การสู้รบระหว่างรัฐบาลซูดานกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งอยู่ตอนใต้ หรือที่เรียกว่า The Sudan People’s Liberation Army (SPLA) ซึ่งดำเนินมาอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ทศวรรษ (ค.ศ.1983-2004) ที่ดูเหมือนจะยุติลงได้แล้ว หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุความตกลง และลงนามในสัญญาสันติภาพ (Comprehensive Peace Agreement: CPA) เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2005 แต่ก็ได้เกิดความขัดแย้งจนมีความเสี่ยงที่สงครามจะปะทุกลับขึ้นมาอีกครั้ง โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2007 กลุ่ม SPLA ได้ลุกขึ้นมาประท้วงรัฐบาลซูดานและกล่าวหาว่า ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาสันติภาพ อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2007 ทั้งสองฝ่ายก็สามารถหาจุดร่วม และตกลงที่จะกลับมาร่วมมือกันดำเนินการตามข้อตกลงใน CPA อีกครั้ง แม้จะมีปัญหาบางประเด็นที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ก็ตาม
ความเป็นมา
สงครามระหว่างรัฐบาลซูดานกับ SPLA ระหว่างปี ค.ศ. 1983-2004 ถือเป็นสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ของซูดาน นับตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1956 และถือเป็นสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในแอฟริกา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 2 ล้านคน และไร้ที่อยู่อาศัยอีกประมาณ 4 ล้านคน สงครามดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 เมื่อรัฐบาลซูดานภายใต้การนำของประธานาธิบดี Gaafar Nimeiry ประกาศใช้กฎหมายอิสลาม (Sharia Law) ในประเทศ รวมทั้งในซูดานตอนใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และลัทธิความเชื่อดั้งเดิม การต่อสู้ระหว่างกองกำลังของรัฐบาลกับกองกำลัง SPLA ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเริ่มมีกระบวนการเจรจาสันติภาพ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Inter-Governmental Authority on Development (IGAD) การเจรจาสันติภาพดำเนินไปจนกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 เมื่อทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุความตกลง และลงนามในสัญญาสันติภาพ ได้ในที่สุด
ซูดานตอนใต้ประกอบด้วย 10 รัฐ จากทั้งหมด 25 รัฐของซูดาน มีพื้นที่กว่า 5 แสนตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรไม่มีการบันทึกอย่างชัดเจน คนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในซูดานตอนใต้ เป็นชาวแอฟริกันดำ นับถือศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม แตกต่างจากซูดานทางเหนือ อันเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครอง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ นับถือศาสนาอิสลาม ความขัดแย้งดังกล่าวจึงนับได้ว่ามีรากฐานมาจากทั้งเชื้อชาติ และศาสนา นอกจากนี้ การที่ซูดานตอนใต้เป็นพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมัน แต่กลับไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเท่าที่ควร ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งและต้องการแยกตัวเป็นอิสระของซูดานตอนใต้
ความตกลง CPA
ความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Peace Agreement: CPA) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ความตกลง Naivasha Agreement (ตามชื่อเมือง Naivasha ในเคนยา ซึ่งเป็นสถานที่ลงนามความตกลง) มีสาระสำคัญในเรื่องการหยุดยิง การจัดการด้านการรักษาความมั่นคง การแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การแบ่งสรรอำนาจทางการเมือง และการแก้ปัญหาเขตแดน ทั้งนี้ ตามความตกลงดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลซูดาน (ซึ่งขณะนั้นจนถึงปัจจุบัน อยู่ภายใต้การนำของพรรค National Congress Party: NCP) ร่วมกับ SPLA จัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (Government of National Unity: GNU) ขึ้น และให้ดินแดนซูดานตอนใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ SPLA มีอำนาจในการปกครองตนเอง (autonomous) และมีรัฐบาลของตนเองได้ จนกว่าจะมีการจัดการลงประชามติ (referendum) ในปี ค.ศ. 2011 เพื่อให้ประชาชนในเขตซูดานตอนใต้และรัฐอื่นอีก 3 รัฐ (ได้แก่ Blue Nile, Nuba Mountains และ Southern Kurdufan) ซึ่งยังเป็นดินแดนที่ถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นพื้นที่ของใคร (แต่ปัจจุบันอยู่กับรัฐบาลกลาง) ตัดสินใจว่าต้องการจะแยกตนเองเป็นอิสระหรือไม่
