ประธานวิศวกรรมก่อสร้างพระเมรุ เผยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ติดตั้งลิฟท์ในพระเมรุเพื่อเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน โดยจะจัดวางให้กลมกลืนกับสถาปัตยกรรมไทย คำนึงถึงความปลอดภัย และสมพระเกียรติ ศธ.จัดประกวดเว็บไซต์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
บรรยากาศวานนี้ (24 ม.ค.) สำนักพระราชวังได้เปิดให้ขึ้นกราบถวายสักการะพระศพ ตั้งแต่เวลา 07.50 น. ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิมที่กำหนดไว้ในเวลา 09.00 น. โดยยังคงมีประชาชนและคณะบุคคลเดินทางมาสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวังอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน อาทิ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงกลาโหม, นางทาคาโกะ นาโนมิประธานศูนย์ศิลปาชีพญี่ปุ่น พระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ของพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, คณะนักเรียนจากโรงเรียนวรชายาธินัดดามาตุวิทยา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระองค์เจ้าฯโสมสวลีพระวรชายาธินัดดามาตุ, ท่านผู้หญิงอรอำไพ โกมารกุล ณ นคร ตัวแทนราชสกุลเกษมสันต์
ทรงย้ำการศึกษาทำให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ
ในจำนวนนี้มีมูลนิธิกตเวทินในพระราชูปถัมภ์ นำโดย ท่านผู้หญิงพูลทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา อดีตคุณข้าหลวงของ สมเด็จเจ้าฟ้าวลัยอลงกรณ์ กล่าวว่า เนื่องจากตนเคยเป็นข้าหลวงสมเด็จเจ้าฟ้าวลัยอลงกรณ์ และเคยมีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์ท่าน สิ่งที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญมากที่สุดคือ เรื่องการศึกษา
“ครั้งหนึ่งเราได้ตั้งสมาคมสตรีอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของสตรีให้ได้รับการศึกษามากขึ้น โดยทางสมาคมฯได้กราบทูลเชิญพระองค์ทรงมาเป็นองค์อุปถัมภ์ พระองค์ทรงเน้นย้ำเรื่องของการศึกษาของสตรีว่า อยากให้ผู้หญิงได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อให้สตรีเหล่านั้นได้เป็นผู้นำทางสังคม”
ท่านผู้หญิงพูลทรัพย์ กล่าวต่อว่า รู้สึกประทับใจในพระจริยวัตร รวมทั้งน้ำพระทัยอันงดงามที่ทรงห่วงใยประชาราษฎร์ ประชาชนชาวไทยและข้าราชบริพารทุกคน ภายใต้พระพักตร์อันเรียบเฉยแต่แฝงด้วยน้ำพระทัยอันงดงาม
สร้างลิฟท์ในพระเมรุครั้งแรกในประวัติศาสตร์
นายอารักษ์ สังหิตกุล หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะประธานวิศวกรรมโครงสร้างพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เปิดเผยว่า การก่อสร้างพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทางด้านวิศวกรรมถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นำแนวคิดการออกแบบลิฟท์เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประกอบพระราชพิธีบนพระเมรุ ซึ่งลิฟท์ดังกล่าวจะใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องจากบันไดที่จะเสด็จฯ ขึ้นไปยังพระเมรุมีความสูงชันมาก
ทั้งนี้ การสร้างลิฟท์ในพระเมรุ วิศวกรต้องดูจากการออกแบบสถาปัตยกรรมของคณะทำงานที่ น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น เป็นประธาน โดยต้องพิจารณาถึงการจัดวางให้มีลักษณะสวยงามกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมไทยของพระเมรุ ที่สำคัญต้องคำนึงถึงความสง่างาม ความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการใช้เป็นทางเสด็จฯ ซึ่งตนจะหารือกับ น.อ.อาวุธ ถึงการเลือกลิฟท์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีลิฟท์อยู่ 2 ประเภท คือลิฟท์ที่ใช้เครื่องจักรดึง ซึ่งใช้อยู่ตามตึก และอาคารใหญ่ทั่วไป
โดยลิฟท์แบบนี้จะมีเครื่องจักรติดตั้งอยู่ด้านบน และมีสายสลิงเพื่อชักรอกขึ้นลง อย่างไรก็ตามการติดตั้งเครื่องจักรด้านบนลิฟท์อาจไม่เหมาะสม และไม่สวยงาม ส่วนอีกประเภทคือ ลิฟท์ที่ใช้ระบบไฮโดรลิก ซึ่งจะใช้แรงดันในการเคลื่อนขึ้นลง แต่คงต้องหารือถึงแนวทางอื่นๆ ที่ใช้เป็นทางเสด็จฯ ด้วย โดยต้องมีความเหมาะสม และสมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะการติดตั้งลิฟท์เป็นเรื่องใหม่กับการก่อสร้างพระเมรุ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทุกประการ
