เหมืองโปแตชอุดรฯ วุ่น ชาวบ้านเดือด จี้ กพร.ยุติปักหมุดรังวัด หวั่นบานปลายซ้ำรอยโรงเหล็กแม่รำพึง
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (28 ม.ค.) กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกว่า 400 คน นำโดยนายประจวบ แสนพงษ์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เพื่อเรียกร้องให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ยุติการเดินหน้าการทำรังวัดปักหมุดในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช
ทั้งนี้สืบเนื่องจาก กพร. ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพื่อชี้แจงการรังวัดปักหมุดเขตทำเหมืองแร่โปแตช ของบริษัทในเครือบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 15 วัน คือ ระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2551 - 15 กุมภาพันธุ์ 2551 รวม 31 หมู่บ้านโดยกำหนดจะชี้แจงวันละ 2 หมู่บ้าน โดยอ้างว่าได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีแล้ว
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า เรื่องนี้มีแต่การโบ้ยกันไปกันมา ถามจังหวัด จังหวัดก็โยนมาที่ กพร. ตนขอชี้แจงว่า เรื่องนี้ได้มีการมอบการตัดสินใจทุกอย่างไว้ที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมท้องที่ ทุกอย่างทางจังหวัดจึงเป็นคนกำหนด ตลอดจนแผนการลงพื้นที่ครั้งนี้ทางจังหวัดก็เป็นคนเชิญทางเราไปชี้แจง ทาง กพร. ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปเหมือนไปเป็นวิทยากร การจะลงหรือไม่ลงพื้นที่อยู่ที่จังหวัดที่เขาต้องยืนยันอย่างชัดเจน เพราะเขาต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ของเราที่ส่งไปด้วย ถ้าจังหวัดไม่ยืนยัน ไม่คอนเฟิร์ม เราก็ไม่ดำเนินการ เรามีหน้าที่แค่ส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจง ไม่ใช่คนตัดสินใจ ข้อยุติมันอยู่ที่ทางจังหวัด
ด้าน นายสุพจน์ เลาวัลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ตอนนี้ทางจังหวัดอุดรานีทำหน้าที่เป็นเหมือนไปรษณีย์ ที่จะนำความเห็นของชาวบ้านส่งไปที่ กพร. และรอฟังการตัดสินใจจาก กพร. ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนกลางที่ต้องการผลักดันให้เกิดโครงการ ทางจังหวัดไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งชาวบ้านเข้าใจบทบาทของทางจังหวัดดีว่าไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ เพียงแต่ต้องทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ และคอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้ทางเจ้าหน้าที่ จาก กพร.
"โครงการนี้ดำเนินการมายาวนาน เปลี่ยนผู้ว่าราชการจังหวัดมา 3 คนแล้ว จึงมีการให้ส่วนกลางนั้นก็คือ กพร. เข้ามาดำเนินการ เนื่องจากมีความกังวลกันเรื่องการวางตัวไม่เป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ หน้าที่ของเราจึงทำได้แค่รอคำตอบจากส่วนกลางว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งหากโยนความรับผิดชอบกันอย่างนี้ มันก็มีแต่จะสร้างความขัดแย้งมากขึ้น เพราะฉะนั้น กพร. ต้องทำหนังสือมาแจ้งให้เร็วที่สุดว่าจะดำเนินการอย่างไร"นายสุพจน์ กล่าว
ทั้งนี้นางมณี บุญรอด กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า "เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กพร.ไม่จริงใจกับปัญหาที่เกิดในพื้นที่ และลอยตัวอยู่เหนือปัญหา เพียงแค่ทำหนังสือยืนยันยุติการลงพื้นที่ 15 วันนี้ เพื่อคลี่คลายความตึงเครียดที่เกิดขึ้นก็ไม่ทำ จังหวัดอุดรธานีต้องมารับหน้าเสื่อแทน และประชาชนก็ยังต้องอยู่อย่างหวาดระแวง ว่า กพร.จะลักไก่ลงพื้นที่เหมือนที่เคยมา จึงได้กำชับกับชาวบ้านทุกคนในพื้นที่ให้เฝ้าระวังเกรงว่าจะมีการลักไก่ลงพื้นที่ และตนก็ไม่อาจรับรองความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ กพร.อีกได้ หากมีการแอบลงพื้นระหว่างนี้
"เราขอยืนยันว่า กพร.จะต้องยุติการดำเนินการใดๆ ของโครงการเหมืองแร่โปแตชในขณะนี้ก่อน ต้องทำทุกอย่างตามกระบวนการกฎหมายนั้นก็คือ ต้องแก้ไขกฎหมายแร่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เสียก่อน หากยังขืนเดินหน้าทำอะไรต่อไปโดยไม่สนใจเสียงคัดค้านในพื้นที่ จะทำให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นซ้ำรอยกับเหตุการณ์ที่พื้นที่แม่รำพึง อย่างแน่นอน"