และหลังจากที่มีการลงนามใน CPA แล้ว นาย John Garang ประธานาธิบดีซูดานตอนใต้ ได้เข้าร่วมใน GNU โดยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีคนที่ 1 และมีผู้แทนจาก SPLA เข้าร่วมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลกลางอีกหลายราย และหลังจากที่นาย Garang เสียชีวิตไปเมื่อกลางปี ค.ศ. 2005 นาย Salva Kiir Mayardit ก็ได้เข้ารับตำแหน่งแทนมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังการลงนามใน CPA คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับรองข้อมติที่ UNSC 1590(2005) วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2005 จัดตั้งภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดาน (United Nations Mission in Sudan: UNMIS) ขึ้น และไทยได้ส่งนายทหารเข้าปฏิบัติภารกิจทหารสังเกตการณ์ (UN Military Observers: UNMO) ในภารกิจ UNMIS ตามคำขอของสหประชาชาติ ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2006 จำนวน 15 นาย ผลัดวาระแรก 1 ปี และได้ส่งทหารสังเกตการณ์ผลัดที่ 2 อีกจำนวน 14 นาย เข้าไปแทนที่ผลัดแรกเมื่อต้นปี ค.ศ. 2007 ที่ผ่านมา
ความขัดแย้งครั้งล่าสุด
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่าง NCP และ SPLA ดำเนินมาอย่างค่อนข้างราบรื่นเป็นเวลาเกือบ 3 ปี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ซึ่ง SPLA ได้ประกาศคว่ำบาตรการร่วมรัฐบาลกับ GNU โดยรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลกลางซึ่งเป็นผู้แทนของรัฐบาลซูดานตอนใต้ (ประมาณ 1 ใน 4 ของคณะรัฐบาล) ได้ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ SPLA กล่าวหาว่ารัฐบาลซูดานไม่ปฏิบัติตามความตกลง CPA โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถอนทหารออกจากดินแดนที่ยังเป็นที่ถกเถียง การปักปันเขตแดน รวมทั้งปัญหาการแบ่งเขตดินแดน Abyei ว่าอยู่ในเขตแดนของฝ่ายเหนือหรือใต้ สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้นานาชาติต่างวิตกกังวลว่า กระบวนการสันติภาพระหว่างเหนือและใต้ที่ดูจะสงบเรียบร้อยลงแล้ว จะกลับมาระอุคุกรุ่นอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ผู้นำของทั้งสองฝ่ายตกลงว่า จะถอนกำลังออกไปจากดินแดนที่ต่างฝ่ายต่างยึดครองภายในสิ้นปี ค.ศ. 2007 (แม้ว่าตาม CPA ทั้งสองฝ่ายจะต้องถอนกำลังออกไปตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2007 แล้วก็ตาม) และได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระดับสูง 6 นาย โดยได้เริ่มประชุมกันเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2007 เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามความตกลง CPA แต่ในที่สุด คณะกรรมการร่วมดังกล่าวได้ระงับภารกิจไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2007 หลังจากที่ไม่สามารถหาทางออกเกี่ยวกับปัญหา Abyei ได้
ต่อมานาย Salva Kiir Mayardit เดินทางเยือนสหรัฐฯ และได้พบหารือกับนาย บัน คี มุน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2007 ที่นครนิวยอร์ก และพบกับประธานาธิบดีบุชเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2007 ที่กรุงวอชิงตัน อย่างไรก็ดีผลการพบหารือไม่เป็นที่เปิดเผย การพบกับผู้นำสหรัฐฯ และเลขาธิการสหประชาชาติของนาย Salva Kiir สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งให้กับประธานาธิบดีซูดาน ความขัดแย้งดูจะล่อแหลมต่อการที่จะเกิดปะทะขึ้นอีกครั้ง เมื่อประธานาธิบดี Omar al-Bashir ประกาศให้เปิดค่ายฝึกทหารขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2007 ในขณะที่ฝ่าย SPLM ก็เริ่มระดมพล อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดนี้ได้ลดลง เมื่อนาย Nafi Ali Nafi ที่ปรึกษาประธานาธิบดีได้ออกมากล่าวว่า NCP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลยังคงต้องการร่วมมือกับ SPLA และในเวลาต่อมา ผู้นำของทั้งสองฝ่ายต่างก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าฝ่ายตนจะไม่เป็นฝ่ายเริ่มหวนกลับไปใช้สงครามในการแก้ปัญหาอีก