จัดจ้างวิธีพิเศษ บ.ที่มีความชำนาญ
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้การทำงานในส่วนของวิศวกรรมต้องรอทางกรมศิลปากร จัดจ้าง บริษัทเอกชนเข้ามารับเหมาก่อสร้างพระเมรุ และอาคารประกอบต่างๆ เมื่อมีระยะเวลาที่จำกัดจึงจำเป็นต้องขอที่ประชุมฝ่ายคณะกรรมการจัดสร้างพระเมรุฯ อนุมัติการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ เพราะการก่อสร้างพระเมรุนั้น ต้องใช้บริษัทผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์การก่อสร้างอาคารตามสถาปัตยกรรมไทย รวมทั้งบริษัทนั้นต้องมีบุคลากรที่เป็นช่างฝีมือสามารถก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทยที่ออกแบบไว้ได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน โดยบริษัทเหล่านี้หายากมาก แต่ก็มีบริษัทที่เคยร่วมงานด้านการก่อสร้าง ตกแต่ง บูรณะอาคารหรือโบราณสถานแบบสถาปัตยกรรมไทยโบราณประมาณ 5 แห่งในประเทศ ซึ่งการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ
ทั้งนี้ นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร จะเป็นผู้บริหารจัดการดำเนินการเชิญบริษัทมาประกวดราคา ส่วนตนจะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างด้านวิศวกรรม โดยมีคณะทำงานนักวิศวกรประจำกรมศิลปากร ที่มีประสบการณ์การทำงานการจัดสร้างพระเมรุมาศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมกันควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามการออกแบบทุกจุด คาดว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์นี้ เมื่อสร้างโรงขยายแบบที่ท้องสนามหลวงแล้ว คณะทำงานของ น.อ.อาวุธ ทำการขยายแบบเสร็จแล้ว ก็จะเริ่มก่อสร้างได้ทันที
ศธ.จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ
ด้าน นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวว่า สำนักงานปลัด ศธ.จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติฯ 4 โครงการ 7 กิจกรรม ได้แก่ 1.โครงการกิจกรรมการศึกษานอกระบบเคลื่อนที่เพื่อประชาชนด้อยโอกาสในเขตท้องถิ่นทุรกันดาร โดย กศน.ทำร่วมกับโครงการ พอ.สว.ตามรอยสมเด็จย่าและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ 2.โครงการพัฒนาคุณธรรมชีวิตประชาชนผู้ด้อยโอกาสในเขตภูเขา 3. สนับสนุนโครงการชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” ที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และ 4. ในส่วนของสำนักลูกเสือ ยุวกาชาด จัดทำโครงการยุวากาชาดน้อยตามรอยสมเด็จอาจารย์ฯ (สกก.) โดยให้สมาชิกยุวกาชาดทำ100โครงงานออกบำเพ็ญประโยชน์ด้านปฐมพยาบาลและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
นางจรวยพร กล่าวว่า ขณะนี้ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลโรงเรียนเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เพื่อกำหนดแนวทางสนับสนุน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนราชินี กรุงเทพมหานคร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงศึกษาในชั้นเยาว์วัย ส่วนโรงเรียนศรีสังวาลย์ จ.นนทบุรี และโรงเรียนนันทบุรีวิทยา จ.น่าน อยู่ในพระอุปถัมภ์โดยทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงกิจการของโรงเรียนและเสด็จเยี่ยมเยียน นอกจากนี้ ยังได้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทุนการศึกษาและผู้ที่ได้รับทุนจากสมาคมครูภาษาฝรั่งเศส และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
ทั้งนี้ สำนักปลัดฯ จัดประกวดจัดทำ Web site น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และจะสำรวจข้อมูลการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จากต่างประเทศ ซึ่งในเบื้องต้นพบว่ามี การทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลาเลจิยง ดอนเนอร์ ชั้นกรองด์ ออฟฟิสซิเยร์ (La Legion D’Honneur Grand Officier) ของประเทศฝรั่งเศสและการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญวิกเตอร์ ฮูโก(La M’edaille Victor Hogo) ของยูเนสโก และสำนักปลัดฯ จะจัดพิมพ์พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา
