ผู้จัดการรายวัน - นายแบงก์เห็นพ้องกนง.พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม หลังเฟดตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึง 0.75%ในคราวเดียว ระบุควรให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจโตต่ำกว่าเป้ามากกว่ากรณีเงินเฟ้อ ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง ซึ่งหากอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายไทย ก็จะมีแรงกดดันให้บาทแข็งเพิ่มขึ้น
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (บสก.) กล่าวว่า จากผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งได้มีกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75% จาก 4.25% เหลือ 3.50% ถือว่าเป็นการปรับลดลดที่น้อยกว่าตลาดได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีการปรับลดถึง 1% อย่างไรก็ตามการประชุมในรอบนี้ถือเป็นการประชุมฉุกเฉิน จึงทำให้เชื่อว่าในการประชุมนัดปกติในสัปดาห์หน้าเฟดมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
สำหรับผลที่เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้น คือช่วยให้ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ที่ก่อนหน้ามีการปรับลดลงค่อนข้างมากนั้น มีการรีบาวน์กลับขึ้นมาได้บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังอยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการแก้ไขแม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกจุด เพราะจะมีผลในทางจิตวิทยาและได้ผลเร็ว อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการลดภาระดอกเบี้ยจ่าย การผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยรวมถึงมีส่วนในช่วยผู้ที่ซื้อบ้านซึ่งจะทำให้ตลาดโดยรวมดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้นจะไม่จบลงง่าย ๆ และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีการขยายตัวลดลงไปอยู่ที่ 1% อีกทั้งจะส่งผลกระทบไปยังธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯที่อาจขาดทุนหลักแสนล้านบาท รวมถึงบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ อาจถูกลดอันดับของตราสารหนี้ รวมถึงปัญหาอาจจะกระทบไปถึงยุโรป เอเชีย และรัสเซียทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวตามลงไป ซึ่งรวมถึงไทยซึ่งได้มีการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯถึง 20%
"การประชุมรอบนี้เป็นการประชุมฉุกเฉินซึ่งการที่เฟดปรับลง 0.75% คงเพราะยังไม่กล้าที่จะปรับลดในจำนวนที่มากครั้งเดียว แต่ลองใส่ไปก่อนว่าจะมีผลออกมาเป็นอย่างไร แต่หากปัญหายังไม่หยุดหรือยังไม่ได้ผลก็คงจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้า และทั้งปีน่าจะยังคงเป็นทิศทางขาลง " นายบรรยงกล่าว
นายบรรยง กล่าวว่า ในส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกขณะนี้มีความชัดเจนว่าเป็นช่วงขาลง โดยการประชุมในรอบต่อไปของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทางการจะให้ความสำคัญได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากเดิมจะให้ความสำคัญกับเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ และจากภาวะในปัจจุบันทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงจะมีการขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ทางการได้วางไว้ที่ 4.5-5.0% โดยน่าจะมาอยู่ที่ 4.0-4.5%
"การขึ้นดอกเบี้ยไม่เหมาะสมในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอลง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับแบงก์ชาติ ในมุมมองของบสก. มองว่าไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้กู้และเป็นผลร้าย แต่ภาวะเงินเฟ้อกับภาวะเศรษฐกิจก็ต้องชั่งน้ำหนักเอา ซึ่งบสก.มองว่าดอกเบี้ยน่าจะเป็นช่วงขาลงเพราะเศรษฐกิจไทยน่าจะเจอกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงดังนั้นดอกเบี้ยอ้างอิงของไทยก็น่าจะลง" นายบรรยงกล่าว
นายแบงก์คาดกนง.ลดอาร์พีตาม
ขณะที่นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯลงอีก 0.75% อาจจะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาซับไพรม์ได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินงานที่ช้า ขณะที่ปัญหาซับไพรม์ได้ขยายวงกว้างไปมากแล้ว ทำให้เกิดสภาวะสินเชื่อตึงตัวจากความไม่มั่นใจที่จะปล่อยกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ แม้ว่าความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือความต้องการเงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นก็ตาม ดังนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่อาจช่วยลดภาวะสินเชื่อตึงตัวที่เกิดขึ้นได้