ผู้สื่อข่าวรายงานกลุ่มผู้ชุมนุมได้ชุมนุมรอคอยหนังสือยืนยันจากทาง กพร. อยู่บริเวณหน้าห้องทำงานผู้ว่าฯ จนกระทั้งเวลา 15.30 น. ก็ยังไม่มีหนังสือยกเลิกการลงพื้นพื้นชี้แจงการรังวัดปักหมุดจาก กพร. แต่อย่างใด ทางจังหวัดอุดรธานี จึงได้ทำหนังสือขึ้นฉบับหนึ่งเป็นคำสั่งจังหวัดอุดรธานี ระบุไม่ระงับการลงพื้นที่ชี้แจงการรังวัดปักหมุดโครงการเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.ประจักษ์ศิลปาคม หากมีการลงพื้นที่ชี้แจงทางจังหวัดก็ไม่รับรองความปลอดภัย ฝ่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีจึงเข้าใจ และได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และผู้ว่าราชการจังหวัด
โดยมีเนื้อหาในหนังสือระบุข้อเสนอว่า กพร. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องหยุดการดำเนินการใดๆ ของโครงการเหมืองแร่โปแตชทุกอย่างไว้ก่อนในขณะนี้ และกลับไปสร้างกลไกลรองรับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ขบวนการดำเนินโครงการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 57,66,67 โดยต้องปรับปรุงกฎหมายแร่ และกฎหมายในความรับผิดชอบของ กพร. ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เสียก่อน จึงมาจัดให้มีการปรึกษาหารือเบื้องต้นตามมาตรา 88/9 ของ พรบ.แร่ปี 2545 โดยละเอียดและสร้างขบวนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญปี 2550
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (28 ม.ค.) กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกว่า 400 คน นำโดยนายประจวบ แสนพงษ์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เพื่อเรียกร้องให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ยุติการเดินหน้าการทำรังวัดปักหมุดในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช
ทั้งนี้สืบเนื่องจาก กพร. ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพื่อชี้แจงการรังวัดปักหมุดเขตทำเหมืองแร่โปแตช ของบริษัทในเครือบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 15 วัน คือ ระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2551 - 15 กุมภาพันธุ์ 2551 รวม 31 หมู่บ้านโดยกำหนดจะชี้แจงวันละ 2 หมู่บ้าน โดยอ้างว่าได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีแล้ว
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า เรื่องนี้มีแต่การโบ้ยกันไปกันมา ถามจังหวัด จังหวัดก็โยนมาที่ กพร. ตนขอชี้แจงว่า เรื่องนี้ได้มีการมอบการตัดสินใจทุกอย่างไว้ที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมท้องที่ ทุกอย่างทางจังหวัดจึงเป็นคนกำหนด ตลอดจนแผนการลงพื้นที่ครั้งนี้ทางจังหวัดก็เป็นคนเชิญทางเราไปชี้แจง ทาง กพร. ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปเหมือนไปเป็นวิทยากร การจะลงหรือไม่ลงพื้นที่อยู่ที่จังหวัดที่เขาต้องยืนยันอย่างชัดเจน เพราะเขาต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ของเราที่ส่งไปด้วย ถ้าจังหวัดไม่ยืนยัน ไม่คอนเฟิร์ม เราก็ไม่ดำเนินการ เรามีหน้าที่แค่ส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจง ไม่ใช่คนตัดสินใจ ข้อยุติมันอยู่ที่ทางจังหวัด
ด้าน นายสุพจน์ เลาวัลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ตอนนี้ทางจังหวัดอุดรานีทำหน้าที่เป็นเหมือนไปรษณีย์ ที่จะนำความเห็นของชาวบ้านส่งไปที่ กพร. และรอฟังการตัดสินใจจาก กพร. ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนกลางที่ต้องการผลักดันให้เกิดโครงการ ทางจังหวัดไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งชาวบ้านเข้าใจบทบาทของทางจังหวัดดีว่าไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ เพียงแต่ต้องทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ และคอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้ทางเจ้าหน้าที่ จาก กพร.