โดยจะรวบรวมจากทุกองค์กรหลักของ ศธ. ตีพิมพ์ในหนังสือวันสถาปนา ศธ. 1 เมษายน 2551 แจกจ่ายให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ และ จัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ด้านการศึกษา ในงานมหกรรม นักอ่านเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต ที่จะจัดระหว่างวันที่ 8 -11 กันยายน 2551นี้
บรรยากาศวานนี้ (24 ม.ค.) สำนักพระราชวังได้เปิดให้ขึ้นกราบถวายสักการะพระศพ ตั้งแต่เวลา 07.50 น. ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการเดิมที่กำหนดไว้ในเวลา 09.00 น. โดยยังคงมีประชาชนและคณะบุคคลเดินทางมาสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวังอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน อาทิ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงกลาโหม, นางทาคาโกะ นาโนมิประธานศูนย์ศิลปาชีพญี่ปุ่น พระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ของพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, คณะนักเรียนจากโรงเรียนวรชายาธินัดดามาตุวิทยา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระองค์เจ้าฯโสมสวลีพระวรชายาธินัดดามาตุ, ท่านผู้หญิงอรอำไพ โกมารกุล ณ นคร ตัวแทนราชสกุลเกษมสันต์
ทรงย้ำการศึกษาทำให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ
ในจำนวนนี้มีมูลนิธิกตเวทินในพระราชูปถัมภ์ นำโดย ท่านผู้หญิงพูลทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา อดีตคุณข้าหลวงของ สมเด็จเจ้าฟ้าวลัยอลงกรณ์ กล่าวว่า เนื่องจากตนเคยเป็นข้าหลวงสมเด็จเจ้าฟ้าวลัยอลงกรณ์ และเคยมีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์ท่าน สิ่งที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญมากที่สุดคือ เรื่องการศึกษา
“ครั้งหนึ่งเราได้ตั้งสมาคมสตรีอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมการศึกษาของสตรีให้ได้รับการศึกษามากขึ้น โดยทางสมาคมฯได้กราบทูลเชิญพระองค์ทรงมาเป็นองค์อุปถัมภ์ พระองค์ทรงเน้นย้ำเรื่องของการศึกษาของสตรีว่า อยากให้ผู้หญิงได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อให้สตรีเหล่านั้นได้เป็นผู้นำทางสังคม”
ท่านผู้หญิงพูลทรัพย์ กล่าวต่อว่า รู้สึกประทับใจในพระจริยวัตร รวมทั้งน้ำพระทัยอันงดงามที่ทรงห่วงใยประชาราษฎร์ ประชาชนชาวไทยและข้าราชบริพารทุกคน ภายใต้พระพักตร์อันเรียบเฉยแต่แฝงด้วยน้ำพระทัยอันงดงาม
สร้างลิฟท์ในพระเมรุครั้งแรกในประวัติศาสตร์
นายอารักษ์ สังหิตกุล หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะประธานวิศวกรรมโครงสร้างพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เปิดเผยว่า การก่อสร้างพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทางด้านวิศวกรรมถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นำแนวคิดการออกแบบลิฟท์เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประกอบพระราชพิธีบนพระเมรุ ซึ่งลิฟท์ดังกล่าวจะใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องจากบันไดที่จะเสด็จฯ ขึ้นไปยังพระเมรุมีความสูงชันมาก
ทั้งนี้ การสร้างลิฟท์ในพระเมรุ วิศวกรต้องดูจากการออกแบบสถาปัตยกรรมของคณะทำงานที่ น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น เป็นประธาน โดยต้องพิจารณาถึงการจัดวางให้มีลักษณะสวยงามกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมไทยของพระเมรุ ที่สำคัญต้องคำนึงถึงความสง่างาม ความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการใช้เป็นทางเสด็จฯ ซึ่งตนจะหารือกับ น.อ.อาวุธ ถึงการเลือกลิฟท์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีลิฟท์อยู่ 2 ประเภท คือลิฟท์ที่ใช้เครื่องจักรดึง ซึ่งใช้อยู่ตามตึก และอาคารใหญ่ทั่วไป
โดยลิฟท์แบบนี้จะมีเครื่องจักรติดตั้งอยู่ด้านบน และมีสายสลิงเพื่อชักรอกขึ้นลง อย่างไรก็ตามการติดตั้งเครื่องจักรด้านบนลิฟท์อาจไม่เหมาะสม และไม่สวยงาม ส่วนอีกประเภทคือ ลิฟท์ที่ใช้ระบบไฮโดรลิก ซึ่งจะใช้แรงดันในการเคลื่อนขึ้นลง แต่คงต้องหารือถึงแนวทางอื่นๆ ที่ใช้เป็นทางเสด็จฯ ด้วย โดยต้องมีความเหมาะสม และสมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะการติดตั้งลิฟท์เป็นเรื่องใหม่กับการก่อสร้างพระเมรุ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทุกประการ
จัดจ้างวิธีพิเศษ บ.ที่มีความชำนาญ
