เอเอฟพี/รอยเตอร์ - บรรดาผู้นำประเทศและเศรษฐกิจโลกกล่าวสรุปการประชุมประจำปี "เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม" (WEF) ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เตือนนานาชาติควรมีมาตรการรับมืออย่างจริงจังต่อวิกฤติเศรษฐกิจที่จะยิ่งดำดิ่งเลวร้ายกว่าในปัจจุบัน
โดมินีก สเตราส์ คาห์น กรรมการผู้จัดการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวเมื่อวันเสาร์(26)ว่า จำเป็นต้องมีมาตรการรับมืออย่างจริงจังเพื่อสกัดกั้นความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะยิ่งชะลอตัวหนัก มาตรการดังกล่าวก็ดังเช่น การตัดลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล
ขณะที่แลร์รี ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวระหว่างอภิปรายกับสเตราส์ คาห์น ว่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ไอเอ็มเอฟได้เรียกร้องให้รัฐบาลชาติต่างๆเพิ่มการใช้จ่าย แม้แต่ชาติที่งบประมาณขาดดุล คำกล่าวนี้ตนถือว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความร้ายแรงของสถานการณ์เศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆกำลังประสบ
ในช่วงการประชุมที่พูดถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกนั้น สเตราส์ คาห์น กล่าวว่า ไม่ว่าคำตอบที่ขึ้นอยู่กับแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัว จะเป็นเช่นไรก็ตาม สิ่งที่ชัดเจนก็คือ เศรษฐกิจจะชะลอตัวอย่างรุนแรงและจำเป็นต้องมีมาตรการรับมือกับภาวะดังกล่าวอย่างจริงจัง
"เราไม่สามารถพึ่งพานโยบายการเงินแต่เพียงอย่างเดียว" สเตราส์ คาห์น เสริม
สำหรับนโยบายการคลังนั้น กรรมการผู้จัดการใหญ่ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า บางประเทศอาจไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะเพิ่มการขาดดุลงบประมาณได้ แต่ประเทศอื่นๆอยู่ในฐานะที่ยังมีช่องให้ผ่อนปรนมาตรการทางการเงิน
เวทีการประชุมประจำปี WEF ที่เมืองดาวอส ในปีนี้ มีบรรยากาศที่มืดมน ซึ่งแตกต่างกับการประชุม WEF ครั้งที่ผ่านๆมา ซึ่งจัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศที่สดใส ภาคบรรษัททำกำไรได้อย่างงดงาม เศรษฐกิจของชาติต่างๆเติบโตแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับที่ไม่สร้างปัญหา
บรรดานายธนาคารที่เข้าร่วมการประชุมในปีนี้ต่างหวังว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ประกาศตัดลดดอกเบี้ยเป้าหมายลง 0.75% จะก่อให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็กลับเกรงว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เช่นกัน
บรรยากาศที่ประชุมยิ่งมืดมนไปอีก เมื่อโซซิเยเต้ เจเนราล ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติฝรั่งเศส แถลงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา(24) ว่า ได้รับความเสียหายกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ จากกรณีที่เทรดเดอร์คนหนึ่งของธนาคารทุจริต
จอห์น เธน ซีอีโอของเมอร์ริลล์ลินช์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ในวอลล์สตรีท ที่ประกาศตัดลดมูลค่าทรัพย์สินราว 16,000 ล้านดอลลาร์ สืบเนื่องจากพิษวิกฤติ "ซับไพรม์" ในช่วงกลางเดือนนี้ กล่าวว่า ในปีนี้ มีแนวโน้มที่ปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯจะเลวร้ายยิ่งขึ้น โดยการตัดลดดอกเบี้ยและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่น่าจะช่วยลดแรงกดดันแง่ลบได้
ทางด้านยาสึโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ก็กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงแง่ลบ ท่ามกลางปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท "ซับไพรม์" และราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงทำสถิติในช่วงต้นเดือนนี้
ส่วนโรเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลก กล่าวว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินบางแห่งเริ่มแถลงว่าประสบภาวะขาดทุนมหาศาล แต่ตนคิดว่าการแถลงภาวะขาดทุนดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเลวร้ายที่สุด
เบิร์ต ฮีมสเคิร์ก ซีอีโอของราโบแบงก์ ธนาคารสัญชาติเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า ธนาคารยุโรปจะประสบภาวะขาดทุนจากวิกฤติสินเชื่อตึงตัว เลวร้ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ฮีมสเคิร์กกล่าวว่า ณ ตอนนี้ มีธนาคารเพียง 2-3 แห่งที่แถลงว่าขาดทุนอย่างหนัก เมื่อดูจากธนาคารในฝั่งยุโรป จะยังไม่เห็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากข่าวเกี่ยวกับระบบการธนาคารของยุโรปที่ประสบความเสียหายอย่างหนัก ยังไม่แพร่กระจายในวงกว้างเท่าใดนัก