"การใช้นโยบายทั้งด้านการเงินและการคลังที่ออกมาในช่วงที่ผ่านมานั้น ถือว่า ไม่พอ แล้วก็ช้าไป อย่างที่กรณีที่ประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐฯได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการคืนเงินภาษีให้กับประชาชนคนละ 800 ดอลลาร์ และ 1,600 ดอลลาร์ต่อคู่สมรสนั้น เงินที่ออกมาก็ยังไม่ใช่ตอนนี้ เป็นปลายเดือนหน้า ก็แทบจะไม่ได้อะไร แล้วตอนนี้ปัญหาหรือผลกระทบจากซับไพรม์ก็ขยายวงกว้างมากไปถึงทั้งในยุโรปและจีนด้วย โดยหลายๆฝ่ายประเมินว่าในขณะนี้ความเสียหายจากซับไพรม์น่าจะถึง 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว และปัญหาคงจะไม่จบในปีนี้ แต่น่าจะเป็นในปี 52"นายบันลือศักดิ์กล่าว
ดังนั้น เชื่อว่าในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ (FOMC)ในปลายเดือนนี้ จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.50% เหลือ 3.00% และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับ 2.00%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น แนวโน้มยังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงอีก โดยเฉพาะหากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 3.25% เพราะหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯอาจจะมีเงินไหลเข้าและกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งสภาวะการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ประเด็นค่าเงินบาทถูกนำมาพิจารณาในการปรับลดอกเบี้ยอีกก็ได้
"การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้ลดลงเร็วมาก เมื่อเทียบกับวิกฤตครั้งก่อนที่สหรัฐฯลดดอกเบี้ยจาก 6.5% เหลือ 1% ตั้งแต่ปี 44-46 หรือใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง แต่คราวนี้ลดจาก 5.25% เหลือ 3.50% ในเวลาไม่ถึงปี คือ จากไตรมาส 4 ปีก่อน ถึงเดือนแรกของปีนี้ ดังนั้น ก็อาจจะกระทบต่อการพิจารณาดอกเบี้ยของประเทศต่างๆได้"นายบันลือศักดิ์กล่าว
ด้านนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%ในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ภายหลังเฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.75% แต่ในส่วนของธอส.นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย คงต้องรอดูนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ก่อน
"ต้องติดตามต่อไปว่าคณกรรมการนโยบายการเงินจะประกาศลดดอกเบี้ยกะทันหันก่อนวันประชุม เหมือนกับเฟดหรือไม่" นายขรรค์กล่าว
คาดบาทแข็งแตะ 31.50-32.00
นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) กล่าวว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปีนี้ คาดว่าธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.25% จนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจากนโยบายการเงินของธปท. ยังคงให้ความสำคัญกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จะมาจากต้นทุนด้านราคาน้ำมัน(cost push inflation) แต่เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเช่นกัน ธปท.ก็ยังตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 4% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูงมากนัก
นายธิติกล่าวว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯในขณะนี้ หรือในอนาคตอันใกล้ หากยังไม่ถึงระดับ 1% จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนในโลก เพราะกระแสเงินทุนในตลาดโลกขณะนี้ กำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ไหลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งจะสังเกตได้จาก yield curve ของพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวลดลง
ส่วนเงินบาทมีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และน่าจะแตะระดับ 31.50-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในปีนี้ จากแนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกของไทยอาจจะขยายไม่เท่ากับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