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2007 ประธานาธิบดี Omar al-Bashir ได้พบหารือกับนาย Salva Kiir Mayardit และทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ในปัญหาต่างๆ เกือบทั้งหมด เพื่อที่จะกลับไปสู่กระบวนการตาม CPA อีกครั้ง แม้จะยังไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นสำคัญที่สุด คือการปักปันเขตแดนใน Abyei ก็ตาม ประเด็นที่สามารถตกลงกันได้แล้ว อาทิ การถอนทหารออกจากดินแดนที่ยึดครอง การแบ่งสรรอำนาจทางการเมืองและทรัพยากร การปรับคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ทั้งที่มาจากฝ่ายของ NCD และจากฝ่ายของ SPLA และการออกค่าใช้จ่ายสำหรับใช้จัดทำสำมโนประชากรในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 เพื่อเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 โดย SPLA รับจะกลับเข้าร่วมในรัฐบาล GNU อีกครั้ง และจะมีพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 27 ธันวาคม 2007
บทวิเคราะห์
ปัญหาหลักที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้คือ ดินแดน Abyei ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและทำรายได้มากถึงปีละประมาณ 500-700 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องการปักปันเขตแดนได้ ในที่สุดอาจจำเป็นจะต้องมีการทำความตกลงเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ที่มาจากน้ำมันใน Abyei เพื่อให้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย
แม้ว่า สถานการณ์จะเต็มไปด้วยความตึงเครียด แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีผลประโยชน์ทางการเมือง และเดิมพันในการที่จะต้องรักษาความเป็น Partnership และความร่วมมือภายใต้ความตกลง CPA ไว้ สำหรับ SPLA นั้น หากพรรค NCP (National Congress Party) ซึ่งเป็นแกนนำของรัฐบาลกลางซูดานในปัจจุบัน แพ้การเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะมีขึ้นในปี ค.ศ. 2009 และพรรค UNP (Umma National Party) ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญขึ้นมาแทนแล้ว SPLA ก็จะตกที่นั่งลำบากเนื่องจากจนกระทั่งทุกวันนี้ UNP ก็ยังคงไม่ให้การรับรอง CPA สำหรับฝ่ายรัฐบาลซูดานภายใต้การนำของพรรค NCP ก็จำจะต้องรักษา CPA ไว้ไม่ให้ล้มเหลว เพราะจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลซูดานในการแก้ปัญหาดาร์ฟูร์ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของโลกอยู่ทุกวันนี้ สุดท้ายแล้ว อนาคตของซูดานจะเป็นอย่างไรต่อไป ซูดานตอนใต้ จะแยกตัวออกมาได้สำเร็จหรือไม่ หวังว่าการลงประชามติเพื่อกำหนดชะตาชีวิตของตนเองในปี ค.ศ. 2011 จะเป็นวิถีทางที่นำไปสู่คำตอบ
หมายเหตุ: ผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Website: http://www.thaiworld.org
ความเป็นมา
สงครามระหว่างรัฐบาลซูดานกับ SPLA ระหว่างปี ค.ศ. 1983-2004 ถือเป็นสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ของซูดาน นับตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1956 และถือเป็นสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในแอฟริกา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 2 ล้านคน และไร้ที่อยู่อาศัยอีกประมาณ 4 ล้านคน สงครามดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 เมื่อรัฐบาลซูดานภายใต้การนำของประธานาธิบดี Gaafar Nimeiry ประกาศใช้กฎหมายอิสลาม (Sharia Law) ในประเทศ รวมทั้งในซูดานตอนใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และลัทธิความเชื่อดั้งเดิม การต่อสู้ระหว่างกองกำลังของรัฐบาลกับกองกำลัง SPLA ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเริ่มมีกระบวนการเจรจาสันติภาพ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Inter-Governmental Authority on Development (IGAD) การเจรจาสันติภาพดำเนินไปจนกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 เมื่อทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุความตกลง และลงนามในสัญญาสันติภาพ ได้ในที่สุด