โดมินีก สเตราส์ คาห์น กรรมการผู้จัดการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวเมื่อวันเสาร์(26)ว่า จำเป็นต้องมีมาตรการรับมืออย่างจริงจังเพื่อสกัดกั้นความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะยิ่งชะลอตัวหนัก มาตรการดังกล่าวก็ดังเช่น การตัดลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล
ขณะที่แลร์รี ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวระหว่างอภิปรายกับสเตราส์ คาห์น ว่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ไอเอ็มเอฟได้เรียกร้องให้รัฐบาลชาติต่างๆเพิ่มการใช้จ่าย แม้แต่ชาติที่งบประมาณขาดดุล คำกล่าวนี้ตนถือว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความร้ายแรงของสถานการณ์เศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆกำลังประสบ
ในช่วงการประชุมที่พูดถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกนั้น สเตราส์ คาห์น กล่าวว่า ไม่ว่าคำตอบที่ขึ้นอยู่กับแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัว จะเป็นเช่นไรก็ตาม สิ่งที่ชัดเจนก็คือ เศรษฐกิจจะชะลอตัวอย่างรุนแรงและจำเป็นต้องมีมาตรการรับมือกับภาวะดังกล่าวอย่างจริงจัง
"เราไม่สามารถพึ่งพานโยบายการเงินแต่เพียงอย่างเดียว" สเตราส์ คาห์น เสริม
สำหรับนโยบายการคลังนั้น กรรมการผู้จัดการใหญ่ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า บางประเทศอาจไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะเพิ่มการขาดดุลงบประมาณได้ แต่ประเทศอื่นๆอยู่ในฐานะที่ยังมีช่องให้ผ่อนปรนมาตรการทางการเงิน
เวทีการประชุมประจำปี WEF ที่เมืองดาวอส ในปีนี้ มีบรรยากาศที่มืดมน ซึ่งแตกต่างกับการประชุม WEF ครั้งที่ผ่านๆมา ซึ่งจัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศที่สดใส ภาคบรรษัททำกำไรได้อย่างงดงาม เศรษฐกิจของชาติต่างๆเติบโตแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับที่ไม่สร้างปัญหา
บรรดานายธนาคารที่เข้าร่วมการประชุมในปีนี้ต่างหวังว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ประกาศตัดลดดอกเบี้ยเป้าหมายลง 0.75% จะก่อให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็กลับเกรงว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เช่นกัน
บรรยากาศที่ประชุมยิ่งมืดมนไปอีก เมื่อโซซิเยเต้ เจเนราล ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติฝรั่งเศส แถลงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา(24) ว่า ได้รับความเสียหายกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ จากกรณีที่เทรดเดอร์คนหนึ่งของธนาคารทุจริต
จอห์น เธน ซีอีโอของเมอร์ริลล์ลินช์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ในวอลล์สตรีท ที่ประกาศตัดลดมูลค่าทรัพย์สินราว 16,000 ล้านดอลลาร์ สืบเนื่องจากพิษวิกฤติ "ซับไพรม์" ในช่วงกลางเดือนนี้ กล่าวว่า ในปีนี้ มีแนวโน้มที่ปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯจะเลวร้ายยิ่งขึ้น โดยการตัดลดดอกเบี้ยและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่น่าจะช่วยลดแรงกดดันแง่ลบได้
ทางด้านยาสึโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ก็กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงแง่ลบ ท่ามกลางปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท "ซับไพรม์" และราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงทำสถิติในช่วงต้นเดือนนี้
ส่วนโรเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลก กล่าวว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินบางแห่งเริ่มแถลงว่าประสบภาวะขาดทุนมหาศาล แต่ตนคิดว่าการแถลงภาวะขาดทุนดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเลวร้ายที่สุด
เบิร์ต ฮีมสเคิร์ก ซีอีโอของราโบแบงก์ ธนาคารสัญชาติเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า ธนาคารยุโรปจะประสบภาวะขาดทุนจากวิกฤติสินเชื่อตึงตัว เลวร้ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ฮีมสเคิร์กกล่าวว่า ณ ตอนนี้ มีธนาคารเพียง 2-3 แห่งที่แถลงว่าขาดทุนอย่างหนัก เมื่อดูจากธนาคารในฝั่งยุโรป จะยังไม่เห็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากข่าวเกี่ยวกับระบบการธนาคารของยุโรปที่ประสบความเสียหายอย่างหนัก ยังไม่แพร่กระจายในวงกว้างเท่าใดนัก