"ส่วนต่างระหว่างเงินบาทที่ซื้อขายในประเทศ และในตลาดนอกประเทศ ยังคงมีส่วนต่างอยู่นั้น เป็นผลจากมาตรการ 30% ที่ทำให้ไม่เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทในประเทศ จึงมองว่ามาตรการ 30% ยังมีประโยชน์ในการช่วยดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนจนเกินไป"นายธิติกล่าว
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (บสก.) กล่าวว่า จากผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งได้มีกาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75% จาก 4.25% เหลือ 3.50% ถือว่าเป็นการปรับลดลดที่น้อยกว่าตลาดได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีการปรับลดถึง 1% อย่างไรก็ตามการประชุมในรอบนี้ถือเป็นการประชุมฉุกเฉิน จึงทำให้เชื่อว่าในการประชุมนัดปกติในสัปดาห์หน้าเฟดมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
สำหรับผลที่เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้น คือช่วยให้ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ที่ก่อนหน้ามีการปรับลดลงค่อนข้างมากนั้น มีการรีบาวน์กลับขึ้นมาได้บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังอยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการแก้ไขแม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกจุด เพราะจะมีผลในทางจิตวิทยาและได้ผลเร็ว อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการลดภาระดอกเบี้ยจ่าย การผ่อนชำระค่าที่อยู่อาศัยรวมถึงมีส่วนในช่วยผู้ที่ซื้อบ้านซึ่งจะทำให้ตลาดโดยรวมดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้นจะไม่จบลงง่าย ๆ และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีการขยายตัวลดลงไปอยู่ที่ 1% อีกทั้งจะส่งผลกระทบไปยังธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯที่อาจขาดทุนหลักแสนล้านบาท รวมถึงบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ อาจถูกลดอันดับของตราสารหนี้ รวมถึงปัญหาอาจจะกระทบไปถึงยุโรป เอเชีย และรัสเซียทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวตามลงไป ซึ่งรวมถึงไทยซึ่งได้มีการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯถึง 20%
"การประชุมรอบนี้เป็นการประชุมฉุกเฉินซึ่งการที่เฟดปรับลง 0.75% คงเพราะยังไม่กล้าที่จะปรับลดในจำนวนที่มากครั้งเดียว แต่ลองใส่ไปก่อนว่าจะมีผลออกมาเป็นอย่างไร แต่หากปัญหายังไม่หยุดหรือยังไม่ได้ผลก็คงจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้า และทั้งปีน่าจะยังคงเป็นทิศทางขาลง " นายบรรยงกล่าว
นายบรรยง กล่าวว่า ในส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกขณะนี้มีความชัดเจนว่าเป็นช่วงขาลง โดยการประชุมในรอบต่อไปของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทางการจะให้ความสำคัญได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากเดิมจะให้ความสำคัญกับเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ และจากภาวะในปัจจุบันทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงจะมีการขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ทางการได้วางไว้ที่ 4.5-5.0% โดยน่าจะมาอยู่ที่ 4.0-4.5%
"การขึ้นดอกเบี้ยไม่เหมาะสมในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอลง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับแบงก์ชาติ ในมุมมองของบสก. มองว่าไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้กู้และเป็นผลร้าย แต่ภาวะเงินเฟ้อกับภาวะเศรษฐกิจก็ต้องชั่งน้ำหนักเอา ซึ่งบสก.มองว่าดอกเบี้ยน่าจะเป็นช่วงขาลงเพราะเศรษฐกิจไทยน่าจะเจอกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงดังนั้นดอกเบี้ยอ้างอิงของไทยก็น่าจะลง" นายบรรยงกล่าว
นายแบงก์คาดกนง.ลดอาร์พีตาม
ขณะที่นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯลงอีก 0.75% อาจจะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาซับไพรม์ได้ เนื่องจากเป็นการดำเนินงานที่ช้า ขณะที่ปัญหาซับไพรม์ได้ขยายวงกว้างไปมากแล้ว ทำให้เกิดสภาวะสินเชื่อตึงตัวจากความไม่มั่นใจที่จะปล่อยกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ แม้ว่าความต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือความต้องการเงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นก็ตาม ดังนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่อาจช่วยลดภาวะสินเชื่อตึงตัวที่เกิดขึ้นได้