ซูดานตอนใต้ประกอบด้วย 10 รัฐ จากทั้งหมด 25 รัฐของซูดาน มีพื้นที่กว่า 5 แสนตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรไม่มีการบันทึกอย่างชัดเจน คนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในซูดานตอนใต้ เป็นชาวแอฟริกันดำ นับถือศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม แตกต่างจากซูดานทางเหนือ อันเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครอง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ นับถือศาสนาอิสลาม ความขัดแย้งดังกล่าวจึงนับได้ว่ามีรากฐานมาจากทั้งเชื้อชาติ และศาสนา นอกจากนี้ การที่ซูดานตอนใต้เป็นพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมัน แต่กลับไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเท่าที่ควร ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งและต้องการแยกตัวเป็นอิสระของซูดานตอนใต้
ความตกลง CPA
ความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Peace Agreement: CPA) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ความตกลง Naivasha Agreement (ตามชื่อเมือง Naivasha ในเคนยา ซึ่งเป็นสถานที่ลงนามความตกลง) มีสาระสำคัญในเรื่องการหยุดยิง การจัดการด้านการรักษาความมั่นคง การแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การแบ่งสรรอำนาจทางการเมือง และการแก้ปัญหาเขตแดน ทั้งนี้ ตามความตกลงดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลซูดาน (ซึ่งขณะนั้นจนถึงปัจจุบัน อยู่ภายใต้การนำของพรรค National Congress Party: NCP) ร่วมกับ SPLA จัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (Government of National Unity: GNU) ขึ้น และให้ดินแดนซูดานตอนใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ SPLA มีอำนาจในการปกครองตนเอง (autonomous) และมีรัฐบาลของตนเองได้ จนกว่าจะมีการจัดการลงประชามติ (referendum) ในปี ค.ศ. 2011 เพื่อให้ประชาชนในเขตซูดานตอนใต้และรัฐอื่นอีก 3 รัฐ (ได้แก่ Blue Nile, Nuba Mountains และ Southern Kurdufan) ซึ่งยังเป็นดินแดนที่ถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นพื้นที่ของใคร (แต่ปัจจุบันอยู่กับรัฐบาลกลาง) ตัดสินใจว่าต้องการจะแยกตนเองเป็นอิสระหรือไม่
และหลังจากที่มีการลงนามใน CPA แล้ว นาย John Garang ประธานาธิบดีซูดานตอนใต้ ได้เข้าร่วมใน GNU โดยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีคนที่ 1 และมีผู้แทนจาก SPLA เข้าร่วมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลกลางอีกหลายราย และหลังจากที่นาย Garang เสียชีวิตไปเมื่อกลางปี ค.ศ. 2005 นาย Salva Kiir Mayardit ก็ได้เข้ารับตำแหน่งแทนมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังการลงนามใน CPA คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับรองข้อมติที่ UNSC 1590(2005) วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2005 จัดตั้งภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดาน (United Nations Mission in Sudan: UNMIS) ขึ้น และไทยได้ส่งนายทหารเข้าปฏิบัติภารกิจทหารสังเกตการณ์ (UN Military Observers: UNMO) ในภารกิจ UNMIS ตามคำขอของสหประชาชาติ ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2006 จำนวน 15 นาย ผลัดวาระแรก 1 ปี และได้ส่งทหารสังเกตการณ์ผลัดที่ 2 อีกจำนวน 14 นาย เข้าไปแทนที่ผลัดแรกเมื่อต้นปี ค.ศ. 2007 ที่ผ่านมา
ความขัดแย้งครั้งล่าสุด
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่าง NCP และ SPLA ดำเนินมาอย่างค่อนข้างราบรื่นเป็นเวลาเกือบ 3 ปี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ซึ่ง SPLA ได้ประกาศคว่ำบาตรการร่วมรัฐบาลกับ GNU โดยรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลกลางซึ่งเป็นผู้แทนของรัฐบาลซูดานตอนใต้ (ประมาณ 1 ใน 4 ของคณะรัฐบาล) ได้ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ SPLA กล่าวหาว่ารัฐบาลซูดานไม่ปฏิบัติตามความตกลง CPA โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถอนทหารออกจากดินแดนที่ยังเป็นที่ถกเถียง การปักปันเขตแดน รวมทั้งปัญหาการแบ่งเขตดินแดน Abyei ว่าอยู่ในเขตแดนของฝ่ายเหนือหรือใต้ สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้นานาชาติต่างวิตกกังวลว่า กระบวนการสันติภาพระหว่างเหนือและใต้ที่ดูจะสงบเรียบร้อยลงแล้ว จะกลับมาระอุคุกรุ่นอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ผู้นำของทั้งสองฝ่ายตกลงว่า จะถอนกำลังออกไปจากดินแดนที่ต่างฝ่ายต่างยึดครองภายในสิ้นปี ค.ศ. 2007 (แม้ว่าตาม CPA ทั้งสองฝ่ายจะต้องถอนกำลังออกไปตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2007 แล้วก็ตาม) และได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระดับสูง 6 นาย โดยได้เริ่มประชุมกันเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2007 เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามความตกลง CPA แต่ในที่สุด คณะกรรมการร่วมดังกล่าวได้ระงับภารกิจไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2007 หลังจากที่ไม่สามารถหาทางออกเกี่ยวกับปัญหา Abyei ได้
