ ก็ได้เวลาการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ตรงนี้เป็นปัญหาหลักที่ทำให้นโยบายการทำงานไม่ต่อเนื่อง ส่วน ททท.ก็ได้รับจัดสรรงบประมาณในวงเงินจำกัด แต่มีภารกิจต้องทำมากมาย ทั้งที่รัฐบาลคาดหวังให้อุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้เข้าประเทศ ดังนั้นถ้าจะให้ดีและเร็วที่สุด คือ การนำโครงการเก่าที่ชะลออยู่ออกมาดำเนินการใหม่ และ ปรับปรุงโครงการเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการทำการตลาด เช่น โครงการไนท์ซาฟารี โครงการพืชสวนโลก ที่สามารถนำมาปรับปรุงต่อยอดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวถาวรได้
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) กล่าวว่า สมาคมฝากความหวังว่า พ.ร.บ.ธุรกิจโรงแรม ฉบับใหม่ ที่เตรียมจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ จะช่วยแก้ไขสถานการณ์โรงแรมที่พัก ที่โอเวอร์ซัพพลายอยู่ในขณะนี้ได้ โดยเนื้อหาของ พ.ร.บ.ดังกล่าว จะช่วยให้ภาครัฐรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงของธุรกิจนี้ทั้งระบบ เพราะ โรงแรม ห้องพัก และเซอร์วิสอพาร์ต-เมนต์ทั่วประเทศ จะต้องเข้าสู่ระบบด้วยการจดทะเบียนธุรกิจอย่างถูกต้อง ทำให้ทราบถึงจำนวนห้องพักที่แท้จริง เพราะขณะนี้ยอมรับว่า มีห้องพัก คอนโดมิเนียม และ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่จดทะเบียนไม่ถูกต้องอยู่จำนวนมาก ซึ่งกลุ่มนี้จะเสียภาษีน้อยกว่าธุรกิจโรงแรม ทำให้รัฐเสียรายได้ ขณะที่ภาคธุรกิจก็มีการแข่งขันสูงแต่เกิดการตัดราคา
นายชนินทร์ โทณะวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า ต้องการให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปรับแผนการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว เห็นได้ชัดจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และ มีทีท่าว่าจะลุกลามไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลก ประกอบกับทั้งสองประเทศดังกล่าว เป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทยเช่นกัน
ดังนั้น จากแผนงานของ ททท. ที่มุ่งเจาะกลุ่มตลาดระดับบน(ไฮเอนด์) ก็ควรหาแผนงานรองรับความเสี่ยงตรงนี้ไว้บ้าง เพราะเชื่อว่า เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีจะมีผลด้านจิตวิทยา ให้คนชะลอการจับจ่าย ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ประกอบกับ ตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย ยังคงเป็นตลาดระดับกลาง มีสัดส่วนกว่า 50% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยทั้งหมด ส่วนตลาดล่างที่ใช้บริการห้องพักเฉลี่ยคืนละ 400-500 บาท มีสัดส่วน 25% ขณะที่ตลาดไฮเอนด์ตามเป้าหมายของ ททท. มีสัดส่วนเพียง 10-15% เท่านั้น ดังนั้น การโปรโมตของรัฐบาล และ ททท. ซึ่งส่งผลให้เกิดการลงทุนสร้างโรงแรมที่พักจำนวนมาก ก่อให้เกิดภาวะห้องพัก (โอเวอร์ซัปพลาย) และการแข่งขันด้านราคา โดยโรงแรมที่นักท่องเที่ยวใช้บริการส่วนใหญ่เป็นระดับ 2-4 ดาว
นายชนินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบัน จำนวนห้องพัก ทั่วประเทศไทย มีประมาณ 3 แสนห้อง และในปีนี้คาดว่าจะมีโรงแรมเปิดใหม่จำนวนมาก โดยเฉพาะตามเมืองท่องเที่ยวหลักๆ คิดเป็นจำนวนห้องที่จะเพิ่มขึ้นจากของเดิมอีกราว 6-7% หรือราว 1.2 หมื่นห้อง ดังนั้นเพื่อให้สมดุลประเทศไทยจะต้องมีจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตไม่น้อยกว่า 10% แต่ในความเป็นจริงในปีนี้นักท่องเที่ยวน่าจะเพิ่มได้เพียง 4-5% น้อยกว่าที่ ททท.ตั้งเป้าหมายว่าจะเติบโต 6% จึงต้องการให้ภาครัฐ เข้ามาช่วยดูแลควบคุมในส่วนนี้ด้วย โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาด ตามแผนงานที่วางไว้ เพราะ ท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอันดับต้นๆ หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ สส.พรรคชาติไทย ซึ่งมีพื้นเดิมเป็นนักกฎหมาย จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตรงนี้มองว่า คงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน ขณะที่ปัญหาท่องเที่ยวต้องได้รับการแก้ไขทันที และ เมื่อเรียนรู้งานเสร็จ ก็ได้เวลาการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ตรงนี้เป็นปัญหาหลักที่ทำให้นโยบายการทำงานไม่ต่อเนื่อง ส่วน ททท.ก็ได้รับจัดสรรงบประมาณในวงเงินจำกัด แต่มีภารกิจต้องทำมากมาย ทั้งที่รัฐบาลคาดหวังให้อุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้เข้าประเทศ ดังนั้นถ้าจะให้ดีและเร็วที่สุด คือ การนำโครงการเก่าที่ชะลออยู่ออกมาดำเนินการใหม่ และ ปรับปรุงโครงการเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการทำการตลาด เช่น โครงการไนท์ซาฟารี โครงการพืชสวนโลก ที่สามารถนำมาปรับปรุงต่อยอดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวถาวรได้
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) กล่าวว่า สมาคมฝากความหวังว่า พ.ร.บ.ธุรกิจโรงแรม ฉบับใหม่ ที่เตรียมจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ จะช่วยแก้ไขสถานการณ์โรงแรมที่พัก ที่โอเวอร์ซัพพลายอยู่ในขณะนี้ได้ โดยเนื้อหาของ พ.ร.บ.ดังกล่าว จะช่วยให้ภาครัฐรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงของธุรกิจนี้ทั้งระบบ เพราะ โรงแรม ห้องพัก และเซอร์วิสอพาร์ต-เมนต์ทั่วประเทศ จะต้องเข้าสู่ระบบด้วยการจดทะเบียนธุรกิจอย่างถูกต้อง ทำให้ทราบถึงจำนวนห้องพักที่แท้จริง เพราะขณะนี้ยอมรับว่า มีห้องพัก คอนโดมิเนียม และ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่จดทะเบียนไม่ถูกต้องอยู่จำนวนมาก ซึ่งกลุ่มนี้จะเสียภาษีน้อยกว่าธุรกิจโรงแรม ทำให้รัฐเสียรายได้ ขณะที่ภาคธุรกิจก็มีการแข่งขันสูงแต่เกิดการตัดราคา