"การใช้นโยบายทั้งด้านการเงินและการคลังที่ออกมาในช่วงที่ผ่านมานั้น ถือว่า ไม่พอ แล้วก็ช้าไป อย่างที่กรณีที่ประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐฯได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการคืนเงินภาษีให้กับประชาชนคนละ 800 ดอลลาร์ และ 1,600 ดอลลาร์ต่อคู่สมรสนั้น เงินที่ออกมาก็ยังไม่ใช่ตอนนี้ เป็นปลายเดือนหน้า ก็แทบจะไม่ได้อะไร แล้วตอนนี้ปัญหาหรือผลกระทบจากซับไพรม์ก็ขยายวงกว้างมากไปถึงทั้งในยุโรปและจีนด้วย โดยหลายๆฝ่ายประเมินว่าในขณะนี้ความเสียหายจากซับไพรม์น่าจะถึง 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว และปัญหาคงจะไม่จบในปีนี้ แต่น่าจะเป็นในปี 52"นายบันลือศักดิ์กล่าว
ดังนั้น เชื่อว่าในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ (FOMC)ในปลายเดือนนี้ จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.50% เหลือ 3.00% และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับ 2.00%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น แนวโน้มยังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงอีก โดยเฉพาะหากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 3.25% เพราะหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯอาจจะมีเงินไหลเข้าและกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งสภาวะการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ประเด็นค่าเงินบาทถูกนำมาพิจารณาในการปรับลดอกเบี้ยอีกก็ได้
"การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้ลดลงเร็วมาก เมื่อเทียบกับวิกฤตครั้งก่อนที่สหรัฐฯลดดอกเบี้ยจาก 6.5% เหลือ 1% ตั้งแต่ปี 44-46 หรือใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง แต่คราวนี้ลดจาก 5.25% เหลือ 3.50% ในเวลาไม่ถึงปี คือ จากไตรมาส 4 ปีก่อน ถึงเดือนแรกของปีนี้ ดังนั้น ก็อาจจะกระทบต่อการพิจารณาดอกเบี้ยของประเทศต่างๆได้"นายบันลือศักดิ์กล่าว
ด้านนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%ในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ภายหลังเฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.75% แต่ในส่วนของธอส.นั้น ขณะนี้ยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย คงต้องรอดูนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ก่อน
"ต้องติดตามต่อไปว่าคณกรรมการนโยบายการเงินจะประกาศลดดอกเบี้ยกะทันหันก่อนวันประชุม เหมือนกับเฟดหรือไม่" นายขรรค์กล่าว
คาดบาทแข็งแตะ 31.50-32.00
นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) กล่าวว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปีนี้ คาดว่าธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.25% จนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจากนโยบายการเงินของธปท. ยังคงให้ความสำคัญกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จะมาจากต้นทุนด้านราคาน้ำมัน(cost push inflation) แต่เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเช่นกัน ธปท.ก็ยังตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 4% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูงมากนัก
นายธิติกล่าวว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯในขณะนี้ หรือในอนาคตอันใกล้ หากยังไม่ถึงระดับ 1% จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนในโลก เพราะกระแสเงินทุนในตลาดโลกขณะนี้ กำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ไหลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งจะสังเกตได้จาก yield curve ของพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวลดลง
ส่วนเงินบาทมีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และน่าจะแตะระดับ 31.50-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในปีนี้ จากแนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกของไทยอาจจะขยายไม่เท่ากับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
"ส่วนต่างระหว่างเงินบาทที่ซื้อขายในประเทศ และในตลาดนอกประเทศ ยังคงมีส่วนต่างอยู่นั้น เป็นผลจากมาตรการ 30% ที่ทำให้ไม่เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทในประเทศ จึงมองว่ามาตรการ 30% ยังมีประโยชน์ในการช่วยดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนจนเกินไป"นายธิติกล่าว