นายอารักษ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้การทำงานในส่วนของวิศวกรรมต้องรอทางกรมศิลปากร จัดจ้าง บริษัทเอกชนเข้ามารับเหมาก่อสร้างพระเมรุ และอาคารประกอบต่างๆ เมื่อมีระยะเวลาที่จำกัดจึงจำเป็นต้องขอที่ประชุมฝ่ายคณะกรรมการจัดสร้างพระเมรุฯ อนุมัติการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ เพราะการก่อสร้างพระเมรุนั้น ต้องใช้บริษัทผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์การก่อสร้างอาคารตามสถาปัตยกรรมไทย รวมทั้งบริษัทนั้นต้องมีบุคลากรที่เป็นช่างฝีมือสามารถก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทยที่ออกแบบไว้ได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน โดยบริษัทเหล่านี้หายากมาก แต่ก็มีบริษัทที่เคยร่วมงานด้านการก่อสร้าง ตกแต่ง บูรณะอาคารหรือโบราณสถานแบบสถาปัตยกรรมไทยโบราณประมาณ 5 แห่งในประเทศ ซึ่งการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ
ทั้งนี้ นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร จะเป็นผู้บริหารจัดการดำเนินการเชิญบริษัทมาประกวดราคา ส่วนตนจะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างด้านวิศวกรรม โดยมีคณะทำงานนักวิศวกรประจำกรมศิลปากร ที่มีประสบการณ์การทำงานการจัดสร้างพระเมรุมาศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมกันควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามการออกแบบทุกจุด คาดว่าประมาณเดือนกุมภาพันธ์นี้ เมื่อสร้างโรงขยายแบบที่ท้องสนามหลวงแล้ว คณะทำงานของ น.อ.อาวุธ ทำการขยายแบบเสร็จแล้ว ก็จะเริ่มก่อสร้างได้ทันที
ศธ.จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ
ด้าน นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวว่า สำนักงานปลัด ศธ.จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติฯ 4 โครงการ 7 กิจกรรม ได้แก่ 1.โครงการกิจกรรมการศึกษานอกระบบเคลื่อนที่เพื่อประชาชนด้อยโอกาสในเขตท้องถิ่นทุรกันดาร โดย กศน.ทำร่วมกับโครงการ พอ.สว.ตามรอยสมเด็จย่าและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ 2.โครงการพัฒนาคุณธรรมชีวิตประชาชนผู้ด้อยโอกาสในเขตภูเขา 3. สนับสนุนโครงการชุมชนการเรียนรู้ “สมเด็จย่า” ที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และ 4. ในส่วนของสำนักลูกเสือ ยุวกาชาด จัดทำโครงการยุวากาชาดน้อยตามรอยสมเด็จอาจารย์ฯ (สกก.) โดยให้สมาชิกยุวกาชาดทำ100โครงงานออกบำเพ็ญประโยชน์ด้านปฐมพยาบาลและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
นางจรวยพร กล่าวว่า ขณะนี้ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลโรงเรียนเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เพื่อกำหนดแนวทางสนับสนุน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนราชินี กรุงเทพมหานคร ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงศึกษาในชั้นเยาว์วัย ส่วนโรงเรียนศรีสังวาลย์ จ.นนทบุรี และโรงเรียนนันทบุรีวิทยา จ.น่าน อยู่ในพระอุปถัมภ์โดยทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงกิจการของโรงเรียนและเสด็จเยี่ยมเยียน นอกจากนี้ ยังได้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทุนการศึกษาและผู้ที่ได้รับทุนจากสมาคมครูภาษาฝรั่งเศส และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
ทั้งนี้ สำนักปลัดฯ จัดประกวดจัดทำ Web site น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และจะสำรวจข้อมูลการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จากต่างประเทศ ซึ่งในเบื้องต้นพบว่ามี การทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลาเลจิยง ดอนเนอร์ ชั้นกรองด์ ออฟฟิสซิเยร์ (La Legion D’Honneur Grand Officier) ของประเทศฝรั่งเศสและการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญวิกเตอร์ ฮูโก(La M’edaille Victor Hogo) ของยูเนสโก และสำนักปลัดฯ จะจัดพิมพ์พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา
โดยจะรวบรวมจากทุกองค์กรหลักของ ศธ. ตีพิมพ์ในหนังสือวันสถาปนา ศธ. 1 เมษายน 2551 แจกจ่ายให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ และ จัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ด้านการศึกษา ในงานมหกรรม นักอ่านเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต ที่จะจัดระหว่างวันที่ 8 -11 กันยายน 2551นี้