ต่อมานาย Salva Kiir Mayardit เดินทางเยือนสหรัฐฯ และได้พบหารือกับนาย บัน คี มุน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2007 ที่นครนิวยอร์ก และพบกับประธานาธิบดีบุชเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2007 ที่กรุงวอชิงตัน อย่างไรก็ดีผลการพบหารือไม่เป็นที่เปิดเผย การพบกับผู้นำสหรัฐฯ และเลขาธิการสหประชาชาติของนาย Salva Kiir สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งให้กับประธานาธิบดีซูดาน ความขัดแย้งดูจะล่อแหลมต่อการที่จะเกิดปะทะขึ้นอีกครั้ง เมื่อประธานาธิบดี Omar al-Bashir ประกาศให้เปิดค่ายฝึกทหารขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2007 ในขณะที่ฝ่าย SPLM ก็เริ่มระดมพล อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดนี้ได้ลดลง เมื่อนาย Nafi Ali Nafi ที่ปรึกษาประธานาธิบดีได้ออกมากล่าวว่า NCP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลยังคงต้องการร่วมมือกับ SPLA และในเวลาต่อมา ผู้นำของทั้งสองฝ่ายต่างก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าฝ่ายตนจะไม่เป็นฝ่ายเริ่มหวนกลับไปใช้สงครามในการแก้ปัญหาอีก
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2007 ประธานาธิบดี Omar al-Bashir ได้พบหารือกับนาย Salva Kiir Mayardit และทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ในปัญหาต่างๆ เกือบทั้งหมด เพื่อที่จะกลับไปสู่กระบวนการตาม CPA อีกครั้ง แม้จะยังไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นสำคัญที่สุด คือการปักปันเขตแดนใน Abyei ก็ตาม ประเด็นที่สามารถตกลงกันได้แล้ว อาทิ การถอนทหารออกจากดินแดนที่ยึดครอง การแบ่งสรรอำนาจทางการเมืองและทรัพยากร การปรับคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ทั้งที่มาจากฝ่ายของ NCD และจากฝ่ายของ SPLA และการออกค่าใช้จ่ายสำหรับใช้จัดทำสำมโนประชากรในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 เพื่อเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 โดย SPLA รับจะกลับเข้าร่วมในรัฐบาล GNU อีกครั้ง และจะมีพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 27 ธันวาคม 2007
บทวิเคราะห์
ปัญหาหลักที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้คือ ดินแดน Abyei ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและทำรายได้มากถึงปีละประมาณ 500-700 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องการปักปันเขตแดนได้ ในที่สุดอาจจำเป็นจะต้องมีการทำความตกลงเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ที่มาจากน้ำมันใน Abyei เพื่อให้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย
แม้ว่า สถานการณ์จะเต็มไปด้วยความตึงเครียด แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีผลประโยชน์ทางการเมือง และเดิมพันในการที่จะต้องรักษาความเป็น Partnership และความร่วมมือภายใต้ความตกลง CPA ไว้ สำหรับ SPLA นั้น หากพรรค NCP (National Congress Party) ซึ่งเป็นแกนนำของรัฐบาลกลางซูดานในปัจจุบัน แพ้การเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะมีขึ้นในปี ค.ศ. 2009 และพรรค UNP (Umma National Party) ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญขึ้นมาแทนแล้ว SPLA ก็จะตกที่นั่งลำบากเนื่องจากจนกระทั่งทุกวันนี้ UNP ก็ยังคงไม่ให้การรับรอง CPA สำหรับฝ่ายรัฐบาลซูดานภายใต้การนำของพรรค NCP ก็จำจะต้องรักษา CPA ไว้ไม่ให้ล้มเหลว เพราะจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลซูดานในการแก้ปัญหาดาร์ฟูร์ ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของโลกอยู่ทุกวันนี้ สุดท้ายแล้ว อนาคตของซูดานจะเป็นอย่างไรต่อไป ซูดานตอนใต้ จะแยกตัวออกมาได้สำเร็จหรือไม่ หวังว่าการลงประชามติเพื่อกำหนดชะตาชีวิตของตนเองในปี ค.ศ. 2011 จะเป็นวิถีทางที่นำไปสู่คำตอบ
หมายเหตุ: ผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Website: http://www.thaiworld.org