"โครงการนี้ดำเนินการมายาวนาน เปลี่ยนผู้ว่าราชการจังหวัดมา 3 คนแล้ว จึงมีการให้ส่วนกลางนั้นก็คือ กพร. เข้ามาดำเนินการ เนื่องจากมีความกังวลกันเรื่องการวางตัวไม่เป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ หน้าที่ของเราจึงทำได้แค่รอคำตอบจากส่วนกลางว่าจะเอาอย่างไร ซึ่งหากโยนความรับผิดชอบกันอย่างนี้ มันก็มีแต่จะสร้างความขัดแย้งมากขึ้น เพราะฉะนั้น กพร. ต้องทำหนังสือมาแจ้งให้เร็วที่สุดว่าจะดำเนินการอย่างไร"นายสุพจน์ กล่าว
ทั้งนี้นางมณี บุญรอด กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า "เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กพร.ไม่จริงใจกับปัญหาที่เกิดในพื้นที่ และลอยตัวอยู่เหนือปัญหา เพียงแค่ทำหนังสือยืนยันยุติการลงพื้นที่ 15 วันนี้ เพื่อคลี่คลายความตึงเครียดที่เกิดขึ้นก็ไม่ทำ จังหวัดอุดรธานีต้องมารับหน้าเสื่อแทน และประชาชนก็ยังต้องอยู่อย่างหวาดระแวง ว่า กพร.จะลักไก่ลงพื้นที่เหมือนที่เคยมา จึงได้กำชับกับชาวบ้านทุกคนในพื้นที่ให้เฝ้าระวังเกรงว่าจะมีการลักไก่ลงพื้นที่ และตนก็ไม่อาจรับรองความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ กพร.อีกได้ หากมีการแอบลงพื้นระหว่างนี้
"เราขอยืนยันว่า กพร.จะต้องยุติการดำเนินการใดๆ ของโครงการเหมืองแร่โปแตชในขณะนี้ก่อน ต้องทำทุกอย่างตามกระบวนการกฎหมายนั้นก็คือ ต้องแก้ไขกฎหมายแร่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เสียก่อน หากยังขืนเดินหน้าทำอะไรต่อไปโดยไม่สนใจเสียงคัดค้านในพื้นที่ จะทำให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นซ้ำรอยกับเหตุการณ์ที่พื้นที่แม่รำพึง อย่างแน่นอน"
ผู้สื่อข่าวรายงานกลุ่มผู้ชุมนุมได้ชุมนุมรอคอยหนังสือยืนยันจากทาง กพร. อยู่บริเวณหน้าห้องทำงานผู้ว่าฯ จนกระทั้งเวลา 15.30 น. ก็ยังไม่มีหนังสือยกเลิกการลงพื้นพื้นชี้แจงการรังวัดปักหมุดจาก กพร. แต่อย่างใด ทางจังหวัดอุดรธานี จึงได้ทำหนังสือขึ้นฉบับหนึ่งเป็นคำสั่งจังหวัดอุดรธานี ระบุไม่ระงับการลงพื้นที่ชี้แจงการรังวัดปักหมุดโครงการเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.ประจักษ์ศิลปาคม หากมีการลงพื้นที่ชี้แจงทางจังหวัดก็ไม่รับรองความปลอดภัย ฝ่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีจึงเข้าใจ และได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และผู้ว่าราชการจังหวัด
โดยมีเนื้อหาในหนังสือระบุข้อเสนอว่า กพร. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องหยุดการดำเนินการใดๆ ของโครงการเหมืองแร่โปแตชทุกอย่างไว้ก่อนในขณะนี้ และกลับไปสร้างกลไกลรองรับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ขบวนการดำเนินโครงการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 57,66,67 โดยต้องปรับปรุงกฎหมายแร่ และกฎหมายในความรับผิดชอบของ กพร. ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เสียก่อน จึงมาจัดให้มีการปรึกษาหารือเบื้องต้นตามมาตรา 88/9 ของ พรบ.แร่ปี 2545 โดยละเอียดและสร้างขบวนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญปี 2550