ศูนย์ข่าวศรีราชา -เผยจำนวนตู้สินค้าขนถ่ายผ่านท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรีในปี 2550 ทะลุ 4.6 ล้านทีอียู ขณะที่ปี 2551 คาดจะมียอดขนถ่ายสินค้าผ่านท่าไม่น้อยกว่า 5 ล้านทีอียู ส่วนการก่อสร้างท่าเทียบเรือ 6 ท่าของกลุ่มฮัทชิสันเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และในปี 2554-2555จะเริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือแหลมฉบังในเฟสที่ 3
นางสุนิดา สกุลรัตนะ ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เผยถึงการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) จังหวัดชลบุรีในปี 2550 ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะจำนวนตู้สินค้าซึ่งขนถ่ายผ่านท่ามีสูงกว่า 4 ล้านทีอียู คือมีมากถึง 4.6 ล้านทีอียู ทำให้คาดว่าในปี 2551 จำนวนตู้สินค้าที่ขนถ่ายผ่านท่าเรือแหลมฉบัง น่าจะมีมากกว่า 5 ล้านทีอียู จากการขยายศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าของท่าเทียบเรือต่างๆ และการเปิดให้บริการของท่าเทียบเรือ C0 และท่าเทียบเรือ C1ในเดือนตุลาคม 2550 ที่มีความพร้อมในการรองรับเรือแม่ที่จะเข้ามาขนถ่ายสินค้า
“เป้าหมายการดำเนินงานในปี 2551 คือการตั้งเป้าให้ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น Distination Port ที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหันมาใช้บริการขนส่งสินค้าของท่าเรือแห่งนี้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้เส้นทางขนส่งสินค้าที่เชื่อมต่อประเทศเวียดนาม-ลาว- ภาคอีสาน ที่นิยมใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบก หากหันมาใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือมากขึ้นก็จะประหยัดต้นทุนการขนส่ง และประหยัดการใช้พลังงานน้ำมันได้มาก ”
ส่วนการก่อสร้างท่าเทียบเรือ 6 แห่งภายในท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ของกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ต โฮล ดิ้ง จำกัด จากประเทศฮ่องกง ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2548ประกอบด้วยท่าเทียบ เรือ A3 ในโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือแหลมฉบังเฟสแรก และท่าเทียบเรือ C1 C2 D1 D2 และ D3 ในโครงการก่อสร้างท่าเทียบแหลมฉบังเฟส 2 ซึ่งได้รับสัมปทานบริหารงานจากท่าเรือแหลมฉบัง 30 ปี ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทยเผยว่า เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งหลังจากนี้ไปการท่าเรือแห่งประเทศไทย จะให้ความสำคัญต่อการหาลูกค้าเข้ามาใช้บริการยังท่าเทียบเรือต่างๆ ของกลุ่มฮัทชิสันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
“หลังจากนี้ไปเราคงจะเข้าไปดูในเรื่องของการเข้ามาของผู้ประกอบการต่างๆ ว่าเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อให้การดำเนินการในส่วนต่างๆ แล้วเสร็จ และในปี 2554-2555 ก็คาดว่าการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังในเฟสที่ 3 จะเริ่มดำเนินงานได้ โดยจะมุ่งเน้นที่การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการขนถ่ายสินค้า รวมทั้งการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการเกิดมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการขนถ่ายสินค้าของเรือต่างๆ ” นางสุนิดา กล่าว
นางสุนิดา สกุลรัตนะ ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เผยถึงการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) จังหวัดชลบุรีในปี 2550 ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะจำนวนตู้สินค้าซึ่งขนถ่ายผ่านท่ามีสูงกว่า 4 ล้านทีอียู คือมีมากถึง 4.6 ล้านทีอียู ทำให้คาดว่าในปี 2551 จำนวนตู้สินค้าที่ขนถ่ายผ่านท่าเรือแหลมฉบัง น่าจะมีมากกว่า 5 ล้านทีอียู จากการขยายศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าของท่าเทียบเรือต่างๆ และการเปิดให้บริการของท่าเทียบเรือ C0 และท่าเทียบเรือ C1ในเดือนตุลาคม 2550 ที่มีความพร้อมในการรองรับเรือแม่ที่จะเข้ามาขนถ่ายสินค้า
“เป้าหมายการดำเนินงานในปี 2551 คือการตั้งเป้าให้ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น Distination Port ที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหันมาใช้บริการขนส่งสินค้าของท่าเรือแห่งนี้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้เส้นทางขนส่งสินค้าที่เชื่อมต่อประเทศเวียดนาม-ลาว- ภาคอีสาน ที่นิยมใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบก หากหันมาใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือมากขึ้นก็จะประหยัดต้นทุนการขนส่ง และประหยัดการใช้พลังงานน้ำมันได้มาก ”
ส่วนการก่อสร้างท่าเทียบเรือ 6 แห่งภายในท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ของกลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ต โฮล ดิ้ง จำกัด จากประเทศฮ่องกง ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2548ประกอบด้วยท่าเทียบ เรือ A3 ในโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือแหลมฉบังเฟสแรก และท่าเทียบเรือ C1 C2 D1 D2 และ D3 ในโครงการก่อสร้างท่าเทียบแหลมฉบังเฟส 2 ซึ่งได้รับสัมปทานบริหารงานจากท่าเรือแหลมฉบัง 30 ปี ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทยเผยว่า เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งหลังจากนี้ไปการท่าเรือแห่งประเทศไทย จะให้ความสำคัญต่อการหาลูกค้าเข้ามาใช้บริการยังท่าเทียบเรือต่างๆ ของกลุ่มฮัทชิสันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
“หลังจากนี้ไปเราคงจะเข้าไปดูในเรื่องของการเข้ามาของผู้ประกอบการต่างๆ ว่าเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อให้การดำเนินการในส่วนต่างๆ แล้วเสร็จ และในปี 2554-2555 ก็คาดว่าการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังในเฟสที่ 3 จะเริ่มดำเนินงานได้ โดยจะมุ่งเน้นที่การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการขนถ่ายสินค้า รวมทั้งการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการเกิดมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการขนถ่ายสินค้าของเรือต่างๆ ” นางสุนิดา กล่าว